ธรรมะข้างเตียง ตอน มาสวดโพชฌงค์พระปริตรกันเถิด


กิจกรรมธรรมะข้างเตียง

เมื่อฉันเริ่มทำกิจกรรมจิตอาสาข้างเตียงใหม่ๆนั้น ต้องเรียนรู้วิธีการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย

เริ่มจากการป้องกันการนำเชื้อโรคไปเพิ่มให้ผู้ป่วย และการไม่นำเชื้อโรคออกมาจากห้องผู้ป่วย

แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่ยุ่งยากเหมือนคิดและคำแนะนำง่ายๆของพยาบาลก็ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

กิจกรรมที่จิตอาสาทำได้ไม่ยากเลย คือ

1.การสนทนาบำบัด และจิตอาสาผู้ฟังต้องเป็นผู้ที่มีความคิดบวกเท่านั้น จึงเหมาะสมกับการเป็นผู้แบ่งปันความสุขที่ดี ไม่ทำให้ผู้ป่วยสับสน สร้างอารมณ์ขัน และสร้างความสุขให้ผู้ป่วยได้ 

2.การอ่านหนังสือธรรมะข้างเตียง ในการอ่านหนังสือธรรมะให้ผู้ป่วยฟังเป็นเรื่องง่าย หากต้องใช้ความละเอียดในเรื่องการวิเคราะห์ผู้ป่วยทั้งร่างกาย และจิตใจเพื่อเลือกหนังสืออ่านที่เหมาะกับผู้ป่วย หรือธรรมะที่เหมาะสมหับผู้ป่วยนั้นๆ  

3.เป็นเพื่อนช่วยหยิบจับสิ่งของที่ผู้ป่วยต้องการ หรือแม้แต่การช่วยผู้ป่วยให้ได้ดื่มน้ำ และรับประทานอาหาร ช่วยป้อน เช็ดทำความสะอาด ช่วยหยิบน้ำให้บ้วนปาก เทกระโถนบ้วนปาก สิ่งเหล่านี้ทำไม่ยากและช่วยให้ผู้ป่วยและจิตอาสามีความเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณได้

4.การทำสปามือ และเท้า ให้ผู้ป่วยตามหลักการดูแลผู้ป่วย และการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งจิตอาสาจะได้รับการอบรมให้ความรู้ และฝึกปฏิบัติ 

5.กิจกรรม เล่าให้ฟัง กิจกรรมนี้ผู้ป่วยเป็นผู้เล่า จิตอาสาต้องมีกุศโลบายที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เล่า ได้ระบายความในใจ ความประทับใจ และอื่นๆที่อยากเปิดเผย อยากเล่า โดยจิตอาสาจะเป็นเพียงผู้รับฟังเท่านั้น และเก็บข้อมูลเพื่อปรึกษาหาทางช่วยผู้ป่วยหากพบว่ามีปัญหา

6.การสวดมนต์ เป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยได้หันมาดูแลตนเอง ได้มีสติ และสร้างความตระหนักขึ้นในจิตใจ สร้างแรงศรัทธา พลังใจ แม้ผู้ป่วยจะไม่สามารถสวดมนต์ได้ด้วยตัวเองจิตอาสาที่พร้อมจึงพึงนำสวดให้ผู้ป่วยได้ฟัง หรือเปิดเทปธรรมะให้ผู้ป่วยฟัง ที่สำคัญหลังสวดมนต์ก็ควรได้นำพาผู้ป่วยแผ่เมตตา หากเป็นกหารฟังธรรมะด้วยกันก็ได้ร่วมกันอนุโมทนา และถอดบทเรียนข้างเตียงด้วยกัน จะช่วยให้เข้าถึงผู้ป่วย และสามารถนำพาผู้ป่วยให้ได้รับความสุขใจขณะนอนอยู่บนเตียง

7.เพลงบำบัด สามารถใช้คู่กับการออกกำลังกายบนเตียง การทำสมาธิแบบเคลื่อนไหวมือ หรือิแม้แต่การฟังอย่างมีสติ เพลงบำบัดจึงควรได้รับการคัดเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน

8.เพลงฟังสบายๆ เลือกให้เหมาะกับผู้ป่วยว่าชอบเพลงของใคร และควรเลือเพลงที่มีเนื้อหาจรุงใจมากกว่าเพลงเศร้า ปวดร้าวใจ ทั้ง นี้เพื่อนำพาผู้ป่วยให้มีพลังใจมากกว่า ความรู้สึกที่นำไปสู่ทุกข์

9.การฝีมือบำบัด 

10.การสวดโพชฌงค์พระปริตร ที่กำลังฝึกฝนเพื่อใช้ในการเยี่ยมผู้ป่วยสูงอายุ และเสริมพลังใจให้ผู้ป่วยด้วยเชื่อมั่นว่า จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้สติ ข่วยให้

ให้อาการป่วยทุเลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

อาการทาง 

จิตที่ไม่แจ่มใส คลุมเครือ จะเบาบางลง เพราะผู้ป่วยที่มีอาการทางจิตนั้นหน้าตาจะหมองเศร้า ไม่สดชื่น 

ผิวพรรณก็จะพลอยสลด เห็นแล้วหดหู่ใจ เสียกำลังใจ ไม่อยากต่อสู้ ไม่อยากรับรู้อะไร กลายเป็นคนน่าเบื่อ ซึมเศร้า อารมร์เสีย หงุดหงิดง่ายขึ้นมา หรือไม่ก็เศร้ามากเกินไป 

การสวดมนต์ หรือฟังเสียงสวดมนต์ จึงช่วยให้ได้มีโอกาสพิจารณา กำหนดรู้อารมณ์ ความคิดของตนเองบ้าง

จะได้ไม่ฟุ้งซ่าน  จิตก็สงบสะอาด บริสุทธิ์มากขึ้นเหมือนได้หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์กลับมาอีกครั้ง เพราะไม่เศร้าแล้ว จิตเป็นสมาธิได้รับรู้ถึง 

สภาวะญาณ เป็นการเริ่มต้นปฏิบัติที่ดี มีความลึกซึ้ง การเกิด ดับของอารมณ์จะเด่นชัด บางครั้งผู้ป่วยมีความ

ปิติเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ป่วยได้ปฏิบัติและประสบ โล่ง สบาย เบาของจิต ร่างกายของผู้ป่วยก็เบาสบาย เพราะจิตได้รับการกรองให้มีความบริสุทธิ์ด้วยตนเอง 

สมาธิของผู้ป่วยจะยิ่งมีความ มั่นคงเมื่อปราศจากสิ่งรบกวน 

กายกับใจจะเริ่มเชื่อมโยงใกล้ชิดกัน จิตมีความบริสุทธิ์ในขณะที่ผู้ป่วยได้ฟัง บทสวดโพชฌงค์จะช่วยประคับประคอง  ให้กายใจสงบ  ร่างกายจะปรับสมดุลเองโดยธรรมชาติ เมื่อธาตุในตัวมีความสงบ สบายเป็นเครื่องนำทาง ระบบการหมุนเวียนของเลือดจะทำงานได้ดีขึ้น เม็ดเลือดที่สร้างขึ้นใหม่จะมีความบริสุทธิ์  และไหลแทรกซึมไปทั่วร่างกายกาย ทำให้อวัยวะ ร่างกายสะอาด ร่างกายเบาสะบายรู้สึกคล่องตัวไแขนขาไม่หนักอึ้ง หัวหูไม่อื้อ้า สบายๆ ความรับรู้สูงขึ้น ผิวพรรณสดใสสะอาด จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนตัวเองหายป่วย หากผู้ป่วยปฏิบัติเช่นนี้จนเป็นกิจวัตร ผู้ป่วยอาจรู้สึกดี มีความสว่างเกิดขึ้น เข้าใจ ยอมรับ และหันมาบำรุงกายจิตให้มีความสมดุล หายจากเจ็บป่วยได้เร็ววันมากขึ้น

การสวดโพชฌงค์พระปริตรบทสวดนี้ที่ถือเป็นพุทธมนต์เมื่อผู้ป่วยได้สดับฟังแล้วอาจทำให้โรคทุเลาหรือหายได้มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฏกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปเยี่ยมพระมหากัสสปะที่อาพาธพระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมโพชฌงค์เมื่อพระมหากัสสปะได้ฟังจึงหายจากโรคได้ต่อมาพระโมคคัลลานะได้อาพาธพระพุทธเจ้าจุงได้แสดงสัมโพชฌงค์หลังจากนั้นพระโมคคัลลานะจึงหายอาพาธในที่สุดเมื่อพระพุทธองค์ทรงอาพาธเองก็ได้ตรัสให้พระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ถวายซึ่งพบว่าพระพุทธเจ้าก็หายประชวรจึงพากันเชื่อว่าโพชฌงค์นั้นสวดแล้วช่วยให้หายป่วยจากโรคได้โพชฌงค์ทั้ง7 ประการนี้ประกอบไปด้วย

1. สติสัมโพชฌงค์

2.ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์

3.วิริยสัมโพชฌงค์

4.ปิติสัมโพชฌงค์

5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

6.สมาธิสัมโพชฌงค์

7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์

หาฟังบทสวดโพชฌงค์ต่ออายุผู้ป่วยได้ที่นี่ค่ะ

http://youtu.be/8jyGBEeorUw

ขอบคุณนายแพทย์โมลี วณิชสุวรรณ แพทย์ผู้อำนวยการโรงพยา่บาล

ขอบคุณแพทย์ทุกท่าน 

ขอบคุณน้องพยาบาลทุกท่าน

และขอบคุณเพื่อนจิตอาสาทุกท่าน

ที่ให้ร่วมเดินทางนำพาความสุขสู่ผู้ป่วยทุกๆท่าน

ขอบคุณค่ะ


หมายเลขบันทึก: 531841เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2013 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อนุโมทนาบุญด้วยค่ะ....ยินดีกับผู้รับบำบัดเพื่อกายและจิตที่เป็นสุขนะคะ

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ อนุโมทนาค่ะ

ความสุขเกิดจากการให้

คือความสุขที่เบ่งบาน

ขอบคุณค่ะพี่ใหญ่ ร่วมกุศลร่วมบุญนะคะ

ขอบคุณน้องสามสัก ดอกไม้กำลังใจยิ่งใหญ่เกินประมาณค่านะคะ

ขอบคุณที่แวะมาร่วมบุญกันนะคะSuvidhya RuchiradhamrongThailand

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท