วันที่ 11 ต.ค.เป็นวงเรียนรู้คุณอำนวยกลุ่มการเงิน 3 ตำบลต่อเนื่องจากวันที่ 15 ก.ย.มีผู้เข้าร่วม14คน ขาดลุงชินวัฒน์คนเดียว เป็นการเรียนรู้ทั้งวันที่สนุกสนานและมีความคืบหน้าอย่างน่าสนใจยิ่ง
เมื่อผมไปถึง คนที่มาถึงก่อนบอกว่าผู้ว่าวิชม
ทองสงค์มาสังเกตการณ์ตั้งแต่เช้า ทำให้พวกเราคึกคักกันมาก
เพราะมีผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ
ผมเริ่มรายการโดยทบทวนการบ้านคราวที่แล้ว
จากนั้นให้แต่ละทีมหารือกันเพื่อรายงานผลการดำเนินงานและแผนงานระยะต่อไปให้เพื่อนทราบ
ผมไม่ลืมทบทวนแนวคิดสำคัญของการจัดการความรู้คือ
การพัฒนาความสามารถเพื่อบรรลุ
เป้าหมายที่ตั้งไว้โดยมองที่ตัวเองเป็นหลัก
แต่ละทีมเริ่มหารือกันในลักษณะของทีมงานมากขึ้น
มีการนำเสนอบริบทของชุมชนและข้อมูลกลุ่มองค์กรในชุมชน
สถานะการณ์การขับเคลื่อนในพื้นที่ ซึ่งเห็นประเด็นร่วมกันว่า
ควรเริ่มจากกลุ่มการเงินในแต่ละหมู่บ้านก่อน(ที่ผ่านมาเราประชุมเครือข่ายระดับตำบลทั้ง2ครั้ง)โดยใช้แบบจำลองปลาตะเพียนซึ่งอ.จำนงเสนอว่านอกจากทำเป้าหมายให้ชัดเจนแล้วควรทำส่วนหางด้วยคือความรู้เดิม
ที่มีอยู่มีอะไรบ้าง?
การลปรร.มีอรรถรสมาก
มีเสียงเฮเป็นระยะด้วยลีลาการนำเสนอและการแซวเวทีกัน
เพราะคุ้นเคยเป็นพวกเดียวกันแล้ว ตอนพักเที่ยง
เราเดินไปกินขนมจีนด้านตรงข้ามที่ศาลาประดู่หก
แล้วกลับมาวางแผนงานกันต่อ
ผมเห็นว่าการลงพื้นที่ตั้งต้นที่ฐานของแต่ละกลุ่มเป็นความจำเป็นมาก
แต่ต้องการผู้ช่วยคุณอำนวยจำนวนหนึ่ง
พอดีเราได้ตัวอย่างการนำเสนอของต.ท่าไร่ที่บอกว่า
เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ระดับตำบลซึ่งมีอยู่เดิมตั้งใจจะช่วยพัฒนากลุ่มการเงินตำบลให้เข้มแข็งตามที่โครงการนี้ตั้งความหวังไว้
วันที่15ต.ค.นี้จะประชุมทำแผนพัฒนากัน
ผมจึงเขียนภาพแสดงบทบาทที่กำลังเกิดขึ้นใหม่คือคุณอำนวยของชุมชน
ผมเห็นว่า
แกนนำเครือข่ายจะทำหน้าที่คุณอำนวยเพื่อลงไปทำหัวปลาตะเพียนและหางปลาตะเพียนในแต่ละกลุ่มการเงินของตำบล
โดยการนำของคุณอำนวย 3 คนของโครงการ
ทีมตำบลของเราก็จะมีคนมาช่วยมากขึ้น
คุณอำนวย3คนก็สามารถลงลึกในพื้นที่ของแต่ละทีมได้มากขึ้น
ต.ท่าไร่จึงเป็นต้นแบบในการวางแผนขับเคลื่อนงานซึ่งสรุปว่าเป้าหมายของการประชุมคือ
ได้แผนลงพื้นที่แต่ละกลุ่มการเงินในตำบลประกอบด้วย
1)ตารางลงพื้นที่
2)กำหนดการ
3)คุณอำนวยผู้รับผิดชอบ
กำหนดการจะบอกกระบวนการในการประชุม
เป้าหมายในการจัดประชุมของกลุ่มการเงิน(หัวปลาและหางปลา)จะบอกถึงผู้เข้าร่วมประชุม
หากดำเนินการครบทุกพื้นที่ก็จะทราบเป้าหมายการพัฒนาของแต่ละกลุ่มรวมทั้งความรู้ความสามารถที่กลุ่มมีอยู่
หลังจากนั้นคุณอำนวยจะสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างสอดคล้องตามเป้าหมายของแต่ละกลุ่ม
วันที่ 19
ต.ค.เป็นเวทีทำแผนลงพื้นที่พัฒนากลุ่มการเงินของต.มะม่วง2ต้นซึ่งยังไม่มีโครงข่ายคุณอำนวยชุมชน
แต่มีตัวต่อคือน้องตุ้ย
เลขานุการนายกอบต.ซึ่งมีความรู้และร่วมขบวนกับเราตั้งแต่ต้นจะเป็นผู้ประสานคุณอำนวยชุมชนให้
วันที่25ต.ค.เป็นเวทีต.บางจากซึ่งนัดหมายไว้แล้วจากตลาดนัดความรู้คราวที่แล้ว
โดยนัดประธานหรือผู้แทนกองทุนหมู่บ้านๆละ1คนมาร่วมหารือเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายตามเป้าหมายการสร้างสวัสดิการระดับตำบล
โดยจะนัดผู้นำที่มีแววเป็นคุณอำนวยเข้าร่วมหารือการทำแผนลงพื้นที่ราย
หมู่บ้านด้วยซึ่งจะได้ประสานกับประธานกองทุนในคราวเดียวกัน
อีกประเด็นหนึ่งจากเวทีต.บางจากคราวที่แล้วคือ
การอบรมบัญชีให้กับทุกกองทุนซึ่งคุณอำนวยได้หารือกันพบว่า
หน่วยงานต่างก็มีรูปแบบบัญชีของตนเองทั้งกศน. พช. ธกส. ออมสิน เกษตร
มีการเสนอให้แต่ละหน่วยงานขายสินค้าของตนให้ชุมชนตัดสินใจ
และข้อเสนออื่นๆ สุดท้ายลงความเห็นว่า
เมื่อเราทำโครงการที่เรียกว่าบุรณาการแล้ว
ก็น่าจะบูรณาการรูปแบบทะเบียน
บัญชีร่วมกันให้ชัดเจนก่อนที่จะอบรมให้กับแต่ละกองทุน
โดยเสนอผ่านคุณเอื้อมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบด้านอบรมบัญชีของแต่ละส่วนงานมาร่วมทีมกัน
สรุปรูปแบบบัญชีให้สอดรับกับสภาพการดำเนินงานของกลุ่ม
จากนั้นสรุปเป็นแบบทะเบียนบัญชีของจังหวัด
ไม่ใช่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งนำออกเผยแพร่ อบรมกองทุนต่าง ๆ
นับเป็นข้อสรุปที่เป็นเนื้อเป็นหนังของกิจกรรมบูรณาการการทำงานของหน่วยงานซึ่งหากทำได้ถือเป็นงานชิ้นโบว์แดงเลยทีเดียว
พวกเราตกลงว่าจะนำเสนอในเวทีคุณเอื้อเพื่อให้รีบดำเนินการต่อไป