ช่วยกันเปิดโอกาสให้ครูได้ทำงานที่ทรงคุณค่าต่อศิษย์


งานของครูที่ทรงคุณค่าต่อศิษย์ คืองานเอื้ออำนวย (facilitate) ให้ศิษย์เรียนรู้แบบ“รู้จริง” (mastery learning) ไม่ใช่เรียนรู้แบบผิวเผินครึ่งๆกลางๆ หรือเรียนรู้ผิดๆอย่างที่เห็นดาษดื่นในปัจจุบันทั่วโลก


          เวลานี้ วงการศึกษาไทยกระแสหลักไม่ได้เปิดโอกาสให้ครูได้ใช้ชีวิตให้เกิดคุณค่าต่อศิษย์อย่างเต็มที่  เพราะยังใช้ครูถ่ายทอดความรู้แก่ศิษย์  คือยังเน้นสอน  เน้นสอนแบบถ่ายทอดความรู้  ซึ่งเป็นงานที่ง่ายแต่มีคุณค่าน้อยต่อศิษย์ 

          งานของครูที่ทรงคุณค่าต่อศิษย์  คืองานเอื้ออำนวย (facilitate) ให้ศิษย์เรียนรู้แบบ“รู้จริง” (mastery learning)  ไม่ใช่เรียนรู้แบบผิวเผินครึ่งๆกลางๆ  หรือเรียนรู้ผิดๆอย่างที่เห็นดาษดื่นในปัจจุบันทั่วโลก

          การเรียนรู้แบบ“รู้จริง”เกิดขึ้นจากการลงมือทำหรือปฏิบัติด้วยตนเอง (learning by doing)  ไม่ใช่จากการรับถ่ายทอดความรู้สำเร็จรูปจากครูหรือจากตำรา 

          บทบาทของครูที่ทรงคุณค่าต่อศิษย์ จึงไม่ใช่บทบาท “ผู้สอน”  แต่เป็นบทบาทโค้ชหรือครูฝึก

          ความรู้หลักการสำคัญ ๗ ประการสำหรับครูฝึกอ่านได้ที่นี่


วิจารณ์  พานิช

๒๑ มี.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 532595เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2013 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2013 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มันถึงเวลาที่คนเป็นครูอย่างพวกเรา
ต้องหันกลับมาพัฒนาคุณค่าของตนเองแล้วครับ

ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากครับ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

ขอบพระคุณสำหรับบทความที่เป็นความรู้ ผมขออนุญาต นำทั้ง 15 ตอนไปเผยแพร่ต่อ เพื่อจะได้ให้เพื่อนๆและคนในเครือข่ายของผมได้อ่านติดต่อกันไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท