การศึกษานอกโรงเรียน กับการจัดการความรู้ในองค์กร


สิ่งที่จะทำให้องค์กร บรรลุผลเรื่องการจัดการความรู้ คือ วัฒนธรรมแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ของคนในองค์กร

              การศึกษานอกโรงเรียน  หรือบางครั้งเราก็ใช้คำว่า "การศึกษานอกระบบ"บางแห่งหรื่อบางประเทศก็ใช้คำว่า การศึกษาผู้ใหญ่ (Adult Education ) หรืออาะเป็นเพราะคนส่วนใหญ่เคยชินกับคำว่า  ในระบบโรงเรียน คนส่วนใหญ่ก็เลยเรียก การศึกษาที่อยู้นอกรั้วโรงเรียนว่า  การศึกษานอกโรงเรียน 

                พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542  หมวด 3 ว่าด้วย ระบบการศึกษา มาตรา 15  ได้อธิบาย "การศึกษานอกระบบ " ว่า เป็นการศึกษามีความที่ยืดหยุ่น  ในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล  วึ่งเป็นเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื่อหาและหลักสูตร จะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 

               วิธีการจัดการศึกษา ใช้ 3  วิธี คือ 1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง 2. การเรียนรู้เป็นกลุ่ม 3. การสอนเสริม  โดยภารกิจหลักของครู ต้องทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกของกลุ่ม (Group Facilatator )  มีหน้าที่คอยกระตุ้นให้สมาชิกของกลุ่มได้แสดงความคิดเห็น อย่างกว้างขวาง และทั่วถึง  เพราะหลักการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy) มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ของผู้ใหญ่ไม่เหมือนกับเด็ก  เพราะผู้ใหญ่มีความแตกต่าง กับเด็กหลายประการ เช่น มโนทัศน์ของผู้เรียน  ประสบการณ์ของผู้เรียน ความพร้อมของผู้เรียน  ฯลฯ  ดังนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องสอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียน เหมาะสมกับธรรมชาติและวิถีชีวิต  การจัดกิจกรรมต่าง จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม เช่นการแบ่งกลุ่มกันอภิปราย  การระดมพลังสมอง  (ในสมัยก่อน 20 ปีที่แล้ว  หลายคนมักแอบเรียกพวกเราว่า   "ครูแบ่งกลุ่ม " เพราะเวลาจัดการเรียนการสอน การอบรม ก็ต้องมีการแบ่งกลุ่ม   มีแผ่นเรียนที่เป็นประเด็นปลายเปิด  ให้ผู้เรียนได้ช่วยกันคิด  เสมอ )ทั้งนี้ด้วยความเชื่อในศักยภาพของคน  เชื่อในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของคนทุกคนว่าเท่าเทียมกัน

                 ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดการความรู้ (KM ) ที่เชื่อว่า  บุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดขององค์กร  ( People are our most important asset )  โดยเชื่อมั่นว่า บุคลากรเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้องค์กรบรรลุ จุดประสงค์และเป้าหมายได้ ดังนั้นคุณค่าและประโยชน์ของการนำการจัดการความรู้มาใช้นองค์กร เพื่อให้มีกระบวนการขับเคลื่อน และเติบโต (ไม่เป็น ตอไม้ที่ตายแล้ว ) โดยใช้ระบบก่อให้เกิดวงจรของการเรียนรู้ เริ่มจาก ค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน เพื่อนำไปสู่การทำงาน   โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  การฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน การจัดกิจกรรมเหล่านี้จะไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาเลย ถ้าตราบใดที่คนในองค์กร อันประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา  คนงาน ภารโรง และเจ้าหน้าที่ทุกคน  ยังคงมองว่า Km เป็นการเพิ่ม ภาระงาน  ไม่สามารถบูณาการให้ Km  เข้าไปอยู่ในวิถีงานปกติได้  .. การปฏิรูปการศึกษา ที่เราหวังจะปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  ก็คงเป็นแค่นามธรรม เป็นคำพูดที่สวยหรูอยู่ใน พรบ. ฉบับใหม่

             ดังนั้น การการนำ KM มาใช้ให้ประสบผลดังที่หวังนั้น อับดับแรก  ต้องเริ่มต้นจากการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่ง Bob Buckman  (อ้างอิงจาก วารสารสถาบันพัฒนาผูบริหาร : 13 )  ประธานบริษัท Buckman  Laboratories ซึ่งได้รับรางวัล   ของประเทศอังกฤษ  (The  Most Admird Knowledge Enterprises )  โดยเขาได้เป็นผู้ตอบคำถามที่ ว่า

                  คำถาม :What are the  three critical factors in Knowledge Management ?

              คำตอบ :   Culture Culture Culture

                                                                                                                            

คำสำคัญ (Tags): #เวทีแลกเปลี่ยน
หมายเลขบันทึก: 5270เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 03:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     ถ้าหากผมจะเรียก กศน. ว่าเป็นหน่วยจัดการทรัพยากรบุคคลที่คอยเติมเต็มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้มากหน่วยหนึ่ง คงไม่ผิดนะ คำนี้ผมเคยใช้บรรยายให้เยาวชนที่มาจาก กศน.และมาจากในระบบโรงเรียนฟังครับ (ตอนจัดอบรมฯ เรื่องโรคเอดส์ ที่ อ.บางแก้ว) คิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไรครับ

   เรียน คุณชายขอบ

            ขอบคุณที่ท่านช่วยสนับสนุน สละเวลาให้ความรู้แก้น้อง ๆ ชาว กศน. และยังให้กำลังใจพวกเรา Km กศน.มือใหม่  ตอนนี้ ที่ชุมพร  สถานการณ์โรคเอดส์ก็น่าเป็นห่วง กศน.ชุมพรทำงานร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เราค้นพบและยอมรับ จุดอ่อนของการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ อีกส่วนหนึ่งที่ชุมพร  คือ เราขาดกระบวนการประเมิน ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งก็จะพยายามทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในปีนี้  ท่านคงช่วยเป็นวิทยากรให้น้องๆ ทั้งในและนอกระบบ โรงเรียน รวมทั้งชี้แนะพวกเราต่อไปนะคะ  Km /ชุมพร

     จริง ๆ แล้วฐานคิดผมคือความรู้เรื่องโรคเอดส์นี่มีกันอยู่พอสมควรแต่การตระหนักต่อตนเองนี่สำคัญ และที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นใดเลยในเรื่องโรคเอดส์ คือการตระหนักต่อผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อครับ เขายั
เป็นมนุษย์ครับเรา (สังคม) ต้องดูแลเขา อันนี้ต้องยอมรับกันว่าแรก ๆ (ผมอยู่ ม.3) ตอนนั้นสังคมสอนให้กลัวและเกลียดโรคเอดส์ จนลืมนึกไปว่าคนที่ติดเชื้อจะถูกเกลียดไปด้วย แล้วจริง ๆ ตอนนั้นผมทำรายงานหน้าชั้นเรียนพอผมบอกว่าให้สงสารเขาบ้าง (เพราะมีข่าวลงว่าพ่อแม่ก็ไม่เอา ไม่รับกลับบ้าน ผมเอามาอ้างถึง) เพื่อน ๆ หัวเราะผมกันทั้งชั้นเรียน ทุกวันนี้เรา (สังคม) ก็ต้องมาจ่ายเงินเพื่อรณรงค์ให้คนทั่วไปเข้าใจและอยู่ร่วมกันในสังคมได้
     ประเด็นที่สำคัญที่เป็นต่อแรก คือจะทำให้เกิดการเป็นแปลงการตระหนักต่อโรคเอดส์ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง คือการเรา (สังคม) ได้เรียนรู้ผู้ป่วยเอดส์อย่างเข้าใจ (เพราะเห็นกับตา ไม่ใช้สักแต่เขาว่า...) ผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อก็อยู่ได้ในสังคมนานขึ้น อีกนาน (จะอยู่ได้อย่างปกติถ้าร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แข็งแรง) นี่คือต่อที่สอง (เชื่อไหมครับว่าคนไทยมีพื้นฐานการอาทรต่อกันอยู่ใน ยีนอยู่แล้ว)
     ผมไม่ใช่คนที่ทำงานเอดส์โดยตรง แต่เกี่ยวข้องเท่านั้น วันนั้น (วันเอดส์โลก ปี 2546) ที่บางแก้ว ผมแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม น้อง ๆ ประมาณ 50 คน (ถ้าจำไม่ผิด) โดยให้ทุกกลุ่มมีสมาชิกที่หลากหลายครับ ผสมผสานกัน ประถม มัธยม คละโรงเรียนกัน เพศหญิง-ชาย น้อง ๆ จาก กศน.ก็แยกย้ายกันอยู่ทุกกลุ่ม แล้วภาคเช้าก็ให้เล่าความรู้ ประสบการณ์ และความรู้ต่อเอดส์ (ไม่เน้นว่าโรคหรือคนไข้) พี่เลี้ยงประจำกลุ่มก็ออกมาสรุป (อาจารย์ที่ควบคุมเด็กมานั่นแหละ ใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมหมด) ตอนบ่ายก็ช่วยกันจัดบอร์ดเพื่อเอากลับไปติดที่โรงเรียน หรือศูนย์ กศน. (ดูภาพจากที่นี่ครับ คลิ้ก link เลยที่ http://gotoknow.org/file/chinekhob/AIDS2004_1.jpg  และที่ http://gotoknow.org/file/chinekhob/AIDS2004_2.jpg )
     และที่ผมต้องพูดว่า กศน. ว่าเป็นหน่วยจัดการทรัพยากรบุคคลที่คอยเติมเต็มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้มาก ก็เพื่อสร้าง Empowerment ให้น้องเขา เนื่องจากดูแล้วค่อนข้างจะแปลกแยกอยู่ในช่วงเปิดเวทีแรก ๆ ซึ่งก็ผมพูดความจริงนี่ครับ (ยาวไปไหม...ฮา)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท