11 ปี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต


11 ปี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต


11 ปี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

"11 Years Anniversary, Bureau of Occupational and Environmental Disease" The Past-Present and Future


แนะนำ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม อยู่ในสังกัด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


Past อดีต

ประวัติความเป็นมา สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

2510 เกิดโครงการอาชีวอนามัย สังกัดกองช่างสุขาภิบาล

2515 จัดตั้งกองอาชีวอนามัย สังกัดกรมส่งเสริมสาธารณสุข

2516 กรมส่งเสริมสาธารณสุขเปลี่ยนชื่อเป็นกรมอนามัย

9 ตุลาคม 2545 กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ เปลี่ยนจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ยกฐานะขึ้นเป็น สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม และย้ายสังกัดมายัง กรมควบคุมโรค


ปัจจุบันปี 2556 เรียกได้ว่า

ครบรอบ 11 ปี สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม

ครบรอบ 41 ปี กองอาชีวอนามัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของงานอาชีวอนามัยและได้ดำเนินงานสานต่อจนถึงปัจจุบัน


Present ปัจจุบัน

โครงสร้างแบ่งเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่

1 ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

2 กลุ่มยุทธศาสตร์

3 กลุ่มพัฒนาองค์กร

4 กลุ่มสื่อสาร

5 กลุ่มเฝ้าระวังและสอบสวนโรค

6 กลุ่มอาชีวอนามัย

7 กลุ่มเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม

8 ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัย จ.สมุทรปราการ (ศูนย์สำโรง)

9 ศูนย์อ้างอิงทางห้องปฏิบัติการและพิษวิทยา

10 ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัย จ.ระยอง


สถานที่ติดต่อ ปัจจุบัน สถานที่ทำงานอยู่ที่ 

ตึกกรมอนามัย อาคาร 5 ชั้น 6 กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี

โทร 025904380, 025904386-7

โทรสาร 025904388

E-mail : [email protected]

Website : www.envocc.org


Future อนาคต

                    การก้าวต่อไปในอนาคตนับเป็นเรื่องท้าทาย การสานต่อการดูแลสุขภาพประชาชนวัยแรงงาน และการป้องกันภัยสุขภาพจากสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป โดยเฉพาะความพร้อมในการก้าวไปสู่ AEC ในปี 2558 การดำเนินงานด้านอาชีวเวชศาสตร์ และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมจะต้องก้าวไปให้ถึงระดับอาเซียนให้ได้ การเตรียมตัวรับ Medical Tourism หรือ การก้าวสู่ Medical Hub มาตรฐานการตรวจสุขภาพในระดับ International Standard ย่อมเป็นที่ต้องการ นอกนั้นการเพิ่มขึ้นของแรงงานฝีมือ การดูแลคนงานอย่างถูกต้องตามหลักอาชีวอนามัย ความพร้อมในการจัดบริการอาชีวอนามัย ควรอยู่ในระดับเดียวกับที่ทั่วโลกยอมรับด้วยเช่นกัน (Occupational Health and Safety Standard) เช่น ISO 18000 , OHSAS 18000 

                    จากบทบาทภาระกิจที่มากขึ้น และอาจจะซ้อนทับกันหลายสำนัก เช่น สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัยวัยแรงงาน กรมอนามัย สำนักระบาดวิทยา(กลุ่มงานด้าน รง506/2 ซึ่งทำงานด้านสถิติโรคจากการประกอบอาชีพ) สถาบันราชประชาสมาสัย(กำลังพัฒนาเป็นสถาบันอาชีวเวชศาสตร์) สำนักงานประกันสังคม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กองทุนเงินทดแทน กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งคงต้องมองภายในกระทรวงสาธารณสุขเอง ว่าบทบาทงานที่ซ้ำซ้อน ควรนำมารวมกันหรือไม่ แล้วมาตั้งเป็นสำนักเดียว หรือกรมเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพงานได้มากขึ้น ไม่เกิดความซ้ำซ้อนในภาระงาน ส่วนนอกกระทรวงสาธารณสุข ควรมีหน่วยงานที่ทำให้ที่ประสานความร่วมมือด้วยหรือไม่ การวางแผนระบบการจัดบริการอาชีวอนามัย หรือ Occupational Health Service Plan ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะต้องมาคุยกัน ประกอบกับกระแสการปฏิรูประบบราชการใหม่ Reform MOPH กระทรวงสาธารณสุขจึงน่าจะมีการพิจารณา บทบาทของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันเลย ยิ่งไปกว่านั้นในกลุ่มงาน EnvOcc ที่อยู่ในสคร. สสจ. ที่มีภาระงานมากขึ้นตามไปด้วย ก็ควรที่จะบริหารจัดการส่วนนี้ไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม งานด้าน EnvOcc ถ้าสามารถลดความทับซ้อนกันลงได้ และร่วมมือ ช่วยเหลือ หรือเดินไปในทิศทางเดียวกันได้ ก็คงจะดี

หมายเลขบันทึก: 517542เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2013 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2013 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อนงค์ศิลป์ ด่านไพบูลย์

สุดยอดคุณหมอ

10 ศูนย์พัฒนาการจัดบริการอาชีวอนามัย จ.ระยอง เปลี่ยนชื่ออีกแล้วเหรอครับ ล่าสุดเป็นศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท