ความสงสัยในหลักปฏิจจสมุปบาทในศาสนาพุทธ


ความสงสัยในหลักปฏิจจสมุปบาท

หลักปฏิจสมุปบาทนั้นอาจถือได้ว่าเป็นข้อธรรมที่ลึกซึ้งที่สุดในศาสนาพุทธ  เป็นหัวใจสำคัญของศาสนาพุทธ แต่ผมสงสัยว่าอาจมีความผิดเพี้ยน    เนื้อความมีว่า

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี

ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี

(คัดลอกมาจาก ธรรมพีเดีย)

แต่หลักกาลมสูตรก็สอนว่า อย่าเพิ่งเชื่อในคำสอนจนกว่าจะตรองดูให้ดีเสียก่อน

วันนี้ ผมจะขอตั้งข้อสังเกต ว่าสามบรรทัดแรกนั้น ควรสลับกันดังนี้

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี

ที่ผมขอสลับมีเหตุผลสองประการคือ  ๑  ผมว่ามันเป็นตรรกที่ดูสมเหตุผลมากกว่า และ ๒ มีหลักฐานในคำสอนเองที่ขัดกับหลักปฏิจจฯเดิม และเป็นคำสอนที่เป็นหลักสำคัญเสียด้วย

เอาตรรกะก่อนก็แล้วกัน.....ผมว่าวิญญาณก็คือจิต หรือบางทีเราก็เรียกรวมว่าจิตวิญญาณนั่นเอง  เป็นผู้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก  ส่วนสังขารนั้นคือการนึกคิดปรุงแต่ง  ซึ่งสามัญสำนึกทั่วๆไปก็น่าจะมองออกว่า จิตต้องมาก่อนแล้วจึงจะไปนึกคิดปรุงแต่งอะไรได้  อุปมาดังว่าต้องมีน้ำมันเสียก่อนจึงจะจุดไฟติดได้

สำหรับคำสอนหลักที่อาจขัดกันนั้นมีคำสอนเรื่อง ขันธ์ห้า (องค์ประกอบของคน)  ได้แก่  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  โดยเวทนา สัญญา สังขาร นั้นถูกจัดรวมเป็นกลุ่มย่อยเรียกว่า เจตสิก หมายถึง เครื่องประกอบจิต  นี่แสดงว่า จิต ใหญ่กว่าสังขาร  แสดงว่า จิตต้องมาก่อนสังขารหรือไม่ 

อีกตรรกะคือ ถ้าวิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป (โลก จักรวาล ความรู้สึก อารมณ์ทั้งหลาย)  จริงแล้วไซร้ แสดงว่านามรูปเหล่านี้เกิดได้โดยไม่ต้องปรุงแต่งเลยหรือ  แต่ถ้าสลับว่า สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปฟังดูดีกว่า เพราะจิตว่างๆ ไม่อาจเกิดนามรูปได้  แต่จิตที่มีการคิดปรุงแต่งต่างหากจึงจะเกิดนามรูปได้ไม่่ใช่หรือ  ท่านพุทธทาสภิกขุก็สอนเช่นนี้

ขอแถมอีกนิดว่า การสลับแบบนี้ยังดูดีอีกด้วยเมื่อตอนบรรลุธรรมแล้ว (หมดอวิชชา) ก็หมดจิต ก็หมดตัวตน ก็คือสภาพอนัตตา โดยตรง ไม่ต้องไปอ้อมผ่านการหมดสังขารเสียก่อน

มีความเป็นไปได้ไหมว่าอาจารย์ชั้นหลังๆ ไปสลับคำสอนของพพจ. หรือว่าทรงสอนอย่างนี้มาแต่ต้น  ถ้าใช่ผมก็คงยอมรับแหละครับ ใครจะไปกล้าเถียง พพจ.


ขอเชิญท่านผู้รู้ช่วยกันเสวนาต่อไปด้วยเถิด

...คนถางทาง (๑๘ กพ. ๒๕๕๖)


หมายเลขบันทึก: 519902เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

In a somewhat ignorant fashion, to this invitation ...ขอเชิญท่านผู้รู้ช่วยกันเสวนาต่อไปด้วยเถิด..., I say:

We have some linguistic problems, Thais have different meanings for some Pali words. For examples   สังขาระ in Pali means 'supposition, make-up or theory'; Thais say สังขาน to mean 'body (of parts)' ,  วิญญาณะ in Pali means 'awareness (of certain presence)'; Thais say วินยาน to mean 'soul (or essence of being)' , ... even อวิชชา most Thais would take it as 'evil or black knowledge'.

I spotted this [ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)](http://www.gotoknow.org/posts/372397)among many other posts by searching in G2K for 'สังขาร วิญญาณ'. The post states that อวิชชา and สังขาร are co-arising (born together and hence should not be separated). This makes sense of the order as appears in the tipitaka, viz. in English: Ignorance leads to theory, theory leads to awareness, ...

But I am not claiming I am a ผู้รู้ -- I am only a learner and wanting to learn more.

 

คำว่า สังขาร นั้ันส่วนใหญ่แล้วจะหมายถึงการปรุงแต่งแบบนามธรรม (คือความคิด)  แต่บางครั้งก็หมายถึงรูปสังขารได้เหมือนกันครับ  แล้วแต่บริบท   คนไทยส่วนใหญ่ก็จะไปจับเอา่วาสังขารคือ ร่างกาย  เช่น คำกล่าวว่า สังขารไม่เที่่ียง เป็นต้น  


คำสอนส่วนใหญ่จะตรงกันวัน สังขาร เป็น เจตสิก เป็นเครื่องประกอบจิต  มีจิตเป็นประธาน ผมจึงได้เอามาเป็นเหตุผลประกอบไง่เล่าครับว่า อ้าว มีจิตเป็นประธาน แล้วประธานเกิดที่หลัง ประธานควรต้องมาก่อนสิ

ผมไม่ขอวิเคราะห์ว่าถูกต้องหรือไม่นะครับ แต่ผมเชื่อว่าศาสนาพุทธนี่คำสอนทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นที่พระพุทธเจ้าคนเดียวแล้วคนที่เหลือเป็นเพียงแค่ผู้ถ่ายทอดครับ แต่ควรจะเกิดขึ้นจากการช่วยกันคิดช่วยกันตีความจากรุ่นสู่รุ่นมาเรื่อยๆ ครับ เผลอๆ ศาสนาพุทธที่เราเห็นทุกวันนี้อาจจะเป็นคนละเรื่องกับคำสอนที่แท้จริงของนายสิทธัตถะ โคตมะเลยก็ได้ครับ

แล้วเรื่องหลักปฏิจสมุปบาทนั้นทำให้นึกถึงคำถามที่ผมยังไม่เคยมีคำตอบได้สักทีว่า "being conscious นี่มันบุญหรือกรรมของมนุษย์" ครับ ดูเหมือนศาสนาต่างๆ ก็พยายามให้คำตอบเรื่อง consciousness นี่เอง ตีความและให้ทางเลือกต่างๆ กันไป แล้วใครถูกใครผิด ฯลฯ

..ขันธ์5 คือ เครื่องประกอบอันเป็นที่ตั้งของจิต..มีขันธ์5 จิต จึงเข้าอยู่..เช่นนั้น จิต จึงมิใช่ขันธ์5ใดๆ..หากเปรียบเทียบกับ ความมีชีวิตของ สัตว์ พืช..ตามลักษณะของความรู้ที่เรียกว่า วิทยาศาตร์ในสาขาชีววิทยา..รูป น่าจะเป็นส่วนที่ประกอบด้วย สสารต่างๆ..เวทนา คือ ปฎิกริยา..สัญญา คือ บทบาทหน้าที่..สังขาร คือ อวัยวะและและระบบ..วิญญาน คือ การดำรงอยู่ของชีวิต..วิญญาน จึงมิใช่ ดวงจิต..แต่จิตอาจยังอาศัย วิญญาน อยู่ได้ระยะหนึ่ง..การสิ้นไป ของ ชีวิต จึงมิใช่การสิ้นไปของ จิต..ที่ อาจยังคง เวียนว่ายตายเกิด ในแบบของชีวิตอื่นๆ ตาม แรงกรรม..สาธุ อนุโมทนา มิ..พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ..

..และหากมีความคิดเลยเถิดไปว่า คำสอนในพุทธศาสนาปัจจุบันที่ชาวสยามรับถ่ายทอดมาจากระบบเถรวาท..เป็นคนละเรื่องกับคำสอนของพระบรมศาสดา..อันนี้ให้เป็นที่พึงสงสัยว่า เป็นพุทธศาสนิกชน โดยบริสุทธิ์ใจหรือเปล่า?..อะนึ่ง..บุญ กับ กรรม ก็มิใช่ คำตรงข้ามกัน ครับ คุณธวัชชัย..being conscious ..จึงน่าจะเป็นทั้งบุญและกรรมของมนุษย์..ศาสนาอื่นๆผมไม่ทราบว่ามีคำตอบสำหรับ consciousness อย่างไร? แต่ตามหลักพุทธศาสนา ส่วนนี้ มันน่าจะเป็นแค่ อารมณ์ ความรู้สึก เจตสิก ระดับ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์..แต่ผมอาจจะตีความผิดก็ได้เพราะไม่เข้าใจความหมายที่ชัดเจนของคำนิยามศัพท์ภาษาอังกฤษ..


ไม่แน่ใจว่าเราต้องเข้าถึงอริยมรรคก่อนรึเปล่าครับ เราจึงเข้าใจคำนี้ได้ถ่องแท้

มากกว่าการคิดนึกไปเองตามตรรกะที่คิดเอาเอง

ซึ่งกาลามสูตร ท่านก็กล่าวไว้ว่า

อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา

อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา

อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล

อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน

 

..ธรรมะอันใดอย่าเพิ่งเชื่อ...จนกว่า ได้นำมาปฏิบัติด้วยตนเองแล้ว..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท