100 (กว่า)เรื่องสันสกฤต ใน Gotoknow


สองสามวันก่อน ค้นดูข้อมูลที่เขียนไว้ใน Gotoknow จึงทราบว่าเราเขียนเรื่องสันสกฤต (ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเดียว) มาตั้ง 100 บทความแล้ว ไม่น่าเชื่อ...

ผมเริ่มเขียนบทความใน Gotoknow มา่กว่า 5 ปีแล้ว(สถิติจากเว็บ) แต่เพิ่งเขียนเรื่องภาษาสันสกฤตจริงๆ จังๆ เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา (24 พ.ค. 2553)

ผมเองสนใจและศึกษาภาษาไทยและภาษาสันสกฤตมาโดยตลอด จึงคิดจะเขียนโน่นเขียนนี่อยู่เรื่อยไป แต่เขียนแล้วก็ไม่ได้เผยแพร่ที่ไหน เพราะผู้สนใจเรื่องเหล่านี้มีน้อย(มาก) มาคิดได้ว่า Gotoknow น่าจะเหมาะสำหรับการเผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้

ผู้สนใจภาษาสันสกฤตส่วนมากจะสนใจเฉพาะศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย อยากทราบที่มา ความหมายของคำยืมสันสกฤตในภาษาไทย หรืออยากจะตั้งชื่อโดยใช้ศัพท์สันสกฤต (ตั้งชื่อบุคคล หรือตัวละคร) แต่ที่สนใจตัวภาษาสันสกฤตหรือวรรณคดีสันสกฤตอย่างลึกๆ นั้นมีน้อย(มากๆ) จึงไม่น่าแปลก ที่สำนักพิมพ์ไม่อยากจะตีพิมพ์เรื่องเหล่านี้ ขืนพิมพ์ไปก็เจ๊งลูกเดียว....

สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาภาษาสันสกฤต แม้จะมีจำนวนน้อยนิด แต่ก็มีความตั้งใจสูง และขยันมาก บุคคลเหล่านี้ขาดแหล่งข้อมูลมากๆ  ต่างจากภาษาบาลี ที่นิยมศึกษากันแพร่หลายในบ้านเรา มีตำรามากมายหลายร้อยเล่ม ขณะที่ตำราสันสกฤตในหลักสิบ นอกจากนี้ก็เป็นวรรณคดีสันสกฤตที่แปลเป็นไทยอีกสักสิบ ยี่สิบเล่ม เท่านั้น

นักศึกษาที่ต้องการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาสันสกฤตขั้นกลางและขั้นสูงก็ไม่มีหวังจะพบบทความใดๆ ในเว็บไซต์ของคนไทยให้ศึกษาค้่นคว้า หรือจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้เลย ผมจึงทดลองเขียนบทความใน gotoknow เรื่อยมา แต่ละเรื่องได้รับความสนใจมากน้อยแตกต่างกันไป 


ขอขอบคุณ

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ทั้งหลายที่คอยให้กำลังใจอยู่เสมอ ทำให้มีกำลังใจที่จะเขียนต่อไป (100 กว่าบทความนี้ เป็นผลจากกำลังใจของท่านทั้งหลายนี่แหละครับ)  แต่ที่ต้องขอบคุณจริงๆ จังๆ ก็คงจะเป็น gotoknow.org ที่ให้บริการอย่างเต็มที่และเต็มใจ ใช้งานง่าย การจัดหมวดหมู่บทความทำได้สะดวก รองรับฟอนต์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี (เพราะผมต้องใช้ฟอนต์ฺเทวนาครี และโรมันตัวพิเศษอยู่เป็นประจำ)

ขอบคุณเป็นพิเศษ คุณ หยั่งราก ฝากใบ ที่ให้่ช่วยแนะนำมาตั้งแต่ต้น และคุณ ศรี บรมอีศวรี ลูกศิษย์คนเดียวใน "บทเรียนภาษาสันสกฤต" ที่ขยันใช้ได้ ไม่ท้อแท้ อนาคตไปไกลแน่นอน ทำให้คนเขียนมีกำลังใจว่าที่เขียนไปอ่านรู้เรื่อง และได้ประโยชน์ คุณศรีฯ ยังช่วยแก้คำผิดให้ด้วย


บทความ

อันที่จริง ผมเขียนบทความเกี่ยวกับสันสกฤตมากกว่า 100 เรื่อง เพราะมีสมุดบันทึก "สุภาษิตสันสกฤต" และ "จุลสุขาวตีวยูหสูตร" ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีสันสกฤตด้วยเช่นกัน

เฉพาะบทความใน สมุด ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเดียว มีดังนี้

  1. การก (ตอนที่ 1)
  2. การศึกษาภาษาสันสกฤตในยุคคอมพิวเตอร์
  3. การันต์ และทัณฑฆาต
  4. ความหมายของคำว่า "อุปนิษัท"
  5. คำนามก็มีเพศ
  6. คำว่า "มหากาพย์"
  7. คำว่า "สรรเพชญ์"
  8. คำว่า "สวัสดี"
  9. คำว่า "สัปดาห์"
  10. คำว่า “แมนดาริน” มาจากภาษาสันสกฤต
  11. งามอย่างเกลือ
  12. จุด เจ้าปัญหา ในภาษาบาลีสันสกฤต
  13. จุดเดียว ก็มีความหมาย
  14. เจอรันด์ (gerund) ในภาษาสันสกฤต
  15. ช ตัวเดียว เอาอยู่
  16. "ชยันตี" มีความหมายอย่างไร
  17. ทาน และ data มาจากรากศัพท์เดียวกัน
  18. ที่มาของ "สูตร"
  19. ทูต
  20. ธาตุแท้สันสกฤต
  21. บทสรรเสริญพระกฤษณะ
  22. บทสรรเสริญพระวาคเทวี (วาคเทวีสดุดี)
  23. ปฐมบทแห่งฤคเวท
  24. ปราณี, ปรานี, ปาณี
  25. พยัญชนะสังโยค (อักษรเทวนาครี)
  26. พระคเณศ และพระพิฆเนศ
  27. เพียร และ พยายาม
  28. ภควาน ในวรรณคดีสันสกฤต
  29. ภาษาสันสกฤต กับ 19 เรื่องที่ควรรู้
  30. ภาษาสันสกฤต มีพยัญชนะกี่ตัว?
  31. ภาษาสันสกฤต ไม่มี "ฬ"?
  32. ภาษาสันสกฤตก็มีเทนส์ (tense)
  33. ภาษาสันสกฤตกับอาเซียน : กบาล
  34. ภาษาอาเซียน : รู้อดีต
  35. มนตร์ มหามฤตยุญชนะ
  36. มนุษย์" มาจากไหน
  37. มโนห์รา - สวยกระชากใจ
  38. เมื่อสมเด็จพระเทพฯ ทรงศึกษาภาษาสันสกฤต
  39. เมื่ออักษรเปลี่ยนใจ: กรณี ฏ, ต และ ป
  40. ราช, ราชา, ราชัน, ราชันย์
  41. รู้จัก ต เต่าตัวเดียว ก็รู้ภาษาสันสกฤตตั้งหลายคำ
  42. เรียนภาษาสันสกฤต จากชื่อเดือน
  43. เรื่องเล่าจากปัญจตันตระ
  44. ลักษณะคำภาษาสันสกฤต
  45. ศศ แปลว่า กระต่าย
  46. ศัพท์ สวรรคต และ สวรรคคต
  47. ศุภมัสดุ
  48. สนธิ แสนง่าย
  49. สนธิในภาษาสันสกฤต (อย่างง่าย)
  50. สนธิแบบสันสกฤต
  51. สมาสแบบสันสกฤต (อย่างง่าย)
  52. สระ ฤ
  53. สระ ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต
  54. สันสกฤตเรียนลัด
  55. สุขี แปลว่า ผู้มีความสุข
  56. หมู หมา กา ไก่ ในวรรณคดีสันสกฤต
  57. หัดอ่าน ภควัทคีตา (เล่มที่ 10)
  58. หิมวัต หิมพาน หิมพานต์
  59. อนีย แปลว่า พึง, ควร
  60. อภิเษกสมรส และ เสกสมรส
  61. อักษรสันสกฤตออกเสียงอย่างไร
  62. อันธพาล และอนธการ
  63. อุปสรรค ปัจจัย อะไรเอ่ย
  64. *ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 1-36 รวม 39 บทความ

บันทึกเอาไว้เป็นที่ระลึก และจะเขียนบทความเกี่ยวกับภาษาสันสกฤตต่อไป ทั้งสำหรับบุคคลทั่วไป และสำหรับผู้ศึกษาภาษาสันสกฤตจริงๆ จังๆ.




หมายเลขบันทึก: 522032เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะที่มาแบ่งปันเนื้อหาคุณภาพใน GotoKnow 

ติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ ค่ะอาจารย์ :)

สวัสดีค่ะคุณครู

แวะมาอ่านพอดี น้อมรับคำขอบคุณค่ะ ปลื้มๆๆๆ

ต้องขอบคุณคุณครูด้วยที่ช่วยให้ตัวเองได้ตระหนักและระมัดระวังในการเขียน/ใช้ ภาษาไทยยิ่งขึ้น และยังให้ความรู้ใหม่ๆ ทุกครั้งที่สงสัย

ต่อไปบทความของคุณครูน่าจะรวมเล่ม และเป็นตำราสันสกฤตที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งค่ะ   :)

 รู้สึกตื้นตันใจและยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะครู ^-^

 ตอนนี้หนูก็ได้แนะนำคนที่เขาสนใจที่จะศึกษาภาษาสันสกฤตอย่างจริงๆจังๆไปบ้างว่าให้ลองเข้ามาอ่านดู

หลายคนก็บ่นว่ายากนะค่ะ บวกกับมีเวลาไม่ค่อยจะมาก เลยทำให้พลาดบทเรียนไป

มาตามทีหลังเราก็ไปกันไกลแล้ว  ตามไม่ทัน

เลยคิดว่าบทเรียนสันสกฤตทั้งหมดที่ครูตั้งใจทำตั้งใจเขียนขึ้นมานี้น่าจะได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นรูปเล่มสวยงามนะค่ะ  หนูยังเคยคิดเลยว่าอยากจะปริ้นออกมาเป็นแผ่นๆแล้วจัดทำเป็นรูปเล่ม แต่ทั้งนี้ก็ต้องมาอาศัยการจัดเรียงหน้าให้เหมาะสมอีกเพราะเนื้อหาบางบทนั้นก็สั้นบ้างยาวบ้าง

 แล้วก็ใช้ชื่อปกตามที่ครูว่ามาเลยละค่ะ  ''บทเรียนภาษาสันสกฤต (อย่างง่าย)''

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไอเดียเล็กๆน้อยๆของหนูนะค่ะ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าให้ครูตัดสินใจและก็พิจารณาดูอีกที

สุดท้ายนี้ก็อยากจะให้กำลังใจครูนะค่ะ ให้ครูเขียนต่อไปเรื่อยๆ 

เพราะความรู้ทั้งหมดที่ครูถ่ายทอดให้มานั้นมันเป็นประโยชน์มากมายเอนกอนันต์ต่อคนที่สนใจจะศึกษาภาษาสันสกฤตจริงๆคะ


ผมอยากศึกษาภาษาอื่นๆ นอกจากไทยและอังกฤษมากเลยครับ แต่ได้แค่เมียงๆ มองๆ เพราะ natural language นี่มันยากกว่า artificial language (อย่างพวกภาษาคอมพิวเตอร์) มากเลยครับ จำได้ว่าเคยอ่านบันทึกของอาจารย์เรื่อง tenses ของภาษาสันสกฤตถึงขั้นตะลึงว่ามันเยอะจริงๆ ครับ

ขอบคุณครับ อ.จันทวรรณ มาคนแรกเลย

เห็นอาจารย์แวะมาบ่อยๆ เหมือนกันครับ


คุณหยั่งราก ฝากใบ ครับ

อยากจะรวบรวมไว้้เหมือนกันครับ

เพราะหลายบทความมีแก้ไข มีตกหล่น แก้ในเว็บแล้ว ในไฟล์ยังไม่ได้แก้

แต่จะพิมพ์หรือไม่ คงอีกเรื่องหนึ่ง ;)


คุณ ศรี บรมอีศวรี บทเรียนสันสกฤตนี้ บางคนก็แซวว่าทำไมเขียนว่า สันสกฤตอย่างง่าย

ผมบอกไปว่า ทำไมจะไม่ง่าย ในเมื่อเรียนแล้วถามได้ตลอดเวลา ;)

ท่านที่สนใจสามารถนับหนึ่งใหม่ได้อยู่แล้วครับ ไม่มีปัญหา

ผมถึงว่า คนที่ตั้งใจจริงๆ อย่างคุณศรีฯ มีน้อย ถือว่ากล้าหาญชาญชัยด้วยสิ..


อ.ธวัชชัย ครับ

ภาษาสันสกฤตมีรายละเอียดมาก และซับซ้อนครับ

แต่เผอิญ อาจารย์เป็นโปรแกรมเมอร์ ภาษาสันสกฤตอาจจะง่ายสำหรับอาจารย์ก็ได้นะ

ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาสันสกฤตในแนวภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์มากขึ้น

วันหลังผมจะลองเขียน flowchart ไวยากรณ์สันสกฤตบางประเด็นให้ดู

อาจารย์อาจจะนำไปเขียนเป็นโปรแกรมแจกรูปนาม กริยา อย่างง่ายดายเลยก็ได้

เพราะภาษาสันสกฤตแม้จะมีรายละเอียดมาก แต่ค่อนข้างจะเป็นไปตามแบบแผนครับ

ถ้าอยากเรียนภาษาสันสกฤต ไม่ต้องอะไรมากครับ แค่มีเวลาอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นก็พอครับ ;)

คนที่เก่งภาษาอังกฤษน่าจะเรียนสันสกฤตได้ดี เรียนสันสกฤตแล้วไปต่อกรีก ละตินได้ง่ายขึ้นด้วยนะครับ

..... หมอเปิ้นก็ชอบนะคะ ..... แต่ "อยากเกินไปสำหรับหมอเปิ้นค่ะ" ..... แต่ชื่นชม ผลงานของท่านอาจารย์ ม๊ากๆ ค่ะ ขอบคุณ บทความดีดีนี้นะคะ

เทพ ... สุดฤทธิ์ครับอาจารย์ ;)...

เคยคิดว่าตัวเอง รักภาษา มาเจอบทเรียนภาษาสันสกฤตของอาจารย์ต้องยอมแพ้ค่ะ

แต่ยังไม่ยอมแพ้แบบสิ้นท่า จะชักจูงลูกสมุน ลูกชายให้มาศึกษาสักตั้ง รายนี้ชอบภาษามาก

อาจารย์เขียนอีกนะคะ ขอบคุณค่ะ

ผมอยากอ่านหนังสือด้านศาสนาครับ ถ้าสามารถอ่านได้จากต้นฉบับนี่น่าจะดีไม่น้อยครับ (เลยทำให้มีภาษาจีนกับภาษาญี่ปุ่นที่อยากเรียนเพิ่มมาอีกสองภาษา)

เห็นความรักในสิ่งที่ทำอย่างลึกซึ้ง และการแบ่งปันโดยไม่หวังผลตอบแทน เช่นนี้แล้วเกิดแรงบันดาลใจมากคะ

Thank you.

But I still want more. May I have the NEXT hundreds blogs please?

;-)

อยากรู้เรียนแต่ภาษาเป็นเรื่องที่ยากสำหรับตนเองค่ะ
ติดตามแม้จะไม่สม่ำเสมอค่ะ

ขอบคุณครับ พี่หมอDr. Ple พี่เปิ้นเป็นอีกท่านหนึ่งที่แวะมาให้กำลังใจเสมอ

มียากง่ายสลับกันไปครับ ;)


ว้ากก อาจารย์Wasawat Deemarn ชมเกินไป อิๆๆ ขอบคุณครับ


คุณหมอ ภูสุภา อย่ายอมแพ้ครับ เขียนอีกแน่นอนครับ ขอบคุณครับ;)


อาจารย์ธวัชชัยอยากอ่านคัมภีร์ศาสนา แต่ละภาษาที่อยากเรียนจึงต้่องหินครับ โดยเฉพาะศัพท์ ยิ่งภาษาเก่าแก่ ศัพท์มีหลายความหมาย ถ้าเริ่มจากภาษาบาลี น่าจะมีกำลังใจครับ เพราะมีพระไตรปิฎกบาลีไทยแปลเทียบกันอยู่


ขอบคุณครับคุณหมอป. มีแรงบันดาลใจเยอะเลยครับ โดยเฉพาะเมื่อเขียนแล้วมีมาคนอ่าน 


ขอบคุณครับ ท่าน sr คงมีอีก 100 แน่นอนครับ...


ขอบคุณคุณnoktalay ครับ เห็นแวะมาให้กำลังใจเป็นระยะเช่นกันครับ


พอดีได้เรียนฮินดูกับพราหม์ชาวไทย ที่ไปศึกษาเรื่องนี้มาจากอินเดียครับ เลยมีปัญหา เพราะท่านชอบใช้สันสกฤตในการสอนมาก ก็เลยต้องเริ่มต้นค้นข้อมูลเกี่ยวกับสันสกฤต ก็ได้มีโอกาศมาเจอบทความที่อาจารย์เขียนนี่หละครับ มันช่วยได้ในระดับนึงทีเดียวครับ จะขอติดตามต่อไปเรื่อยๆนะครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ที่เผยแพร่เป็นวิทยาทานครับ

สวัสดีครับ คุณธนจักร

แวะมาอ่านก็ทักทายได้ครับ จะได้ทราบว่ามีท่านไหนสนใจอ่านอยู่บ้าง

หรือจะนำเรื่องฮินดูมาเล่ากันบ้างก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท