Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

กม.ไทยห้ามคนไทยถือสองสัญชาติจริงไหม ?? เด็กลูกครึ่งต้องเลือกสัญชาติเมื่ออายุ ๒๐ ปีจริงหรือ ??


...กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ จึงจัดโครงการเผยแพร่ความรู้ในประเด็นสำคัญที่หญิงไทยจำนวนมากประสบ “แต่งงานกับชายต่างชาติ ดีจริงหรือ” ณ ห้องประชุม กรมการกงสุล โดย นางอาภรณ์ ใหม่มงคล เจ้าพนักงานปกครองระดับชำนาญการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แนะนำผู้หญิงไทยว่า ควรจดทะเบียนสมรส ซึ่งตามกฎหมายไทยไม่ยินยอมให้ถือสองสัญชาติ แต่ไม่มีบทลงโทษ ส่วนในกรณีการขอคืนสัญชาติไทย สามารถนำหลักฐาน อาทิ ใบมรณบัตรคู่สมรสหรือใบหย่าเป็นหลักฐานแสดง และยื่นคำร้องที่สถานกงสุลในแต่ละประเทศหรือในต่างจังหวัด สามารถยื่นเรื่องขอคืนสัญชาติเป็นพลเมืองไทยที่ภูธรจังหวัด เจ้าพนักงานปกครองระดับชำนาญการ กล่าวถึงกรณีของบุตรว่า เด็กจะได้สัญชาติไทย หากไปแจ้งที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ รวมถึงจะมีสิทธิได้สัญชาติของคู่สมรสชาวต่างชาติด้วย หรือหากลืมแจ้งขณะอยู่ที่ต่างประเทศ สามารถนำสูติบัตรของบุตรที่ได้รับจากประเทศนั้น ๆ มาแปลและแจ้งเรื่องในประเทศไทยได้ในภายหลัง แต่ภายใน ๑ ปี หลังบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว จะต้องให้ลูกเลือกเพียงสัญชาติเดียว..... (เดลินิวส์เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒)

อ.แหววไปอ่านบทความเรื่อง “เรื่องควรรู้ก่อนเลือกคู่ต่างชาติ ในเดลินิวส์เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๒  พบความเห็นของคุณอาภรณ์จากกรมการปกครอง อ่านแล้ว ก็มีข้อน่าสงสัย ๒ ประการนะคะ เลยเขียนอีเมลล์มาคุยกับมวลมิตรที่สอนและทำงานเกี่ยวกับกฎหมายสัญชาติเพื่อตั้งเวทีโต๊ะกลมบนอินเทอร์เน็ตเอาดื้อๆ แล้วก็มาตั้งอีกวงในโกทูโน  

ข้อสงสัยของ อ.แหวว ก็คือ

ข้อสงสัยประเด็นแรกมาจากที่คุณอาภรณ์ว่า กม.ไทยไม่ยินยอมให้คนสัญชาติไทยถือสองสัญชาติ ??  

เอ..ข้อห้ามปรากฏตรงไหนของกฎหมายไทยล่ะคะ ช่วยกันตรวจสอบอีกทีซิคะ  คนสอนกฎหมายสัญชาติทั้งหลาย อ.แหววไม่เคยเห็น “ข้อห้าม” นะคะ  เคยตรวจสอบมาสัก ๒ ครั้งแล้ว  สังเกตเห็น  ความเป็นไปได้อยู่สองที่  กล่าวคือ  มาตรา ๒๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘   แต่เมื่อพิจารณาตัวบท ซึ่งก็ไม่ได้ห้าม เพียงแต่บอกว่า ถ้าทำ ก็จะเสียสัญชาติไทย ไม่มีบทกำหนดโทษ  และยังมิใช่การเสียโดยอัตโนมัติ  จะต้องรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยข้อเท็จจริง เราจึงพบว่า มีคนไทยในอเมริกามากอยู่ไปแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน  แต่เมื่อไม่มีการประกาศให้เสียสัญชาติไทยตามมาตรา ๕ การเสียสัญชาติไทยก็จะเกิดไม่ได้ นอกจากนั้น หากเป็นกรณีที่ได้สัญชาติต่างประเทศโดยผลของการสมรส ก็ไม่น่าจะเข้ามาตรา ๒๒ เพราะไม่ใช่การแปลงสัญชาติ จึงไม่น่าจะเสียสัญชาติ แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องแบบนี้ ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแพ่งหรือศาลปกครองไทยในเรื่องนี้  ประเด็นนี้ น่าเอามาทำวิจัยกันสักทีนะคะ หมู่เฮาว่าไงคะ ขอความเห็นค่ะ และคราวหน้าไปสนทนาวิชาการกับท่านอาจารย์มีชัย อ.แหววเห็นทีจะเอาเรื่องนี้ไปหารือค่ะ ประเด็นนี้ มีคนมาหารือเป็นประจำ

นอกจากนั้น คุณอาภรณ์กล่าวว่า บุตรของหญิงไทยและชายต่างด้าวต้องเลือกสัญชาติไทยเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี !!

อันนี้ อ.แหววเข้าใจว่า น่าจะเป็นไปตามกฎหมายที่ประกาศใช้ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ และถูกยกเลิกในเวลาราว ๑ เดือนต่อมา กล่าวคือ มาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว และอาจถือสัญชาติของบิดาได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง ให้แสดงความประสงค์เข้าถือสัญชาติได้เพียงสัญชาติเดียว โดยให้แจ้งความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบรูณ์ ถ้าไม่มีการแจ้งความจำนงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า ผู้นั้นสละสัญชาติไทย เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งเฉพาะรายเป็นอย่างอื่น” บทบัญญัตินี้ถูกประกาศใช้ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ และถูกยกเลิกในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ จะเห็นว่า การเร่งรีบแก้ไขบทบัญญัตินี้ก็เพราะเป็นบทบัญญัติที่ไม่อาจสร้างคุณประโยชน์มากนักสำหรับสังคมไทยซึ่งจะเป็นสังคมข้ามชาติมากขึ้นเรื่อยๆ จะเห็นว่า มาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งมาแทนที่ จึงบัญญัติว่า “ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว และได้สัญชาติของบิดาด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง ถ้ายังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบรูณ์" บทบัญญัติใหม่นี้แปลว่าอะไรล่ะ  น่าจะชัดเจนนะคะ การสละสัญชาติไทยมิใช่ “หน้าที่” แต่เป็น “สิทธิ”  หากไม่ไปแสดงความจำนงตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ก็ไม่เป็นการสละสัญชาติไทย เราจะสังเกตว่า เราจึงมีคนสัญชาติไทยที่มีสัญชาติต่างประเทศอยู่ด้วยไม่น้อย ในเวลานี้ ดังนั้น อ.แหววจึงคิดว่า ความเห็นของคุณอาภรณ์ในเรื่องนี้ก็น่าจะไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของมาตรา ๑๔ ที่มีผลตั้งแต่วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา .... คนสอนกฎหมายสัญชาติเห็นอย่างไรกันคะ ?? ขอความเห็นเช่นกันค่ะ

สำหรับ อ.แหวว ความเห็นในการตีความทางกฎหมายแตกต่างกันได้ค่ะ แต่การตีความไกลจากตัวบทลายลักษณ์อักษรมากนั้นจะทำได้ก็ต้องเป็นคุณต่อมนุษย์ แต่หากเป็นการตีความในลักษณะที่จำกัดเสรีภาพของมนุษย์คงต้องระวังนะคะ ในสถานการณ์ที่ยกมานี้ มวลมิตรคิดกันอย่างไรคะ ??

อยากทราบเหตุผลของคุณอาภรณ์เช่นกันค่ะ ทัศนคตินี้เป็นของคุณอาภรณ์ท่านเดียว ?? หรือเป็นของกรมการปกครองทั้งหมด ??

เราน่าจะมาช่วยกันค้นแนวคำพิพากษาของศาล ความเห็นกฤษฎีกา แนวปฏิบัติของนานาอารยประเทศนะคะ

หมายเลขบันทึก: 259492เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2009 04:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (128)

อ.แหววคะ

มาอ่านบันทึกนี้แล้วอยากชวน อ.แหวว มาทำกิจกรรม ร่วม "เขียน และ ขุด" บันทึก เพื่อทำหนังสือ "เรื่องเล่าจากคนทำงาน " ค่ะ

หากพอมีเวลา บันทึกเก่าๆ ที่เคยเขียนไว้ที่เกี่ยวข้องก็สามารถเพิ่มคำสำคัญ "Digital Divide" เข้าไปได้เลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ ^_^

พ่อเป็นคนไทยแม่เป็นคนลาวและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ลูกเกิดที่เมืองไทย

ถ้าพ่อรับรองบุตรจะได้มั้ย แล้วลูกจะได้เป็นคนไทยหรือเปล่า

อยากทราบคะ

คุณนุคะ

หากพ่อเป็นคนสัญชาติไทย

แม้แม่จะเป็นคนสัญชาติลาวและไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

แต่ลูกเกิดที่เมืองไทย

บุตรก็มีสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนค่ะ โดยไม่ต้องมีการรับรองบุตร

แต่ถ้าพ่อรับรองบุตร บุตรก็จะได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตด้วยค่ะ

รวบรวมพยานหลักฐานแล้วไปอำเภอหรือเขตหรือเทศบาล ตามแต่กรณี หรือหากฝ่ายปกครองไม่ยอมรับ ก็อุทธรณ์แล้วไปศาลปกครองได้เลย

สวัสดีครับ

ผมมีเรื่องอยากถามครับ คือว่างี้น่ะครับผมเกิดที่เยอรมัน ซึ่งบิดาเป็นคนเยอรมันและมารดาเป็นคนไทย ปัจจุบันผมถือสัญชาติเยอรมัน เชื่อชาติเยอรมัน แต่เนื่องด้วยผมย้ายมาอยู่ที่เมืองไทยได้ 10 กว่าปีแล้ว(พ่อแม่ย้ายมาอยู่ที่เมืองไทยถาวร) และได้อาศัยและร่ำเรียนหนังสือ มาตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 5จนถึงปัจจุบันก็จบปริญญาตรีแล้ว ซึ่งจบก็หางานไมไ่ด้เลยเพราะ ผมสัญชาติเยอรมัน และบริษัทส่วนใหญ่ไม่รับเข้ามาทำงาน จึงอยากถือสัญชาติที่สอง คือสัญชาติไทย จะสามารถทำได้รึป่าวครับ

และสมควรทำรึป่าวอ่ะครับ หรือหางานที่มีบริษัทต่างชาติจ้างแทน หรืออย่างไงดีครับ ที่ผมควรจะทำครับ

ผมรบกวนช่วยแนะนำแนวทางให้ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณมากๆ ครับ

แมธทิว

ตอบคุณแมธทิวแล้วค่ะ

คลิกตรงนี้นะคะ

http://gotoknow.org/blog/people-management/315262

สวัสดีครับ

ก่อนอื่น ผมต้องขอบคุณ อ.แหวว (Archanwell) มากๆน่ะครับ

ที่เสียสละเวลามาเปิดประเด็นใหม่และเสียสละเวลามาช่วยผมน่ะครับ ตอนนี้ผมยังอ่านไม่หมดเดี๋ยวขอไปอ่านและทำความเข้าใจก่อนน่ะครับ ขอบคุณมากๆ จากใจจริงน่ะครับ ^^

แมธทิว

สวัสดีค่ะ

เรียนสอบถามอ.แหววค่ะ

***คือว่าดิฉันจดทะเบียนสมรสกับคนนิวซีแลนด์ที่ประเทศนิวซีแลนด์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับสามีที่ประเทศไทย และก็ไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลตามสามี และทะเบียนสมรส ที่ประเทศนิวซีแลนด์ใช้เป็นหลักฐานตามกฏหมายในประเทศไทย ได้หรือเปล่าคะ

***และถ้าในอนาคตเราอยากกลับไปอยู่เมืองไทย สามีดิฉันจะสามารถอยู่ประเทศไทยได้หรือเปล่า

***คือตามเอกสาร ทะเบียนบ้าน พาสปอร์ต บัตรประชาชน ทุกอย่างของดิฉันยังคงสถานะเดิม และจะมีผลอย่างไร กับดิฉันตามกฎหมายประเทศไทยหรือนิวซีแลนด์หรือเปล่าคะ

***และตอนนี้ ดิฉันเป็น PR ที่ประเทศนิวซีแลนด์ แล้วก็กำลังตัดสิใจ ขอสัญชาตินิวซีแลนด์ค่ะ และดิฉันจะต้องถามทางประเทศนิวซีแลนด์ด้วยหรือเปล่าคะว่าจะสามารถถือสองสัญชาติได้หรือเปล่า

ในประการแรก  ทะเบียนสมรสตามกฎหมายนิวซีแลนด์มีผลตามกฎหมายไทยค่ะ หากทำอย่างถูกต้องตามกฎหมายนิวซีแลนด์

ในประการที่สอง เมื่อสามีเป็นสามีตามกฎหมาย ก็มีสิทธิร้องขออนุญาตเข้ามาอาศัยอยู่กับภริยาได้ค่ะ ต่อวีซ่า ครั้งละ ๑ ปีค่ะ

ในประการที่สาม ควรปรับเอกสารพิสูจน์ตนต่างๆ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เมื่อต้องการใช้สิทธิ จะได้ไม่ต้องมาพิสูจน์กันอีกทีค่ะ

ในประการที่สี่ การแปลงสัญชาติเป็นนิวซีแลนด์มีผลเป็นการเสียสัญชาติไทยนะคะ โปรดระวัง แม้ทางกระทรวงการต่างประเทศจะไม่ค่อยตรวจสอบ แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะมีการกล่าวอ้างการเสียสัญชาติไทย (มาตรา ๒๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘)

ขอบคุณ อ.แหวว มากค่ะ ก็ขอให้อ.แหวว ได้ทุกๆสิ่งตามที่ปรารถนา นะคะ

ขอบคุณข้อมูลของอาจารย์แหววมากค่ะ คือตอนนี้มีลูกอายุ 8 ขวบค่ะ มีพาสปอร์ต 2 ใบ ไทยใบหนึ่งกับอังกษใบหนึ่ง สามีถือสัญชาติบริติช กลัวเรื่องลูกชายต้องสละสัญชาติใดสัญญชาติหนึ่ง เพราะอนาคตไม่แน่ว่าเค้าอยากทำอะไร ถ้าเค้าต้องสละสัญชาติไทยก็กังวลเรื่องบ้านและที่ดินที่มีอยู่ของดิฉันว่าเค้าจะถือต่อไม่ได้ แต่ถ้าตามอาจารย์ตีความก็คือเค้ายังไม่ต้องเลือกแม้ว่าจะอายุครบ 20 ปีไปแล้ว

ตอนนี้มีคนไทยแต่งงานกับต่างชาติมาก แต่ยังไม่มีบรรทัดฐานสำหรับเด็กลูกครึ่งเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ต่างคนต่างตีความเอาเองพวกเราก็ลำบากเมื่อต้องติดต่อกับพวกเค้าเหล่านั้น

นี่ยังไม่นับรวมเรื่องความยากลำบากที่จะทำให้เราอยู่กันแบบครอบครัวได้ในแต่ละปีก็ใจหายใจคว่ำทีกับการขอวีซ่าว่าจะต่อได้มั้ย ทำไงได้คะความรักมันไม่มีพรมแดน

คุณปาริชาตคะ

ไม่ใช่เรื่องตีความค่ะ เป็นข้อกำหนดของกฎหมายที่ชัดเจน ไม่ต้องตีความ ไม่มีอะไรคลุมเครือ ปัญหาของคนไทย ก็คือ ไม่สนใจว่า กฎหมายไทยเขียนอะไรเอาไว้ สำหรับบุตรของคุณไปดู มาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕

อย่าให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเอาอะไรก็ไม่รู้มาขู่ได้นะคะ

ความรู้ทำให้พ้นภัยค่ะ

สวัสดีค่ะ

อยากสอบถามค่ะ

1.ดิฉันเป็นคนไทย แต่สามีเป็นกัมพูชา ค่ะ มีแต่พลาสปอร์ตทำงานนคะ ซึ๋งถือว่าเป็นชาวบุคคลต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในไทย ลูกที่คลอดมาจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่าค่ะ สามารถทำเรื่องทุกอย่างได้เหมือนคนไทยปกติหรือเปล่าค่ะ (เนื่องจากในใบเกิดได้แจ้งชื่อพ่อด้วยนะค่ะ)

2.ถ้าต้องการถอนชื่อพ่อออกจากสูติบัตร ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ ปัจจุบันไม่สามารถหาสามีได้เจอแล้วค่ะ (ตอนนี้ลูก 6 เดือนแล้วค่ะ)

**เคยทำเรื่องไปต้องแต่ตอนคลอดแล้วนะค่ะ ไปที่อำเภอตั้งแต่ยังไม่ได้ออกสูติบัตรมาที่คอมพิวเตอร์แลย แต่เจ้าหน้าที่บอกไม่สามารถทำได้ค่ะ แต่ตอนนี้อยากถอนออกจริงๆ คะ

แม่สัญชาติไทย ลูกก็มีสัญชาติไทยค่ะ

ไม่มีปัญหาอะไรหรอกค่ะ

ขอรบกวนอาจารย์อีกสักครั้งนะค่ะ

คืนเห็นเค้าพูดกันว่า บุตรที่มีพ่อเป็นชาวกัมพูชา ไม่สามารถ สมัครเป็นทหารหรือตำรวจได้หรือค่ะ และเด็กที่มีพ่อเป็นกัมพูชาจะมีขีดจำกัดต่างๆ ซี่งต่างไปจากเด็กพ่อแม่ไทยค่ะ (คือสงสารลูกก็เลยอยากลองศึกษาไว้นะค่ะ) แล้วที่จะถอนชื่อพ่อเด็กออกจากสูติบัตรสามารถทำได้หรือเปล่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

โดยรัฐธรรมนูญ การเลือกปฏิบัติต่อคนสัญชาติไทยน่าจะเป็นสิ่งที่ขัดรัฐธรรมนูญนะคะ หากมีกฎระเบียนที่ยังเลือกปฏิบัติ ก็ต้องร้องเรียนล่ะค่ะ

การเอาชื่อพ่อออกจากสูติบัตรไปทำไมคะ ให้ลูกไม่มีบิดาเป็นตัวตนชัดเจน ยิ่งไม่สร้างปัญหาแก่ลูกหรือคะ แล้วที่แจ้งไปตอนแรก จะไม่มีเป็นการแจ้งความเป็นเท็จหรือคะ

กังวลในสิ่งที่ไม่ควรกังวลหรือเปล่าคะ ดูแลลูกดีๆๆ เถอะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ มีเรื่องขอความกรุณาอาจารย์ค่ะ ตอนนี้ที่บ้านกำลังปวดหัวเพราะความไม่รู้ค่ะ 1 พี่สาวแต่งงานกับคนมาเลย์เซียจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามหลักกฎหมายและศาสนาค่ะ แต่พี่สาวยังคงถือสัญชาติไทยและใช้นามสกุลเดิมอยู่ อันนี้ไม่มีปัญหาใช่ไหมคะ 2 ตอนนี้พี่สาวคลอดน้องมาได้สองเดือนแล้วค่ะ น้องแจ้งเกิดแล้วน้องสามารถถือสองสัญชาติได้ไหมคะ กฏหมายมาเลย์เซียสามารถทำได้หรือเปล่าเพราะพ่อของน้องบอกว่าจะมีปัญหาทีหลังให้เลือกสัญชาติมาเลย์เซียอย่างเดียวพอ ทีนี้พี่สาวก็ไม่ยอมค่ะเพราะกังวลว่าน้องจะเสียสิทธิ์ความเป็นคนไทยในอนาคตค่ะ 3 เรื่องหนังสือเดินทางค่ะ สามารถมีได้สองเล่มหรือเปล่าคะ 4 น้องสามรถมีสองชื่อได้ไหมคะ เพราะชื่อที่แจ้งเกิดตอนนี้เป็นชื่อแบบมาเลย์เซียค่ะ ( ยาวมาก ) พี่สาวเลยอยากให้น้องมีชื่อไทย และใช้นามสกุลของพี่สาวเพื่อที่จะง่ายต่อการติดต่อเรื่องต่างๆและการใช้ชีวิตในเมืองไทยค่ะ ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้านะคะ

ในประการแรก การสมรสตามกฎหมายกับชายต่างด้าวไม่ทำให้หญิงสัญชาติไทยเสียสัญชาติไทยค่ะ หากอยากเสีย ต้องไปแสดงเจตนาสละสัญชาติไทย และต้องมีการประกาศการสละสัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษษ

ในประการที่สอง หากบุตรเกิดในขณะที่มารดายังมีสัญชาติไทย บุตรก็จะมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา  ในส่วนที่จะได้สัญชาติมาเลเซียตามบิดาหรือดินแดนที่เกิดหรือไม่ ก็เป็นไปตามกฎหมายมาเลเซียค่ะ

ในประการที่สาม มีความเป็นไปได้ที่กฎหมายมาเลเซียอาจห้ามถือสองสัญชาติ อันนี้ ต้องไปดูกฎหมายสัญชาติมาเลเซียค่ะ อ.แหววไม่รู้กฎหมายของประเทศนี้ในรายละเอียด

ในประการที่สี่ หากมีการแจ้งการเกิดของน้องในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย ก็จะได้รับรองสถานะคนสัญชาติไทย ย่อมถือหนังสือเดินทางไทยได้แน่นอน แต่จะถือหนังสือเดินทางมาเลเซียได้หรือไม่ ก็ต้องว่าตามกฎหมายมาเลเซียค่ะ

ในประการที่ห้า น้องจะมีชื่อในทะเบียนราษฎรไทยได้ตามที่แจ้งล่ะค่ะ ควรมีชื่อเดียวกันทั้งในภาษาไทยและมาเลย์นะคะ หากมีหลายชื่อ จะยุ่งยากในการทำนิติกรรมสัญญา

เรื่องนี้ต้องดูว่า น้องจะใช้ชีวิตในประเทศไทยในอนาคตหรือไม่ ? ถ้าไม่ ก็ควรทำตามกฎหมายมาเลเซียค่ะ สัญชาติเป็นเงื่อนไขในการใช้สิทธิค่ะ ในเรื่องเสรีภาพในการถือสัญชาติ กฎหมายไทยมีลักษณะเสรีนิยมมากกว่ามาเลเซียค่ะ

การมีหลายสัญชาติเป็นสิ่งที่ห้ามไม่ได้ แต่การใช้สิทธิในสัญชาติอาจถูกรัฐจำกัดเสรีภาพได้ค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ได้ถามทางกงศุลมาเลย์ทราบว่าทางมาเลย์ไม่ให้ถือสองสัยชาติค่ะ ก็เลยจะโอนสัญชาติน้องเป็นมาเลย์ ขอรบกวนเพิ่มนะคะ

1 ถ้าหากว่าเราโอนสัญชาติน้องไปเป็นมาเลย์เซียน้องจะเสียสิทธิความเป็นคนไทยไปเลยหรือไม่คะ สามารถแก้ไขได้ภายหลังหรือไม่

2 ได้ถามไปยังสถานฑูตมาเลย์เซียทราบว่าน้องไม่สามารถถือหนังสือเดินทางสองเล่มได้ ถ้าน้องถือหนังสือเดินทางมาเลย์เซียเวลาน้องกลับมาเมืองไทยน้องจะได้วีซ่านานเท่าไหร่คะ หรือว่าได้แค่วีซ่านักท่องเที่ยวคะ เพราะในเบื้องต้นน้องคงต้องเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาในเมืองไทยค่ะ รบกวนอาจารย์ให้คำแนะนำในเรื่องนี้หน่อยนะคะ

หมายเหตุ....น้องอยู่ไทยเป็นหลักในช่วงสิบปีแรก อาจไปมาเลย์เซียเป็นครั้งคราวปีละครั้งหรือสองครั้งค่ะ พี่สาวเลยกังวลว่าน้องจะมีปัญหาถ้าอยู่ไทยนานๆไม่ได้

ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีครับผมเป็นข้าราชการทหารสามมารถจดทะเบียนกับคนลาวได้หรือเปล่าครับ ตอบด่วนนะครับ

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิมนุษยชนค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

เรียนถามหน่อยเกี่ยวกับบุตรที่จะเกิดมา ระหว่าง แม่ที่เป็นคนสัญชาติไทย และ พ่อที่เป็นสัญชาติ จีน แต่งการจดทะเบียนกันถูกต้องตามกมทั้งที่ไทยและจีนค่ะ เมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา

1. เราสามารถที่จะให้ลูกที่จะเกิดที่จีน ได้สัญชาติไทยและ ถือ ทั้งสองสัญชาติ(ไทยและจีน)ได้ไหมค่ะ และ ได้สองพาสปอร์ต ได้ไหมค่ะ ตามที่รู้ว่า ทาง กม จีน ไม่อนุญาติให้ถือสองสัญชาติ แต่ไม่ทราบว่าที่ไทยสามารถไหม ตามที่อ่านข้างบน เหมือนว่าสามารถถือสองสัญชาติได้ จนถึง อายุยี่สิบใช่ไหมค่ะ แล้วเค้าจะต้องเลือกว่าจะถือสัญชาติใดสัญชาตินึง

2.แล้วสมมติว่า เราต้องการให้ลูก และ ด้วยความว่าลูกก็สมัครใจที่จะถือสองสัญชาติต่อไป สามารถไหมค่ะ อันนี้ในกรณีฝ่ายประเทศไทยนะค่ะ

3. แล้วเห็นว่า ถ้าในกรณีถือ สองสัญชาติ ทั้งไทย และ จีน แล้วจะมีปัญหาเรื่องการเกณฑ์ทหารในไทยไหมค่ะ ถ้าในอายุที่เค้าจะต้องไปเรียน ร.ด. แล้วไม่ได้เป็นเรียน ก็ต้องไปจับใบดำใบแดงเป็นทหารใช่ไหมค่ะ แล้ว ถ้าช่วงเวลานั้น เค้าไม่ได้เรียน และ ไม่ได้ไปเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเรียนศึกษาอยู่ต่างประเทศ หรือ อาศัยอยู่ที่จีน แล้วจะมีปัญหาอะไรไหมค่ะ เคยได้ยินว่า ทางรัฐของจะมีหมายเรียกหรือรัยสักอย่าง จนถึง อายุเกือบสามสิบ แต่ไม่แน่ใจว่าเท่าไหร่ (รบกวน อาจารย์แนะนำด้วยค่ะ) เค้าก็จะไม่ตามแล้ว เพราะฉะนั้น ระหว่างที่่รัฐมีหมายเรียก เจ้าตัวเค้าสามารถที่จะเดินทางมาแวะเยี่ยม ญาติ ที่ไทย ไหม ถ้าได้แล้วจะมีปัญหาไหม จะโดนตามจับไปเป็นทหารไหมค่ะ หรือว่า ห้ามทำ พฤติกรรมใดที่เกี่ยวกับ ก.ม.ไทย เพื่อให้ทางรัฐสามารถ สืบรู้ได้

4.และถ้าคลอดลูกที่จีน หรือ ไทยแล้ว จะต้องทำอย่างไรในการขอสัญชาติให้ลูกได้เป็น สัญชาติไทยค่ะ

5. หรือว่า รบกวนอาจารย์ แนะนำ วิธีที่จะทำให้ ลูกได้สองสัญชาติ ไปตลอดชีวิตของเค้า และไม่มีปัญหาในอนาคตเรื่องการเกณฑ์ทหาร ได้ไหมค่ะ เพราะ ไม่อยากให้เค้าเสียสิทธิที่ไทย และ จีนค่ะ

รบกวนด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ผมเป็นข้าราชการไทย จะแต่งงานกับสาวลาว และจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยได้ไหม มีคนบอกว่าข้าราชการไทย จะจดทะเบียนกับคนลาวได้ ต้องได้รับอนุญาต จากรัฐมนตรีมหาดไทย ใช่หรือไม่ครับ

ข้าราชการก็มีสิทธิมนุษยชนค่ะ

เคยมีมติคณะรัฐมนตรีห้ามข้าราชการแต่งงานกับญวน เมื่อ ๒๐ ปีก่อน

ตอนนี้ คณะรัฐมนตรีก็มีมติยกเลิกอย่างชัดเจนแล้วค่ะ

สวัสดีครับ

ผมเป็นคนไทย ที่แต่งงานกับหญิงจีน มีลูกคนแรกเกิดที่เมืองไทย และที่โรงพยาบาลแจ้งเกิดให้ ก็เลยได้สัญชาติไทย ต่อมาก็ย้ายชื่อเข้าบ้านตัวเอง ภรรยานำเอกสารเพื่อไปแจ้งสัญชาติที่ประเทศจีน แต่เขาไม่ให้บอกว่าเด็กมีเลขที่บัตรประชาชนแล้วถือว่าเป็นสัญชาติไทย จึงไม่ให้ใช้สัญชาติจีน

ตอนนี้กำลังตั้งครรภ์ น้องคนใหม่ อยากรบกวนถามว่า

1.ถ้าไปคลอดที่เมืองจีน ได้เป็นสัญชาติจีนแล้ว จะมาขอเป็นสัญชาติไทยโดยถือสองสัญชาติได้ไหม และต้องทำอย่างไรบ้าง

2.ถ้าคลอดที่ไทย ต้องทำอย่างไรถึงจะถือสองสัญชาติ ไทย จีนได้ครับ

รบกวนปรึกษาอาจารย์ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ

มีเรื่องจะรบกวนสอบถามอาจารย์ค่ะ

พอดีแต่งงานกับคนเบลเยี่ยม มีลูกด้วยกัน หนึ่งคน แต่ตอนนี้หย่ากันแล้วค่ะ เราอยู่กับลูกที่เมืองไทย ลูกถือสองสัญชาติ

มีพาสปอร์ต สองเล่ม ตอนนี้เค้าใช้ชื่อ ฝรั่งกับนามสกุลพ่อเค้า อยากจะเปลี่ยนเป็น ชื่อไทยกับนามสกุลเราให้น้องเค้าน่ะค่ะ

เพราะชื่อฝรั่ง เวลาเข้าโรงพยาบาลราคาจะสูงกว่าปรกติค่ะ แต่กลัวจะมีปัญหากับ พาสปอร์ตเบลเยี่ยมค่ะ รบกวนขอคำปรึกษา

ด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ

มีเรื่องรบกวนหน่อยนะค่ะเพราะไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมาย คือมีลูกสองคนกับสามีชาวรัสเซีย และลูกได้ถือพาสฯของทั้งสองประเทศแต่พาสฯของประเทศรัสเซียได้อยู่ในเล่มเดียวกันกับสามี แล้วลูกชายได้เดินทางไปประเทศรัสเซียกับสามีโดยได้ใช้พาสฯเดียวกับสามีและกลับเข้ามาโดยใช้พาสฯเดียวกันเหมือนเดิม แต่ตอนไปต่อวีซ่าคือลูกชายจะต้องออกไปนอกประเทศด้วยเนื่องจากใช้พาสฯเดียวกัน คำถามคือ

1. ทำอย่างไรที่จะไม่ต้องให้ลูกต้องไปต่อวีซ่าเพราะลูกก็มีพาสฯไทยและอยู่เมืองไทยตลอด

2. ตอนนี้ไปแยกพาสฯระหว่างพ่อกับลูกแล้วๆจะต้องทำอย่างไรต่อค่ะเพราะกลัวเรื่องวีซ่ามากๆ

3. แล้วถ้าต่อไปลูกจะกลับไปที่รัสเซียจะต้องทำอย่างไรค่ะ

4. แล้วถ้ากลับเข้ามาในไทยจะต้องทำอย่างไรค่ะ

รบกวนกรุณาตอบดิฉันหน่อยเพราะนอนไม่หลับเลยกลัวมากค่ะ

เป็นเรื่องของคนสองสัญชาติทั้งสามรายเลยค่ะ

ไม่มีเวลาตอบเลยค่ะ

รอก่อนนะคะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันกำลังหาข้อมูลกำลังวางแผนแต่งงานกับคนอเมริกัน

พอหาข้อมูลในอินเตอร์เนท เกิดปัญหาว่า ดิฉันสามารถทำ

กรีนการ์ดได้หรือไม่

ดิฉันอายุเกือบห้าสิบปี ใบเกิดสันชาติไทย พ่อสัญชาติจีน

แม่สัญชาติไทย ทั้งคู่เสียชีวิตเม่ือสามสิบกว่าปีแล้ว

เอกสารต่างๆ ของพ่อแม่ไม่มีเลยแม้กระท่ัง ใบตาย

สำเนาทะเบียนบ้านปัจจุบันก็ไม่มีรายละเอียดของพ่อแม่

แต่ดิฉันได้ข้อมูลว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นคนต่างด้าว

จะต้องเอาใบต่างด้าวประกอบด้วย

ดิฉันไม่มีเอกสารของพ่อแม่เลยสักช้ิน

ดิฉันจะต้องทำอย่างใร มีโอกาสผ่านหรือไม่

ตอนน้ีก็ไม่รู้จะสอบถามได้ท่ีไหน รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ

สวัสครับ ผมเป็นคนไทยแต่งงานกับหณิงจีนและจดทะเบียนสมรสที่ประเทศจีน ตอนนี้ฝ่ายหญิงทำงานที่เมืองไทย อยากทราบว่าถ้าคลอดลูกที่เมืองไทย ลูกจะเป็นคนไทยหรือคนจีนครับ และถ้าให้ลูกถือสัญชาติจีนจะต้องทำอย่างไรครับ

ขอบคุณครับ 

 

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นคนไทยแต่มีสามีเป็นคนกัมพูชา เราตกลงจะแต่งงานกันปีหน้าแต่หนูอยากให้เค้ามีสัญชาติไทยก่อนแต่งงานจะทำอย่างไรดีค่ะ?และถ้าแต่งงานและจดทะเบียนกันแล้วจริงไหมค่ะ5ปีเค้าจะได้สัญชาติไทย?และแม่ของเค้าก็อยู่เมืองไทยมาสิบกว่าปีแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเลยค่ะ และถ้าเกิดไทยกับกัมพูชารบกันแต่เค้าอยู่ในดินแดนไทยอันนี้เค้าจะมีสิทธิ์เป็นคนไทยมั๊ยค่ะ สงสารเค้าอยากให้เค้าได้สัญชาติไทยเค้าหน้าตาเหมือนคนไทยทุกอย่างและเป็นคนดีค่ะ ยังไงก็ช่วยรบกวนตอบกลับด้วยนะค่ะข้องใจมาก เฮ้อ

ณ ปัจจุบัน บุตรยังถือ2สัญชาติ คือสัญชาติญี่ปุ่น และสัญชาติไทย บิดาเป็นคนญี่ปุ่น มารดาเป็นคนไทย แต่ทั้งสองได้อย่ากันไปแล้วเมื่อ10ปีก่อน โดยที่ฝ่ายชายได้ระบุเป็นผู้ปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว ชึ่งตอนนั้นฝ่ายหญิงอ่านภาษาญี่ปุ่นไม่ออก จึงยินยอมเซ็นหย่าไป จากนั้นก็พาบุตรกลับเมืองไทย โดยที่ฝ่ายชายไม่ทราบเรื่อง และปัจจุบัน บุตรไม่สามารถทำพาสปอร์ตไทยได้เนื่องจากเวลารับเล่ม ต้องให้บิดามาเซ็นรับเล่มให้ ไม่ได้มีการต่อวีซ่าใดๆตั้งแต่กลับมาจากประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว ปัจจุบันเด็กอายุ 13 ปี มีทะเบียนบ้านที่ประเทศไทยถูกต้อง มีพาสปอร์ตญี่ปุ่น ต้องต่ออายุทุกๆ5ปี เด็กเป็นเพศชาย

อยากทราบว่าในกรณีที่เป็นเช่นนี้ ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปเพื่อให้เด็กสามารถอยู่เมืองไทยได้ถูกต้องตามกฏหมาย เนื่องจากติดต่อทางบิดาไม่ได้ และผู้เป็นมารดาต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถเป็นผู้ปกครองบุตรได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย กรุณาช่วยตอบให้กระจ่างทีค่ะ

ตอบคุณลภัสรดา [IP: 180.180.233.133]
11 มิถุนายน 2554 15:17
#2464362

  1. ขอถามว่า บุตรมีชื่อใน ท.ร.๑๔ ในสถานะคนสัญชาติไทยไหมคะ ?
  2. บุตรอายุเท่าไหร่ มีบัตรประชาชนคนสัญชาติไทยแล้วยัง ?
  3. ในหนังสือรับรองการเกิดของบุตร ระบุไหมคะว่า มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ?
  4. มารดาเคยสละสัญชาติไทยไหมคะ ?
  5. ขอให้ตอบข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นมาก่อนค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันเป็นคนไทยแต่มีแฟนเป็นกัมพูชาเราจะแต่งงานกันปีหน้าแล้วค่ะแต่หนูอยากให้เค้ามีสัญชาติไทยก่อนแต่งงานจะทำไงดีค่ะ?

และสมุติว่าจดทะเบียนสมรสแล้ว5ปีแฟนหนูจะได้สัญชาติไทยไหมค่ะ?

ตอบคุณ Nan [IP: 223.205.209.64]

เรื่องของคุณคล้ายกรณีของคุณแน่นนะคะ

http://www.gotoknow.org/blog/archanwell-and-bkklegalclinic/443400

อ่านซิคะ

สวัสดีครับอาจารย์ อดีตภรรยาผมชาวดัืทช์ ย้ายไปอยู่ฝรั่งเศสตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ใช้พาสปอร์ตของฮออลแลนด์ทุกครั้งในการเดินทางรวมทั้งมีบัตรประชาชนของฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า Carte De Sejour เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ได้แต่งงานหลังจากอยู่ด้วยกัน 2 ปี ที่ฝรั่งเศสตามกฏหมาย มีบุตร 2 คน เกิดที่ฝรั่งเศสและมีสูติบัต(เกิดนอกราชอาณาจักร) ทั้งสอง รวมอยู่ด้วยกันกับภรรยา 12 ปี ผมเองก็มีบัตรแบบเดียวกับที่ภรรยาผมถือ บุตรทั้งสองของเรากลับไปอยู่ฝรั่งเศสกับแม่ของเขาก่อนการหย่าจะเกิดขึ้นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ปัจจุบันบุตรอายุ 18 ปีและ 16 ปีเป็นชายและหญิงตามลำดับ เราทั้ง 4 คนเจอกันเกือบทุกปี ส่วนมากเจอกันที่เมืองไทย บุตรคนโตมีบัตรประชาชนไทย เลขขึ้นต้น 5 พาสพอร์ฮอลแลนด์และพาสพอร์ไทย ยังไม่เคยลงทะเบียนทหารกองเกิน บุตรคนรองกำลังวางแผนจะไปทำบัตรประชาชนในเดือนธันวาคม 2554นี้ มีพาสพอร์ตทั้งสองเล่มเช่นเดียวกับพี่ชายของเขา แต่ดูเหมือนว่าจะมีพาสพอร์ตของฝรั่งเศสอีกต่างหากอีกเล่ม ส่วนพาสพอร์ตไทยก็หมดอายุไปแล้ว ลูกชายปัจจุบันกำลังสอบเข้าได้ที่โรงเรียนดนรีที่ Toulouse กำลังจะเข้าเรียนอีกไม่นานนี้ ทั้งสองคนไม่พูดไทยอีกเลยทั้งที่บุตรคนโตเข้าเรียนที่เมืองไทยและเคยพูดไทยชัด ปัจจุบันพูดได้แค่ 2 ภาษาคือฝรั่งเศสและอังกฤษ

คำถาม :

1. ปัญหาของการต่อพาสพอร์ตของบุตรทั้งสองคนคงไม่มีอุปสรรคอะไรใช่ใหมครับ

2. ผมตั้งใจให้บุตรทั้งสองดำรงสัญชาติไทยไว้ตลอดหรือเท่าที่จะนานได้ก่อนที่ผมจะเสียชีวิตไม่ทราบว่าจะมีอุปสรรคตรงจุดใดบ้าง หากต้องการเป็นพ่อที่ฉลาดและรอบคอบควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้เพื่อการไม่สูญเสียสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง

3. การขอพาสพอร์ตฝรั่งเศสถือเป็นการขอสัญชาติ และการได้พาสพอร์ตฝรั่งเศสก็ถือว่าเป็นการได้สัญชาติ กล่าวอย่างนี้ถือเป็นการกล่าวที่ถูกหรือไม่ อย่างไร

4. การขอสัญชาติฝรั่งเศส จะต้องขอตามหลักดินแดน(ที่เกิด) หรือตามความเป็นจริงปัจจุบันในถิ่นที่อยู่หรือทั้งสองรวมกัน และโดยความเป็นจริงแล้วบุตรทั้งสอง เริ่มขอสัญชาติได้เมื่ออายุเท่าไร

5. โทษของการไม่ลงทะเบียนทหารกองเกิน การไม่ไปรับหมายเรียก และการไม่ปรากฎกายในวันคัดเลือกทหาร จะมีโทษรุนแรงแค่ใหน อย่างไร ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถิติกรณีแบบนี้ปีละกี่คน และได้รับผลเช่นไร

6.การที่ไม่ได้ปฏิบัติ ใน 2 ข้อแรก จากข้อ 5 อย่างในข้อ 5 ชื่อของบุตรจะเป็น Blacklist และจะถูกส่งไปในขบวนการอื่นตามกฏหมายใข่หรือไม่ อย่างไร

7. เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่ผิดกันตรงที่ได้ไปปรากฏกายในวันคัดเลือกทหารและพร้อมในการจับสลาก ใบดำใบแดง ไม่ทราบว่าจะได้พิจารณาคัดเลือกทหาร ณ วันนั้นหรือจะต้องรอในปีต่อไป

8.การปฏิบัติอย่าง ข้อ 5 ก็คือการหนีทหารใช่ใหมครับ หากกรณีบุตรไม่ปฏิบัตตามสิ่งที่ต้องทำคือทำในสิ่งที่ถูกต้องคือการปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้นเมื่อบุตรผมเข้ามาในราชอาณาจักรไทย และได้ทำผิดจนถึงขั้นขึันโรงพักเท่านั้นใช่ใหม่ครับที่จะมีการตรวจสอบเลขที่บัตรและประวัติการตรวจคัดเลือกทหาร หากเป็นอย่างนั้น โทษที่จะได้รับในวันที่ตรวจเจอจะถูกดำเนินการไปถึงขั้นใหน

9.อายุความของการหนีทหารเป็นเวลากี่ปี นับจากใหน เคยมีผู้ถูกจำคุกมากสุดกี่ปีในกรณีหนีทหาร

การผ่อนผัน คือการแจ้งความจำนงในการคัดเลือกทหารในปีที่พร้อมนั่นหมายถึงการที่นำเอกสารจากโรงเรียนที่กำลังศึกษามาสำแดง(แปลเป็นไทย) พร้อมระบุปีที่จะจบด้วย ไม่ทราบว่าหากเราเรียน 3 ปี แต่เราขอ 4 ปี จะได้หรือไม่ จริงๆแล้วอยากถามว่าในทางปฏิบัตที่นักศึกษาขออผ่อนผันกันสามารถขอได้นานสุดกี่ปี

10.บุตรพูดไทยไม่ได้เลย ไม่ทราบว่าหลังการคัดเลือกทหารแล้วบังเอิญว่าได้ใบแดงจำเป็นต้องเข้ากองประจำการ อยากเห็นภาพของความยากลำบากทั้งทางกายและจิตใจของบุตรจะมีแค่ใหน อย่างไร กรณีแบบนี้ไม่ทราบมีการสอนภาษาไทยร่วมในระหว่าการฝึกหรือไม่

11.การสมัครเป็นทหารจะต้องสมัครในวันคัดเลือกทหารหรือ ก่อนหน้านั้น

12. กรณีที่บุตรได้รับการผ่อนผัน และกลับไปเรียนจนจบ ภายใน 3 ปี ตามกำหนดและนำใบที่เรียนจบมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ในวันคัดเลือกนั้น และพร้อมที่จะตรวจคัดเลือกในวันเดียวกัน หากจับได้ใบแดงจะต้องเข้าไปอยู่ในกองประจำการ 6 เดือนใช่หรือไม่

13.กรณีมีใบประกาศณียบัตรหรือปริญญาอยู่กับตัวและต้องการสมัครเป็นทหารไม่ทราบว่าจะสามารถกระทำในวันเดียวกันได้หรือไม่ กรณ๊นี้จะต้องเข้าไปเป็นทหารเป็นเวลา 6 เดือนใช่หรือไม่

ผมทราบดีว่าคำถามดูมากไปหน่อยครับ จริง ๆแล้วมีมากกว่านี้ วันนี้เอาแค่นี้ก่อน ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง, ทิม

เนื่องจากผมมีปัญหาข้อสงสัยเกี่ยวกับกฎหมาย จึงขออนุญาติอีเมล์เข้ามาเพื่อสอบถามกับอาจารย์แว๋วครับ

ผมอยากรบกวนปรึกษาเรื่องการเปลี่ยนนามสกุลหลังจากการจดทะเบียนการใช้ชีวิตคู่กับเพศเดียวกัน กับชายชาวเยอรมัน ทางกฎหมายไทยนั้นไม่ได้อนุญาติให้ผู้ชายที่ทำการแต่งงานแล้วเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสได้ แต่ว่ากฎหมายเยอรมันนั้นสามารถทำได้โดยสมัครใจ และผมเองตอนนี้ก็ใช้นามสกุลของแฟนชาวเยอรมัน อย่างถูกต้องตามกฎหมายเยอรมัน ข้อมูลทุกอย่างของผมที่เยอรมัน เช่น ประกันสุขภาพ, ใบเสียภาษี, ธนาคาร และข้อมูลทางโรงเรียนผมใช้นามสกุลของแฟนชาวเยอรมันหมด แต่ว่ามีปัญหาตอนที่ผมกลับเมืองไทยครับ ผมต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล 2 ครั้ง และมันมีปัญหาคือ พาสปอร์ต และ บัตรประกันสุขภาพของผม มันคนละนามสกุลกัน ทำให้ยุ่งยากมากกว่าจะดำเนินการขอเงินประกันคืน และต้องใช้หลักฐานมากมายหลายอย่างแนบ และผมเองก็ต้องพกหลักฐานการแต่งงาน และการยินยอมให้ใช้นามสกุลเดียวกับแฟนติดต่อ ซึ่งสร้างความยุ่งยากให้ผมเป็นอย่างยิ่ง ในการจะตอบคำถามกับหน่วยงาน หรือว่าเจ้าหน้าที่ที่ผมไปติดต่อ

ผมจึงอยากรบกวนสอบถามว่า

1. ผมจะสามารถยื่นคำร้องต่อศาลฯ ให้พิจารณาอนุมัติให้ผม สามารถเปลี่ยนนามสกุล ไปใช้นามสกุลเดียวกับแฟนชาวเยอรมัน

ได้หรือไม่ครับ และถ้าหากว่าสามารถทำได้ ผมต้องเตรียมหลักฐานอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายพอประมาณ (รวมค่าดำเนินการแทน และค่าพิธีการทางศาล) และผมสามารถจ้างทนายเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินการให้ผมได้ไหมครับ ผมอาศัยอยู่ที่เยอรมันไม่สะดวกที่จะกลับไปดำเนินการเองที่ประเทศไทย

2. ผมจะสามารถถือสองสัญชาติ ไทย-เยอรมัน ได้หรือไม่ ถ้าหากว่าทางศาลฯของเยอรมันอนุมัติให้ผมถือสัญชาติเยอรมันได้โดยไม่ต้องสละสัญชาติไทย ในกรณีที่ผมอาจจะเสียสิทธ์ในทรัพย์สินที่เมืองไทย ผมคิดว่ากรณีของผมเป็นการถือสัญชาติโดยการแต่งงานกับคนต่างชาติ ไม่ได้เป็นการแปลงสัญชาติจากถือสัญชาติไทยแล้วมาขอสัญชาติเยอรมัน ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์แว๋วล่วงหน้าครับ

ขอแสดงความนับถือ

คนไทยในต่างแดน

พอดีหนุอยากทราบว่าถ้าหนูเป็นลุกครึ่งไทยญี่ปุ่นอ่ะคะและพออายุ 20 หนูต้องเลือกสัญชาติไหมคะ

หฯุอ่ะอยากเลือกยีปุ่่นเพราะว่าเวลาเิดนทางไปเมืองนอกจะได้ไม่ต้องอขอวีซาลำบากนะคะแต่เหงคุนแม่บอกว่าต้องเสียค่าวีซ่าด้วยใช่ไหมคะ ปัจจุบันหนูอายุ 19 แร้ว เหลือเวลาอีก 1 ปี

ตอบคุณ KFC

ตามกฎหมายสัญชาติไทย คุณอาจมีสองสัญชาติค่ะ การสละสัญชาติไทยเป็นสิทธิค่ะ มิใช่หน้าที่ แต่ตามกฎหมายสัญชาติญี่ปุ่นนั้น คุณคงต้องไปหารือสถานกงสุลญี่ปุ่นค่ะ

 

สวัดดีค่ะ อยากรบกวนถามเรื่องลูกค่ะ ดิฉันได้จดทะเบียนสมรสกับชาวสิงคโปร์มีลูกด้วยกันหนึ่งคน คลอดที่เมืองไทยค่ะตอนนี้ลูกอายุ11เดือน ทางสามีจะขอหย่ากับดิฉันและจะขอลูกไปอยู่สิงคโปร์โดยที่ดิฉันไม่ได้มีความผิดใดๆ(พ่อกับแม่สามีบังคับให้หย่าค่ะ) ดิฉันไม่อยากให้ลูกไปอยู่สิงคโปอยากให้ลูกอยู่กับดิฉันที่เมืองไทยค่ะ แต่ทางสามีจะให้ทำสิงคโปพาสปอร์ด้วย ดิฉันกลัวว่าสามีจะหาทางพาลูกไปโดยที่ดิฉันไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายอ่ะค่ะ ดิฉันมีคำถามดังนี้ค่ะ

1. ถ้าลูกมีสิงคโปพาสปอร์แล้วเค้าจะสามารถพาลูกไปอยู่สิงคโปร์โดยที่ดิฉันไม่ยินยอมได้มั้ยคะ (กลัวแอบพาลูกไปค่ะ)

2. ถ้าดิฉันไม่ให้ลูกไปตอนนี้แต่จะให้เค้าไปเรียนตอนโตจะได้มั้ยคะ

3.ถ้าลูกทำสิงคโปพาสปอร์แล้วเท่ากับว่าลูกได้สองสัญชาติรึป่าวคะ

4.ถ้าหากดิฉันไม่ให้ลูกไปแล้วเค้าจะฟ้องดิฉันได้มั้ยคะ(ในกรณีลูกถือสองสัญชาติแล้ว)

ขอรบกวนด้วยนะคะตอนนี้เครียดมากๆเลยค่ะ...

ขอบคุณค่ะ

ขอถามก่อนว่า บุตรเกิดที่ไหนคะ เมื่อไหร่

คุณแจ้งการเกิดของบุตรในทะเบียนราษฎรไทยหรือไม่

ค่ะบุตรเกิดที่เมืองไทยค่ะแจ้งเกิดที่ในทะเบียนราฎรไทยค่ะ

บุตรเกิดเมื่อไหร่คะ

เกิดเมื่อเดือนพฤษจิกายน2553ค่ะ

ตอบคุณ supaporn

ในประการแรก บุตรของคุณย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาโดยผลของมาตรา ๗ (๑) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยการเกิดโดยหลักดินแดน และเมื่อมีการรับรองชื่อบุตรในทะเบียนบ้านประเภทคนอยู่ถาวรตามกฎหมายการทะเบียนราษฎรไทย บุตรก็ย่อมมีสถานะบุคคลตามกฎหมายเป็น "คนสัญชาติไทย (thai national)" ในสายตาของรัฐไทย

ในประการที่สอง บุตรก็ "น่าจะ" มีสิทธิในสัญชาติสิงคโปร์โดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา "อันนี้ต้องไปตรวจสอบกฎหมายสัญชาติสิงค์โปร์อีกทีนะคะ" หากบุตรมีสิทธินี้ การรับรองสิทธิของรัฐสิงค์โปร์ก็อาจทำได้โดยบิดาสัญชาติสิงคโปร์โดยการแจ้งบันทึกชื่อในทะเบียนราษฎรสิงคโปร์ และเมื่อมีการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรสิงคโปร์แล้ว  บิดาก็อาจร้องขอให้บุตรมีหนังสือเดินทางสิงค์โปร์ได้ค่ะ

ในประการที่สาม การนำเด็กไปอยู่สิงคโปร์โดยมารดาไม่ยินยอมไม่อาจทำได้ บิดาตามกฎหมายและมารดาย่อมมีอำนาจปกครองบุตรเท่าๆ กัน แต่การแอบเอาไป ก็เป็นเรื่องที่คุณต้องระวังเอง กฎหมายช่วยไม่ได้ค่ะ 

ในประการที่สี่  "ถ้าดิฉันไม่ให้ลูกไปตอนนี้แต่จะให้เค้าไปเรียนตอนโตจะได้มั้ยคะ" อันนี้ สามีภริยาต้องคุยกันเองค่ะ 
 
ในประการที่ห้า "ถ้าลูกทำสิงคโปพาสปอร์แล้วเท่ากับว่าลูกได้สองสัญชาติรึป่าวคะ" ในวันนี้ บุตรก็น่าจะมีสองสัญชาติแล้วค่ะ แต่อาจยังไม่ได้ใช้สิทธิในสัญชาติที่สอง ก็คือ สัญชาติสิงค์โปร์ มีการแจ้งเกิดบุตรในทะเบียนราษฎรสิงค์โปร์หรือไม่คะ
 
ในประการที่หก "ถ้าหากดิฉันไม่ให้ลูกไปแล้วเค้าจะฟ้องดิฉันได้มั้ยคะ(ในกรณีลูกถือสองสัญชาติแล้ว)"  การฟ้องแย่งอำนาจปกครองบุตรนั้นไม่เกี่ยวกับการมีสัญชาติเดียวหรือสองสัญชาติค่ะ เมื่อหย่ากันแล้ว ก็ต้องตกลงว่า ใครจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ถ้าตกลงไม่ได้ ก็ไม่ควรหย่า แต่ถ้าจะหย่า ก็ต้องระบุเรื่องการจัดการบุตรในหนังสือรับรองการหย่านะคะ

ถ้าเราไม่มีความผิดอะไร ก็อย่าไปยอมหย่าซิคะ หรือถ้าจะยอมหย่า ก็ต้องเรียกร้องอำนาจการดูแลบุตรและค่าเลี้ยงดูให้เพียงพอ

 

รบกวนอ.แหววหน่อยค่ะ ตอนนี้น้องสาวไปเรียนอยู่่ที่รัสเซียประมาณ 3 เดือนและวางแผนจะแต่งงานกับแฟนที่เป็นชาวรัสเซียประมาณปีหน้า. ถ้าจดทะเบียนสมรสที่นั่นจะถือสัญชาติรัสเซียเลยไหมค่ะ แล้วถ้าได้สัญชาติรัสเซียแล้วยังถือสัญชาติไทยได้อยู่หรือเปล่าค่ะ

ตอบคุณต้อง

ในประการแรก การได้สัญชาติรัสเซียย่อมเป็นไปตามกฎหมายรัสเซียว่าด้วยสัญชาติรัสเซีย แนะนำให้น้องสาวของคุณติดต่อสถานทูตไทยในรัสเซีย ซึ่งน่าจะทราบข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายรัสเซียดีกว่าคนในประเทศไทยค่ะ

แต่ก็เดาว่า น่าจะมีโอกาสได้สัญชาติรัสเซียอันเนื่องมาจากการสมรสตามกฎหมายกับคนสัญชาติรัสเซียค่ะ กรณีเป็นเรื่องของหลักกฎหมายระหว่างประเทศค่ะ แต่ในรายละเอียดทางวิธีการต้องดูกฎหมานภายในของประเทศรัสเซีย

ในประการที่สอง ตามกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทย ประเด็นอาจแยกเป็น ๒ ความเป็นไปได้ กล่าวคือ

(๑) ถ้าได้สัญชาติรัสเซียเป็นสัญชาติโดยการสมรส ก็ถือสัญชาติไทยได้อยู่ต่อไป

(๒) แต่ถ้าได้สัญชาติรัสเซียโดยการแปลงสัญชาติ ก็จะเสียสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย และเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงการแปลงสัญชาติเป็นรัสเซีย ก็ไม่อาจใช้สิทธิในสัญชาติไทยค่ะ

ดังนั้น การรู้ธรรมชาติของสิทธิในสัญชาติรัสเซียตามกฎหมายรัสเซียจึงสำคัญมาก

อาจารย์แหววคะ อยากปรึกษาเรื่องลูกค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ

ดิชั้นแต่งงานกับสามีชาวจีนมาเลเซียถูกต้องตามกฎหมายและมีลูกชายอายุ 1 ขวบครึ่ง เกิดที่มาเลเซีย ถือสัญชาติมาเลเซียค่ะ

สามีเคยหย่ามาแล้ว 1 ครั้งและมีลูกชาย 1 คน ปัญหาที่กวนใจมาโดยตลอดคือค่านิยมของการมีลูกชายในครอบครัวคนจีน โดยเฉพาะสามีีที่เป็นลูกชายเดียวของครอบครัวและลำเอียงลูกชายคนโตของเค้าราวกับเทวดา

ตอนนี้ไม่ไหวแล้วค่ะ กำลังตัดสินใจหย่ากับสามี แต่ตัวเค้ามัวแต่มาพูดเรื่อง อำนาจการปกครองบุตร ทั้งๆีที่เค้าและครอบครัวไม่เคยอยากจะเลี้ยงลูกของดิชั้นเลย (ตอนนี้ได้แม่ของดิชั้นมาเลี้ยงให้) ตั้งใจจะพาลูกกลับเมืองไทย เพราะถ้าอยู่ที่นี่สุขภาพจิตเสียแน่ (ครอบครัวเค้ามีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ อย่างแม่สามีนี้อาการหนักเข้าขั้นปัญหาทางจิต)

มีคำถามดังนี้

1. อยากให้ลูกได้สัญชาติไทยเพื่อให้ได้เข้าโรงเรียนได้ (เพราะคงไม่มีปัญญาส่งเรียนอินเตอร์) ต้องทำยังไงคะ

2.อยากจะทำเองแต่ติดที่ภาษา เอกสาร การสื่อสารที่นี่เค้าใช้ภาษามาเลย์หมด ดิชั้นไม่รู้เรื่อง และสามีปฏิเสธที่จะช่วยขอใบเกิดไทยให้ลูก มีวิธีที่ หลังจากที่เราเอาเค้ากลับมาแล้วเราสามารถจัดการที่เมืองไทยได้มั้ยคะ

3. ถ้าลูกได้ใบเกิดแล้วนั่นหมายความว่าเค้าสามารถ มาลงทะเบียนราษฎร์ มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีหมายเลข 13 หลักสำหรับทำบัตรประชาชน เข้าโรงเรียนได้ปกติเหมือนเด็กไทยทั่วไปใช่มั้ยคะ

4. เคยได้ยินว่าการขออำนาจปกครองลูกเค้าดูเรื่องฐานะทางการเงินด้วยจริงรเปล่าคะ เพราะดิชั้นมีรายได้น้อยกว่าครอบครัวเค้ามากค่ะ เงินเดือนที่เคยได้ประมาณ 25,000-30,000 ต่อเดือนค่ะ จะีมีโอกาสชนะมั้ย ถ้าเค้าพูดเรื่องนี้ (สามีเป็นวิศวกรและครอบครัวเค้าทำธุรกิจ)

ขอบคุณค่ะอาจารย์

ตอบแม่ลูกหนึ่ง [IP: 216.115.162.82]

มีข้อเท็จจริงที่อยากทราบอีกนะคะ

  1. บุตรเกิดวันที่ ? เดือน ? ปี ?
  2. คุณเคยสละสัญชาติไทยหรือไม่ ?

คำตอบเบื้องต้น ก็คือ

  1. หากคุณยังถือสัญชาติไทย บุตรของคุณย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาอยู่แล้วค่ะ สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ ก็คือ การแจ้งการเกิดของบุตรในทะเบียนราษฎรไทย เพื่อการนี้ ให้ไปที่สถานทูตไทยนะคะ ถ้าคุณอยู่ต่างประเทศ หรือหากคุณอยู่ในประเทศไทย ให้ไปที่เขตหรืออำเภอหรือเทศบาลที่คุณมีทะเบียนบ้านอยู่ เพื่อแจ้งการเกิดของบุตรในทะเบียนราษฎรไทย และเพิ่มชื่อของบุตรในทะเบียนบ้านเสียด้วยนะคะ
  2. แต่ต้องระวังว่า การใช้สิทธิในสัญชาติไทยให้แก่บุตร อาจทำให้บุตรเสียสิทธิในสัญชาติมาเลเซียนะคะ กฎหมายไทยมิได้ห้ามบุตรของคุณถือสองสัญชาติ ในขณะที่กฎหมายมาเลเซียน่าจะห้าม (โปรดเช็คที่สถานทูตไทยในมาเลเซีย)
  3. การเข้าเรียนโรงเรียนไทย ไม่จำเป็นต้องถือสัญชาติไทย แม้ในช่วงที่กระบวนการแจ้งเกิดและเพิ่มชื่อบุตรในทะเบียนราษฎรไทยยังไม่แล้วเสร็จ บุตรก็มีสิทธิที่จะเรียนในโรงเรียนไทย การศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชนค่ะ
  4. ในกรณีที่คุณไม่สามารถจัดการเรื่องทั้งหมด โปรดหารือสภาทนายความหรือสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายหรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในกรณีที่คุณอยู่ต่างประเทศ โปรดไปหารือกงสุลไทยที่สถานทูตไทยนะคะ
  5. ในเรื่องการขออำนาจปกครองบุตรนั้น ศาลในทุกประเทศย่อมพิจารณาจากความสามารถในการดูแลบุตรทั้งทางจิตใจและเศรษฐกิจประกอบกันค่ะ คงไม่พิจารณาแต่เรื่องเงินแต่อย่างเดียว คุณต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า บุตรย่อมมีสุขภาพใจและกายดีหากบุตรอาศัยอยู่กับคุณและโดยมีคุณเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร

ขอเชิญคุณแม่ลูกหนึ่งมาคุยกับอาจารย์แหวว

ตรงนี้ค่ะ

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/466823

คลิกเลยค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูมีเรื่องสอบถามค่ะ

ถ้าหนูแต่งงานกับคนจีนแผนดินใหญ่ และจะขอสัญชาติจีน

จะต้องสละสัญชาติไทยหรือป่าวค่ะ

หรือสามารถถือได้ 2 สัญชาติเลยค่ะ

และแฟนหนูที่เป็นคนจีนสามารถขอสัญชาติไทย

และสามารถถือ 2 สัญชาติได้หรือป่าวค่ะ

พอดีหนูพยายามหาข้อมูล แต่ก็ไม่ตรงประเด็น

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

คืออยากเรียนถามนะคะ ว่าการที่เรามีสองสัญชาติ มีบัตรประชาชน สองประเทศ คือ ไทย และ อินเดีย

ในกรณีที่เราเดินทางระหว่างสองประเทศเช่น ไทย ไปอินเดีย หรือ อินเดีย มา ไทย เราจำเป้นต้องมี พาสปอร์ต ของทั้งสองประเทศ หรือ จำเป้นต้องขอวีซ่า หรือไม่คะ แล้วถ้าหาก เราถือพาสปอร์ต ไทย และมี วีซ่าอินเดียเข้าไป แต่ วีซ่าเกิดหมดอายุ ในอินเดียเราจะทำอย่างไรคะ รบกวน อาจารย์ช่วยตอบทาง อีเมล์ ด้วยนะคะ

สวัสดีครับ

ขอถามหน่อยว่า : ถ้าผมอยากไปเที่ยวออสเตรเลีย ผมมีbritish passport ผมจำเปนต้องขอวีซ่าใหมครับ??

หากเป็นข้าราชการตุลาการ สามารถแต่งงานกับคนอินเดียได้ไหมค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์แหวว

ผมอ่านคำถามคำตอบเพลินเลย ยากเหมือนกันนะครับ ขออนุญาตยกกรณีครอบครัวผมขึ้นมา

ภรรยาผม บิดาไทยมารดาไทย คลอดเธอที่สหราชอาณาจักร กรุงลอนดอน ปี 2508 มีสูติบัตรอังกฤษ passport อังกฤษ และก็ได้ไปต่ออายุมาโดยตลอดจนปัจจุบัน เข้าประเทศอังกฤษได้ (และอีกหลายๆประเทศในยุโรป) โดยไม่ต้องขอ VISA

ผมเป็นคนไทย แต่งงานแล้วไปเรียนที่อังกฤษ เลยมีบุตรีที่อังกฤษ ที่จริงตอนนั้นรู้สึกเขาจะไม่มอบ passport ให้ลูกใครหรือเด็กที่เกิดจ่กที่เป็น foreigners แต้พอดีเนื่องจากภรรยาผม ซึ่งเป็นคนไทย แต่พอดีมี passport และสูติบัตรอังกฤษ พอผมไปแจ้งเกิดลูกสาวที่อังกฤษ ก็เลยได้ทั้งสูติบัตรอังกฤษ และได้ทำ passport ของอังกฤษได้ด้วย ผมพาลูกไปแจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยจากสถานทูตไทยในกรุงลอนดอนมาด้วย พอกลับมาเมืองไทย ก็มีทั้งสูติบัตรไทย สูติบัตรอังกฤษ passport ไทยและอังกฤษจนปัจจุบัน

ในกรณีเช่นนี้ อยากจะรบกวนอาจาีย์ช่วนวิเคราะห์สถานะของลูกสาวผมให้หน่อยได้ไหมครับ ว่าแกสองสัญชาติ และต้องทำให้เหลือสัญชาติเดียวหรือไม่ ตอนนี้ผมรู้สึกว่าเก็บ passport อังกฤษเอาไว้ไม่เสียหายอะไรก่อน. ก็เลย update passport อังกฤษมาเรื่อยๆ ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไรนะครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับผม

 

พบว่า บุตรของหมอมักมีสถานการณ์ชีวิตแบบนี้ค่ะ

ขอตรวจข้อสอบเสร็จ แล้วจะมาวิเคราะห์ให้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์......มีเรื่องรบกวนค่ะ

คือพี่สาวมีสามีเป็นคนญี่ปุ่น ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แล้วมีลูกกำลังจะมาคลอดที่เมืองไทยค่ะ

อยากทราบว่า....

1.ลูกจะได้สัญชาติและเชื้อชาติไทยใช่มั้ยคะ

2.ทำยังไงลูกจะได้สัญชาติญี่ปุ่นคะ เพื่อสิทธิ์ในอนาคตในการเข้าประเทศของเค้าค่ะ

3.ในวันที่คลอดในใบสูตรบัตร (พ่อเขาติดงาน มาไม่ได้) ถ้าหากอยากได้สัญชาติญี่ปุ่นให้ลูก ต้องมีเอกสารของพ่ออะไรบ้างคะ รึว่ายังไงก็ไม่ได้

สวัสดีค่ะอาจารย์ นุ๊กอ่านมาเกือบทุกเคสในที่อาจารย์ตอบมาข้างบนนี้ ได้ความรู้มากๆ และมีหลายข้อที่จะถาม เหมือนๆกันก็ได้คำตอบไปบ้างแล้วที่คิดว่าตรงกับตัวเองแต่ยังมีอีกบางข้อที่ยังสงสัยเพราะรู้สึกว่าเคสของนุ๊กจะยุ่งยากมากกว่า 2สัญชาติเพราะพ่อเค้ามี 2สัญชาติ (อิตาลีกับอเมริกา) ขอถามดังนี้ค่ะ

1. ดิฉันเป็นคนไทยโดยกำเนิด ยังถือสัญชาติไทย กำลังจะให้หำเนิดบุตรเดือนหน้า พค 2555 ในประเทศอิตาลี จดทะเบียนสมรสกับสามีชาวอิตาลีทั้งที่ไทยและอิตาลี เมื่อปีที่แล้ว และสามารถถือกรีนการ์ดของอเมริกา มา5ปีและเดือนเมษาที่จะถึงสามีจะได้สัญชาติอเมริกันกลายเป็นคน 2สัญชาติ ดิฉันและลูกจะมีสิทธิได้สัญชาติอเมริกันด้วยหรือไม่ค่ะ

2. ลูกที่เกิดจะได้สัญชาติอิตาลี อัตโนมัตตามบิดาและที่เกิดและได้สัญชาติไทยตามดิฉันแล้วการถือสัญชาติที่ 3มีอยู่ในระบบหรือไม่

3. จากข้อที่ 1ที่อิตาลีอนุญาติให้ถือ 2สัญชาติได้โดยที่ดิฉันจะสามารถขอสัญชาติอิตาลีได้เมื่อจดทะเบียนสมรสและอยู่ในอิตาลีภายใน 2ปี ซึ่งดิฉันคิดว่าอาจจะขอเพราะช่วง 5ปีแรกอยากให้ลูกรู้ภาษาที่นี่ แต่ถ้าดิฉันขอสัญชาติอเมริกาตามสามี(ถ้าทำได้) ดิฉันจำเป็นต้องสละสัญชาติไทยด้วยหรือไม่ หรือสามารถถือ 3สัญชาติได้

4.สามีต่างชาติที่จดทะเบียนสมรสสามารถขอสัญชาติไทยได้ก็ต่อเมื่ออ่านเขียนพูดภาษาไทยได้ระดับเด็กประถม (เท่าที่อ่่านมา) ดิฉันได้ข้อมูลมาถูกรึเปล่าคะและต้องอยู่ไทยมาอย่างน้อย 5ปี ? แล้วถ้าเขาขอได้จะมีสิทธิเท่าเทียบกับชายไทยโดยกำเนิดทุกประการหรือไม่ (หมายถึงเรื่องซื้อที่ดิน ครอบครองกรรมสิทธิ์ต่างๆกู้เงิน ฯลฯ)

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะอาจารย์

ปล พี่สาวหนูก็จบปริญญาตรีจากธรรมศาสตร์ตอนนี้เธอจบ ปโทสาขาอาชญวิทยา(ไม่รู้เขียนถูกหรือเปล่า) กำลังทำงานด้านสิทธิเด็ก(เห็นงานเธอเหนื่อยๆ ค่าตอบแทนก็น้อยแต่เธอก็ทำมาหลายโปรเจคมาก) แต่เธอไม่ค่อยรู้เรื่องสัญชาติหรือสิทธิเด็กลูกครึ่งสักเท่าไหร่เลยอาจต้องพึ่งอาจารย์ค่ะ

เคลียร์คำถามข้างบนข้อ 1ค่ะ "สามีถือกรีนการ์ดมา 5ปีและเมษาปีนี้จะได้สัญชาติอเมริกันค่ะ" (ใช้ไอแพดพิมพ์ขึ้นคำว่า สามารถแทนสามีเลยอ่านเองยังงงเอง)

สวัสดีค่ะอ.แหวว ขอเรียนถาม หากลืมแจ้งขอสัญชาติไทยให้บุตรขณะอยู่ที่ต่างประเทศ

สามารถนำสูติบัตรของบุตรที่ได้รับจากประเทศนั้น ๆ มาแปลและแจ้งเรื่องในประเทศไทยได้ในภายหลัง

จากข้อความข้างต้นนี้สามารถทำได้จริงๆ หรือค่ะ ถ้าทำได้ต้องดำเนิดการแจ้งเรื่องได้ที่ไหน

เพราะจะพาลูกเดินทางกลับประเทศไทยถาวร ได้ไปแจ้งขอสัญชาติแล้ว แต่ทำไม่ได้เพราะเอกสารใบเกิดเด็กสี่ภาษาที่นำไป

ทางอำเภอที่พวกเราอยู่เขาทำให้ผิด ต้องกลับมาขอใหม่แล้วอาทิตย์หน้าถึงจะได้

แต่เราต้องเดินทางแบบด่วนๆวันที่ 27 นี้แล้ว ไม่รู้จะทำยังไงดีคิดจนปวดหัวมากๆเลย ช่วยให้คำตอบด้วยนะคะ

ขอขอบคุณมากๆค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ ผมเป็นข้าราชการตำรวจ สามารถจดทะเบียนสมรสกับหญิงสัญชาติลาวได้หรือไม่ จะมีเหตุให้ต้องออกจากราชการไหม มีกฎหมายหรือระเบียบอะไรที่เกี่ยวข้องกับ การสมรสของข้าราชการบ้างครับ ผมขอรบกวนอาจารย์ช่วยให้คำตอบด้วยครับ ขอบคุณมากครับ

ตอบคุณธนกร

การจดทะเบียนสมรสกับหญิงสัญชาติลาวไม่เป็นเหตุให้ต้องออกจากราชการค่ะ

เมื่อสามสิบปีก่อน เคยมีมติคณะรัฐมนตรีห้ามทหารตำรวจสมรสกับคนต่างด้าว แต่ในปัจจุบัน ยกเลิกแล้วค่ะ

สิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิมนุษยชนค่ะ เป็นสิทธิในกฎหมายระหว่างประเทศของมนุษย์ค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์ คือตอนนี้ ผมถือสองสัญชาติคือ สัญชาติไทย และสัญชาติ เยอรมัน ซึ่งพ่อเป็นคนเยอรมัน แม่เป็นคนไทย แล้วก็ผมเกิดที่ประเทศไทยน่ะครับ แต่พ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ว่า พ่อรับรองบุตรครับ แล้วผมก็สงสัยว่า ประเทศไทยยังต้องให้ลูกครึ่งเนี่ยเลือก สัญชาติอยู่รึเป่ลาหรือสามารถ ถือ สองสัญชาติได้เลย ครับ ซึ่งถ้าหากผมได้เลือกสัญชาติจริงๆ แน่นอนผมก็ต้องเลือกเยอรมัน แต่ถ้าผมเลือกเยอรมันไปแล้ว ผมจะต้องมาเกณทหารอยู่ หรือเปล่า ซึ้งถ้ากฏหมายไทย ให้ถือสองสัญชาติผมสามารถที่จะไม่เข้าคัดเลือกการเกณทหารได้มั๊ย อันนี้ผมข้องใจอย่างมาก เพราะกฏหมายไทยเปลี่ยนบ่อยมาก ผมเลยสงสัย ขอบคุนล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ผมมีเรื่องจะรบกวนหน่อยครับ คือตอนนี้ผมอายุ20ปี(เกิด29พ.ย.34) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น บิดาเป็นคนญี่ปุ่น(เกิดที่ประเทศไทย) ปัจจุบันพ่อแม่ได้หย่ากันแล้ว ตอนนี้ผมถือพาสปอสสองเล่มครับ แต่ผมได้ยินมาว่า กฎหมายญี่ปุ่นไม่ให้มีสองสัญชาติ ถ้าต้องเลือกจริงๆ ผมก็จะเลือกญี่ปุ่นครับ และผมได้วางแผนชีวิตไว้ว่าอีกสองปีจะไปทำงานในประเทศญี่ปุ่นซักสิบปี แล้วจะกลับมาใช้ชีวิตที่เมืองไทย แต่ถ้าผมกลับมา ผมจะต้องขอวีซ่าแบบที่คนญี่ปุ่นเค้าทำกันไหมครับ จะมีวิธีไหนที่ผมจะกลับมาเป็นคนไทยได้เหมือนเดิมไหมครับ ช่วยแนะนำให้ผมทีครับ ขอบคุณครับ

ถ้าทางการญี่ปุ่นไม่เรียกร้องให้สละสัญชาติไทย ก็ไม่ต้องสละ ก็ต่อหนังสือเดินทางไทยไปเรื่อยๆ ก็ไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าต้องสละสัญชาติไทย ก็คงต้องขอวีซ่าค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ ดิฉันเป็นลูกครึ่ง มารดามีสัญชาติไทย บิดามีสัญชาติมาเลเซีย มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ส่วนดิฉันถือสัญชาติไทยคะ ดิฉันเพิ่งจะเรียนจบและในเดือนนี้ดิฉันจะอายุครบ 23 ปี ดิฉันอยากจะขอโอนสัญชาติเป็นสัญชาติมาเลย์เซียตามบิดาได้ไหมคะ พอจะมีทางไหนบ้างหรือเปล่า เนื่องจากอยากจะย้ายไปอยู่มาเลเซียกับบิดา เพราะบิดาอายุมากแล้ว ยังไงก็ช่วยแนะนำให้ดิฉันด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

สวัสดีคะอาจารย์ ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ ดิฉันมีลูกสองคน ลูกสาว และลูกชาย ลูกสาวอายุ18แล้ว เกิด 24/01/94 และลูกชายอายุ17ปี เกิด 07/03/95 ลูกทั้งสองเกิดที่อเมริกา และมีสองสัญชาติ อเมริกัน และไทย ลูกทั้งสองได้เข้าทะเบียนบ้านที่เมืองไทย แต่ตอนนี้ลูกทั้งสองได้สมัคร Army reserve ลูกสาวมี GED แล้ว ส่วนลูกชายจะจบปีหน้าเดือน มิถุนายน ตอนนี้เข้าฝึกร่างกายอยู่ แต่ลูกจะต้องมีสัญชาติเดียว อเมริกัน ดิฉันขอถามอาจารย์ว่า ขั้นตอนของการขอยกเลิกสัญชาติไทยมีขั้นตอนอะไรบ้าง และไปติดต่อได้ที่ไหนค่ะ ตอนนี้ดิฉันอยู่ที่ระยอง ขออาจารย์ช่วยแนะนำด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ตอบคุณ Bonnie ค่ะ สิ่งที่คุณอยากทำ เป็นเรื่องที่เรียกว่า "การสละสัญชาติไทย" ค่ะ อ่าน พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ที่แนบมาให้นะคะ http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%ca25/%ca25-20-9999-update.pdf

ส่วนการสละสัญชาติไทยนี้ ต้องทำตามมาตรา ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ะ วิธีการดูตามกฎกระทรวงที่แนบมานี้นะคะ http://cdn.learners.in.th/assets/media/files/000/351/578/original_2510-Nationality-Decree.pdf

สวัสดีครับ ผมขออนุญาติถามอาจารย์ดังนี้ครับ ผมมีคุณพ่อชาวไทยที่ไปทำงานที่อังกฤษกว่า20ปีจนได้รับสัญชาติอังฤษ เป็นcitizenของที่นั่น ถ้าผมอยากไปใช้ชีวิตและทำงานที่อังกฤษบ้าง คุณพ่อจะสามารถช่วยหรือรับรองอะไรให้ผมได้ไหมครับ

ด้วยหลัก Family Unity ที่ทุกประเทศยอมรับ รวมถึงประเทศอังกฤษ อ.แหวว ก็คิดว่า การเข้าสู่สิทธิที่จะเข้าเมืองเพื่ออยู่ร่วมกันกับครอบครัว ก็น่าจะเป็นไปได้ รวมถึงสิทธิในสัญชาติอังกฤษด้วยค่ะ ลองติดต่อหารือสถานกงสุลอังกฤษนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ คือดิฉันมีเรื่องสงสัยอยากสอบถาม

1ดิฉันตั้งครรภได้3เดือนกว่า กำหนดครอดประมาณ กรกฏาคม 2556 และอาจจะคลอดที่ไทย แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้แต่งงาน แฟนเป็นชาวนิวซีแลนด์ ถ้าคลอดที่ไทยลูกจะได้สองสัญชาติไหมค่ะ ถ้าแฟนรับรองบุตร

2 ถ้าคลอดที่นิวซีแลนด์ ลูกจะขอสองสัญชาติได้ไหมค่ะ และถ้าลูกมีสองสัญชาติ การเดินทางเข้าทั้งสองประเทศนี้ลูกจะต้องขอวีซ่าไหมค่ะ ขอบคุณค่ะอาจารย์

อ.แหววขอตอบดังนี้ 

ในประการแรก บุตรของคุณจะมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดาแน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทย และจะใช้สิทธิได้อย่างแน่นอน ขอเพียงเมื่อบุตรเกิด จะต้องไปแจ้งการเกิดต่อนายทะเบียนราษฎร ซึ่งหากเป็นในต่างประเทศ ก็ต้องไปแจ้งที่สถานกงสุลไทยที่ดูแลประเทศนั้นๆ แต่ถ้าในประเทศไทย ก็ไปที่เขต/เทศบาล/อำเภอที่มีทะเบียนบ้านอยู่นะคะ

ในประการที่สอง  บุตรของคุณน่าจะมีสิทธิในสัญชาตินิวซีแลนด์ (โดยการคาดเดาจากทางปฏิบัติระหว่างประเทศ) ดังนั้น ไปที่สถานกงสุลนิวซีแลน์ แล้วถามค่ะ ตอนแรก ก็อาจดูในเว็บก็ได้ค่ะ ที่จะดี จะได้ศึกษาวิธีการแจ้งการเกิดในทะเบียนราษฎรของประเทศนิวซีแลนด์ไงคะ

ในประการสาม สรุปว่า บุตรของคุณก็น่าจะมีสิทธิในสัญชาติของทั้งบิดาและมารดา ตลอดจนจากดินแดน การทำให้บุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาก็น่าจะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุด และเมื่อได้รับการรับรองสัญชาติโดยทั้งสองประเทศ เดินทางไปมา ก็ไม่ต้องใช้วีซ่าค่ะ 

สรุปอีกที ไปหารือสถานกงสุลนิวซีแลนด์ในไทยเลยค่ะ ถ้าอยู่ในประเทศไทย แต่ถ้าอยู่นิวซีแลนด์ ก็ไปหารืออำเภอ/เขต/เทศบาลของเขาเลยค่ะ วิธีปฏิบัตินั้น ถ้าไม่รู้ ก็จะเข้าสู่สิทธิไม่ได้ค่ะ 


                    ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับท่านอาจารย์พันธุ์ทิพย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ ว่าการกล่าวของคุณอาภรณ์ดังกล่าว ไม่น่าจะถูกต้อง และมีสองประเด็นชัดๆ ที่เห็นว่า ขัดกับบทกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน ก็คือ ขัดกับพรบ.สัญชาตินั่นเองค่ะ 

                      คำกล่าวที่ว่า "ตามกฎหมายไทยไม่ยินยอมให้ถือสองสัญชาติ แต่ไม่มีบทลงโทษ" และ คำกล่าวที่ว่า "หลังบุตรมีอายุครบ ๒๐ ปีแล้ว จะต้องให้ลูกเลือกเพียงสัญชาติเดียว" ข้าพเจ้าขอแสดงความคิดเห็นต่อทั้งสองประโยคนี้ร่วมกัน ซึ่งทั้งสองประโยคนี้ มีประเด็นร่วมกันคือ ประเทศไทยไม่ยอมให้ถือสองสัญชาติจริงหรือไม่ โดยอาจแตกประเด็นได้เป็น การถือสองสัญชาติเนื่องจากสัญชาติที่ได้เพิ่มจากการสมรสไม่ได้ และ การถือสองสัญชาติเนื่องจากได้สัญชาติเพิ่มขึ้นตามบิดาหรือมารดาเป็นซึ่งคนต่างด้าว เพิ่มจากสัญชาติไทยไม่ได้ สองประเด็นย่อยดังกล่าวนี้ จริงหรือไม่

                     ครั้งแรกที่ข้าพเจ้าได้อ่านข้อความจากหนังสือพิมพ์ที่อาจารย์พันธุ์ทิพย์นำมาเล่าสู้กันฟังข้างต้นนี้ ข้าพเจ้าก็จำได้เลยว่า ข้าพเจ้าเคยเรียนมาว่า กฎหมายไทยนั้นไม่ได้ปิดกั้นให้คนถือสองสัญชาติ คำกล่าวข้างต้น ขัดกับหลักวิชาที่อาจารย์พันธุ์ทิพย์สอนมา ในชั้นมหาวิทยาลัย เพื่อความแน่ใจข้าพเจ้าจึงได้เปิดตัวบทพรบ.สัญชาติ 2508 รายมาตรา เพื่อหาข้อสนับสนุนว่า กฎหมายไทยไม่ได้ปิดกั้นการมีสองสัญชาติ 

                      ในหมวดที่ 2 ของพรบ.สัญชาติ บัญญัติเรื่องการเสียสัญชาติ ซึ่งเป็นหมวดที่มีความใกล้ชิดกับประเด็นดังกล่าวมากที่สุด ถ้าจะบัญญัติให้ถือสองสัญชาติไม่ได้ เนื้อหาก็จะอยู่ในหมวดนี้ หรืออยากจะรู้ว่าถือสองสัญชาติได้ ก็ต้องดูหมวดนี้เช่นกัน ว่ากฎหมายไม่ได้เขียนห้ามถือสองสัญชาติเอาไว้

                      เมื่อได้เปิดกฎหมายดูรายมาตราในหมวดที่ 2 เริ่มตั้งแต่มาตรา 13 ถ้าหากท่านทั้งหลายมีพรบ.สัญชาติอยู่ในมือแล้วเปิดดู ก็จะพบว่า กรณีที่บุคคลอาจมีสัญชาติอื่นได้นอกเหนือจากสัญชาติไทย( มีการบัญญัติในมาตรา 13-15 )ไม่ว่าด้วยวิธีใด ไม่ว่าจะเป็นจากการสมรสกับคนต่างด้าว ตามหลักสืบสายโลหิตบิดา หรือมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว  หรือกรณีอื่นๆนั้น กฎหมายบัญญัติชัดเจนเลยว่า กรณีของคนที่อาจมีสัญชาติอื่นนอกจากสัญชาติไทย การที่บุคคลเหล่านี้จะสละสัญชาติไทยหรือไม่นั้น หรือจะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไปหรือไม่นั้น กฎหมายได้ใช้คำว่า "ประสงค์" ก็คือเป็นความประสงค์ของบุคคลเหล่านี้ทั้งสิ้น คำว่าประสงค์นี้เป็นคำที่มีความหมายชัดเจน เมื่อเป็นความประสงค์ของบุคคลผู้นั้น ก็แปลว่า การจะสละสัญชาติ หรือการจะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไปนั้น เป็นไปตามเจตนาของเอกชนนั้นๆ กล่าวง่ายๆก็คือ เป็นไปตามเจตนาของเรา หากเรามีสิทธิในสัญชาติอื่นด้วยดังกล่าว เราจะสละสัญชาติไทยก็ได้ ไม่สละสัญชาติไทยก็ได้ อยากจะถือสัญชาติอื่นต่อไปก็ได้ ไม่ถือสัญชาติอื่นต่อไปก็ได้ กฎหมายเขียนไว้ค่อนข้างชัดเจนมาก และเข้าใจได้ไม่ยาก

                   หรือหากการจะหมายความถึงการถือสองสัญชาติไม่ได้ จะเสียสัญชาติไทยนั้น ในเรื่องของการจะเสียสัญชาติไทย เราก็ต้องรู้ว่า มีได้แค่ในกรณีที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว การสละสัญชาติไทย หรือถูกถอนสัญชาติ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 เท่านั้นเอง

                      การแปลงสัญชาติที่จะทำให้เสียสัญชาติไทยนั้น ก็คือไปทำตามกระบวนการขั้นตอนการแปลงเป็นคนสัญชาติของประเทศที่เราต้องการ ตามหลักเกณฑ์วิธีการของกฎหมายนั้นๆ ไม่ใช่การมีสิทธิในสัญชาติในทันที ซึ่งถ้าหากว่าประเทศใดบัญญัติให้คู่สมรสของคนสัญชาตินั้น มีสิทธิในสัญชาตินั้นๆด้วย นั่นหมายความว่าเมื่อสมรสตามกฎหมายประเทศนั้นๆ คู่สมรสก็ย่อมทรงสิทธิในสัญชาติ ซึ่งเป็นการทรงสิทธิที่ได้จากการสมรส ไม่ใช่จากการแปลงสัญชาติ หากเป็นไปตามกรณีดังกล่าว ต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เราทรงสิทธิไม่ไ้ด้เป็นเพราะการแปลงสัญชาติ เป็นเพราะการสมรส ต้องดูมาตรา 13 สละสัญชาติไทยเป็นไปตามเจตนาของเอกชน เจตนาของเรา กฎหมายใช้คำว่า "ประสงค์" เป็นคนละเรื่องกันกับการแปลงสัญชาติที่จะทำให้เราเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 22 ต้องรู้ว่ากรณีดังกล่าว เราต้องไปดูมาตรา 13 ไม่ใช่มาตรา 22  ดังนั้นหญิงไทยไม่ต้องกลัวในเรื่องนี้ หากว่าเราสมรสกับคนต่างชาติแล้วเราจะทรงสิทธิในสัญชาติของประเทศคู่สมรส(หรือกรณีชายไทยไปสมรสกับชาวต่างชาติก็เช่นกัน)ด้วย นอกเหนือไปจากสัญชาติไทยของเรา นี่ไม่ใช่เรื่องการแปลงชาติ เราไม่ได้จะเสียสัญชาติไทย เรื่องนี้เป็นเรื่องการทรงสิทธิในสัญชาติเพิ่มเพราะการสมรส เราดูมาตรา 13 เป็นไปตามความประสงค์ของเรา เราจะสละสัญชาตไทยก็ได้ ไม่สละสัญชาติไทยก็ได้ นี่เป็นไปตามเจตนาของเรา

                   และตามที่อาจารย์แหววได้ให้ความรู้ข้างต้นแล้วว่า หากเราแปลงสัญชาติ หรือเข้าตามหลักเกณฑ์การจะเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 22 จริง ก็ต้องดูควบคู่กับมาตรา 5 พรบ.สัญชาติด้วย คือการเสียสัญชาตินั้นให้มีผลก็ต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัว นั่นก็คือ แม้จะเข้าตามหลักเกณฑ์มาตรา 22 ที่จะทำให้เสียสัญชาติไทยแล้ว แต่การเสียสัญชาติไทยก็จะมีผลเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน  

                  ในประเด็นย่อยอีกเรื่องคือการกล่าวว่า "การให้บุตรต้องเลือกสัญชาติเมื่ออายุครบ 20 บริบูรณ์"นั้น มาตราที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งก็คือมาตรา 14 ของพรบ.สัญชาติ ซึ่งในมาตรา 14 นั้น ข้าพเจ้าก็เคยได้มีความเข้าใจผิดมาก่อน ตอนที่ได้อ่านมาตรานี้โดยที่ยังไม่มีความรู้ใดๆ  สับสนในคำว่า "ถ้าประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทย" ว่านี่เป็นการไม่อนุญาตให้ถือสองสัญชาติหรือไม่ แต่เมื่อมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องโดยอาจารย์พันธุ์ทิพย์ได้ให้ความรู้และอธิบายว่า มาตรานี้เป็นเจตนาของเอกชน ที่จะแสดงความจำนงสละสัญชาติหรือไม่ก็ได้ และประกอบกับที่ข้าพเจ้าได้อ่านความรู้ที่อาจารย์พันธุ์ทิพย์เขียนข้างต้นว่า 

อันนี้ อ.แหววเข้าใจว่า น่าจะเป็นไปตามกฎหมายที่ประกาศใช้ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๓๕ และถูกยกเลิกในเวลาราว ๑ เดือนต่อมา กล่าวคือ มาตรา ๑๔ แห่ง
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕
ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว
และอาจถือสัญชาติของบิดาได้ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา
หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง
ให้แสดงความประสงค์เข้าถือสัญชาติได้เพียงสัญชาติเดียว
โดยให้แจ้งความจำนงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบรูณ์
ถ้าไม่มีการแจ้งความจำนงภายในระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่า ผู้นั้นสละสัญชาติไทย
เว้นแต่รัฐมนตรีจะสั่งเฉพาะรายเป็นอย่างอื่น” บทบัญญัตินี้ถูกประกาศใช้ในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์
พ.ศ.๒๕๓๕ และถูกยกเลิกในวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๕ 




และ

จะเห็นว่า มาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ ซึ่งมาแทนที่ จึงบัญญัติว่า ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาเป็นคนต่างด้าว และได้สัญชาติของบิดาด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๑๒ วรรคสอง ถ้ายังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบรูณ์"

                    เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านความรู้ถึงวิวัฒนาการของบทบัญญัติข้างต้นจากอาจารย์พันธุ์ทิพย์ ทำให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการตีความว่ามาตรานี้เป็นไปตามเจตนาของเอกชนอย่างยิ่ง เพราะ เดิมนั้นกฎหมายไปจำกัดบุตรที่เข้าตามกรณีดังกล่าว ให้ถือเพียงสัญชาติเดียว แต่กฎหมายดังกล่าวนี้ใช้ได้เพียงแค่เดือนเดียวก็ต้องแก้ แก้มาเป็นมาตรา 14 ในปัจจุบัน(แก้ไขโดยพรบ.สัญชาติ ฉบับที่4 พศ.2551) คิดตามตรรกะง่ายๆเลยว่า เดิมให้เลือกสัญชาติเพียงสัญชาติเดียว ถ้าจะแก้แล้วยังคงให้เลือกเพียงสัญชาติเดียว เราอาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวก็ได้ ดังนั้นเมื่อแก้แล้ว การตีความก็ย่อมเปลี่ยนไปด้วย เดิมให้เลือกเพียงสัญชาติเดียว เมื่อแก้แล้วกฎหมายน่าจะมีเจตนารมย์ที่ไม่จำกัดให้คนถือสัญชาติใดเพียงสัญชาติเดียวอีกต่อไปแล้ว  ประกอบกับที่ต้องอ่านมาตรา 15 ซึ่งเป็นมาตราที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่ระบุให้กรณีอื่นนอกเหนือมาตรา 14 ถ้า"ประสงค์" จะสละสัญชาติ... เมื่อใช้คำว่าประสงค์ก็ย่อมตีความได้เป็นที่แน่นอนว่า เป็นเรื่องของเจตนาของเอกชนผู้นั้น ว่าจะสละก็ได้ไม่สละก็ได้ ตามที่ได้แสดงความเห็นไปข้างต้น 

                    จึงเป็นข้อสังเกตที่เราควรต้องตระหนักว่า หากเราไม่ทราบหรือไม่แน่ใจว่ากฎหมายนั้น ตีความอย่างไรกันแน่ การอ่านตัวบทกฎหมายด้วยความตั้งใจ การศึกษาถึงพัฒนาการหรือวิวัฒนาการของกฎหมายดังกล่าว ก็จะช่วยทำให้เห็นถึงบริบท หรือความต้องการของกฎหมาย หรือที่เรียกว่า "เจตนารมย์ของกฎหมายที่แท้จริงได้" ซึ่งในฐานะนักกฎหมาย เรื่องการตีความกฎหมายตามเจตนารมย์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และนักกฎหมายไม่สามารถจะละเลยประเด็นนี้ได้ การตีความกฎหมายนั้นดูตามลายลักษณ์อักษรแล้วต้องดูตามเจนารมย์ของกฎหมายด้วย เมื่อนักกฎหมายตีความกฎหมายโดยคำนึงถึงสองประการนี้ ประชาชนก็จะได้รับความยุติธรรมอย่างแท้จริงได้ 

                   ซึ่งเมื่อข้าพเจ้าได้อ่านตัวบทกฎหมายพรบ.สัญชาติที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว ได้อ่านถึงวิวัฒนาการของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และคำนึงถึงเจตนารมย์ของกฎหมายตามที่กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กฎหมายไทยไม่ได้ปิดกั้นให้คนถือสองสัญชาติแต่อย่างใด นับว่าเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจให้ตรงกัน เพื่อจะให้ประชาชนไม่ได้รับเดือดร้อน และได้รับสิทธิประโยชน์ที่พึงมีอย่างแท้จริง


ผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

ขอแก้ไขในย่อหน้าที่สามนับขึ้นจากท้ายค่ะ ในประโยคที่ว่า "แก้มาเป็นมาตรา 14 ในปัจจุบัน(แก้ไขโดยพรบ.สัญชาติ ฉบับที่4 พศ.2551)"  เป็น

 "ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ และได้มีการปรับปรุงมาเรื่อยๆ ปัจจุบัน แก้ไข

โดยพรบ.สัญชาติ ฉบับที่4 พศ.2551"   ...ขอบคุณค่ะ

ปรางค์ก็ควรเอาที่เขียนนี้ไปทำเป็นบันทึกของปรางค์เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยนะคะ ในยุคที่มีการเดินทางข้ามชาติมากๆ ประเด็นคนสองสัญชาติจะมีการยกขึ้นหารือมากเลยค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.แหวว

รบกวนปรึกษาอ.แหววหน่อยน่ะค่ะคืออยากทราบข้อมูลการขอพาสปอรต์ให้กับลูก ชึ่งเกิดที่ประเทศนิวชีแลนด์มีพ่อเป็นคนนิวชีแลนด์แม่เป็นคนไทย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะในการไปทำพาสปอรต์ที่เมืองไทยค่ะขอบคุณมากค่ะ

รบกวนปรางค์เข้ามาตอบข้อหารือด้วยค่ะ 

ได้เลยค่ะอาจารย์ หนูจะเพิ่มบันทึกใน gotoknow และ และเผยแพร่ในเฟสบุคค่ะ :)

รบกวนสอบถามค่ะ ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับคนเยอรมัน แต่จดแค่ในเยอมัรน ในไทยไม่ได้จด มีลูกด้วยกันหนึ่งคนตอนนี้ ห้า ขวบ  ปัจจุบันเลิกกันแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า  และตอนนี้มีแฟนใหม่เป็นคนเดนมาร์ค กำลังจะเดิทางไปเดนมาร์คสามเดือนกับลูก  ซึ่งลูกมีฟาสปอร์ตเยอรมัน  1.ลูกสาวต้องขอวีซ่าไหมค่ะ  และ
2.ตอนจะขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภุมิเขาจะตรวจใบอะไรอีกไหมค่ะหรือลูกสาวออกนอกประเทศได้เลยค่ะ
หรือเจ้าหน้าที่ต้องขอดูใบอะไรไหมค่ะ

ขอรบกวนถามอะไรซักหน่อยนะคะ คืออยากทราบว่า เด็กผู้ชายที่เกิดในไทย แต่ถือ 2 สัญชาติน่ะค่ะ ต้องไปเกณฑ์ทหารรึปล่าวคะ แล้วถ้าต้องเกณฑ์ทหาร ต้องไปเกณฑ์ที่ประเทศไหนคะ ?

ตอบคุณเกด หากการเกณฑ์ทหารเป็นหน้าที่ในทั้งสองประเทศที่มีสัญชาติ ก็ต้องเกณฑ์ทหารในทั้งสองประเทศค่ะ เว้นแต่ รัฐที่เกี่ยวข้องทำความตกลงกันให้บุตรเลือกที่จะเข้ารับราชการทหารค่ะ แต่ในบางประเทศ ก็ไม่มีการเกณฑ์ทหารแบบดุๆๆ นะคะ มีแต่การรับใช้สังคมค่ะ 

ขอรบกวนถามค่ะ คืือ ผู้ที่มีสองสัญชาติ และใช้หนังสือเดินทางสองเ่ล่ม เข้า-ออกไทย ใช้หนังสือเดินทางไทย เข้า-ออกต่างประเทศ ใช้หนังสือเดินทางต่างประเทศ จะเป็นไรไหมคะ จะมีความผิดไหมคะ....ขอบคุณค่ะ


โดยหลักกฎหมายไทย หากมีสิทธิในทั้งสองสัญชาติ ก็ไม่ได้ใช้เอกสารปลอม ก็คงไม่มีความผิด  เว้นแต่ ตม. จะงงไหม ตอนนี้ ก็เริ่มหารือทาง สตช. ในเรื่องประมาณนี้ค่ะ ทำเสียให้ชัด เพราะถ้าเป็นด่าน ตม ใหญ่ ก็จะเข้าใจเรื่องนี้ดี แต่ถ้าเป็นด่านเล็ก ก็อาจมีปัญหาค่ะ อีกสัญชาติหนึ่งเป็นสัญชาติอะไรคะ ซึ่งตามกฎหมายของรัฐนี้ จะเป็นผิดไหม ก็ว่าตามกฎหมายของเขานะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์ ผมขอถามหน่อยครับ ว่า ถ้าภรรยาผมคลอดลูกที่อเมริกา ลูกผมจะได้สองสัญชาติมั้ยครับ หรือต้องเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง ในตอนอายุ ยี่สิบปีครับ ผมกับภรรยาเป็นคนไทยที่มาทำงานด้วยวี่ซ่า อีทูครับ

"วีซ่าอีทู" คืออะไรคะ ?

แต่ตอบได้ค่ะว่า บุตรมีสิทธิในสัญชาติไทยค่ะ เก็บรักษา Certification of Delivery ให้ดีนะคะ ใส่ชื่อพ่อแม่ให้ตรงตามหนังสือเดินทาง และไปแจ้งการเกิดของบุตรที่สถานกงสุลไทยด้วยค่ะ อยู่มลรัฐไหนคะ

การเลือกสัญชาติเป็นสิทธิค่ะ พอบุตรโตมา ก็ให้เขาเลือกเองดีกว่าค่ะ ใช้สิทธิในทั้งสองสิทธิให้เขาดีกว่า

ขอถามอาจารย์ค่ะลูกเกิดที่แคดดาแต่มีแผนจะย้ายไปอยู่
ประเทศออสเตรเลีย
ยังสามารถือสัญชาติไทยได้ไมค่ะ

ถ้าคุณหนึ่งฤทัย (?) มีสัญชาติไทย บุตรก็มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ในที่ใดค่ะ 

ขอถามหน่อยค่ะ คือหนูเป็นลูกครึ่งฟินแลนด์ แล้วแม่เลิกกับพ่อนานแล้วค่ะ(ไม่ได้จดทะเบียนกัน) หลังจากเลิก พ่อก็ส่งค่าเลี้ยงดูให้ค่ะ แต่หยุดส่งมาประมาน 7-8 ปีแล้ว ไม่เคยติดต่อมา เหมือนพ่อไม่มีตัวตน หายไปค่ะ แต่เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว เจอเฟสบุ๊คของพ่อค่ะ หนู่พยายามส่งข้อความไปหลายครั้งแต่ไม่ตอบกลับมาสักครั้งค่ะ จนเมื่อเดือนก่อนเปิดเฟสพ่อดูอีกครั้งพ่อปิดเฟสไปแล้วอะค่้ะ จะตามหาพ่อทางไหนดีหรอค่ะ 

คุณอายุเท่าไหร่แล้วคะ ยังต้องการตามหาเพื่ออะไรคะ

16 ค่ะ อยากเจอพ่อค่ะ ไม่เจอกันเป็น7-8 ปี คิดถึงพ่อค่ะ

อยากทราบว่า ถ้าเกิด usa แล้วพ่อแม่เป็นไทย มีใบเกิดทั้ง ไทย ทั้งอเมริกา จะได้สัญชาติไหนค่ะ หรือว่าได้ทั้ง 2 สัญชาติ มาอยู่เมื่อไทยตั้งแต่ 3 ขวบกว่าแล้วค่ะ จนอายุ 20 แล้วค่ะ

รบกวนหน่อยนะคะ ความว่า แม่เป็นคนไทยที่อยู่ไต้หวันนานเป็น20ปีและได้สัญชาติ ทั้งไทยและไต้หวันแต่ปัญหาคือว่าน้องคนเล็กเกิดจากพ่อคนไทยที่มาทำงานที่ไต้หวัน แล้วคลอดน้องที่ไต้หวันตอนนี้น้องได้สัญชาติไต้หวัน แต่ตอนนี้น้องย้ายไปอยู่ไทยเรียนจบป.6แล้วจะย้ายกลับมาเรียนที่ไต้หวันคืนแต่ที่อำเภอบอกว่าน้องต้องเลือกว่าจะเอาสัญชาติอะไรแต่เค้าแนะนำให้มาอยู่ไต้หวันสละสัญชาติไทย เลยอยากถามว่าน้องจะถือสองสัญชาติได่ไหมคะเพราะแม่ก็ได้สองสัญชาติ 

ขอบคุณคะ

รบกวนหน่อยนะคะ  คือหนูเป็นลูกครึ่งค่ะ พ่อญี่ปุ่น แม่ไทย ตอนนี้ถือ 2 สัญชาติอยู่ค่ะ (อาศัยอยู่ที่ไทย) อายุ 19 ปี แต่พ่ออยู่ที่ญี่ปุ่น  / คือ อยากทราบว่าเมื่ออายุ 20 หนูต้องเลือกหนึ่งสัญชาติใช่มั้ยคะ  ถ้าเลือกสัญชาติญี่ปุ่นต้องทำยังไงบ้างคะ ต้องต่อวีซ่าตลอดหรือเปล่า ถ้าเลือกสัญชาติไทยต้องทำยังไงบ้างคะ ** แต่หนูอยากเลือกสัญชาติญี่ปุ่นมากกว่าเนื่องจากเวลาเดินทางไปหาพ่อหรือไปอยู่ที่นั่นจะเกิดความสะดวกมากกว่า ขอบคุณนะคะ

รบกวนสอบถามอาจารย์ว่า

ถ้าลูกดิฉันเกิดที่เมืองไทย สามีเป็นคนเบลเยี่ยม จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายที่เมืองไทยแล้ว ถ้าลูกเกิดมาสามารถถือสัญชาติได้ทั้งสองสัญชาติเลยไหมคะ แล้วเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งตอนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ขอบพระคุณค่ะ

คำตอบมีได้นี้ค่ะ

    1.บุตรของคุณจีจี้ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา หากว่า คุณจีจี้มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่บุตรเกิด คำถามที่ต้องถามกลับ ก็คือ คุณจีจี้ได้รับการรับรองสถานะคนสัญชาติไทยในทะเบียนราษฎรของรัฐไทย กล่าวคือ มีชื่อในทะเบียนบ้านประเภทคนอยู่ถาวร (ท.ร.๑๔) หรือไม่คะ ?

    2.บุตรของคุณจีจี้ย่อมมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยผลของกฎหมายจากมารดา หากว่า บุตรดังกล่าวเกิดในประเทศไทย และ คุณจีจี้มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่บุตรเกิด หรือในกรณีที่คุณจีจี้ไม่มีสถานะเป็นคนสัญชาติไทยในขณะที่บุตรเกิด บิดาสัญชาติเบลเยี่ยมก็จะต้องมีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองถูกกฎหมายและมีสิทธิอาศัยถาวรตามกฎหมายไทยว่าด้วยการเข้าเมือง

    3.ในกรณีที่บุตรมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมาย ก็มีความเป็นไปได้ที่บุตรจะมีสิทธิในสัญชาติเบลเยี่ยมโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา ทั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมายเบลเยี่ยมว่าด้วยสัญชาติเบลเยี่ยม

    4.ในเรื่องการสละสัญชาตินั้น บุตรจะต้องกระทำหรือไม่ ภายในเงื่อนเวลาใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของทั้งรัฐไทยและรัฐเบลเยี่ยม

    5.ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในสัญชาติเบลเยี่ยมนั้น การสละสัญชาติเป็น “หน้าที่” หรือ “สิทธิ” ก็ย่อมเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของรัฐเบลเยี่ยม แต่อย่างไรก็ตาม โดยข้อมูลจาก คุณตุลย์นภา ติลกมนกุล และอาจารย์บงกช นภาอัมพรแห่ง UNHCR หากบุตรของคุณจีจี้มีเงื่อนไขที่กฎหมายสัญชาติเบลเยี่ยมกำหนด เขาก็อาจจะมีสิทธิในการถือสองสัญชาติตามกฎหมายเบลเยี่ยม คำตอบที่แน่นอน ก็คงมาจาก การที่คุณบอกเราว่า บุตรของคุณเกิดในช่วงเวลาใด[1]

    อาจารย์บงกช นภาอัมพร ให้หลักคิดตามกฎหมายสัญชาติเบลเยี่ยมว่า[2] กรณีคนที่มีสิทธิในสัญชาติไทยและสัญชาติเบลเยี่ยมย่อมตกอยู่ภายใน มีสัก ๔ สถานการณ์ (scenario) ดังต่อไปนี้ (๑) ถ้าคนสัญชาติเบลเยี่ยม ไปถือสัญชาติอื่นด้วย ก่อนวันที่ ๙ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๐๗/พ.ศ.๒๕๕๐ ให้เสียสัญชาติเบลเยี่ยม (๒) ถ้าคนชาติเบลเยี่ยม ไปถือสัญชาติอื่นที่ไม่ใช่สัญชาติของประเทศออสเตรีย เดนมาร์ค สเปน ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ค นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ หรือ อังกฤษ ระหว่างวันที่ ๙ มิถุนายน ค.ศ.๒๐๐๗/พ.ศ.๒๕๕ ถึงวันที่ ๒๘ เมษายน ค.ศ.๒๐๐๘/พ.ศ.๒๕๕๑ – ให้เสียสัญชาติเบลเยี่ยม (๓) ส่วนคนชาติเบลเยี่ยมที่ได้สัญชาติอื่นหลังวันที่ ๒๘ เมษายน ค.ศ.๒๐๐๘/พ.ศ.๒๕๕๑—ไม่เสียสัญชาติ และ (๔) แต่ยังมีกรณีคนชาติเบลเยี่ยมที่เกิดต่างประเทศก่อนวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ.๑๙๖๗/พ.ศ.๒๕๑๐ และส่วนใหญ่อาศัยอยู่ต่างประเทศตั้งแต่อายุ ๑๘ – ๒๘ ปี และไม่เคยแสดงเจตนากับสถานทูตเบลเยี่ยมว่า ขอถือสัญชาติเบลเยี่ยมต่อ และมีสัญชาติอื่นอยู่แล้ว ก็จะเสียสัญชาติ อาจจะพอสรุปได้ว่า ประเทศเบลเยี่ยมเพิ่งยอมรับให้มีการถือสองสัญชาติ หลังวันที่ ๒๘ เมษายน ค.ศ.๒๐๐๗/พ.ศ.๒๕๕

    ในที่สุด ก็ขอแนะนำให้ไปหารือสถานกงสุลเบลเยี่ยมประจำประเทศไทย กฎหมายสัญชาติมีความละเอียด ซับซ้อน และเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ควรหารือกงสุลเบลเยี่ยมประจำประเทศไทย จะเป็นข้อมูลที่ใช้ได้มากที่สุด

    6.ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิในสัญชาติไทยนั้น การสละสัญชาติเป็น “สิทธิ” ค่ะ มิใช่ “หน้าที่” และหากบุตรจะใช้สิทธิสละสัญชาติไทยโดยไม่ยอมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยทัดทานได้เลย ก็ต้องสละสัญชาติในระหว่างที่มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบรูณ์ และไม่เกิน ๒๑ ปีบริบูรณ์ แต่หากจะสละสัญชาติไทยตั้งแต่ ๒๑ ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็อาจไม่อนุญาตค่ะ เมื่อท่านผู้นี้ไม่อนุญาต บุตรของคุณก็จะต้องถือสิทธิในสัญชาติไทยต่อไปค่ะ

    7.การสละสัญชาติไทยในกรณีแรก เป็นไปตามมาตรา ๑๔ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒ และ ๓) พ.ศ.๒๕๓๕ รวมถึง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า

“ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติของบิดาหรือมารดาด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือมารดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตาม มาตรา ๑๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๒/๑ (๒) และ (๓) ถ้ายังประสงค์จะถือสัญชาติอื่นอยู่ต่อไป ให้แสดงความจำนงสละสัญชาติไทยตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[3]ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์

เมื่อได้พิจารณาความจำนงดังกล่าวแล้วเห็นว่ามีหลักฐานเชื่อถือได้ว่าผู้นั้นอาจถือสัญชาติของบิดาหรือมารดาหรือสัญชาติอื่นได้จริง ก็ให้รัฐมนตรีอนุญาต เว้นแต่ในระหว่างประเทศไทยมีการรบหรืออยู่ในสถานะสงคราม รัฐมนตรีจะสั่งระงับการสละสัญชาติไทยรายใดก็ได้

8.การสละสัญชาติไทยในกรณีที่สอง เป็นไปตามมาตรา ๑๕ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า

“นอกจากกรณีตามมาตรา ๑๔ ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทยให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง[4]

การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้สละสัญชาติไทยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี

9.การสละสัญชาติไทยในทั้งสองกรณีจะมีผลเฉพาะตัวและในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นไปตามมาตรา ๕ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า “การได้สัญชาติไทยตามมาตรา ๙ มาตรา ๑๒ หรือมาตรา ๑๒/๑ การเสียสัญชาติไทยตามหมวด ๒ หรือการกลับคืนสัญชาติไทยตามหมวด ๓ ให้มีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัว”

10.ด้วยข้อเท็จจริงที่คุณให้มา เราอาจมีคำตอบให้ได้เพียงนี้

11.ขอมวลมิตรโปรดเพิ่มเติมข้อความรู้เพื่อคุณจีจี้ได้เลยค่ะ


[1] https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151761451856425 <วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖>

[2] http://diplomatie.belgium.be/en/services/services_abroad/nationality/loss_and_re-acquisition/loss/<วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖>

[3]ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งเกิดในขณะที่บิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวและได้สัญชาติของบิดาหรือมารดาด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดาหรือมารดา หรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยตาม มาตรา ๑๒ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๒/๑ (๒) และ (๓) ชายหรือหญิงซึ่งมีสัญชาติไทยและได้สมรสกับคนต่างด้าว ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ดำเนินการยื่นคำขอตาม ข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๑๐) ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.๒๕๐๘

[4]ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยและสัญชาติอื่นหรือผู้ซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ถ้าประสงค์จะสละสัญชาติไทย ให้ดำเนินการยื่นคำขอตาม ข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวง (พ.ศ.๒๕๑๐) ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ.๒๕๐๘

ตอบคุณจีจี้เรื่องสิทธิสละสัญชาติไทยของบุตรของหญิงสัญชาติไทยและชายเบลเยี่ยม

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

บันทึกความเห็นทางกฎหมายเพื่อตอบคำถามของประชาชนเรื่องการจัดการประชากร

เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ม พ.ศ.๒๕๕๖

http://www.gotoknow.org/posts/542675

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151772406388834

เชิญคุณจีจี้มาแลกเปลี่ยนกับพวกเราตรงนี้ ก็ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

อยากจะรบกวนสอบถามอาจารย์ว่า

ตอนนี้ดิฉันอายุ 23ปี และคุณพ่อเป็นคนฮอล์แลนด์ ถือสัญชาติดัตช์

ดิฉันเกิด และอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาตลอด เมื่ออายุ 17ปี ดิฉันได้เลือกสัญชาติไทย

และได้ทำบัตรประชาชนไทยครั้งแรกในเวลานั้น ถ้าหากปัจจุบันดิฉันต้องการที่จะได้สัญชาติดัตช์กลับมานั้นจะยังเป็นไปได้หรือไม่

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

คือหนูเป็นลูกครึ่งค่ะ เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส แต่มาอาศัยอยู่ไทยตั้งแต่เด็กๆ

มี2พาสปอต คือในปีนี้ หนูจะต้องไปเรียนที่ฝรั่งเศสแล้ว หนูจะซื้อตั๋วเครื่องบินในราคานักเรียน

แต่มันต้องใช่วีซ่านักเรียนเท่านั้น แต่จะไปขอวีซ่านักเรียนก็กลัวไม่ผ่าน แต่จริงๆเรามีพาสปอตไทย เราก็น่าจะมีสิทธิออกได้ใช่ไหมค้ะ

พอเข้ามาอ่าน ก็สงสัยว่า เค้ายังให้ถือ2พาสปอตอยู่รึป่าวค้ะ ถ้าไม่ให้ถือหนูควรไปแจ้งอะไรที่ไหนค้ะ หนูเกิดปี2535 ค่ะ

รบกวนช่วยตอนด้วยน้ะค้ะ จะไปกันยานี้แล้ว ทุกวันนี้ยังปวดหัวอยู่เลยค่ะ

เรียนถามอาจารย์ค่ะ...ด้วยความเคารพค่ะ ลูกชายอายุ 15 ปี ถือสองสัญชาติ คุณพ่อเป็นคนสัญชาติสวิส ลูกชายอยากเป็นทหาร(เลือดรักชาติ_ไทย_เข้มข้นจนสงสารลูกมาก) คุยอยู่ไม่เลิก ให้แม่หาข้อมูลเกี่ยวกับเร่ืองนี้ เพราะระเบียบของการสมัครสอบเข้าเตรียมทหารในส่วนของคุณสมบัติผู้สมัครสอบคือ บิดามารดา ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด กราบรบกวนอาจารย์หากมีข้อชี้แนะใดๆ ขอบพระคุณค่ะ

หนูขอรบกวนถามหน่อยนะคะเพราไม่รู้เรื่องจริงๆค่ะ  หนุมีพ่อแม่เป็นคนไทยแต่หนูและพี่ชายไปเกิดที่เมริกามีใบแจ้งเกิดที่ชิคาโก  คุณแม่เป็นคนเเจ้งค่ะ  ตอนนี้หนูเเละพี่ชายน่าจะเป็นบุคคล2สัญชาติ  ใช่ไหมคะเพราะหนูมีบัตรประชาชนของไทยด้วย  แล้วหนูกับพี่ชายต้องการเป็นคนอเมริกันค่ะ  เค้าหั้ยขอสัญชาติอเมริกาได้แต่หนูและพี่ต้องมีอายุไมเกินกี่ปีคะ  ตอนนี้หนูอายุ18พี่20ปีขอได้ไหมคะ

แล้วจะถือสองสัญชาติต่อไปได้ไหมคะ  หรือต้องเลือกอย่างหนึ่งคะ ปล.แม่ของหนูเสียชีวิตแล้วค่ะจะมีผลไหมคะ

อยากถามว่าถ้าแม่เด็กเป็นไทยพ่อเป็นพม่าเด็กจะเป็นคนไทยหรือป่าว

สวัสดีค่ะ

คือ พ่อเป็นคนฟินแลนด์ แล้วแม่เป็นคนไทย เกิดปี 2539 เดือน พฤศจิกายน เกิดที่ไทย ได้สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย พ่อจดทะเบียนรับรองบุตรค่ะ แล้วจะขอเป็นสองสัญชาติได้ไหมค่ะ หรือจะขอสัญชาติฟินแลนนด์ได้ไหมค่ะ

สวัสดีค่ะ

พ่อเป็นคนไต้หวัน แม่เป็นคนไทย ส่วนดิฉันเกิดที่ไทย ตอนนี้ถือสัญชาติไทยอยู่ค่ะ

แต่อยากจะถือสัญชาติไต้หวันด้วย ไต้หวันถือสองสัญชาติได้ไหมคะ

ตอนนี้อายุ 18 ค่ะ

เรียนอาจารย์แหว๋ว

ขอรบกวนปรึกษานะคะ แต่งงานกับชาวอังกฤษ ไม่ได้จดทะเบียน สามีอยู่ประเทศไทยค่ะ มีบุตรด้วยกัน 1 คน ตอนนี้อายุ 6 ปี เกิดที่ไทย เรียนที่ไทย ลูกมีโอกาสไปอังกฤษและศึกษาต่อฟรีได้หรือไม่คะ ต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าอาจารย์แหว๋วมีการอบรมแบบนี้อีก อยากไปด้วยฟังไว้บ้างค่ะ

ดิฉันมีบุตร2คนลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส เกิดที่ประเทศไทยทั้งคู่ค่ะ เเต่ตอนนี้ได้อาศัยอยู่ที่ฝรั่งเศส คนโตชาย15ปีคนเล็กหญิง11ปี ต้องการทำพาตสปอรต์ไทย ในกรณีเด็กถือพาสปอรต์ฝรั่งเศสต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

สวัสดีดีค่ะอาจารย์

คือหนูอยากจะรู้ข้อเท็จจริงของการโอนสัญชาติค่ะ คือว่าหนูโอนสัญชาติเป็นคนอังกฤษและได้พาสปอร์ตอังกฤษแล้ว และหนูก็จดทะเบียนสมรสที่อังกฤษ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสที่เมืองไทยและหนูยังไม่ได้ไปแจ้งสละสัญชาติไทยแล้วหนูถือสองสัญชาติได้ไหม แล้วหนูมีสิทธิ์ในการซื้อบ้านหรือที่ดินที่เมืองไทยได้อยู่หรือเปล่าเพราะหนูโอนสัญชาติแล้ว

แปลงสัญชาติ กับ โอนสัญชาติต่างกันอย่างไร.....ขอบคุณค

พ่อเป็นไทยแม่เป็นลาว ตอนฝากท้องไม่มีชื่อบิดาในสมุดฝากท้อง ใบแจ้งเกิดในไทยที่ออกให้เด็กเป็นสัญชาติลาว เด็กมีใบเกิด สามารถแจ้งเข้าทะเบียนบ้านพ่อได้ไหมค่ะ และเข้าเรียนได้หรือเปล่าค่ะ

สวัสดีค่ะ ดิฉันอยากจะขอความกรุณาสอบถามผู้รู้ค่ะว่า. ดิฉันมีบุตรกับสามีชาวรัสเซีย บุตรมีพาสปอร์ตรัสเซีย เกิดที่รัเซีย แต่ดิฉันก็แจ้งเกิดที่สถานทูตเรียบร้อย ตอนนี้มีแค่ใบเกิดไทยยังไม่มีพาสปอร์ตไทย มีฉันมีคำถามว่า. 1)ถ้าดิฉันจะพาลูกกลับมาที่เมืองไทยและอยู่โดยไม่มีกำหนดกลับสามารถทำได้หรือไม่. 2) ถ้าจะมาทำพาสปอร์ตที่สถานทูต โดยปราศจากบิดาจะสามรถทำได้หรือไม่กรณีบิดาไม่ยอมให้เรามีสิทธิ์อะไรในตัวลูกเลย ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ดิฉันแต่งงานใหม่และพึ่งสอบได้เป็นสัญชาติอเมริกา มีลูกหนึ่งคนกับสามมีเก่าตอนนี้ลูกอยู่เมืองไทย อายุ 16 ปี อยากไปรับลูกมาอยู่ด้วย ดิฉันควรจะทํายังไงและเริ่มทําตรงไหนก่อนดีค่ะ ขอคุณค่ะ

สสัสดีครับอาจารย์

ผมเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นครับ,ตอนนี้ผมคืดว่าผมกำลังมีปัญหาอยากที่จะหาทางแก้ไขครับ,ปัจจุบันผมได้เดินทางมาอยูที่เมืองไทยกับคุณแม่หลังที่ท่านได้หย่ากับคุณพ่อแล้ว,แต่ผมยังมีาัญชาติเป็นชาวญี่ปุ่นอนู่ครับ,ผมต้องขอวีซ่าในการอยู่เมืองรึเปล่าครับ,แล้วจะเอาชื่อเข้าทะเบียนในเมืองไทยแบบไหนครับ,และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างครับ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูมีเรื่องรบกวนสอบถามคือหนูมีสามีเป็นชาวญี่ปุ่นมีลูก2คน 6ขวบ กับ2ขวบ คลอดที่ประเทศไทยมีทะเบียนบ้านในไทยแต่หนูอยากทราบว่าถ้าจะให้จดทะเบียนรับรองบุตรต้องทำอย่างไรต้องไปที่ไหนค่ะหนูไม่ได้จดทะเบียนสมรสคะรบกวนช่วยตอบหนูด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ  มีคำถามอยู่สามเรื่องอ่ะค่ะ 

1.คือคุณพ่อหนูสัญชาติแคนาดา ส่วนแม่สัญชาติไทยค่ะ ตอนนี้หนูเลยถือทั้งสองสัญชาติ และได้ย้ายมาอยู่ที่แคนาดาปีกว่าแล้วอ่ะค่ะ ปีนี้หนูอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์พอดี และเคยได้ยินมาว่าถ้าอายุ 20 ปี จะต้องสละสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งไป อยากทราบว่าจริงไหมคะ แล้วถ้าไม่ได้หนูควรทำอย่างไรคะ ต้องไปแจ้งที่ไหนยังไงอ่ะคะ แล้วจะมีปัญหาอะไรในภายภาคหน้าหรือป่าวคะ เพราะตอนนี้พ่อกับแม่หนูหย่าร้างกันแล้ว คุณพ่อหนูท่านส่งหนูมาเรียนและทำงานที่นี่อ่ะค่ะ 

2. ที่หนูอยากทราบคือ ถ้าสมมุติว่าอนาคตหนูมีสามีคนไทยและมีบุตร แต่ให้กำเนิดบุตรที่แคนาดา ลูกของหนูจะยังถือสองสัญชาติแบบหนูได้อยู่หรือป่าวคะ เพราะหนูเป็นลูกครึ่งถือสองสัญชาติอยู่ตอนนี้ 

3. ข้อสุดท้ายที่อยากทราบคือ ถ้าหนูทำงานอยู่ที่แคนาดา แต่อยากซื้อบ้านที่ประเทศไทย โดยการกู้เงินที่ธนาคารในประเทศไทย หนูสามารถทำได้หรือไม่อ่ะคะ 

รบกวนช่วยตอบคำถามหนูหน่อยนะคะ พอดีว่าพ่อกับแม่หนูได้อย่าร้างกันตั้งแต่หนูยังเล็ก และส่วนตัวหนูได้อาศัยอยู่กับพ่อมาโดยตลอดไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เลยค่ะ หนูร้อนใจมากไม่รู้ว่าจะปรึกษาใครดี คุณพ่อท่านเป็นชาวต่างชาติก็ไม่ค่อยรู้เรื่องพวกนี้เลย อ่ะค่ะ  ขอบคุณล่วงหน้านะคะ 

สวัสดีค่ะ อาจารย์. 

ดิฉันรบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ดิฉันเป็นคนไทยแต่งงานกับสามีเป็นคนอเมริกาจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายในไทย ตอนนี้ดิฉันกำลังท้องกำหนดคลอดเดือนธันวาคม 2557 มีคำถามดังนี้ค่ะ

1. ลูกดิฉันจะได้สัญชาติอะไรค้ะ

2. ลูกดิฉันสามารถได้2สัญชาติหรือเปล่าค้ะ แล้วต้องทำอย่างไรค้ะ

3. ตอนที่ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามีได้จ้างบริษัททนายทำให้แต่ทางทนายได้เขียนนามสกุลของสามีเป็นภาษาไทยผิด 

ในเอกสารทั้งหมดจริงผิดไปด้วยรวมทั้งใบทะเบียนสมรส แต่ถ้าลูกดิฉันเกิดมาดิฉันจะใช้นามสกุลที่สะกดถูกต้องได้มั้ยค้ะ

แต่นามสกุลจะไม่เหมือนแม่กับพ่อ จะมีปัญหาภายหลังมั้ยค้ะ เพราะถ้าลูกเกิดมาดิฉันกับลูกจะทำเรื่องไปอเมริกากลัวจะมีปัญหาค่ะ. ช่วยรบกวนตอบหน่อยนะค้ะ ขอบคุณมากค่ะ

รบกวนคะสามีเป็นคนนิวซีแลนด์  แยกกับภรรยาที่นิวซีแลนด์  นานไหมคะกว่าจะสามารถหย่าร้างได้  ต้องรอนานไหม  และดิฉันสามารถไปเที่ยวที่นั้นได้ไห  ถ้ามีวันหยุด

ขอโทษค่ะ รบกวนสอบถามค่ะ หากเรากับสามีเป็นคนไทย  ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ไปคลอดลูกที่มาเลเซีย โดยที่ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่น ลูกจะได้สัญชาติมาเลเซียไหมคะ รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ขอบคุฯค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์แหวว

หนูมีเรื่องรบกวนอาจารย์ให้คำตอบคำแนะนำหนูหน่อยค่ะ

หนูเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น พ่อเป็นคนญี่ปุ่น แม่เป็นคนไทย หนูเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น พ่อแม่หนูไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน หนูอายุ 6 ขวบกว่า ๆ พ่อกับแม่แยกกันอยู่ แม่เลยพาหนูมาอยู่ที่ประเทศไทย ตอนอายุ 6 ปีกว่าๆ แล้วหนูก็อยู่ที่เมืองไทยจนถึงตอนนี้ค่ะ โดยพ่อหนูไม่ได้มีการติดต่อและส่งเสียเลี้ยงดู แม่เป็นผู้เลี้ยง ดูแลหนูมาตลอด ตอนนี้หนูเป็นคนสัญชาติไทย แล้วชื่อบิดาในหลักฐานต่างๆ เป็น" ไม่ปรากฎนาม" และตอนนี้หนูอายุ 20 ปี ละค่ะ อยากทราบว่า

1. หนูเกิดที่ประเทศญี่ปุ่น พ่อแม่ไม่จดทะเบีนรสมรสหนูได้สัญชาติจากแม่ใช่ไหมคะ ? แล้วหนูต้องมีเชื้อชาติอะไร ?

2. หนูต้องการเป็นคน 2 สัญชาติได้ไหมคะ เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หนูอาจต้องเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นค่ะ เพราะต้องไปเรียนต่อ ,ไปทำงานหรือไปอาศัยอยู่ที่โน่น แล้วคนที่มี 2 สัญชาติมีข้อดี ข้เสียยังไงคะ? แล้วมีผลต่ออนาคตของหนูอย่างไรคะ?

3. ถ้าเกิดว่าเป็นคน 2 สัญชาติได้จริง หนูควรดำเนินเรื่องยังไงบ้างคะ ?

3. ถ้าหนูเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นแล้วไปอยู่ที่โน่นเป็นเวลานานเป็นปี แล้วหนูเป็นคนสัญชาตไทย ไปอยู่ที่โน่นในฐานะที่หนูเกิดที่โน่น หนูจะได้รับสวัสดิการเท่ากับคนที่เป็นสัญชาติญี่ปุ่นหรือปล่าวค่ะ?

สวัสดีค่ะ

ขอปรึกษาเรื่องสัญชาติของบุตรค่ะ

ดิฉันแต่งงานกับสามีที่เป็นคนไทยแต่มี 2 สัญชาติ คือทั้งสัญชาติไทย และมีสัญชาติอเมริกัน (มี2พาสปอต แต่อยู่เมืองไทยค่ะ)

- อยากสอบถามว่าลูกที่เกิดมาจะขอสัญชาติอเมริกันได้ไหมค่ะ (ต้องมีขั้นตอนในการทำเรื่องอย่างไงได้บ้าง)

ขอบคุณค่ะ

ตูน

สวัสดีค่ะ

ขอสอบถามเกี่ยวกับการเข้ามาอยู่เมืองไทยเกิน 30 วันของลูกครีงไทย-แคนาดาถือพาสปอร์ตแคนาดาค่ะ

อยากทราบว่า เด็กอายุ 6 เดือนเดินทางมาเมืองไทยพร้อมแม่แล้วต้องอยู่นานกว่า 30 วันต้องไปรายงานตัวเหมือนกรณีอื่นหรือไม่ค่ะ




ดิฉันแต่งงานกับคนสิงคโปร์ ลูกเพิ่งเกิด เป็นคนสิงค่ะ ถ้าจะพาลูกกลับไปเลี้ยงเมืองไทย1-2ปี ได้ไหมค่ะ และเรื่องสัญชาติจะมีปัญหาหรือเปล่า

สวัสดีคะอาจาร์ย คือหนูอยากทราบอ่ะคะ ถ้าหนูไปเรียนต่อต่างประเทศ แล้วอยู่ประเทศนั้นถาวรได้มัย แล้วต้องเตรียมเอกสารอะไรมัยคะ

สวัสดีคะอาจารย์ รบกวนสอบถามอาจารย์คะ ลูกชายเกิดที่ไทย มีเลขบัตรประชาชนไทย มีชื่อในทะเบียนไทย สามีเป็นคนมาเลเซียคะ เค้าทำเรื่องโอนสัญชาติลูกให้เป็นคนมาเลเซีย และทำพาสปอร์ตมาเลเซียเรียบร้อยแล้วคะ แต่ลูกมาอยู่กับดิฉันที่เมืองไทย 5 ปีแล้ว และจะไปต่ออายุพาสปอร์ตให้ลูกชายที่มาเลเซียคะ อยากทราบว่า จะมีปัญหากับ ตม.ประเทศไทยมั๊ยคะเพราะลูกอยู่เกินวีซ่าของไทยมา 5 ปีเลย ดิฉันต้องไปยื่นคำร้อง หรือเสียค่าปรับที่ไหนก่อนมั๊ยคะ ขอบคุณคะ

สวัสดีคับ รบกวนถามอาจารย์หน่อยครับ พอดีพ่อกับแม่ผมเป็นคนไต้หวัน แต่พ่อกับแม่ก็หย่ากันตอนผม 2 ขวบ แล้วพ่อก็พาผมออกจากไต้หวันมาอยู่ที่ไทย 20กว่าปี ผมก็โตที่ไทย เรียนที่เมืองไทย จบ ปวส. ที่เมืองไทย จบจาก วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก อี.เทค ครับ ผมอยาทราบว่ากรณีพ่อกับแม่ผมเป็นคนสัญชาติไต้หวัน แต่ผมโตที่เมืองไทยไม่รู้ประเพณีเกี่ยวกับที่ไต้หวันสักนิด แถมอ่านภาษาจีนไม่เป็น ผมอยากทราบว่าผมจะขอสัญชาติไทยได้ไหมครับ ตอนนี้ผมพูดตรงๆ ผมก็เป็นเหมือนคนไทยด้วยซ้ำไปครับ จะขอวีซ่าถาวรได้หรือเปล่า ขอสัญชาติไทยได้หรือเปล่า ในกรณีนี้ครับ ขอบคุณครับ

ตอบคุณลีน่าเรื่องสิทธิเข้าประเทศฝรั่งเศสในสถานะนักเรียนของคนที่ถือหนังสือเดินทางแสดงสัญชาติฝรั่งเศสและสัญชาติไทยพร้อมกันสองเล่ม

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10153823791283834

https://www.gotoknow.org/posts/598885

---------------

ข้อเท็จจริง

---------------

เมื่อสองปีก่อน คุณลีน่าเข้ามาในบันทึกเรื่อง “กม.ไทยห้ามคนไทยถือสองสัญชาติจริงไหม ?? เด็กลูกครึ่งต้องเลือกสัญชาติเมื่ออายุ ๒๐ ปีจริงหรือ ??” ซึ่งผู้บันทึกได้บันทึกไว้ใน www.gotoknow.org ดังปรากฏในลิงก์ IP: xxx.90.31.105 ดังต่อไปนี้ http://www.gotoknow.org/posts/259492?2916718

เธอมาเขียนว่า “สวัสดีค่ะอาจารย์ คือหนูเป็นลูกครึ่งค่ะ เกิดที่ประเทศฝรั่งเศส แต่มาอาศัยอยู่ไทยตั้งแต่เด็กๆ มี ๒ พาสปอต คือในปีนี้ หนูจะต้องไปเรียนที่ฝรั่งเศสแล้ว หนูจะซื้อตั๋วเครื่องบินในราคานักเรียน แต่มันต้องใช่วีซ่านักเรียนเท่านั้น แต่จะไปขอวีซ่านักเรียนก็กลัวไม่ผ่าน แต่จริงๆ เรามีพาสปอตไทย เราก็น่าจะมีสิทธิออกได้ใช่ไหมค่ะ พอเข้ามาอ่าน ก็สงสัยว่า เค้ายังให้ถือ ๒ พาสปอตอยู่รึป่าวค้ะ ถ้าไม่ให้ถือหนูควรไปแจ้งอะไรที่ไหนค้ะ หนูเกิดปี 2535 ค่ะ รบกวนช่วยตอนด้วยน้ะค้ะ จะไปกันยานี้แล้ว ทุกวันนี้ยังปวดหัวอยู่เลยค่ะ”

---------

คำถาม

---------

เมื่ออ่านดู เราก็จะพอเข้าใจได้ว่า เธออยากซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูก ซึ่งขายให้แก่นักเรียนเท่านั้น แต่ดูเธอจะสับสนไปหลายเรื่อง ผู้บันทึกไม่ได้ตอบในครั้งแรกที่อ่านเจอ แต่พอมาอ่านทบทวน ก็เลยคิดว่า ควรจะตอบเพื่อมิให้คนที่ถือสองสัญชาติมีความสับสนในลักษณะนี้

ประเด็นที่ควรจะตอบ ก็น่าจะเป็นดังนี้ (๑) คุณลีน่ามีสิทธิถือสองสัญชาติ กล่าวคือ ไทยและฝรั่งเศส หรือไม่ ? เพราะอะไร ? (๒) คนที่ถือหนังสือเดินทางฝรั่งเศสจะต้องร้องขอวีซ่าเข้าประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ ? และ (๓) เอกสารที่อาจใช้ในการแสดงตนเป็นนักเรียนเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูกสำหรับนักเรียนควรจะเป็นอย่างไร ?

---------

คำตอบ

---------

  • คุณลีน่ามีสิทธิถือสองสัญชาติ กล่าวคือ ไทยและฝรั่งเศส หรือไม่ ? เพราะอะไร ?
  • คนที่ถือหนังสือเดินทางฝรั่งเศสจะต้องร้องขอวีซ่าเข้าประเทศฝรั่งเศสหรือไม่ ?
  • เอกสารที่อาจใช้ในการแสดงตนเป็นนักเรียนเพื่อซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูกสำหรับนักเรียนควรจะเป็นอย่างไร ?

เมื่อคุณลีน่าเกิดในประเทศฝรั่งเศส จึงมีสิทธิในสัญชาติฝรั่งเศสโดยการเกิดโดยหลักดินแดน และเมื่อคุณมีบุพการีฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติฝรั่งเศส และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติไทย คุณลีน่าจึงมีสิทธิในสัญชาติไทยและสัญชาติฝรั่งเศสโดยหลักสืบสายโลหิตไปพร้อมกัน และเมื่อปรากฏต่อไปว่า ทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายฝรั่งเศสไม่ได้ห้ามการถือหลายหลายสัญชาติ ดังนั้น บุพการีจึงจัดการให้คุณลีน่าถือทั้งสองสัญชาติ ดังจะเห็นว่า คุณถือหนังสือเดินทางของทั้งสองประเทศ และแต่ละหนังสือเดินทางก็แสดงความเป็นคนสัญชาติของประเทศที่ออกหนังสือเดินทาง จึงสรุปว่า คุณลีน่าย่อมมีสิทธิในสองสัญชาติ และมีสิทธิที่จะใช้ทั้งสองสัญชาติ จึงได้รับการรับรองให้ถือสิทธิในทั้งสองสัญชาติ

โดยหลักกฎหมายการเข้าเมืองสากล คนชาติหรือสัญชาติมีสิทธิเข้าประเทศเจ้าของสัญชาติของตน และมีสิทธิอาศัยอยู่อย่างไม่มีเงื่อนไข คุณลีซ่าจึงไม่ต้องขอวีซ่าเข้าประเทศไทย เพราะคุณมีสถานะเป็นคนสัญชาติฝรั่งเศส ในทางกลับกัน การห้ามคุณลีน่าเข้าประเทศฝรั่งเศสจึงเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้เลย หากสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองฝรั่งเศสปฏิเสธการเข้าเมืองฝรั่งเศสของคุณ คุณก็อาจฟ้องเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต่อศาลปกครองฝรั่งเศสได้ การปฏิเสธสิทธิเข้าประเทศฝรั่งเศสที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นการละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส

เมื่อสายการบินแสดงเจตนาที่จะขายตั๋วเครื่องบินให้แก่นักเรียนในราคาถูกนั้น หากเป็นคนต่างด้าวที่จะไปเรียนในประเทศฝรั่งเศส ก็น่าจะใช้วีซ่านักเรียนที่สถานกงสุลฝรั่งเศสแสดงในการซื้อตั๋วเครื่องบินได้ แต่ในกรณีคุณลีน่า ซึ่งถือสองสัญชาติ กล่าวคือ ทั้งไทยและฝรั่งเศส คุณจึงไม่ถูกถือเป็นคนต่างด้าวที่จะต้องถือวีซ่าเข้าประเทศฝรั่งเศส การแสดงความเป็นนักเรียนในประเทศฝรั่งเศส ก็อาจทำได้โดยเอกสารที่สถาบันการศึกษาในฝรั่งเศสตอบรับคุณลีน่าเข้าเรียนก็น่าจะได้

ในท้ายที่สุด การตอบคำถามนี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่ถือหลายสัญชาติมิใช่หรือ

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์ รบกวนสอบถามท่านอาจารย์หน่อยค่ะ

ดิฉันเป็นลูกครึ่งเกาหลี-ไทย คุณพ่อเป็นเกาหลี คุณแม่เป็นคนไทย(เสียชีวิตแล้ว) ตอนนี้อายุ 23 ปี เกิดที่ไทยได้เลขบัตรประชาชนไทยค่ะ ดิฉันจะเพิ่มสัญชาติเกาหลี(ถือสองสัญชาติชาติ)ได้มั้ยคะ?

เพราะคุณพ่ออายุมากแล้ว ไปๆมาๆ ไทย-เกาหลี ไม่ไหว กลัวไปเกาหลีอยู่นานๆไม่ได้ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

จากคนไทยหลายสัญชาติ

ผมถือหลายสัญชาติจากหลายๆประเด็นเเต่ช่วยอ่านกระทู้นี้ว่า กฏหมายไม่ได้ห้ามถือ2สัญชาติ เเละประเทศต่างๆที่คุณได้รับอีกสัญชาติก็ไม่มีบทบัญญัติให้ละสัญชาติ อยู่เฉยๆเงียบๆไปเลยเมื่อคุณอยู่ประเทศนั้น เมื่อคุณมีสิทธิดีเเล้วจะตีโพยตีพายสละสัญชาติดีๆอื่นๆของคุณทำไม หวังว่าเข้าใจนะ จบ

รบกวนสอบถามตอนนี้ถือสัญชาติอังกฤษและสัญชาติไทยเนื่องจากมารดาแต่งงานกับคนอังกฤษและได้สัญชาติอังกฤษตามมารดา ตอนนี้กลับมาอยู่ไทยถาวรแล้วต้องการรับราชการตำรวจหรือสอบเข้ารับราชการในประเทศไทยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการถือสองสัญชาติหรือไม่คิดว่าคำถามนี้ถ้าได้รับคำตอบและความกระจ่างจักมีประโยนช์กับบุคคลที่มีความประสงค์เข้ารับราชการอีกหลายๆท่าน ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท