การบริหารจัดการในองค์กรภายใต้หลักการ Good Governance


ความโปร่งใสตรวจสอบได้เป็นแนวทางการบริหารอย่างขาวสะอาดย่อมปราศจากข้อทักท้วงอันอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งในองค์กรได้

                   Good governance หรือคำนิยามในภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการธุรกิจและภาครัฐว่า “การบริหารจัดการที่ดี” ยังอาจไม่มีคำนิยามตายตัวและเด่นชัดมากนัก แต่อาจอธิบายให้เห็นลักษณะและเงื่อนไขที่สำคัญ ดังนี้

build2

                    1. การมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Public Participation) คือเป็นกลไกกระบวนการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกัน (Equityไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าร่วมในทางตรง หรือทางอ้อม โดยผ่านกลุ่มผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยชอบธรรม หรือการมีรูปแบบ การปกครองและบริหารงานที่กระจายอำนาจ (Decentralization) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเสรีนี้รวมถึงการให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน และให้เสรีภาพแก่สาธารณชนในการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์

                     2. ความสุจริตและโปร่งใส (Honesty and Transparency) คือเป็นกลไกที่มีความสุจริตและโปร่งใสซึ่งรวมถึงการมีระบบกติกาและการดำเนินการที่เปิดเผย โดยประชาชนสามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเสรี เป็นธรรม ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะประชาชนสามารถตรวจสอบการบริหารงาน และติดตามผลได้

                    3. พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsiveness and Accountability) คือ การเป็นกลไกที่มีความรับผิดชอบในบทบาทภาระหน้าที่ต่อสาธารณชน โดยมีการจัดองค์กรหรือการกำหนดกฎเกณฑ์ที่เน้นด้านการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มต่างๆ ในสังคมอย่างเป็นธรรม รวมถึงการมี Bureaucratic Accountability และ Political Accountability ซึ่งจะมีความหมายที่มากกว่าการมีความรับผิดชอบเฉพาะต่อผู้บังคับบัญชาหรือกลุ่มผู้เป็นฐานเสียงที่ให้การสนับสนุนทางการเมือง แต่จะครอบคลุมถึงพันธะความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชนสังคมโดยรวม

                     4. กลไกทางการเมืองที่ชอบธรรม (Political Legitimacy) คือเป็นกลไกที่มีองค์ประกอบ ของผู้ที่เป็นรัฐบาล หรือผู้ที่เข้าร่วมบริหารประเทศที่มีความชอบธรรม เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมโดยรวมไม่ว่าจะโดยการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง แต่จะต้องเป็นรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชนว่ามีความสุจริต มีความเที่ยงธรรม และมีความสามารถที่จะบริหารประเทศได้

                       5. กฎเกณฑ์ที่ยุติธรรมและชัดเจน (Fair Legal Framework and Predictability) คือมีกรอบของกฎหมายที่ยุติธรรมและเป็นธรรมสำหรับกลุ่มคนต่างๆในสังคม ซึ่งกฎเกณฑ์มีการบังคับใช้และสามารถใช้บังคับได้ ซึ่งคนในสังคมทุกส่วนเข้าใจสามารถคาดหวังและรู้ว่าจะเกิดผลอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นการประกันความมั่นคง ศรัทธา และความเชื่อมั่นของประชาชน

                      6. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) คือเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดกระบวนการทำงาน การจัดองค์กร การจัดสรรบุคลากร และมีการควบคุมการใช้ทรัพยากรสาธารณะต่างๆ อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม มีการดำเนินการและให้บริการสาธารณะที่ให้ผลลัพธ์อย่างคุ้มค่า

 

build

                        จากที่กล่าวมาข้างต้น การนำหลักการดังที่กล่าวนั้นมาเพื่อเป็นแนวทางชี้นำให้สังคมได้ตื่นตัวและตระหนักถึงการหันหน้าเข้ามาร่วมกันจัดการกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ คือ หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงานในภาครัฐในฐานะข้าราชการ หรือพนักงาน ลูกจ้าง อันเป็นตัวขับเคลื่อนขององค์กร สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศ การบริหารจัดการที่ดี หากนำไปใช้ได้ผลจริงด้วย 3 ใจ นั่นคือสนใจ เข้าใจ และ ใส่ใจที่จะปฏิบัติตาม หลักการที่เป็นทางที่น่าจะถูกต้องเพราะได้รับการไตร่ตรองมาดีแล้ว ย่อมไม่เป็นเพียงแค่แนวคิด แต่ก่อเกิดประโยชน์ได้ผลจริง อันจะนำมาสู่ความก้าวหน้าต่อไป...

 

อ้างอิง : http://www.unescap.org/huset/gg/governance.htm

              http://www.polsci.chula.ac.th/pa/Chaiyasit.htm

รูปภาพ: http://images.google.co.th/images?svnum=10&hl=th&lr=&q=building&btnG

หมายเลขบันทึก: 52074เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
พยายามเว้นวรรคหน่อยค่ะ อ่านยากค่ะ
แก้ไขในเบื้องต้นแล้วค่ะอาจารย์ (ความจริงเครื่องที่บันทึกครั้งแรก,มักจะมีปัญหา done,but with error on this page ทำให้แก้ไขหรือเว้นวรรคไม่ได้ค่ะ กำลังหาสาเหตุอยู่เหมือนกัน) ตอนนี้เลยเข้ามาแก้ที่เครื่องที่คณะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท