ชีวิตที่พอเพียง : ๑๗๘๘. การจัดการ plagiarism



     

    ผมเคยเขียนเรื่อง plagiarism ไว้ ที่นี่  บัดนี้ได้โอกาส AAR การกำกับดูแลหลังเกิด plagiarism แล้วในบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย  ผมบอกตัวเองว่า “เจอกับตัวเองแล้วจะรู้สึก” 

          เจอในที่นี้ไม่ได้หมายถึงผมโดนกล่าวหานะครับ  ผมไม่มีประสบการณ์นั้น  ที่จะเล่าเป็นประสบการณ์การดูแลความเป็นธรรมในจัดการพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมด้านจริยธรรมของคนมหาวิทยาลัย 

          ที่จะเล่านี้เป็นกรณีการลงโทษอาจารย์ที่ถูกกล่าวหาว่า อ้างความเป็นเจ้าของผลงานโดยที่ตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของ  และเจ้าตัวก็สารภาพ  โดยที่ข้อบังคับด้านวินัยบุคคลากร บอกว่าความผิดนี้มีสถานเดียว คือผิดวินัยอย่างร้ายแรง  โทษอย่างต่ำคือให้ออกจากงาน

          เมื่อเจ้าตัวอุทธรณ์ ว่าโดนลงโทษรุนแรงเกินไป  และกลไกการดูแลการร้องทุกข์มีความเห็นเป็นสองฝ่าย หาข้อยุติไม่ได้  เรื่องเข้าสภามหาวิทยาลัย ผมก็ได้เรียนรู้เอกลักษณ์คนไทย ว่าเห็นอกเห็นใจคนเป็นพื้นฐาน  ไม่ต้องการลงโทษเด็ดขาดรุนแรง  ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น สภามหาวิทยาลัยเคยมีมติผ่านข้อบังคับว่า  หากสอบสวนได้เป็นสัจ ว่ามีการละเมิดคุณธรรมด้านการโจรกรรมทางปัญญา  โทษมีสถานเดียว คือผิดวินัยอย่างร้ายแรง

          ผมจึงได้เรียนรู้ธรรมชาติของคนไทย  ว่าการจัดการ plagiarism ไม่มีวันเหมือนการจัดการของโลกตะวันตกได้  เพราะเรามีความเมตตา และเห็นอกเห็นใจคน สูง  ผมอยากจะบอกว่า ผมรู้สึกว่าเราไม่ยึดถือมาตรฐานจริยธรรมมากนัก  มีคนกล่าวว่า การที่ลงโทษคนนี้รุนแรง  ในขณะที่ยังมีคนทำผิดแบบนี้ แต่เรายังไม่ได้ลงโทษ เพราะไม่มีคนกล่าวโทษ  เป็นการดำเนินการแบบสองมาตรฐาน  ทำให้ผมเห็นว่า ควรมีการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจวิธีการจัดการการทำผิดเชิงจริยธรรมในสังคมไทย  เพื่อจรรโลงสังคม ให้รังเกียจการทำผิดจริยธรรม   เพื่อป้องปรามการทำผิดเชิงจริยธรรม 

          เรายังทำความเข้าใจเรื่องการจัดการความผิดฐานโจรกรรมวิชาการ ในบริบทไทย น้อยเกินไป


วิจารณ์ พานิช

๒๑ ก.พ. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 532593เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2013 11:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2013 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียนอาจารย์วิจารณ์ที่เคารพ

คงต้องเรียกร้องความกล้าหาญของผู้เกี่ยวข้องในการตัดสินปัญหาทางจริยธรรมค่ะ

วัลลา

เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศค่ะ น่าจะต้องวาง outcome mapping กันดูค่ะว่าใครที่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมในประเด็นใดและต้องใช้กลยุทธ์อย่างไรแล้วตามด้วยการติดตามผลค่ะ

อาจจะเป็นเพราะว่าพวกเรา "ดูเบา" สำหรับเรื่อง "ความรู้" และ "การศึกษา" มานานเท่านาน

การเรียนรู้ที่ทรงพลังมากที่สุดมาจากภาคปฏิบัติ ที่เราเห็นจากชีวิตประจำวัน ที่คนส่วนใหญ่ทำๆกัน เกิดเป็น value กลายเป็น mindset ดังนัันการสอนจริยธรรมก็ดี มารยาทก็ดี หรืออะไรก็ดีที่ต้องการ attitude ถ้าไม่ได้วางอยู่บนฐานที่มั่นคง (สังคม) ของพวกนี้ก็กลายเป็นสอนหรือเรียนเพื่อสอบเพื่อผ่าน เพื่อเอาคะแนนเท่านั้น

ในสังคมตอนนี้ ไม่ได้ใช้ "องค์ความรู้" มาบริหารจัดการเท่าที่ควร การ quote (หรือการไม่ quote) เต็มไปด้วยการ abude knowledge แม้แต้การ quote ก็ quote แบบมี bias บ้าง ตีความผิดๆถูกๆบ้าง พอมีการเปิดเผยก็ไม่ต้องแก้ตัวอะไร อาจจะเซ็งนิดหน่อยที่มีคนจับได้ แล้วก็ดำเนินชีวิตต่อไป แม้แต่ในวงการวิชาการ วิชาชีพ ระดับอุดมศึกษาหรือ post-graduate ก็เถอะ ก็ยังพบว่าเราไม่ได้เอาหลักการเหล่านี้ "มาใช้" ในทางปฏิบัติจริงๆเท่าที่เราอยากจะบอกว่ามันสำคัญจริงๆนะเลย

software piracy ก็เป็นอีกรูปแบบที่สะท้อนว่าคนไทยมองเรื่อง "ที่มาของความรู้" สำคัญแค่ไหน เราซื้อ CD เถื่อน DVD เถื่อน BluRay เถื่อนอย่างโจ๋งครึ่ม มี website ประกาศขายของเถื่อนเหล่านี้อย่างเปิดเผย พอมีคนเตือนกัลบโกรธ และไปๆมาๆ สังคมจะรุมประณามคนเตือนไปทางโน้นทางนี้ด้วยซ้ำไป

Plagiarism เป็นแค่อีก symptoms ของมะเร็งที่แพร่กระจายเท่านั้นเองครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท