ก้าวที่ ๑๑ "เจิง" ยุทธศิลปย์แห่งลมหายใจ ๑ มีนาคม ๒๕๕๖


เมื่อวันก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะกับพี่น้อง ผู้ทำงานด้านศิลปะยุทธ อะไรคือศิลปะยุทธ ความลงตัวระหว่างศิลปะ และ  ยุทธ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์ และศิลปะ แต่เหนือว่านั้นนั่นคือการครองตนให้อยู่ในสายแห่งศิลปยุทธ นี้ได้ในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงและท้าทายตั้งผู้ฝึกซึ่งต้องมีต้นทุนความท้าทายต่อสายวิชา และสังคมโลกที่เปลียนไปทั้งการดำรงอยู่ และการยังชีพ 


มีคำพูดที่ฟังแล้วชื่นใจว่า "ในโลกนี้มีวิชาการอยู่มากมาย แต่จะมีสักกี่วิชาที่ปกป้องชาติบ้านเมืองให้สืบลูกหลานจนปัจจุบัน" นั่นก็คือวิชาการต่อสู้ แม้การต่อสู้จะพัฒนากมาจากการปกป้องตนเอง  ให้รอดพ้นจากากรทำร้าย จนไปสู่การรุกไล่เพื่อเข้าตอบโต้ศัตรู แต่กระนั้นพัมนาการในการตั้งรับและเข้าโจมตีก็ต้องอาศัยจุดเชื่อมเพื่อสานจุดการปิดป้อง สู่การรุกไล่อย่างมีนัยยะสำคัญ จึงทำให้ศิลปะและการยุทธ รวมกันอย่างลงตัว แต่ก็ทำให้ยากต่อการศึกษาและหาผู้เข้าใจ วงการนี้ผู้เรียนรู้ผิวเผินจึงมีอยู่มาก หากไม่คุมสติ อารมณ์ ความคิด การครองตนให้เข้าสู่จุดสูงสุดของวิชายุทธ หรือ ยุทธศิลป์นั้นย่อมเป็นเรื่องยาก ซ้ำกระแสสังคมในวันนี้ ยิ่งสังคมไทย สังคมที่เป็นจุดเริ่มต้นของศาสตร์การต่อสู้หลายแขนงที่คนทั่วโลกต่างมาศึกษา ตักตวง กลับละเลย ทอดทิ้งวิชาที่บรรพบุรุษได้ในสืบแผ่นดินจนลูกหลานเช่นปัจจุบัน 

ซ้ำโลกสมัยใหม่ สร้างความท้าทายแก่ผู้ฝึก และความเข้าใจต่อศาสตร์แขนงนี้อย่างมากว่าเชย ล้าสมัย รุนแรง ป่าเถื่อน ซึ่งผู้ฝึกฝนในปัจจุบันต้องรับและเผชิญกับความคิดที่เกิดขึ้นอย่างหนักหน่วง แต่กระนั้นหากมองมุมกลับเป็นมุม "บวก" นี่เองอาจเป็นขวากหนามสำคัญในการฝึกฝน เพื่อพัฒนาจิตใจ 

ขอบคุณภาพของคุณศรัณ สุวรรณโชติ ครับ 
หมายเลขบันทึก: 521281เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท