วิถีทางการสร้างคุณภาพศิษย์ .......หลักสูตรอบรมครูปิดภาคเรียน


วิถีทางการสร้างคุณภาพศิษย์ .......หลักสูตรอบรมครูปิดภาคเรียน  

                                               นายธนา  นนทพุทธ

                1.จุดมุ่งหมายในการเป็นครู

                    1.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเป็นครู

                    1.2 ศึกษาอัตชีวประวัติครูปูชนนีบุคคล

                    1.3 กระทำตนเป็นแบบอย่าง

                    1.4 ศึกษาศิษย์เป็นรายบุคคล

                    1.5 นำการสร้างศิษย์ตามแนวทางหลักสูตร

                    1.6 ทำการสร้างเสริมนอกกรอบตามความต้องการของศิษย์

                    1.7 กำกับดูแลพัฒนาศิษย์ให้เป็นไปตามหลักศาสนาและวิถีทางที่ศิษย์ต้องการซึ่งไม่ขัดกับหลักคุณธรรมจริยธรรมและกฎหมายบ้านเมือง 

                    1.8 แจ้งข้อมูลศิษย์ทุกคนในการปรับปรุงแก้ไขและการกระคุณงามความดี

                    1.9 มีความยุติธรรมโดยการใช้เหตุและผลในการตัดสินปัญหา

                    1.10 สังเกตศิษย์มีความสามารถด้านใดจะสนับสนุนและเสริมสร้างให้ถึงที่สุด

               2. จุดยืนของความเป็นครู

                     2.1 จรรยาบรรณวิชาชีพครู 

                     2.2 ผู้เรียนและสถาบัน   

                     2.3 สร้างความเป็นเลิศให้ปรากฏ

               3.ความมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จในการเป็นครู

                      3.1 สร้างความเป็นเลิศในผู้เรียนให้เป็นไปตามความแตกต่างของแต่ละบุคลให้ปรากฏ

เป็นรูปธรรม

                      3.2 ตรวจสภาพปัญหาในปัจจุบันและทำการสะสางแก้ไขปรับปรุงในทันทีในด้านพฤติกรรมของผู้เรียน

                      3.3 จะแก้ไขพฤติกรรมของผู้เรียนให้มุ่งสู่ด้านดี มีความคิดสร้างสรรค์และหาวิธีการแก้ไขกับผู้เรียนที่พฤติกรรมด้านลบให้จบสิ้น

                      3.4 อุทิศเวลา ความคิด ใกล้ชิดกับศิษย์ เป็นมิตรสัมพันธ์ที่ดี ชี้ข้อเสนอแนะทันทีที่เกิดขึ้นทั้งทางลบและทางบวก

                   4. เป้าหมายการสร้างผู้เรียนเรียน  จะสร้างศิษย์ทุกคนให้เป็นคนที่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมโดยมุ่งหวังผลร้อยละ 100 ของศิษย์ปัจจุบันเป็นฐานของเป้าหมายวิธีการสร้างศิษย์

                      4.1 ศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล

                      4.2 กำกับดูแลพฤติกรรม

                      4.3 สร้างกฎเกณฑ์เงื่อนไข

                      4.4 สนับสนุนความคิดของศิษย์ในทางดี

                      4.5 สนับสนุนความก้าวหน้าทางความต้องการ

                      4.6 แจ้งพฤติกรรมด้านลบและด้านบวก

                      4.7 นำตัวอย่างเรื่องดีมาให้ศึกษา

                   5. การอุทิศตนในการเป็นครู

                       5.1 ปฏิบัติตามระบบที่กำหนด

                       5.2 อุทิศเวลา

                       5.3 มีความซื่อสัตย์สุจริต

                       5.4 ความสำเร็จของลูกศิษย์คือตัวชี้วัด

                    6. งานที่ทำสำเร็จในระหว่างปีการศึกษา

                        6.1 การส่งเสริมในการอ่าน

                        6.2 การเกาะติดพฤติกรรมด้านลบของผู้เรียน

                        6.3 การชี้แนะวิธีหาความรู้และวิธีเรียน

                   7. สอนให้ผู้เรียนรู้จักการให้มากกว่าการรับ

                        7.1ให้ความรู้ในการพึ่งตนเองให้มากที่สุด

                        7.2 ล้วงลึกความรู้ความสามารถของผู้เรียนมาให้เห็นว่ามีความเป็นเลิศอะไรบ้าง

                        7.3พยายาทุกกระบวนการให้ศิษ์ทุกคนให้ใช้ความพยายามจนมองเห็นความสำเร็จ

                        7.4 การให้ความรู้จะมีค่าเป็นเวลายาวนานคงทน เป็นมูลทางความฉลาดเพราะก่อนให้ต้องใช้ความคิด

                        7.5 การรับเป็นพฤติกรรมของคนโง่ไม่ใช้ความคิดไร้คุณค่า  ถูกดูถูกโดนเหยียดหยาม ออกสู่สังคมก็ไม่มีใครต้อนรับ ไม่มีใครอยากได้ไว้ทำงานหรือแม้ยอมรับเป็นเพื่อน

                    8. สิ่งที่จะบอกว่ากำลังดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ

                        8.1 การรักการอ่าน

                        8.2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียน

                        8.3 การยอมรับทางผู้เรียนในรูปแบบการจัดการ

                        8.5 ความสำเร็จของผู้เรียน

                     9. ผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในภาคเรียน

                         9.1 ผู้เรียนร้อยละ 90 รักการอ่าน

                         9.2 มีความเข้าใจในพระคุณแม่และจะพูดคุยกับแม่มากขึ้นคิดถึงแม่มากขึ้น

                     10. การพัฒนาการเรียนการสอน

                         10.1 ยึดกรอบมาตรฐานกลางหลักสูตร

                         10.2 วิธีการสอนฉีกแนวนอกกรอบ วิธีการสอนเติมเต็มมุ่งสู่วิธีการโลกาภิวัตน์และวิถีชีวิต

                         10.3 ทุกสิ่งที่ทำทุกที่ปฏิบัตินำมาเป็นการประเมินเป็นหลักฐานบันทึกให้ปรากฏทุกรายการ
                         10.4 เรียนไม่กำหนดกรอบเวลาแต่ให้เป็นไปตามความสามารถของผู้เรียน

                         10.5 กำหนดมาตรฐานการประเมินตัวชี้วัดความสำเร็จและการบรรลุเป้าประสงค์

                         10.6 การเรียนซ้ำชั้นบางรายบุคคลก็จำเป็นต้องซ้ำ   การให้มีผู้เรียนไม่ผ่านการประเมินจะต้องทำการสอบซ่อม     เรียนซ่อม    ครูจะต้องกำกับดูแลเสริมเติมเต็มให้เกิดการเรียนรู้จนสอบผ่าน      การซ้ำชั้นอีกหลาย ๆ กรณีให้นำเสนอคณะกรรมการบริหารวิชาการได้ใช้ดุลพินิจ  ก่อนถึงวันกำหนดสอบอย่างน้อย  20  ก่อนสอบ เช่น  ขาดคุณสมบัติในการสอบ  ขาดสอบ  ทุจริตในการสอบ  ไม่ยอมเรียนซ่อม  ไม่ยอมรับการเสริมเติมเต็มให้เกิดการเรียน

 


หมายเลขบันทึก: 532592เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2013 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2013 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ นะคะจะนำไปศึกษาและปฏิบัติค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆนะคะ

มีสาระน่าสนใจนะครับ

คุณภาพของศิษย์อยู่ที่คุณภาพของคุณครูจริงๆ ขอส่งความสุขปีใหม่ไทยมาให้ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท