เคียงไหล่ลูกน้อง



พักนี้หัวใจอ่อนแรงเป็นบางเวลา เลยต้องหาอะไรมาเสริมกำลังใจ

นักเขียนแนวนี้ที่ชื่นชอบก็คือ วินทร์ เลียววาริณ กับหนังสือเสริมกำลังใจชุดที่ 4

“อาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก”

มีเรื่องหนึ่งให้กำลังใจสำหรับหนูณิชน์ตอนนี้ได้ดีมาก


เรื่อง เคียงไหล่ลูกน้อง


มหาเศรษฐี ชิน โสภณพนิช ผู้ก่อตั้งธนาคารกรุงเทพ เคยกล่าวว่า

“ต้องทำงานด้วยหลักความซื่อสัตย์ ขยัน อดทนและกตัญญูรู้คุณคน โดย

เฉพาะกับลูกน้อง ต้องดูแลเขาให้ดีทั่งในยามสุขและทุกข์

เพราะถ้าไม่มีเขา เราก็อยู่ไม่ได้”


แต่น่าเสียดายที่ไม่ใช่ผู้นำองค์กรทุกคนจะคิดและยอมรับอย่างนี้

ไม่เช่นนั้นแล้ว คงไม่ต้องพึงพานักสร้างสุของค์กร

เพราะองค์กรคงจะมีความสุขได้ โดยอัตโนมัติ และยั่งยืน


มาต่อ เรื่อง เคียงไหล่ลูกน้องดีกว่า

วินทร์ เขียนไว้ว่า...


องค์กรที่ประสบความสำเร็จล้วนเกิดจากการรู้จักใช้ และดูแลทรัพยากรบุคคล

พูดง่าย ๆ คือ นอกจากจะต้องใช้คนให้ถูกกับงานแล้ว ยังต้อง

แฟร์ กับลูกน้อง ไม่ใช่ได้ดีแล้วลืมคุณคนที่ช่วยให้เราโตขึ้นมาได้

น่าเสียดายที่องค์กรจำนวนมากไม่เคยสนใจสวัสดิการของพนักงาน

มองลูกน้องเป็น “ลูกจ้าง” มากกว่า “หุ้นส่วน”  ผลคือ

หาความซื่อสัตย์ได้ยากขึ้นทุกที หนีได้เมื่อไหร่ก็หนีเมื่อนั้น

เจ้านายบางคนเอ่ยกับลูกน้องทันทีที่ได้ยินลูกน้องโทรมาลาป่วยว่า ”ทำไมคุณป่วยบ่อยนัก”

  หรือ “คุณป่วยการเมืองแน่ ๆ เลย” หรือ “รู้ไหมคุณไม่มาบริษัทเสียหายหลายแสน “

ลูกน้องที่ป่วยทางกายจริงได้ยินเข้าก็คงเกิดอาอการป่วยทางใจไปด้วย

แต่ถ้าเจ้านายบอกว่า “ไม่เป็นไร ไม่สบายก็นอนพักนะ ไม่ต้องห่วงเรื่องงาน

พักผ่อนให้เต็มที่ เอาใจช่วยนะ”

อย่างนี้ ลูกน้องถึงจะแกล้งป่วยก็คงอาย เลิกนิสัยหนีงานแบบนี้


นักเล่นหมากรุกที่เก่งไม่ได้วัดกันที่ ชัยชนะ แต่อยู่ที่วิธีการเล่น

ผู้ชนะที่ตอนท้ายเหลือตัวเองโด่เด่หัวเดียวกระเทียมลีบจัดว่าเก่งก็จริง

แต่ผู้ชนะที่ตอนท้ายเกมเหลือไพร่พลขุนทหารรายล้อมถือว่าเยี่ยมกว่า

ทั้งนี้เพราะชีวิตของเบี้ยแต่ละตัวสำคัญไม่แพ้ชีวิตของม้าหรือขุนศึก

ไม่มีลูกน้อง ก็ไม่มีเจ้านาย


ทุกองค์กรเป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อย ฟันเฟืองแต่ละชิ้นมีความสำคัญ

ความเข้าใจนี้เป็นคุณสมบัติแรกของคนที่เป็นเจ้านาย

น่าเสียดายที่ไม่ใช่เจ้านายทุกคนยอมรับเพราะเจ้านายในโลกนี้มีสองแบบ

Boss กับ Leader

Leader เป็น Boss แต่ Boss อาจไม่มีคุณสมบัติเป็น Leader

Boss สั่งแต่ไม่สอนลูกน้อง

                      Leader สั่งและสอนลูกน้อง

Boss สร้างความกลัว (เกลียด)

                      Leader สร้างความเชื่อมั่น (เรียกว่า ศรัทธา)

Boss ช้แต่ "พระเดช” อย่างเดียว ลุแก่อำนาจ

                      Leader ใช้  "พระเดช" และ "พระคุณ" ใช้อำนาจอย่างมีธรรมะในใจ

Boss รู้หมดทุกอย่าง (เชื่อแต่ความคิดตนเอง)

                     Leader ยอมรับว่าตัวเองไม่รู้ทั้งหมด (ฟังและเชื่อในความคิดทุกคน ล้วพิจารณารอบด้าน)


ประธานาธิปดีเคนเนดี้ เตรียมสุนทรพจน์ที่จะกล่าวในเมืองดัลลัส

ในวันที่เค้าถูกลอบสังหารว่า “ความเป็นผู้นำและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นซึ่งกันและกัน”


ลี ไอเอคอคคา ซีอีโอแห่งบริษัทไครสเลอร์ ผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูง

ในโลกธุรกิจกล่าวว่า “หลักการบริหารไม่มีอะไรมากไปกว่า การกระตุ้นให้กำลังใจคนอื่น”


นักเขียน อัล แบทท์กล่าวว่า

“เคล็ดลับของความสุขคือการทำให้คนอื่นเชื่อว่าตัวเขาเป็นต้นเหตุของความสุข”


ลูกน้องจะทำงานแบบ "สู้ตายคะ" ก็ต่อเมื่อเจ้านายยืนเคียงบ่าเคียงไหล่

ไม่ใช่สั่งงานอย่างเดียว จนลูกน้องแอบชมลับหลังว่า “เจ้านายของเราดีนะ ดีแต่สั่ง” 

การบริการยุคใหม่จึงนิยมแนวราบมากกว่าแนวดิ่ง

ทรัพยากรของแต่ละองค์กรไม่เท่ากัน

แต่ทรัพยากรมากแค่ไหน ก็สู้การมีลูกน้องที่ยอม "สู้ตายค่ะ" ไม่ได้


อืม ว่าไปแล้ว ก็จริงตามนี้เลยนะที่ได้ประสบพบเจอ เจอทั้งBoss  ทั้ง Leader

แล้วคุณ ๆ ล่ะ มีผู้นำที่เป็น Boss หรือ Leader



หมายเลขบันทึก: 532544เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2013 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2013 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณเรื่องราวดีๆที่แบ่งปันครับ

ตามมาจากบ้านคุณ เต่าอรพรรณ

มาติดตามผลงาน วิน

ชอบกลักคิดนักเขียนคนนี้

การทำเวที

กาตั้งคำถาม ต่อยอดความคิด

เอาแนวคิดการคิดต่อจากเรื่อง" ยาแก้ท้องผูกตราควายบิน" ท้องไม่ผูก สมองไม่ตัน ความคิดไม่ตีบ เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้

แวะมาอ่านบันทึกที่ดี ขอส่งความสุขปีใหม่ไทยให้คุณนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท