การกระทำกับเหตุผล


และสุดท้ายถ้าการกระทำนั้นดีอย่างที่สุดก็ไม่มีความจำเป็นต้องตามมาอธิบายทีหลัง ท้ายที่สุดถ้าเรามีดีพอ สักวัน เขาก็ต้องเข้าใจ ในความหวังดีที่เรามีให้ แม้อาจผิดวิธีการ

การกระทำกับเหตุผล

ถ้าโดยปกติเราหาเหตุผลก่อนที่จะลงมือทำอะไร การกระทำที่เกิดขึ้นก็เป็นไปได้ว่าน่าจะได้รับการยอมรับ (แต่เหตุผลนั้นต้องตรงตามจริง ไม่ใช่เหตุผลเฉพาะของใคร) แต่ถ้าเราไม่ชินกับการคิดหาเหตุผลให้ดีก่อน ที่จะกระทำส่ิงใดลงไป ก็คงต้องพยายามหาเหตุผลสนับสนุนให้การกระทำของเราถูกต้อง ตนเองพอจะสบายใจและยอมรับได้ ก็เพียงเพราะเราได้ทำมันลงไปแล้วถึงเพิ่งจะรู้ว่า การกระทำนั้นมันเกิดจากการลืมคิดไปถึงเหตุผลที่คนอื่นจะยอมรับ หรือนั่้นมันเป็นการกระทำที่ตั้งใจจะทำให้ได้ แม้ต้องทำร้าย ทำลายความรู้สึกของใคร ภายหลังการกระทำ ถึงจะมาอธิบายอะไรในตอนนี้ ก็ป่วยการกับการที่จะหาเหตุผลนานา มาเพื่ออธิบาย เพราะมันไม่อาจเรียกความรู้สึกดีๆ กลับคืนมาได้ แต่ถ้าอธิบายเพียงเพื่อทำให้ตนเองรู้สึกดี ก็ทำไป สิทธิ/โอกาสเป็นของเธอ แต่สิทธิที่จะยอมรับในเหตุผลหรือไมก็เป็นสิทธิของฉัน  มันดูออกจะธรรมดาๆ เพราะมันเกิดขึ้นกับใครก็ได้เสมอ และเราก็เข้าใจมันดีมาโดยตลอด  ไม่ใช่ยอมรับไม่ได้ แต่แค่อยากบันทึกไว้ (ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง) เพียงแต่ทำให้เราได้เรียนรู้ ...เพราะเราต่างหากที่เลือกได้ว่าจะมีความสุขหรือทุกข์ใจกับมัน  และสุดท้ายถ้าการกระทำนั้นดีอย่างที่สุดก็ไม่มีความจำเป็นต้องตามมาอธิบายทีหลัง ท้ายที่สุดถ้าเรามีดีพอ สักวัน เขาก็ต้องเข้าใจ ในความหวังดีที่เรามีให้ แม้วิธีการไม่อาจยอมรับได้

ตัวเราเท่านั้นที่มีสิทธิพิพากษาตัวเอง

คนอื่นทำกับเราได้ก็แค่ปรักกปรำ

หมายเลขบันทึก: 531591เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2013 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท