สันโดษ (สนฺตุฏฐี) ไม่ใช่มักน้อย (อปฺปิจฺฉ)


บางครั้งคนไทยก็นำหลักธรรมในพุทธศาสนามาใช้เพียงเพื่อปลอบใจตน จึงทำให้สนใจเพียงบางด้านของธรรม และบางครั้งก็เข้าใจธรรมในความหมายที่ผิดไปจากความเป็นจริง

ดังเช่น ธรรมชื่อ สันโดษ (สนฺตุฏฐิ หรือ สนฺตุฏฐี) และ มักน้อย(อปฺปิจฺฉ) บางทีก็มีการเข้าใจว่าเป็นองค์ธรรมเดียวกัน
จนทำให้ใช้ผิดที่ผิดทาง และบางครั้ง เราก็มักมองสันโดษไปในแง่ที่เป็นการปลอบใจตนเองเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่เกินความสามารถโดยปลอบใจตนว่าเราควรพอใจตามที่พึงมีพึงได้หรือไม่ ก็มองไปว่าเราไม่ควรขวนขวายให้ได้มาก ให้เจริญขึ้น ควรสันโดษมักน้อย

คนมักจะเข้าใจว่าสันโดษแปลว่ามักน้อย เพราะเคยได้ยินสำนวนว่า ให้มีสันโดษมักน้อย จึงคิดว่าสันโดษแปลว่ามักน้อย ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่ มักน้อยเป็นธรรมะข้อหนึ่ง ส่วนสันโดษก็เป็นธรรมะอีกข้อหนึ่ง

พระสาสนโสภณ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) บทอบรมวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตรก้าวหน้า ๑๐ วัน เล่ม ๒ หน้า ๔๐

สันโดษ และ มักน้อยนั้น เป็นคนละธรรมกัน แต่หนุนเนื่องกันโดยที่จะขาดจากกันเสียไม่ได้ สันโดษคือยินดีตามมีตามได้ ตามกำลังความเพียร แก่ขอบเขตการใช้สอย แก่ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดมุ่งหมายในการบำเพ็ญกิจ แต่มักน้อย คือ ความปรารถนาน้อย พอใจแต่เพียงส่วนน้อย (มักน้อยมีทั้งการพอใจในการใช้สอยแต่น้อย และ พอใจให้ผู้อื่นเห็นว่าตนบรรลุธรรมหรือมีวัตรปฏิบัติน้อย คือ ปกปิดธรรมที่บรรลุ หรือ วัตรปฏิบัติอันยิ่งยวดของตน ซึ่งก็คือ การไม่โอ้อวดนั่นเอง)

ตัวอย่างของการหนุนเนื่องซึ่งกันและกันของธรรมทั้งสอง เช่น สมมติว่าเราหาทรัพย์ได้มากเกินขอบเขตการใช้จ่ายของตนและครอบครัวโดยสุจริต หากเราพอใจตามที่ตนหาได้ เก็บสะสมไว้ ก็ไม่ผิดตามหลักสันโดษเพราะเป็นสิ่งที่เราพึงมีพึงได้ตามกำลังของตน

แต่ ...

หากไม่มีธรรมคือ อปฺปิจฺฉ หรือ ความพอใจแต่น้อย มาสนับสนุน เมื่อมีทรัพย์เกินขอบเขตการใช้จ่ายไปมาก และเรายินดีตามมีตามได้ เราก็จะมีการเก็บสะสมทรัพย์จำนวนมากไว้โดยอาจไม่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมอย่างเต็มที่ เพราะการที่เราหาทรัพย์ได้มาก แสดงว่าเรามีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลกนี้ไปมาก

มหาตมะ คานธี ถึงกับเคยกล่าวไว้ว่า คนที่สะสมมาก เท่ากับโกง เพราะท่านเล็งเห็นความจำกัดของทรัพยากรนี้เอง เนื่องจากหากคนใดคนหนึ่งมี มากเกินไป คนอื่นก็ ขาด

ดังนั้น การนำธรรมคือ สันโดษ มาใช้ในชีวิต นอกจากจะเพื่อความยินดีตามมีตามได้โดยชอบธรรม เพื่อป้องกันความโลภเกินกำลังอันนำไปสู่ทุกข์แล้ว ยังต้องมีมักน้อยมาหนุนเนื่องด้วย ในกรณีที่หากสิ่งที่ได้โดยชอบธรรมมีมากเกินกำลังการใช้สอย ยังต้องมีการพอใจแต่น้อยมาประกอบด้วย จึงจะเอื้อให้มีการแบ่งปันกันในสังคม

หรือ เพราะมีความต้องการใช้สอยน้อย จึงแสวงหาเพียงขอบเขตการใช้สอย สะสมสำหรับยามฉุกเฉินแต่พอควร เมื่อแสวงหาน้อย ผลที่ได้ย่อมน้อยตามมา ก็ยินดีตามที่ได้น้อย ไม่ยินดีเกินกว่ากำลังที่ตนหาได้

เมื่อแสวงหาตามกำลัง ก็เบียดเบียนทรัพยากรน้อยตามไปด้วย

ภาวะโลกร้อน คงยืดเวลาวิกฤติออกไปอีกระยะ

คำสำคัญ (Tags): #มักน้อย#สันโดษ
หมายเลขบันทึก: 521288เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมชอบความ "สันโดษ" ครับพี่ ;)...

และน่าจะเป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน

สบายดีนะครับ ;)...

ขอบคุณสำหรับธรรมะดีๆ ค่ะ

มักน้อย ............... กินน้อย พูดน้อย นอนน้อย..........................ถ้าใกล้ครูบาอาจารย์ก็พอทำได้ แต่เมื่อไหร่ได้กลับเข้าเมือง.....ผมก็จอดป้าย "กิเลส "  ทุกที 5555 

  • มักน้อย กับ คำว่า อวดอุตริ น่าจะมีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ใช้ต่างกันใช่ไหมครับ

ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมกัน และ ฝากความเห็นไว้ค่ะ

เรียน คุณ สามสัก(samsuk) ค่ะ

คำว่าอุตริ ในพจนานุกรม มคธ - ไทย ของ พันตรี ป. หลงสมบุญ ให้ความหมายไว้ว่า

"อุตฺตริ (วิ) ยิ่ง,ยอดเยี่ยม, ชั้นเยี่ยม, แปลก,มากขึ้น, อุตริ. คำอุตริ ที่นำมาใช้ในภาษาไทยออกเสียงว่า อุดตะหริ ใช้ในความหมายว่า แปลกออกไป นอกแบบ นอกทาง" (หน้า ๑๒๓)

ส่วนอีกคำคือ

" อุตฺตริมนุสฺสธมฺม (ปุ) ธรรมของมนุษย์ผู้ยิ่ง,ฯลฯ,ธรรมอันยิ่งของมนุษย์,ฯลฯ,คุณอันยิ่งของมนุษย์,ฯลฯ,อุตตริมนุสธัม. อุตตริมนุษยธรรม คือคุณธรรม (ความดี ผล) อันเกิดจากการปฏิบัติสมถะ (สมาธิ) ถึงขั้นจิตเป็นอัปปนา หรือเกิดจากการปฏิบัติวิปัสสนาถึงขั้นละกิเลสเป็นสมุทเฉท มีคำเรียกคุณธรรมนั้นๆอีกหลายคำ พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุอวด ปรับอาบัติขั้นสูงถึงปาราชิก

วิ. อุตฺตริมนุสฺสานํ ฌายินญฺเจว อริยานญฺจ ธมฺโม อฺุตริมนุสฺสธมฺโม" (หน้า ๑๒๔)

ทุกท่านคงสบายดีนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท