ความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน : งานบริการพยาบาล ผู้ป่วยนอก


ความรู้ และทักษะที่จำเป็นเฉพาะงาน : งานบริการพยาบาล ผู้ป่วยนอก


1. การคัดกรอง

ความรู้

1. ลักษณะของภาวะสุขภาพที่เบี่ยงเบนของร่างกายระบบต่าง ๆ

2. พยาธิ-สรีรภาพเฉพาะ ของกลุ่มโรค กลุ่มอาการที่พบบ่อย 5 อันดับแรก กลุ่มเสี่ยง กลุ่มโรคระบาดในพื้นที่ตามฤดูกาล

3. แนวทางการประเมินสภาพแรกรับ

4. แนวทางการซักประวัติ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย

5. การ แปลผลการตรวจทางห้องปกิบัติการ

6. เกณฑ์การจำแนกประเภทผู้ป่วย ของงานผู้ป่วยนอก

ทักษะ

การคัดกรองด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว

1. มีทักษะในการสังเกต วิเคราะห์  เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างภาวะสุขภาพปกติ และผิดปกติ

2. การสอบถามอาการสำคัญ ค้นหาสาเหตุ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย

3. การประเมินสภาพ และการรวบรวมข้อมูลสำคัญเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

4. การบันทึกผลการประเมินสภาพ และการรวบรวมข้อมูล

5. การวิเคราะห์ ตัดสินใจ ระบุประเภทผู้ป่วย และลำดับการเข้ารับการตรวจรักษา


 2.การช่วยเหลือเบื้องต้น

ความรู้

1. การดูแลเบื้องต้น ในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติ

2. การบริหารจัดการ ในการช่วยบรรเทาอาการ ภาวะวิกฤต และการช่วยชีวิต

ทักษะ

1. การตัดสินใจกรณีเร่งด่วน

2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

3. การจัดการ และการช่วยฟื้นคืนชีพ

4. การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5. การประสานงานสหสาขาวิชาชีพ


3. การเตรียมผู้ป่วยรับการตรวจฉุกเฉิน และการตรวจรักษา

ความรู้

1. การเผชิญความเครียด และการปรับตัวระหว่างรับการตรวจรักษา

2. ขั้นตอนการตรวจรักษา

3. ผลของการตรวจรักษา / ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น / มักจะเกิดขึ้น

ทักษะ

1. การประเมิน ความเครียด และความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ

2. การประเมิน และวิเคราะห์ปัญหาด้านจิต อารมณ์ ของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ

3. การให้ข้อมูล และการช่วยเหลือการปรับตัว ก่อน และระหว่างการรับการตรวจรักษา

4. การช่วยเหลือจัดการภาวะแทรกซ้อน / อาการรบกวนจากการตรวจรักษา


4. การค้นหาสาเหตุ / ปัจจัยส่งเสริมความเจ็บป่วย พฤติกรรมสุขภาพ ความคาดหวัง และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

ความรู้

1. มีความรู้ในเรื่อง พยาธิ สรีรวิทยา และแบบแผนการเจ็บป่วย 5 อันดับ โรคแรก

2. การประเมินสภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วย 5 อันดับโรคแรก

3. การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ทักษะ

1. การสังเกต สัมภาษณ์ ตรวจร่างกาย เพื่อค้นหา

1.1 ปัญหา สาเหตุ การเจ็บป่วย

1.2 ปัจจัยส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพ ความคาดหวัง การมีส่วนร่วมของผู้ป่วย และญาติ

2. การวิเคราะห์ แปลผลการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ

3. การสื่อสารด้วยถ้อยคำที่กระชับ กะทัดรัด ชัดเจน


  5. การวางแผนการดูแลต่อเนื่อง


ความรู้

1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จในการดูแลตนเอง / เพื่อควบคุมอาการ

2. การวางแผนการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ

3. การประเมินผลการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน ของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ


ทักษะ

1. การคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ

2. การสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการ และญาติ ในการดูแลตนเอง และการประเมินผลลัพธ์ตามเป้าหมาย

3. การสอนความรู้  การฝึกทักษะ รวมทั้งการให้การปรึกษาการดูแลตนเอง



ขอขอบคุณอาจารย์จินนะรัตน์ ศรีภัทรภิญโญ อาจารย์รัมภา ศรารัชต์ สำนักการพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 531594เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2013 09:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2017 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท