การถือสองสัญชาติของหญิงไทย กรณีสมรสกับคนต่างด้าว


การถือสองสัญชาติของหญิงไทย กรณีสมรสกับคนต่างด้าว

มีประเด็นที่โต้เถียงกัน ในหลายประเด็น

การถือสองสัญชาติของหญิงไทย กรณีสมรสกับคนต่างด้าว

23 มกราคม 2556

เมื่อก่อน ประเด็นนี้ก็เป็นที่หลบเลี่ยงสงสัยกันอยู่นาน เช่นกรณีที่ผู้เขียนได้ประสบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543-2544 และ ก่อนหน้านั้น

ประเด็นที่ 1

ประเด็นตัวอย่างที่พบมีว่า หญิงไทยสมรสกับต่างด้าว (ฝรั่งต่างด้าวอังกฤษ) และได้สัญชาติตามสามีไปแล้ว (ได้สัญชาติอังกฤษ) แต่ไม่ได้สละสัญชาติไทย ตาม พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 13 [1]

หญิงไทยผู้นี้มิได้สละสัญชาติไทย ฉะนั้น จึงมีประเด็นว่า "หญิงไทยผู้นี้" จะต้องสละสัญชาติไทย หรือ เสียสัญชาติไทยหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 22 [2] เพราะหญิงผู้นี้ไม่ได้แปลงสัญชาติเป็นต่างด้าว แต่ได้ขอถือสัญชาติด่างด้าวตามสามี (โดยการสมรส)

คำตอบก็คือ "หากหญิงไทยไม่แสดงเจตนาสละสัญชาติไทย ก็ถือสองสัญชาติได้ หากประเทศใหม่ที่หญิงไทยได้ถือสัญชาตินั้น ไม่มีบทบัญญัติห้ามให้ถือสองสัญชาติไว้" จึงกลายเป็นบุคคล "สองสัญชาติ" (dual or multiple citizenship or dual nationality) [3]

ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ หญิงไทยคนดังกล่าว ได้รับโอนมรดกที่ดินโดยพินัยกรรมจากบุพการี ก็เดินทางกลับมาประเทศไทย และมาจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นตามพินัยกรรม ปรากฏว่า พี่น้องร่วมบิดามารดามิได้มีส่วนแบ่งในมรดกที่ดินนั้นด้วย เพราะเป็นโอนมรดกตามพินัยกรรม พี่น้องเหล่านั้นจึงได้ร้องเรียนไปที่ตำรวจสันติบาล(เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติสัญชาติฯ) และเจ้าหน้าที่ได้มาตรวจสอบหลักฐานการถือสัญชาติไทยของหญิงผู้นั้นในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ก็พบว่ายังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มิได้สละสัญชาติไทยตามสามีแต่อย่างใด

ประเด็นที่ 2

ประเด็นปัญหาคือ "หญิงไทยผู้นี้ มีสิทธิถือครองที่ดินได้เพียงใด เพราะมีสามีเป็นต่างด้าว และกรณีนี้เป็นการโอนที่ดินโดยมรดก" (มรดกโดยพินัยกรรม มิใช่มรดกตามทายาทโดยธรรม) เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดิน ยกเว้นไว้ [4]

ประเด็นที่ 3

เพราะเมื่อก่อน มีข้อโต้แย้งจาก สตม. และ กรมการปกครอง ว่า "หญิงไทยถือสองสัญชาติไม่ได้ ต้องสละสัญชาติไทย เพียงแต่กฎหมาย ไม่มีบทลงโทษเท่านั้น"

ผู้เขียนได้พยายามค้นหาข้อห้าม ตามกฎหมายดังกล่าวก็ไม่พบ ไม่ทราบว่าอาจอยู่ในเพียงระเบียบปฏิบัติงานของ กรมตำรวจ หรือ ระเบียบใด ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติภายในของหน่วยงานนั้น ๆ ก็ได้

ผู้ที่ตอบยืนยันว่า หญิงไทยไม่สามารถถือสองสัญชาติได้ คือ พ.ต.ท.เฉลิมพงศ์ วัฒนสุข (2547) ว่า [5]

"ไม่อนุญาตให้ถือ 2 สัญชาติ แต่ทุกวันนี้มีผู้ถือ 2 สัญชาติเยอะแยะ เพราะเจ้าตัวไม่ยอมเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง แล้วก็เกิดปัญหาตอนเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยในการใช้หนังสือเดินทาง ขาเข้าจะใช้เล่มนี้ ขาออกจะใช้เล่มโน้น สร้างความปวดหัวให้เจ้าหน้าที่พอสมควร อยากทราบรายละเอียดสามารถหา พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาศึกษาได้"

ทำให้ผู้เขียนสับสนพอควร เพราะผู้เขียนได้พบว่า หญิงไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ที่ได้สัญชาติอื่นตามสามีไปแล้ว ก็ยังมีสิทธิถือสัญชาติไทย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ มิได้ถูกจำหน่ายออกไปไหน แต่อย่างใด

ปัจจุบันเท่าที่ทราบ สหรัฐ แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ต่างก็ให้หญิงไทยถือสองสัญชาติได้ (เยอรมันเพิ่งออกกฎหมายใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป) [6]

มีคำถามในเว็บ (2555) ว่า การถือสองสัญชาติของเมียฝรั่งเอาเปรียบคนอื่นหรือไม่ [7]

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ้างอิงเพิ่มเติม

"พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555"

ลิงค์ดาวน์โหลด พรบ.แก้ไขถึงฉบับที่ 5 (Multiversional, both Word & PDF files)

https://www.mediafire.com/?cpk4kf3k4hgo717

http://www.mediafire.com/download/cpk4kf3k4hgo717/NationalityAct2508toNo5PSK2555.doc

http://www.mediafire.com/download/07jy0l1k3nmp1dg/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.doc

http://www.mediafire.com/download/7683g4tq8ztd68f/พระราชบัญญัติสัญชาติ2508ถึงฉ5-2555update9short.pdf

http://www.mediafire.com/download/grcxnb62gi6r0vb/NationalityAct2508toNo5PSK2555-09.pdf


ปรางค์สิรินทร์ เอนกสุวรรณกุล. "ประเทศไทยไม่ยอมให้ถือสองสัญชาติ จริงหรือ????!!!!", 13 มกราคม 2556, http://www.gotoknow.org/posts/516074

รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร(Archanwell). "กม. ไทยห้ามคนไทยถือสองสัญชาติจริงไหม ?? เด็กลูกครึ่งต้องเลือกสัญชาติเมื่ออายุ 20 ปีจริงหรือ ??", 6 พฤษภาคม 2552,

http://www.gotoknow.org/posts/259492

ร.ต.ท.ดร.อุทัย อาทิเวช, อัยการผู้เชี่ยวชาญรักษาการแทน อัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ, "ปัญหาการถือสัญชาติไทยของเด็กลูกครึ่งสองสัญชาติไทย-ต่างชาติ", 20 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2555 จาก http://www.humanrights.ago.go.th/index.php?option=com_content&task=view&id=9468&Itemid=11

& http://www.humanrights.ago.go.th/files/เด็กลูกครึ่งสองสัญชาติ.pdf

รวิศ ชนชนะ, "การถือสัญชาติไทยของเด็กลูกครึ่งสองสัญชาติไทย-ต่างชาติ", 4 พฤศจิกายน 2555.

http://www.l3nr.org/posts/528591

"สองสัญชาติ สำคัญมากก่อนยื่นขอ citizenship", 1 กันยายน 2552.

http://topicstock.pantip.com/klaibann/topicstock/2009/09/H8270017/H8270017.html

"การถือสัญชาติไทยของเด็กลูกครึ่งสองสัญชาติไทย-ต่างชาติ", ดูใน "เด็กลูกครึ่งไทยออสสามารถแจ้งเกิดได้สัญชาติไทยมั๊ยคะ", 28 กันยายน 2556, http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=69691

ประเด็นคือเด็ก ลูกครึ่ง จะโดนบังคับให้เลือก สละสัญชาติไทยเมื่อครบ 20 ปีบริบูรณ์ อันนี้คือตัวการแก้กฎหมาย ใหม่ปี 2551 แต่ไม่มีพูดถึงเรื่อง การห้าม ถือ 2 สัญชาติ ในส่วนของผู้ใหญ่แบบเราๆที่ ขอซิติเซ็นส์ได้ในภายหลัง

"มาตรา 14 ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติของบิดาด้วยตามกฎหมาย ว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตาม มาตรา 12 วรรคสอง ถ้า ยังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์"

เมื่อได้พิจารณาความจำนงดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีหลักฐานเชื่อถือได้ว่าผู้นั้นอาจถือสัญชาติของบิดาหรือสัญชาติอื่นได้จริงก็ให้รัฐมนตรีอนุญาต เว้นแต่ในระหว่างประเทศไทยมีการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม รัฐมนตรีจะสั่งระงับการสละสัญชาติไทยรายใดก็ได้

(มาตรา 14 เดิม ถูกยกเลิก โดย พระราชบัญญัติสัญชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2535)

มาตรา 4 "ความใน มาตรา 14 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับกับบุคคลที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ดำเนินการตาม มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535"

(พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 มาตรา 4),

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 94 วันที่ 8 เมษายน 2535,

http://www.bora.dopa.go.th/nationclinic/index.php/e-book/book/4-3-2535/2-aal &

http://www.kodmhai.com/m4/m4-19/Nthailaw-4-19/N868.html


[1] มาตรา 13 "หญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าวและอาจถือสัญชาติของสามีได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสามี ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้แสดงความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง"

[2] มาตรา 22 "ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและได้แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว หรือสละสัญชาติไทย หรือถูกถอนสัญชาติไทยย่อมเสียสัญชาติไทย"

[3] ภัทริน ขาวจันทร์, "คนสัญชาติไทยที่ถือสองสัญชาติ."(THAI NATIONALS WITH DUAL NATIONALITY STATUS) อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: ศ.ดร.สุภางค์ จันทวานิช, 167 หน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2552. http://thesis.grad.chula.ac.th/readfile1.php?fn=ab5187632520.pdf&

http://arcmthailand.com/documents/documentcenter/THAI%20NATIONALS%20WITH%20DUAL%20NATIONALITY%20STATUS.pdf

[4] หนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ มท 0710/ว. 792 ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติ โดยได้กำหนดเกี่ยวกับสิทธิผู้ถือที่ดินของบุคคลสัญชาติไทย ที่มี หรือเคยมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว และบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว ที่มีสัญชาติไทย ขอได้มาซึ่งที่ดินโดยระเบียบ ใหม่ซึ่งใช้บังคับในปี 2542 ในกรณีที่ 1 กรณีบุคคลสัญชาติไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย ขอซื้อที่ดินหรือขอรับโอนที่ดิน และกรณีที่ 3 กรณีบุคคลสัญชาติไทย ที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว ทั้งที่ชอบ และมิชอบ ด้วยกฎหมาย ขอรับให้ที่ดินในระหว่างสมรส หรือระหว่างอยู่กินฉันท์ สามีภรรยากัน หากสอบสวนแล้ว เป็นการรับให้ในฐานะที่เป็นสินส่วนตัว หรือทรัพย์ส่วนตัว

[5] พ.ต.ท.เฉลิมพงศ์ วัฒนสุข, 13 กุมภาพันธ์ 2547, http://www.immigration.go.th/forum/index.php?topic=269.0

[6] "คนไทยถือสองสัญชาติได้แล้ว." ตามกฎหมายสัญชาติเยอรมัน Staatsangehörigkeitsgesetz) Posted on 13 Sep 2012. by admin gruene-bundestag.de, http://www.schau-thai.de/?p=4132

[7] "คุณคิดว่า การถือ 2 สัญชาติเอาเปรียบคนไทย หรือเปล่า", 1 พฤศจิกายน 2555, 22:28:47 โดย ฟ้า1, http://www.koosangkoosom.com/forum.php?mod=viewthread&tid=4334

หมายเลขบันทึก: 517277เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2015 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท