8 วิธีการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนแนวคิด ในการประชุมที่เน้นปฏิสัมพันธ์


ผู้ที่รู้สึกว่าตนมีคุณค่า จะมีความเต็มใจมากขึ้นที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม

8 วิธีการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนแนวคิดในการประชุมที่เน้นปฏิสัมพันธ์” ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ แปลถอดความจากบทความเรื่อง “Ten Ideas To Encourage Individual Involvement In Interactive Meetings: 10 วิธีในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมเป็นรายบุคคล ในการประชุมแบบเน้นปฏิสัมพันธ์” เขียนโดย "Shirly Lee" (http://ezinearticles.com/?Ten-Ideas-to-Encourage-Individual-Involvement-in-Interactive-Meetings&id=2302140) ผู้แปลพิจารณาว่า แม้จะเป็นแนวคิดจากวงการธุรกิจของทางตะวันตก แต่ก็น่าจะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับวงการต่างๆ ในสังคมไทย ตามที่ผู้นำไปใช้จะเห็นเหมาะสม

Most interactive meetings require all team members openly communicate on agenda topics while participating in decision making and problem solving.

การประชุมแบบเน้นปฏิสัมพันธ์ ส่วนใหญ่แล้ว ต้องการให้สมาชิกในทีมงานทุกคน พูดคุยสื่อสารกันอย่างเปิดเผยในหัวเรื่องที่เป็นวาระการประชุม ขณะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

Active participation in meetings yields better results than those meetings where people passively sit listening and providing very little input. Often meetings will have different levels of participation from the team members. Some will talk a lot while others will talk very little
or not at all. For those team members not interacting with the group, there are some ideas a team leader may wish to try in order to encourage that individual and everyone else to become more involved.

การมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยความกระตือรือร้นของสมาชิก จะส่งผลดีต่อผลการประชุมมากกว่าการประชุมที่สมาชิกเอาแต่นั่งฟังเงียบๆ มีอยู่บ่อยๆ ที่ในการประชุมจะมีระดับของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในทีมงานแตกต่างกันไป กล่าวคือ ในขณะที่บางคนพูดมาก บางคนกลับพูดน้อยมากหรือไม่พูดเลย สำหรับสมาชิกที่ไม่ค่อยมีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมเลยนั้น ขอเสนอแนะให้ผู้นำทีมลองนำแนวคิดต่อไปนี้ไปใช้ เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น (ผู้แปลตัด 2 ข้อแรกออก เพราะพิจารณาเห็นว่า 8 ข้อท้ายมีความสมบูรณ์แล้ว)

1. To get everyone involved, call on different people to share their ideas, opinions, and thoughts on topics throughout the meeting.

1. เพื่อในทุกคนมีส่วนร่วม ควรเรียกชื่อให้สมาชิกต่างๆ แลกเปลี่ยนแนวคิด ทัศนะในประเด็นที่ปรึกษาหารือ ตลอดเวลาของการประชุม

2. If someone is not actively participating, look directly at them and use their name when asking a question to encourage a response and increase their participation level.

2. ถ้ามีผู้ที่ไม่แสดงการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นในที่ประชุม ควรมองตรงไปยังบุคคลดังกล่าว และเรียกชื่อให้ตอบคำถามที่กำลังถาม เพื่อกระตุ้นการตอบสนองและเพิ่ระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกดังกล่าว

3. Realize there is no need to rush through the entire meeting. Be patient and give people time to think and respond to ideas presented. After a few minutes of silence, ask a question to prompt discussion or see if the group wants to continue onto a new agenda topic.

3. พึงตระหนักว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะรีบเร่งให้การประชุมเสร็จสิ้น ควรใช้ความอดทนและให้เวลาผู้เข้าร่วมประชุมในการคิด และแสดงการตอบสนองต่อแนวคิดที่เสนอในที่ประชุม ถ้าเกิดภาวะเงียบงันใน 2-3 นาที ควรถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย หรือสังเกตดูว่า ที่ประชุมต้องการให้ข้ามไปยังวาระต่อไปหรือไม่

4. Create a safe respectful environment for open exchange of ideas and opinions. One way to do this is to never allow belittling of a person’s questions or input – everyone can add value including the devil’s advocate.

4. สร้างบรรยากาศการประชุมที่ให้การยอมรับนับถือผู้เข้าร่วมประชุม และมีความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและทัศนะอย่างเปิดเผย วิธีการหนึ่งที่จะสร้างบรรยากาศดังกล่าวได้ คือ ต้องไม่ยอมให้มีการแสดงการดูถูกคำถามหรือความเห็นของสมาชิกใดๆ
 

5. Take time in the meeting to praise good work done by employees outside the meeting. During the meeting say thank you for sharing. Appreciation makes members feel valued. Valued people are more willing to speak up and share their ideas.

5. ให้เวลาในการกล่าวสรรเสริญบุคลากรที่ทำงานดีแต่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุม แสดงความขอบคุณต่อผู้เข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็น เพราะการแสดงออกดังกล่าวจะทำให้บุคลากรรู้สึกว่าตนมีคุณค่า
และผู้ที่รู้สึกว่าตนมีคุณค่า จะมีความเต็มใจมากขึ้นที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในที่ประชุม

6. If someone appears to be dominating the meeting or discussion, don’t let it go too far. When one person takes over the meeting, other ideas are not shared and better decisions become harder to make as people may feel intimidated. Instead, thank the talker for their contribution after a few minutes and then move to the next topic or ask a question of a quieter team member.

6. ถ้าพบว่า มีใครบางคนใช้อำนาจควบคุมการประชุมหรือการอภิปราย ต้องไม่ปล่อยให้ทำเช่นนั้นต่อไป
เพราะสภาพการณ์เช่นนั้นจะยับยั้งการแสดงความเห็นของสมาชิก ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจที่ดีของที่ประชุม ควรกล่าวขอบคุณบุคคลดังกล่าว แล้วเปลี่ยนหัวเรื่องประชุม หรือถามคำถามไปยังสมาชิกที่เงียบมากกว่า
 

7. At the end of the meeting, make sure everyone has an action item to do after the meeting. There is almost always a need to assign someone a research item prior to the next meeting and this gives them to opportunity to provide a report or presentation at that meeting.

7. ในตอนท้ายของการประชุม ต้องแน่ใจว่า ทุกคนมีงานที่เป็นรูปธรรมที่จะต้องทำหลังการประชุม
อาจเป็นงานที่ให้เตรียมศึกษาอะไรบางอย่าง ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นำเสนอเป็นรายงานหรือนำเสนอด้วยวาจาในการประชุมคราวต่อไป

8. Try to understand why an individual is not participating by talking with them outside of meetings. Perhaps they are not really interested in being on the team or they do not see how they add value to the team. Or their low participation could be because they are not interested
in a particular meeting topic or they do not see how it directly affects them. Explain why they bring value to the team and what is in it for them.

8. พยายามทำความเข้าใจผู้ที่ไม่แสดงการมีส่วนร่วม โดยการเข้าไปพูดคุยด้วยภายหลังการประชุมสิ้นสุดลง บางทีการไม่มีส่วนร่วม อาจเกิดจากสมาชิกขาดความสนใจในการร่วมทีมงาน หรือมองไม่ออกว่าตนจะทำประโยชน์ให้กับทีมได้อย่างไร หรือไม่สนใจในหัวเรื่องที่พูดคุยกันในที่ประชุม หรือมองไม่เห็นว่า เรื่องที่พูดคุยกันส่งผลกระทบโดยตรงถึงตนอย่างไร ควรอธิบายให้พวกเขาเข้าใจว่า พวกเขามีคุณค่าต่อทีมงานและจะช่วยทีมงานได้อย่างไร

ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาอ่าน ให้กำลังใจและแสดงความเห็น…เนื่องจากผู้แปลเป็นเพียงผู้ที่ชอบเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญภาษาอังกฤษ จึงอาจมีการแปลผิดพลาด ซึ่งถ้ามีส่วนใดที่แปลคลาดเคลื่อนไป ขอความกรุณาท่านที่พบเห็นช่วยชี้แนะ เพื่อประโยชน์ของผู้อ่านท่านอื่นๆ ในการรับรู้เนื้อหาที่ถูกต้อง และประโยชน์ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของผู้แปลเอง ขอบคุณทุกคำชี้แนะนะคะ




หมายเลขบันทึก: 532558เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2013 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 สิงหาคม 2013 23:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

ขอบคุณครับ อาจารย์ ;)...

ขอบคุณ อาจารย์ "Wasawat Deemarn" มากนะคะ ที่กรุณาเข้ามาอ่านและให้กำลังใจ แบบ "รวดเร็วราวกามนิตหนุ่ม" ...เกิดทันสำนวนนี้หรือเปล่าคะ 

ไม่ได้อ่านงานของอาจารย์และกัลยาณมิตรท่านอื่นๆ มาพักใหญ่ๆ เพราะมีปัญหาเข้าระบบไม่ได้ค่ะ ตอนนี้ค่อนข้างปกติแล้วด้วยการช่วยเหลือของ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์" คงจะมีโอกาสอ่านงานของกัลยาณมิตรมากขึ้นค่ะ 


 

ขอบคุณมากค่ะ...เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดี...หากการประชุมมีวาระชัดเจน..ที่มีการนำเสนอโดยเจ้าของเรื่องอย่างตรงประเด็น..การเปิดให้แสดงความเห็นย่อมสร้างสรรค์สู่ข้อสรุปที่ยุติได้ตามเป้าหมายนะคะ...ต่างจากการอภิปรายที่เปิดกว้างกว่า...

ขอบพระคุณ "พี่ใหญ่" มากนะคะ ที่เมตตาติดตามให้กำลังใจน้องเสมอมา

น้องเห็นด้วยกับพี่ใหญ่ค่ะ ว่า "หากการประชุมมีวาระชัดเจน ที่มีการนำเสนอโดยเจ้าของเรื่องอย่างตรงประเด็น การเปิดให้แสดงความเห็นย่อมสร้างสรรค์สู่ข้อสรุปที่ยุติได้ตามเป้าหมาย" ดูจากการทำงานของพี่ใหญ่แล้ว คงได้พบเจอการประชุมในลักษณะดังกล่าวบ่อยๆ นะคะ

น้องคิดว่า แนวปฏิบัติ 8 ข้อที่น้องยกมา น่าจะเหมาะที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการประชุมของทีมงานที่ไม่ใหญ่มาก เช่น ถ้าเป็นในมหาวิทยาลัยก็น่าจะเป็นการประชุมในระดับคณะวิชา สาขาวิชา ศูนย์ สำนัก หรือฝ่ายต่างๆ หรือเป็นการประชุมของคณะอนุกรรมการฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินโครงการใหญ่ๆ นะคะ




ขอขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากกัลยาณมิตรทั้ง 5 ท่าน


ขอบคุณอาจารย์แม่มากครับ คนที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม บางทีเราก็ต้องไปคุยกับเขา เมื่อเปิดใจ การร่วมกิจกรรมก็จะตามมาครับ

อาจารย์แม่สบายดีนะครับ

อาจารย์แม่ครับ มาสวัสดีปีใหม่ไทยครับ...

ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะ ที่เข้ามาให้กำลังใจอาจารย์แม่ ให้ความเห็น และสวัสดีปีใหม่ไทย

อาจารย์แม่ต้องขอโทษจริงๆ ที่ช่วงนี้ยุ่งอยู่กับงานผ้าป่าและงานพุทธาภิเษกสมโภชองค์พระที่วัดในหมู่บ้าน และพอจะเข้ามาตอบลูกขจิต คลื่นก็ไม่มีเลยตอบไม่ได้ จนลูกขจิตเข้ามารอบสองแล้ว

อาจารย์แม่สบายดีค่ะ แต่พ่อใหญ่สอมีผ่าตัด 4 เม.ย. อาจารย์แม่เลยต้องขับรถบริการพาไปล้างแผลพบหมอดูแลและทำงานฟาร์มแทนทั้งหมด แกเพิ่งจะขับรถเองวันนี้เพื่อไปเคลียร์รายรับรายจ่ายงานผ้าป่า

สงกรานต์ลูกขจิตมีกิจกรรมอะไรบ้างคะ อาจารย์แม่ไม่ได้ให้ลูกๆ กลับไปร่วมงาน เพราะไม่อยากให้เดินทางช่วงสงกรานต์ อีกอย่างตั้มมีสุนัขถึง 3 ตัว ไปไหนต้องหอบหิ้วไปด้วยไม่สะดวก น้องเอ๋ก็เลยไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าอัมพวัน สิงห์บุรี บอกว่าจะกลับวันนี้ ยังติดต่อไม่ได้เลยค่ะ

ขอให้พระคุ้มครอง "ลูกขจิต" คนดีที่อุทิศตนเพื่อสังคม มีสุขภาพกายที่ดี มีความสุขและพบเจอแต่สิ่งดีๆ ตลอดไปนะคะ ...ฝากความระลึกถึงคุณแม่ที่พนมทวนด้วย และขอให้ท่านแข็งแรงอยู่เย็นเป็นสุขเช่นกันนะคะ 

 

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๖ แบบไทยๆ ขอให้ยายไอดิน และพ่อใหญ่สออายุมั่นขวัญยืน อย่าเจ็บอย่าไข้ สุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ .......แต่พออ่านอาขารย์แม่ตอบลูกขจิตจึงทราบว่าพ่อใหญ่สอผ่าตัดไม่สบายและก็ปลอดภัยแล้วก็หมดห่วง ดีใจด้วยขอให้ท่านหายวันหายคืน..... ป๋าเดไม่ได้เข้าบล๊อกหลายวัน เลยไม่ได้ดูบล๊อกของยายไอดินหรือเพื่อนๆชาว GotoKnow ท่านใดเลย ประกอบกับสงกรานต์ต้องดำหัวขอพรแม่ร่วมกับญาติพี่น้อง....ถ้ามีพระโตโคตะมะที่ทำการพุทธาภิเษกในวันที่ ๑๔ เม.ย. ๒๕๕๖ เหลืออยู่เก็บไว้ให้ป๋าเดได้บูชาด้วยนะตอนไปเยี่ยมยายไอดินที่อุบลฯ

ขออนุญาตยายไอดิน Save บล๊อกนี้ไว้อ่านนะ

ขอบคุณน้อง "กานดาน้ำมันมะพร้าว" มากนะคะ สำหรับคำอวยพรวันสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดอกไคร้ย้อยสวยมากค่ะ พี่เคยปลูกสองรอบแล้ว ต้นแรกตายเพราะขาดน้ำ ต้นที่สองซื้อต้นใหญ่กว่าไปปลูกแต่ก็ตายเพราะน้ำท่วม เลยลืมเธอไปแล้ว ภาพจากน้องดาทำให้คิดได้ว่า จะต้องหา "ไคร้ย้อย" ไปปลูกอีกรอบ คราวนี้พี่ไปอยู่ที่ฟาร์มแล้ว ดูแลเองจะไม่ปล่อยให้ตาย

นำบุญมาฝาก "น้องดา" "ลูกขจิต" "ป๋าเด" และกัลยาณมิตร GotoKnow ทุกท่าน ขอให้ทุกท่านอยู่เย็นเป็นสุขตลอดปี ๒๕๕๖ และตลอดไปนะคะ


ขอบคุณ "ป๋าเด" มากนะคะ ที่เป็นห่วงพ่อใหญ่สอและอวยพรยายไอดินและพ่อใหญ่สอเนื่องในปีใหม่ไทย ยายไอดินอวยพรท่านแล้วข้างบนนะคะ...ช่วงสงกรานต์ท่านได้รดน้ำดำหัวขอพรแม่ร่วมกับญาติพี่น้อง อบอุ่นจังนะคะ ส่วนยายไอดินคุณพ่อเสียตอนตนเองอายุ 4 ขวบ คุณแม่เสียตั้งแต่ปี 2527 เลยไม่มีโอกาสขอพรท่าน...ได้แต่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านค่ะ

เรื่องพระที่ป๋าเดบอกอยากจะบูชา ยายไอดินจะลองถามพ่อใหญ่สอดูนะคะ 

ยายไอดินเข้าเมืองเพื่อเลี้ยงข้าวกลางวันพี่สาวคนโตและลูกหลานที่เดินทางไปจากยโสธร เมื่อวานค่ะ (จะเดินทางกลับฟาร์มพรุ่งนี้) ปรากฏว่า ลูกศิษย์ปริญญาโทที่นับถือยายไอดินเป็นแม่คนที่สอง เข้าไปเยี่ยมยายไอดินที่ฟาร์ม ใช้เบอร์โทรฯ เก่าของยายไอดินเลยติดต่อไม่ได้ เลยต้องตามไปพบที่ Central Plaza จุดนัดพบกับพี่สาวค่ะ 


-ขอบคุณยายไอดินในคำอวยพรวันปีใหม่ไทย.....นี่แหละคือความสุขที่แท้จริงของยายไอดินและพ่อใหญ่สอในบั้นปลายชีวิต...ขออนุโมธนาสาธุในผลบุญด้วย

ขอบคุณ "คุณแสงแห่งความดี" มากนะคะ ที่มอบดอกไม้กำลังใจให้ "ไอดิน-กลิ่นไม้"


ร่วมสรงน้ำพระ และอำนวยพรปีใหม่ไทย ให้มีความสุขสมปรารถนาทุกประการค่ะ...

ขอบคุณอาจารย์แม่มากครับที่อวยพร ตอนสงกรานต์ผมไปปฏิบัติธรรมกับวัดป่าใกล้บ้านครับ

มีความสุขดี โอโหน้องเอ๋ไปถึงสิงห์บุรีเลยนะครับ เข้าใจว่าวัดหลวงพ่อจรัญ 

ขอให้พ่อใหญ่สอหายป่วยไวๆครับ

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย คุ้มครองอาจารย์แม่ให้มีความสุข มีความเจริญมีร่างกายที่สมบูรณ์ตลอดไปครับ



ขอบพระคุณมากนะคะ สำหรับพรปีใหม่ไทยจาก "พี่ใหญ่" ขอเมตตาจิตและบุญกุศลทุกประการที่พี่ใหญ่ ได้บำเพ็ญมา คุ้มครองให้พี่อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปนะคะ น้องนำลีลาวดี "พันธุ์ Heidi" ที่ปลูกข้างบันไดขึ้นบ้านไอดิน-กลิ่นไม้และกำลังออกดอก มาฝากพี่ใหญ่ด้วยค่ะ



 




ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะสำหรับคำอวยพร พ่อใหญ่สอดีขึ้นตามลำดับค่ะ

ดีจังนะคะ ที่ "ลูกขจิต" ได้ไปปฏิบัติธรรมในช่วงสงกรานต์ อาจารย์แม่เองส่วนใหญ่แล้วจะปฏิบัติในวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน มากกว่าไปปฏิบัติที่วัดค่ะ ...ใช่ค่ะ น้องเอ๋ไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าอัมพวัน ของหลวงพ่อจรัญ ที่สิงห์บุรี เธอบกว่าไปปฏิบัติแล้วเป็นครั้งที่ 4 ไม่รวมสมัยที่เรียน อาจารย์แม่อ่านข้อความที่เธอโพสต์ใน Facebook หลังจากกลับกทม.แล้ว ทำให้มีความสุขมากค่ะ เพราะเธอปฏิบัติเพื่อพ่อที่จากไปตอนเธออายุประมาณ 5 ปี และเธอได้เรียนรู้ธรรมะดีๆ หลายอย่าง อาจารย์แม่เลยนำข้อความที่เธอโพสต์ทั้งหมดลงในอนุทินล่าสุดที่ Link ข้างล่างค่ะ

http://www.gotoknow.org/user/pw-11-59/journals

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจจาก "คุณครูอิงจันทร์"

"ไอดิน-กลิ่นไม้" ได้เข้าไปร่วมโหวตให้กับกวีตัวน้อยของคุณครูแล้วนะคะ

ขอบใจนะคะ สำหรับดอกไม้จาก "โจ"

อาจารย์เพิ่งเห็นอนุทินของโจทั้งสองเรื่อง และได้เข้าไปคุยด้วยแล้ว

ช่วงนี้ปิดภาคเรียนแล้ว เขียนอะไรให้อ่านบ้างสิคะ

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน...

-ตามมาเยี่ยมบันทึกนี้อีกรอบ..

-เมื่อคืนฝนตกหนัก มีอาหารจากท้องทุ่งมาฝากอาจารย์แม่ไอดินและพ่อใหญ่สอครับ..

-ไม่ทราบว่า"ชอบเมนูอึ่ง"ไหมครับ????อิ ๆ



ขอบคุณ "KRUDALA" มากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจ

แวะไปอ่านบันทึกล่าสุดของคุณครู ...เหมือนกันเลยค่ะ กับ "ไอดิน-กลิ่นไม้"  ที่บอกว่า "คงจะเป็นเพราะความเป็น ครู ที่ฝังอยู่ในจิตใจกระมังคะที่ได้ยินได้ฟังหรือเห็นอะไรก็นึกถึงแต่เรื่องจะเอาไปสอนเด็ก" ...ชื่นชมจริงๆ ค่ะ ที่คุณครูมีจิตวิญญาญครูเช่นนั้น และยังมีความสามารถในการปรับกระบวนการจัดเรียนรู้ให้เข้ากับยุคสมัยและความสนใจของเด็กๆ ถ้า "ไอดิน-กลิ่นไม้" ยังเป็นอาจารย์อยู่ในคณะครุศาสตร์ ก็จะขอนำคุณครูไปเป็นกรณีตัวอย่าง ของการจัดการเรียนรู้ในยุคปฏิรูปการเรียนรู้ รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู แล้วล่ะค่ะ  

สวัสดีค่ะพี่ผศ.วิไล แวะมาสวัสดีปีใหม่ 2556 ล่าช้าไปสักหน่อยคงไม่ว่ากันนะคะ ...และต่อด้วยความคิดถึง... ยังเป็นนักวิชาการเต็มร้อยอยู่นะคะ...ขอปรบมือชื่นชมค่ะ...

ขอบคุณ "คุณเพชรน้ำหนึ่ง" ที่นำ "เมนูอึ่ง" ไปฝากพ่อใหญ่สอ และอาจารย์แม่ไอดิน

เมื่อวานอาจารย์แม่ไอดินเข้าเมือง เปิดเจอเมนูอึ่งแล้วสะดุดตาสะดุดใจ เพราะมีความหลังกับเมนูอึ่งตั้งแต่ครั้งอายุประมาณ 4 ขวบ แต่หมดเวลาอยู่ในเมืองต้องกลับฟาร์มเลยยังไม่ได้เข้าไปอ่าน ที่ฟาร์มเมื่อเช้าเข้ามาตอบแต่ 'net หลุดเลยต้องหยุดไว้ก่อน เพราะจวนได้เวลาไปถ่ายภาพสามเณรตามที่นัดพระท่านไว้

ขอทานข้าวเที่ยงก่อนนะคะ ถึงจะเข้าไปอ่าน

สวัสดียายไอดิน

-ป๋าเดเห็นภาพเมนูแล้วอยากกินต้มอึ่งย่าง 555

ตื่นเต้นดีใจจังค่ะ ที่เห็นหน้า "น้อง ดร.พจนา"

ขอบคุณนะคะที่เข้ามาทักทายกันด้วยความคิดถึง ...ดูๆ แล้วเราก็พัดพรากกันไปนานพอดูเลยนะคะ

และขอบคุณสำหรับคำชื่นชมว่าพี่ยังเป็นนักวิชาการเต็ม 100 พี่เห็นว่า ตนเองเกษียณแล้วคงไม่ค่อยมีโอกาสเขียนบันทึกเชิงวิชาการ พอดีการเขียนบันทึกในโครงการสรอ.ขอความรู้ ตามคำสำคัญ "แลกเปลี่ยนเรียนรู้" เท่าที่ได้อ่านจะเห็นเขียนกันตามประสบการณ์ พี่ก็เลยฉีกแนวเขียนเชิงวิชาการบ้าง กอปรกับไม่ได้เขียนบันทึกใน Blog "E-tocommunicate" มานาน ก็เลยเลือกเขียนแบบแแปลถอดความจากบทความภาษาอังกฤษค่ะ

ก่อนนี้พี่ได้เข้าไปอ่านและแสดงความเห็นไว้ในบันทึกของน้อง แต่ 'net หลุดก่อนจัดเก็บข้อมูล เดี๋ยวจะกลับเข้าไปใหม่นะคะ

 



 



อ่านอนุทินของ "ป๋าเด" ทราบว่ามีอาการเจ็บหัวไหล่ถอดเสื้อเองไม่ได้ ถ้าทานยาแล้วไม่ดีขึ้นอย่าลืมไปให้หมอเฉพาะทางตรวจวินิจฉัยและให้การรักษานะคะ ยายไอดินและพ่อใหญ่สอเป็นห่วงค่ะ

หลังเกษียณนี่ มีสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้สูงวัยของ "ไอดิน-กลิ่นไม้" คือ "การพิมพ์ตก พิมพ์ผิด"

ตนเองจะให้ความสำคัญมากกับการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ทั้งการพูด การอ่านและการเขียน จึงขออนุญาตแก้ไขคำที่พิมพ์ตกพิมพ์ผิดในบันทึกนี้ ไว้ ณ ที่นี้ คือ ...ในบันทึกพิมพ์ตกข้อ 2. ...เพิ่ระดับการมีส่วนร่วม ...พิมพ์ตกคำว่า "เพิ่ม" (ถ้าจะแก้ในบันทึก ก็ทำในขณะนี้ไม่ได้ เพราะอยู่ที่ฟาร์มคลื่นไม่พอ ใช้งาน 'net ได้ไม่ 100 % ค่ะ)

ตอบความเห็น "ดร.พจนา แย้มนัยนา" พิมพ์ ...พัดพราก...ที่ถูกต้องเป็น ...พลัดพราก...

ตอนตอบความเห็น "CRUDALA" ...ชื่นชมจริงๆ ค่ะ ที่คุณครูมีจิตวิญญาญครูเช่นนั้น...ที่ถูกต้องเป็น...จิตวิญญาณ ...

 

 

ขอบคุณ "คุณอักขณิช" มากค่ะ สำหรับดอกไม้กำลังใจที่มอบให้ยายไอดิน

ช่วงนี้ต้องขออภัยที่ยายไอดินตามอ่านบันทึกกัลยาณมิตรที่ขยันเขียนรวมทั้งคุณอักขณิช ไม่ทันเลยค่ะ เพราะอยู่ที่ฟาร์ม 'net ช้ามาก ทำให้ใช้เกินชั่วโมงที่เหมาจ่าย อยู่ในเมืองเคยเหมาจ่าย 250 ชั่วโมง 540 บาท  ตอนนี้ตกเดือนละ 1,600-1,800 เพราะใช้เกินกำหนดที่เหมาจ่ายซึ่งจะคิดอัตราแพงมาก (การจ่ายแพงไม่ใช่ปัญหาเท่ากับ ความช้าและ 'net หลุดที่ทำให้จัดเก็บข้อมูลไม่ได้ค่ะ)

ขำจัง...ไปเจอมุกที่คุณอักขณิชบอกว่าอยากวิจัยว่าทำไมเผ่าพันธุ์อึ่งของตน ถึงถูกจับที่พรานกระต่ายได้ง่ายนัก แต่คุณเพชรน้ำหนึ่งพาซื่อไม่รับมุก ยายไอดินเลยชี้แจงให้ฟังซึ่งตอนนี้เธอเข้าใจแล้วค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้และความเห็นจาก "ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา"

"ไอดิน-กลิ่นไม้" ยินดีมากค่ะ ที่ได้รู้จัก คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

และปลื้มใจมากค่ะ ที่ "ผศ.ทิพยวรรณ นิลทยา"   บอกว่าบันทึกนี้มีประโยชน์มาก และจะปลื้มใจมากยิ่งขึ้นค่ะ ถ้าท่านจะนำไปประยุกต์ใช้ในการประชุมของคณะของท่าน และการประชุมอื่นๆ

แวะมาเยี่ยมคุณพี่  ยังพอทนได้ใช่ไหมครับ ชีวิตหลังเกษียณ

ดีใจจังค่ะ ที่เช้านี้เปิดบันทึกล่าสุดแล้วได้เห็นหน้า "คุณน้องคนบ้านไกล" จากอเมริกา...เวลาที่บ้านคุณน้องคงจวนเป็นเวลาเข้านอนแล้วนะคะ
ขอบคุณมากค่ะที่แวะเยี่ยม คุณน้องถามว่า "ยังพอทนได้ใช่ไหมครับ ชีวิตหลังเกษียณ " จริงๆ แล้วเป็นช่วงชีวิตที่พี่มีความสุขมากนะคะ เพราะได้มีเวลาส่วนใหญ่อยู่กับต้นไม้ใบหญ้าตามที่ชื่นชอบ ก่อนนี้เข้านอนตีหนึ่งตีสอง ตื่นตีสี่ตีห้า ยุ่งอยู่กับการเตรียมการสอน การตรวจงาน และการติดตามนักศึกษาเป็นรายบุคคลกว่า 100 คนใน GotoKnow 

นอกจากได้อยู่กับต้นไม้ใบหญ้าแล้วก็ยังได้ช่วยงานวัดป่าขันติบารมีฯ ของหมู่บ้าน ได้อ่านหนังสือธรรมะ เมื่อวานอ่านหนังสือ "ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา" เขียนโดย "คุณราช รามัญ" เป็นหนังสือที่อาจารย์รุ่นน้องคนหนึ่งมอบให้ในโอกาสเกษียณค่ะ...ข้อความตอนหนึ่งในคำนำของผู้เขียนคือ..."การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี่คือหัวใจของธรรมะ นี่คือความจริงแห่งสัจธรรม นี่คือองค์รวมของความเป็นธรรมชาติ และธรรมดา ไม่ว่าคุณจะยิ่งใหญ่ โด่งดัง มากด้วยยศถาบรรดาศักดิ์หรือเงินทอง ทุกคนไม่อาจคลาดแคล้วจากธรรมชาติไปได้..."

 แต่ก็มีเหมือนกันค่ะ ด้านที่ต้องทน นั่นก็คือ การเรียกร้องจากคนใกล้ชิด ที่ต้องการให้แต่ละวัน พี่ทำงานบ้าน (ทำความสะอาดบ้าน จัดบ้าน ทำอาหาร ล้างถ้วยชาม ซักผ้า) ทำงานสวน และดูแลแกเท่านั้น ไม่ต้องการให้ใช้ notebook ไม่ต้องการให้ติดต่อสื่อสารกับใคร งานทุกอย่างพี่ไม่มีปัญหา แต่ข้อห้ามนี่สิพี่รับไม่ได้ ชีวิตของพี่ต้องพึ่งตนเอง และกำหนดวิถีชีวิตของตนเองมาตลอด เลี้ยงลูกก็ให้พวกเขาเลือกวิถีชีวิตของตน ตัวเองอายุก็ปูนนี้แล้ว จะต้องให้มาใช้ชีวิตตามข้อกำหนดของคนอื่นหรือ ...นี่แหละค่ะคือสิ่งที่พี่ต้องทนค่ะ

เดี๋ยวจะเข้าไปเยี่ยมในบันทึกของคุณน้องบ้างนะคะ หวังว่าคุณน้อง ภรรยา และลูกสาวทั้งสามจะอยู่เย็นเป็นสุขกันนะคะ

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะอาจารย์

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจและปิยวาจา จาก "คุณ tuknarak"

เหมือนภรรยาผมเลย ไม่อยากให้ผมมาใช้เวลากับการเขียนบล๊อค ก็เลยต้องเบาๆมือหน่อย

ภรรยาเป็นใหญ่ในแผ่นดิน ต้องเอาใจเธอก่อนครับ

-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน.

-ตามมาบันทึกนี้อีกรอบ ฮ่า ๆ 

-วันก่อนมีเมนูอึ่งมาฝาก

-วันนี้มี"สับปะรดพันธุ์ ตา-ยาย"มาฝากครับ

-เพิ่งได้รับการรับรองพันธุ์จากผมเมื่อวันก่อนน่ะครับ

-สนใจลองหามาปลูกไว้ีที่ฟาร์มได้นะครับ...



มากราบสวัสดีงามๆ กับอาจารย์ที่ไปให้กำลังในการบันทึกประจำ แต่มาไม่ถึงจึงมาเยี่ยมช้ามากค่ะ  วันนี้มีเวลาในการอ่านมากขึ้นค่ะ อาจารย์ยังให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการเรียนรู้อีกมากมายนะคะ ขอบคุณที่ได้แบ่งปันเพื่อการเรียนรู้ และเห็นมีทั้งลูกชาย พี่สาว และน้องๆ หนูขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ที่จะมาเรียนรู้นะคะ

  ( อาจารย์ชอบดอกกุหลาบสีนี้ไหมคะ )


ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจจาก "น้องครูตูม"...มาช้าดีกว่าไม่มานะคะ

เป็น "ผู้ร่วมเรียนรู้ (Co-learners)" ดีกว่าเป็น "ครู : ศิษย์ (Teacher : Student)" กันนะคะ นี่ถ้าพี่ยังเป็นอาจารย์คณะครุศาสตร์ คงได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ของน้องไปเป็นตัวอย่างให้กับคุณครูที่เข้ารับการอบรมแล้วล่ะค่ะ เพราะเป็นตัวอย่างได้ดีทีเดียวแหละนะคะ

ที่ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับหลากหลายชนิดค่ะ รวมทั้งกุหลาบ ซึ่งจะปลูกทุกชนิดทุกสีที่หาได้ แต่ไม่ทราบเป็นยังไงกุหลาบอยู่ไม่ค่อยทน ออกดอกงามๆ ให้ชื่นใจไม่เท่าไหร่ก็กิ่งแห้งตาย นี่ก็เพิ่งถอนสองต้นสุดท้ายทิ้ง ว่าจะพักการปลูกกุหลาบไว้ระยะหนึ่งค่ะ

สำหรับกุหลาบพันธุ์และสีที่น้องถาม พี่ชอบมากค่ะ เห็นทีไรอดซื้อไม่ได้ทั้งที่มีปลูกอยู่แล้ว (ปกติถ้ามีแล้วจะไม่ซื้ออีก) เพราะก้านอวบแข็งแรง กลีบดอกก็หนาแข็งแรง แล้วยังมีสองสีในดอกเดียวด้วย เสียอย่างเดียวไม่มีกลิ่น ขอบคุณมากนะคะที่ส่งดอกกุหลาบงามๆ มาประดับบล็อกให้พี่


"คุณเพชรน้ำหนึ่ง" เข้ามากี่รอบๆ อาจารย์แม่ไอดินก็ยังอยู่ที่เดิมค่ะ คงจะวันที่ 30 เม.ย. โน่นแหละค่ะ ถึงจะได้ลงบันทึกใหม่ (จะไปใช้ Internet ความเร็วสูงที่ที่พักลูกชาย ที่บางพลี สมุทรปราการค่ะ ...อาจารย์แม่งงมากนึกว่าลูกอยู่กทม. เขาบอกว่านอกรั้วหมู่บ้านที่เขาอยู่เป็นเขตกทม.แต่ในรั้วเป็นเขตสมุทรปราการค่ะ...เขาจะพาไปเที่ยวเกาะกูด จ.ตราด 1-3 พ.ค. ค่ะ)

อาจารย์แม่เข้าไปอ่านแล้วนะคะทั้งเรื่องมะม่วงกะล่อน และสับปะรด วันก่อนซื้อสับปะรดพันธุ์นางแลจากเชียงราย กินได้ทั้งแกน ...ทานแล้วก็กรอบดีค่ะ หวานพอปะแล่มๆ น้ำหนักลูกน่าจะขนาด 1 ใน 4 ของสับปะรดพันธุ์ตา-ยายเห็นจะได้ 

แต่จะบอกความลับ อาจารย์แม่ไม่คิดจะปลูกสับปะรดเพราะปอกไม่เป็น เคยซื้อตอนกลับจากเที่ยวที่ไหนจำไม่ได้ กลับไปปอกที่บ้าน โอ้โห! กว่าจะได้ทานหายอยากเลยค่ะ   

 

เข้าใจว่าอาจารย์แม่ยังอยู่ที่ตราด รอดูภาพกิจกรรมจากตราดครับ

เกาะกูด น่าสนใจนะครับ ผมไปแต่เกาะช้าง

http://www.gotoknow.org/posts/462716

เด็กๆๆน่ารักมากๆๆ

http://www.gotoknow.org/posts/450511

ใช่ค่ะ "ลูกขจิต" อาจารย์แม่และน้องๆ ยังอยู่ที่เกาะกูด จะเดินทางกลับกทม.พรุ่งนี้ค่ะ

ลูกตั้มพาอาจารย์แม่ไปเที่ยวเกาะช้าง ช่วงกลางเดือนพ.ค.54 ค่ะ บันทึกที่ลูกขจิตไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่เกาะช้าง อาจารย์แม่จำได้ว่า ได้เข้าไปอ่านอยู่นะคะ

อาจารย์แม่ตั้งใจจะลงบันทึก "ลูกพาเที่ยว...(ตอนที่ 1)" คืนนี้แหละค่ะ ขอบคุณมากนะคะ ที่บอกว่าจะติดตาม

ฝากภาพบนเรือมาให้ดู 1 ภาพนะคะ ถ่ายไว้ไม่กี่ภาพค่ะ

 

ดีจังนะที่ยายไอดินมีโอกาสไปเที่ยวกับหลานๆ...ป๋าเดยังไม่เคยไปเกะกูดหรอก...แล้วจะไปเยี่ยมชม"ลูกพาเที่ยว"

เที่ยวผ่านบันทึกของยายไอดินก็ได้นะคะ "ป๋าเด"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท