การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารงานด้าน วท.


หลังจากไปอบรมในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพด้านสื่อสารงานด้าน วท. จัดโดย สมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ งานนี้ได้รับความรู้มากมายจาก ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือที่ทุกคนรู้จักในนามเจ้าพ่อ GT 200 ที่เคยเป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว และจากอาจารย์หลาย ๆ ที่อยู่แวดวงของการสื่อสารทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ โททัศน์  ก็จะนำมาเล่าให้ฟังเป็นตอน ๆ ดังนี้

การสื่อสารความเสี่ยง Basic Risk Communication ให้ความรู้โดย อ.เจษฎา ซึ่งได้อธิบายถึง การสื่อสารความเสี่ยงหรือ risk management ว่าคืออะไร มีทฤษฎีและยุทธศาสตร์ในการจะทำการสื่อสารอย่างไร ปัญหา "นิมบี" NIMBY-Not In My Backyard หรือ ทำอะไรก็ได้แต่อย่ามาทำหลังบ้านฉัน 

เริ่มกันที่ Carl Sagan นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังกล่าวไว้ว่า "ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสังคมที่ต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่น้อยคนนักที่จะมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"  ดังนั้น เราจะทำแต่งานด้านวิทยาศาสตร์อยางเดียวไม่ได้ เราต้องการ "การสื่อสาร" ข้อมูลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ไปสู่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย stakeholder ทุกฝ่ายด้วย นี่เป็นหน้าที่หนึ่งของ คนทำงานด้าน วทน.

นิยาม "การสื่อสารความเสี่ยง"  คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับประเด็นที่มีความกังวล(Concern) สูง มีความเชื่อใจ(Trust) ต่ำ เป็นเรื่องเปราะบาง(Sensitive) หรือเรื่องทujเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ โดย Dr. Vince Covello จาก Center for Risk Communication

การสื่อสารความเสี่ยงสิ่งสำคัญต้องเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทิศทางเสมอ และต้องการความเคารพกันอย่างเท่าเทียม บนความเชื่อถือและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

การสื่อสารความเสียงที่ดี นั้น ผู้ส่งสารต้อง สร้างข้อความ(message) ที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย กระชับและชัดเจน และมีมุมมองที่เป็นบวก(Positive thinking) 

กลยุทธ์ A.P.P 

A = Anticipate การระบุ message ที่จะสื่อสาร
- ให้ระบุประเด็นและหัวข้อที่มีความเครียดสูง
- ระบุ stakeholder ทั้งหมด
- ระบุปัญหาที่จะเกิดขึ้นและข้อกังวลต่าง ๆ ที่จะถูกถามถึง

P = Prepare การเตรียมความพร้อมในการสื่อสาร
- เตรียมข้อความที่จะสื่อสารและผู้ที่จะสื่อสารข้อความนั้น อาจจะต้องใช้คนที่มีเครดิตน่าเชื่อถือมาช่วยในการส่งสารนั้นออกไป
- จัดเตรียมช่องทางการสื่อสาร ว่าเป็นประเภทไหน สื่อปรกติ หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ สื่อออนไลน์ หรือการพบปะหระชาชน

P = Practice การฝึกฝน แล้วก็ฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา

อย่างกรณีพืช GMO ที่ประเทศเรามีการวิจัยมา 10 กว่าปี กว่าหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน แต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ ถามว่าเกิดจากอะไร อะไรเป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปลูก การบริโภค ผลกระทบในอนาคตต่อหรือไม่อย่างไร

ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับความเสี่ยง

ความเสียง =อันตราย+ความร้ายแรง  หรือ risk = hazard + outrange
สำหรับนักประเมินความเสี่ยง แล้ว ความเสี่ยงเผ้นผลจาก อันตราย(hazard) ที่จะเกิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยดูจากระดับความรุนแรง(magnitude)  และโอกาศที่จะเกิดขึ้น(probability) ของความเสี่ยงนั้นๆ

หมายเลขบันทึก: 517846เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2013 08:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท