Butterfly Effect


หันหน้ามาดูปัจจัยเล็กๆ ความสำเร็จเล็ก อย่ามองข้ามไป เพราะสิ่งเล็กๆ เมื่อรวมตัวกันสะสม ย่อมเขย่าโลกได้

  

         ความสนใจในเรื่อง Butterfly Effect ยังคงค้างคาใจ  ส่งผลให้วันนี้อยากเรียนรู้ถึงที่มาที่ไปเป็นอย่างไร  เพราะว่ามีต้นเหตุตั้งแต่ การอ่านหนังสือ How to Think Like Leonardo da Vinci เขียนโดย Michael J. Gelb  การอ่านบทความ KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ: 92. ระบบ  ที่กล่าวถึง “KM แนว LO เน้นการจัดการแบบเอื้ออำนาจ ให้พลังแห่งระบบที่ซับซ้อนทำงานเอง และหวังผลลัพธ์ในระดับ ปรากฏการณ์ผีเสื้อ  และความสนใจมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่ได้ไปดูหนังเรื่อง IN Inconvenient Truth

      เรามารู้ที่มาที่ไปก่อนว่าเป็นมาอย่างไร  จะรู้จักเป็นอย่างดีในแวดวงอุตุนิยมวิทยา เพราะเป็นทฤษฎีอุตุนิยมวิทยา ที่กล่าวว่า ผีเสื้อตัวหนึ่งกระพือปีกที่ฮ่องกง สามารถที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศที่แคลิฟอร์เนียเปลี่ยนแปลงได้เมื่อ 1 เดือนให้หลัง นี่คือกระบวนการที่เรียกว่า Butterfly Effect  (ได้มีหนังสือของศาสตราจารย์เลอลองได้กล่าวถึงการนำเสนอ Lecture ทางวิชาการ 3 ชุด ที่ University of Washington (Seattle) ภายใต้การสนับสนุนของคหบดีที่อุดหนุนด้านการศึกษามนุษยชาติ (Jessy Dance)   ซึ่งในการนำเสนอของศาสตราจารย์ ที่เป็นนักอุตุนิยมวิทยามากว่า 30 ปี ได้เฝ้าวิจัยแนวความคิดด้านอุตุนิยมวิทยา   ท่านได้ค้นพบโดยบังเอิญ จากกระบวนการที่ท่านนั่งเฝ้าตัวเลขที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปเป็น 0.0000001 ของทศนิยม ท่านนั่งเฝ้าเข็มรายงานความเคลื่อนไหวของอากาศ ทุกครั้งที่เกิดการสั่งสะเทือนของระบบการรับข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะอากาศ และเฝ้าสังเกตดูจุดทศนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละจุด ๆ เมื่อเกิดความคลาดเคลื่อนไปแล้วจะทำให้เกิดรูปร่างที่เหมือนกับโครงสร้างของผีเสื้อ   และพบว่า .0000001 ที่คลาดเคลื่อนไปก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมหาศาล การเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลในภาวะแวดล้อมของอุตุนิยมวิทยาไม่ใช่เกิดขึ้นจากสาเหตุใหญ่ ๆ เลย       หากแต่เกิดขึ้นจากสัญญาณเล็กๆ เป็นจุดๆ  จึงอธิบายได้ว่าถ้ามันเป็นเช่นนี้จริงก็หมายความว่า   แม้กระทั่งผีเสื้อตัวเล็กๆ กระพือปีกเบาๆ อยู่ที่ฮ่องกง ปีกที่กระพือนั้นอาจจะสะเทือนส่งไปถึงแคลิฟอร์เนีย หรืออีกซีกโลกก็เป็นได้

ในอดีตเรามักมองหรือเน้นที่ปัจจัยใหญ่ๆ และมักมองข้ามปัจจัยเล็กๆ และเราก็บอกว่าปัจจัยใหญ่ๆ ทำให้เกิดสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้  แต่ในปัจจุบันนี้เรากลับพบว่าปัจจัยที่เล็กที่สุด มองดูเหมือนกับปัจจัยที่ไม่มีใครจะสนใจเลย กลับเป็นปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในสภาวะความเป็นไปของโลก และจักรวาลได้

          เช่นเดียวกัน เราจึงอยากเห็นผลปรากฏการณ์ผีเสื้อที่เต็มพื้นที่ทั่วเมืองไทย    ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่อุดมปัญญา ด้วยเครื่องมือการจัดการความรู้ด้วยการมองที่หาความสำเร็จเล็กๆ (ปัจจัยเล็ก) ในหน่วยงาน และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยใจที่พร้อมจะให้  เปิดรับแนวคิดใหม่ แง่มุมใหม่ ไม่จมปลักอยู่ที่จุดเดิม แสวงหาจุดร่วม และสงวนจุดต่าง  เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วนำมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของตน  และกลับมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใหม่ เป็นวงจรยกระดับความรู้อย่างต่อเนื่อง   อาจก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงใหญ่แบบก้าวกระโดด    สู่มิติใหม่  หรือ ภพภูมิใหม่ 
หมายเลขบันทึก: 53152เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2006 19:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 01:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะคุณจ๊ะจ๋า

  • ครูอ้อยเข้ามาทักทาย  โปรดคลิกที่นี่
  • ไม่มีรูปผีเสื้อ  เอารูปผีกางเกงมาก่อนได้ไหมคะ  อิอิ
  • เสียดาย  ผีเสื้อที่โรงเรียนมีไม่กี่ตัวค่ะ 
  • ผีกางเกงมีเยอะค่ะ อิอิ  พูดเล่น 
  • ในอนาคตอันใกล้นี้  ต้องมีผีเสื้อเกิดตอนแก่เยอะเลยค่ะ  อิอิ  พูดเล่นอีกแล้วค่ะ 
  • บ๊ายบาย
  • ตามรอยมาทักทายค่ะ...
  • ขอบคุณที่ไปเยี่ยมเยียน
  • เข้ามาอ่าน จะเก็บเกี่ยวความรู้ไปใช้เป็นแนวคิดในการทำงานในการทำงานค่ะ...ขอบคุณค่ะ
อยากเห็นสังคมไทยให้ความสำคัญกับคนเล็ก คนน้อยบ้าง   ฟังเสียงรอบข้างบ้าง แล้วจะเห็นว่าเสียงที่เราได้ยินจากคนเหล่านั้น อาจเกิดพลังมหาศาลในการก่อเกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่คาดคิดได้ (เรื่องดีๆ ความสำเร็จดีๆ มีมากมายแต่เราคงลืมที่จะใส่ใจไป) เหลียวกลับมามองซักนิด แล้วคุณจะคิดว่า ชีวิตนี้ยังมีสิ่งดีๆ มากมายรายรอบตัวคุณ

สวัสดีค่ะ คุณจ๊ะจ๋า

เข้ามาอีกครั้ง  ผีเสื้อสวยขึ้นค่ะ  และก็ตอบสนทนาเป็นการเป็นงานจัง  ครูอ้อยต่อไม่ได้เลยค่ะ

ขอบคุณคะครูอ้อย เห็นว่ารูปเดิมไม่มีสีสันเท่ารูปใหม่  ถ้าอ่านแล้วมีส่วนเพิ่มเติม เสริมเข้ามาเลยคะ เพราะจ๊ะจ๋าอาจจะมองแค่ 1 มุม อยากรู้หลายๆ มุม เหมือนกันคะ

คุณจ๊ะจ๋าขา

  • เส้นตรงเกิดจากจุดหลายๆจุดจึงจะเป็นเส้นตรงได้
  • สังคมใหญ่ที่ดีก็ต้องมาจากสังคมเล็กที่ดี
  • มดตัวน้อยตัวนิดยังทำให้ช้างตัวเบ้อเร่อล้มได้
  • ผีเสื้อน้อยกระพือปีกซีกโลกหนึ่งแต่อาจทำให้ซึกโลกหนึ่งสะเทือนได้
  • ดังนั้นไม่ควรดูถูกคนจบ ป.4 และเห็นค่าคนจบปริญญาเอก  ใช่ไหมคะ

  Butterfly effect does really make us concerned about any action whether from someone else or from ourselves, including even some little action. On the whole, I would think of that everything are related to a certain extent. I wish I would see more knowledge about how to exercise this phenomenon in KM.

 

ครูอ้อยคะ  จ๋าว่าคนทุกคนมีคุณค่าในตัวเองคะ และอยู่ที่ว่าเค้าจะเห็นคุณค่าของตัวเองมากน้อยแค่ไหน และวัดค่าของคนจากอะไร  และอยากให้กันมาใส่ใจกับสิ่งรอบตัว และแคร์กันมากขึ้น เราเป็นชาวตะวันออก ชาวพุทธ มีวัฒนธรรมที่ดีงามและไม่ดูถูกคนนะคะ จ๋ามีความเชื่อเช่นนี้

  • น่าสนใจมากค่ะ
  • คนเขียน blog สวยนะคะ

ขอบคุณคะคุณBrifht Lilyที่ชม..เขินจัง ... ยินดีต้อนรับเข้าสูโลกของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท