ภาษาสันสกฤตอย่างง่าย บทที่ 30


-นาม ฤ การานฺต (คำลำดับญาติ)

-นาม โอ การานฺต

ฤ การานฺต คำลำดับญาติ

  • ในบทที่ 28 เราเรียนเรื่องการแจกนาม ฤ การานฺต ที่ไม่ได้เป็นคำลำดับญาติ ในบทนี้ เราจะมาว่าถึงคำลำดับญาติ ซึ่งมีการแจกรูปแตกต่างไปเล็กน้อย. นั่นคือ มีเค้า อรฺ,
  • สำหรับคำลำดับญาตินั้นมี 2 เพศ การแจกรูปการกต่างๆ ของทั้งสองเพศจะเหมือนกันหมด ยกเว้น กรรมการก (พหูพจน์ เพศชาย ลงท้าย นฺ เพศหญิง ลงท้าย สฺ เท่านั้นเอง)
  • มาดูกันเลย ง่ายกว่า 

คำลำดับญาติ ปิตฺฤ (ปุลฺลิงฺค), และ มาตฺฤ (สฺตฺรีลิงฺค)

..

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

อาลปนะ

  ปิตรฺ / มาตรฺ

  ปิตเรา* / มาตเรา*

  ปิตรสฺ / มาตรสฺ

กรฺตฺฤ

  ปิตา / มาตา

  ปิตเรา / มาตเรา

  ปิตรสฺ / มาตรสฺ

กรฺม

  ปิตรมฺ / มาตรมฺ

  ปิตเรา / มาตเรา

  ปิตฺฤๅนฺ / มาตฺฤๅสฺ

กรฺณ

  ปิตฺรา / มาตฺรา

  ปิตฺฤภฺยามฺ / มาตฺฤภฺยามฺ

  ปิตฺฤภิสฺ / มาตฺฤภิสฺ

สมฺปฺรทาน

  ปิตฺเร / มาตฺเร

  ปิตฺฤภฺยามฺ / มาตฺฤภฺยามฺ

  ปิตฺฤภฺยสฺ / มาตฺฤภฺยสฺ

อปาทาน

  ปิตุสฺ / มาตุสฺ

  ปิตฺฤภฺยามฺ / มาตฺฤภฺยามฺ

  ปิตฺฤภฺยสฺ / มาตฺฤภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

  ปิตุสฺ / มาตุสฺ

  ปิตฺโรสฺ / มาตฺโรสฺ

  ปิตฺฤๅณามฺ / มาตฺฤๅณามฺ

อธิกรณ

  ปิตริ / มาตริ

  ปิตฺโรสฺ / มาตฺโรสฺ

  ปิตฺฤษุ / มาตฺฤษุ

*โปรดสังเกต เค้าจะเป็น ปิตรฺ/ มาตรฺ (ไม่ใช่ ปิตารฺ / มาตารฺ) ตรงนี้คือส่วนที่ลำคำดับญาติแตกต่างจากศัพท์ ฤ การานฺต อื่นๆ


นาม โอ การานฺต

ในภาษาสันสกฤต โอการานฺต มีน้อย แต่ก็ต้องเรียน เพราะมีคำที่สำคัญ เช่น โค ปุ.ส. แปลว่า วัว แจกรูปดังนี้

..

  เอกพจน์

  ทวิพจน์

  พหูพจน์

อาลปนะ

  เคาสฺ

  คาเวา

  คาวสฺ

กรฺตฺฤ

  เคาสฺ

  คาเวา

  คาวสฺ

กรฺม

  คามฺ

  คาเวา

  คาสฺ

กรฺณ

  ควา

  โคภฺยามฺ

  โคภิสฺ

สมฺปฺรทาน

  คเว

  โคภฺยามฺ

  โคภฺยสฺ

อปาทาน

  โคสฺ

  โคภฺยามฺ

  โคภฺยสฺ

สมฺพนฺธ

  โคสฺ

  คโวสฺ

  ความฺ

อธิกรณ

  ควิ

  คโวสฺ

  โคษุ

โปรดสังเกตเค้า กับการเติมวิภักติ. เหลือ ไอ และ เอา การานฺต ก็หมดสระอารานฺต (เว้นแต่พวกพิเศษอีกนิดหน่อย) จากนั้นจะเป็นสรรพนาม และพยัญชนะการานฺต ไม่ยากแล้ว แต่ว่า เยอะ


ศัพท์

นาม

  • โค       ปุ.,ส. วัว แผ่นดิน; ส.คำพูด
  • โคตฺว  นปุ. ความโง่ ความเป็นโค (โค เติมปัจจัย ตฺว)
  • ฆาส    ปุ. ฟาง
  • ชามาตฺฤ ปุ. ลูกเขย (บาลี ชามาตุ)
  • ทุหิตฺฤ  ส.ลูกสาว (บาลี ทุหิตา, เทียบ อังกฤษ daughter)
  • ปงฺก     นปุ. โคลน, ที่หล่ม
  • ปิตฺฤ    ปุ. บิดา (บาลี ปิตุ), ถ้าเป็น ทวิพจน์ หมายถึง พ่อแม่, พหูพจน์ หมายถึง บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
  • ปฺรโยกฺตฺฤ ปุ. ผู้ใช้ ผู้จัดการ
  • พุธ      ปุ. ฤษี คนฉลาด
  • ภฺราตฺฤ ปุ. พี่ชาย น้องชาย (บาลี ภาตา, ภาตุ, อังกฤษ brother)
  • มาตฺฤ    ส. แม่ (มารดา มาตุ)
  • มาส     ปุ. เดือน
  • ยุคฺม    นปุ. คู่
  • รกฺษณ นปุ. การคุ้มครอง การรักษา
  • ศฺราทฺธ นปุ. การสังเวยแก่บรรพบุรุษ โดยถวายอาหารและปัจจัยแก่พราหมณ์

คุณศัพท์

  • อธิก ปุ.นปุ. อธิกา ส. มากกว่า ยิ่งใหญ่กว่า ยิ่งใหญ่ที่สุด
  • กามทุฆ ปุ.นปุ. กามทุฆา ส. การให้พร (เหมือนกับ กามเธนุ ส. โคที่ให้สิ่งตามปรารถนา)
  • ทุษฺปฺรยุกฺต ปุ.นปุ. ทุษฺปรยุกฺตา ส.ใช้ในทางที่ไม่ดี ใช้ผิด
  • ปฺรยุกฺต ปุ.นปุ. ปฺรยุกฺตา ส. ใช้แล้ว จัดการแล้ว
  • ศฺเรษฺฐ ปุ.นปุ. ส.ศฺเรษฺฐา ส. ดีที่สุด
สรรพนาม
  • สา ส. หล่อน, มัน (ประธาน กรรตุการก เอกพจน์, การกอื่นๆ จะเรียนในอีกสามสี่บทต่อไป)
ศัพท์ไม่แจกรูป
  • เจตฺ     ถ้า
  • นิตฺยมฺ  เสมอ ทุกวัน
  • ยทิ      ถ้า
  • สมฺยกฺ   ดี เหมาะสม

แบบฝึก

1. แปลสันสกฤตเป็นไทย

(แปลแล้ว ศึกษารูปแบบประโยค การใช้คำ ความหมาย ด้วย)

गौर्गौः कामदुघा सम्यक् प्रयुक्ता स्मर्यते बुधैः।

दुष्प्रयुक्ता पुनर्गोत्वं प्रयोक्तुः सैव शंसति॥ 

  • भर्तारं भर्तुश्च पितरं मातरं च पत्नी देवानिव पूजयेत्। 1
  • गा रक्षेद्गवां रक्षणेन पुण्य भवतीति द्विजातयो मन्यन्ते। 2
  • यदा प्रयाग आगच्छेव तदा पित्रे पत्त्रं लिखेव। 3
  • पितृभ्यो मासे मासे श्राद्धं यच्छेयुः। 4
  • ग्राममद्य गच्छेतमिति मातरौ पुत्रावभाषेताम्। 5
  • गोः क्षीरेण शिशवो मोदन्ताम्। 6
  • गामतिथये पचेमेत्यृषिर्भार्यामवदत्। 7
  • दुहितरं पितरौ रक्षेतां स्वसारं भ्रातरो मातॄः पुत्राश्च रक्षेयुः। 8
  • यदि शास्त्रमभ्यस्येयं तदा गुरवस्तुष्येयुः। 9
  • हे स्वसः पित्रोर्गृहे तिष्ठेः। 10
  • बाहुभ्यां नदीं न तरेत्। 11
  • हे शिशवः पितॄन्सेवध्वं भ्रातॄणां स्निह्यत। 12

แปลไทยเป็นสันสกฤต

  • 13. วัวจำนวนมากและหมู่บ้านทั้งหลายและเงินจำนวนมาก ถูกมอบแก่พราหมณ์ โดย ฤษีภทตฺตะ ลูกเขยของนหปานะ
  • 14. ท่านพึงให้อัญมณีของแม่แก่พี่สาวทั้งหลาย (อาชฺญา หรือ วิธิ ก็ได้)
  • 15. สารถีพึงนำฟางเพื่อม้าทั้งหลาย, เขาพึงไม่ทำร้าย(ตี)ม้า
  • 16. ในบรรดาทรัพย์สินของพ่อ ส่วนที่มากกว่าพึงถูกมอบ(อาชฺญา)แก่พี่ชายคนโต (คนที่ใหญ่สุดในบรรดาพี่น้อง)
  • 17. คำสั่งของบิดา(มี)ว่า “นี่แน่ะ ลูกๆ เจ้าจงนำไม้ฟืนและน้ำ(ไว้)ในบ้านทุกวัน”
  • 18. วัวทั้งหลายพึงเที่ยวไปในป่า
  • 19. ทั้งสองคนพึงอาศัยด้วยนมของแม่โคสีดำ
  • 20. เกวียนถูกลากโดยโคสองตัว (โคตัวผู้)
  • 21. ฤษียินดีกับโคขาวคู่หนึ่ง (ใช้โครงสร้าง กับคู่แห่งโคสีขาว)
  • 22. หริ และศิวะ แต่งงาน(กับ)พี่น้อง ลูกสาวของราม. (ลองคิดดูว่าจะแปลอย่างไร)

สังเกตพจน์ด้วย ว่าควรใช้พจน์อะไร อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 517042เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2013 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2013 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (55)

ท่านอาจารย์ค่ะ ...... ตามมาให้กำลังใจ นะคะ ได้ความรู้ ที่ไม่เคยรู้ ขอบคุณมากนะคะ

ชอบตรงที่อาจารย์เทียบศัพท์กับภาษาอื่นให้ดูด้วยคะ ชอบมาก ^-^

นามโอการานฺต นี้เพศอะไรก็ได้ใช่ไหมค่ะ แจกตามนี้เหมือนกันหมด

อาจารย์ค่ะวิธีดูชื่อเฉพาะจะทำยังไงดี เช่นพระราชาชื่อโภช สันสกฤตก็เขียนติดกันเลย

มันจะมีกรณีนี้ไหมค่ะว่า ชื่อของพระราชานั้น ไปซ้ำกับคำนามคำหนึ่ง ซึ่งคำนามคำนั้นก็มีความหมายของเขาอยู่

อีกอย่างพวกเติมปัจจัย ตฺว ข้างหลังนี้อาจารย์ก็ยังไม่ได้สอนเลยคะ


ปฺรโยกฺตฺฤ ปุ. ผู้ใช้ ผู้จัดการ  คำนี้ ฤ การานฺต ธรรมดา ไม่นับญาตินะค่ะ

ขอบคุณครับพี่เปิ้ล 30 บทแล้วนะครับ ;)

คุณศรีณ อันที่จริงมีหลายคำที่มีที่มาร่วมกับคำภาษาอื่น แต่บางทีก็ลืมใส่

คราวหน้าจะได้ใส่ไว้ให้

โอ การานฺต แจกเหมือนกันทั้งสองเพศครับ อีกคำที่ลงโอ ก็คือ ทฺโย (ท้องฟ้า) แตกเหมือนกัน และมีตัวพิเศษเล็กน้อย

-ตฺว เติมหลังคำนาม คุณศัพท์อะไรๆ แล้ว แปลว่า ความ- หรือ ภาวะ- คล้ายคำว่า -hood ในภาษาอังกฤษ

เช่น คุรุ-ตฺว = คุรุตฺว ความหนัก น้ำหนัก ยังไม่สอนหรอกครับ แต่มีศัพท์ตัวนี้ เลยแยกศัพท์ให้ดู

ชื่อต่างๆ ในภาษาสันสกฤต กับคำนามเฉพาะ ก็เหมือนภาษาอังกฤษ ต้องอาศัยการเรียนรู้ไปครับ ไม่มีคำบอกนามอย่างในภาษาไทย นี่จึงเป็นโอกาสให้กวีได้แต่งกลอนเล่นคำได้สนุก แต่เป็นปัญหาสำหรับนักเรียน ว่ามันคืออะไรหนอ เช่น ในบทละครศกุนตลา "อตะ ขลุ ปฺริยํวทาสิ ตฺวมฺ" "เพราะอย่างนี้เธอจึงเ็ป็น ปริยัมวทา" คำว่า ปริยัมวทา เป็นชื่อคน และแปลว่า ผู้ที่พูดไพเราะน่าฟัง

บทนี้มี ฤ การานต ทั้งสองแบบครับ จะได้ฝึกแจกรูป

ป.ล. อย่าลืมไปอ่านปัญจตันตระ ถึงบทที่ 3 แล้ว (สงสัยต้องแยกบันทึก เพิ่มในความเห็นแล้วดูยาก)

อาจารย์ค่ะ พวกสันสกฤตอักษรปัลลวะนี่อ่านยากไหมค่ะ พวกจารึกขอมเขมรต่าง หนูหมายถึงตัวอักษรอะนะคะ

กับพวกไวยากรณ์ต่างจากที่เราเรียนๆกันไหมคะ

ชอบมานานแล้วคะ ตั้งแต่อ่านเรื่องเขมรมาตอนเด็กๆ ถ้าย้อนเวลาไปได้จะไปเรียนจารึกโบราณเหมือนอาจารย์คะ ^^


เห็นอาจารย์ศึกษามาหลายภาษาเลยอยากจะทราบว่า ในความคิดเห็นอาจารย์แล้วภาษาไหนยากที่สุดคะ มีภาษาไหนยากกว่าภาษาไทยอีกไหม หนูทราบมาว่าภาษาตระกูลเอเซีย แอฟโฟรติก กลุ่มย่อยเซเมติก พวกฮิบรู อาหรับ อียิปต์ เขาไม่มีสระกัน นี่ก็ยังงงอยู่เลยว่าตอนอ่านจะอ่านกันอย่างไร อิอิ

อันนี้เขาให้ตอบคำถามจากบทสนทนาเหรอค่ะอาจารย์ อาจารย์มีตำราเป็นเล่มๆแบบนี้ไหมค่ะ ?


จารึุกอ่านยาก เพราะอักขระไม่ได้เป็นมาตรฐาน แต่ละยุคสมัยก็แตกต่างกัน อีกทั้งยังเลือนบ้างชัดบ้าง คล้ายตัวนั้นตัวนี้ ส่วนการแปลก็ยาก เพราะส่วนมากข้อความไม่ครบถ้วน ต้องเดามั่ง จึงต้องมีประสบการณ์อ่านจารึก และตำรับตำรา จา่รึกถ้าสนใจเรียนก็ต้องอ่านอยู่เรื่อยๆ ทิ้งเมื่อไหร่ก็ลืม 

แต่ไวยากรณ์ไม่ยาก ก็เหมือนภาษาสันสกฤตแบบแผน แต่บางครั้งก็เปลี่ยนบ้างตามความนิยมของนักปราชญ์ในท้องถิ่น โดยมากนักอ่านตัวอักษร กับนักแปล จะเป็นคนละคน เพราะผู้เชี่ยวชาญเรื่องตัวอักษร จะรู้จักตัวอักษรดีกว่าตามภูมิหลัีง จารึกมีอักษรหลายแบบ แต่ถ้าอ่านตัวได้ แปลได้ด้วย ก็จะดีมากๆ 

ภาษาไทยนั้น โครงสร้างไม่ยาก คล้ายภาษาจีน เวียดนาม เขมร มอญ ฯลฯ แต่ยุ่งตรงวรรณยุกต์ ภาษาอื่นมีการเติมเสียงหน้า กลาง ท้าย อุตลุดไปหมดก็มี อย่างภาษาอินโดนีเซีย มีการเติมเสียงมาก เติมเสียงแล้วเปลี่ยนเสียง/รูป คล้า่ยๆ สนธิ ก็มี

ภาษายากสุด เท่าที่เคยฟังๆ มา ตัดสินความยากโดยเทียบกับภาษาของตัวเอง ฝรั่งจะบอกว่าภาษาตระกูลที่มีวรรณยุกต์ และอักษรที่ไม่ใช่โรมันนั้นยากมากๆ เช่น ไทย จีน แต่ผมว่าพวกที่ยากมาก ก็คือพวกเซมิติก อาหรับ ทางนั้นแหละ เพราะเราไม่มีศัพท์พื้นฐานที่จะต่อได้เลย เขาไม่มีรูปสระ แต่ก็มีเสียงสระกำกับเหมือนกันครับ ต้องจำ แต่ก็ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก เพราะภาษาไหนๆ ก็มีที่ต้องจำ ;)

ตำรานี้ไม่มีเล่มครับ ดูเหมือนจะมีไฟล์ แต่ที่ศูนย์สันสกฤต ฯลฯ คงจะมี

เขาให้ตอบคำถามจากข้างบน (อุตฺุตรมฺ) กิมฺ แปลว่าอะไร, ภวตสฺ (ภวตฺ) และ ภวตฺยาสฺ(ภวตี) ของ (สัมพันธการก) ผู้ชาย/ผู้หญิง

อ่านไปด้วยก็ได้ครับ บางตัวไม่ทราบก็ถามมา จริงๆ ศัพท์ไม่ยาก แต่เรายังไม่ได้เรียน เช่น อาสีตฺ (เป็น/อยู่/คือ)  ถ้าพยายามเกลี้ยกล่อมเพื่อนมาสักคน จะได้มีคู่สนทนา

บทสนทนาใน youtube ที่เคยนำมาลงก็คล้ายๆ แบบนี้ แต่อืดอาดไปหน่อย

  • भर्तारं भर्तुश्च पितरं मातरं च पत्नी देवानिव पूजयेत्। 1
  •  อันว่าคู่ครองควรบูชาบิดาและมารดาของสามีผู้คุ้มครองเสมือนหนึ่งเทวดาทั้งหลาย

  • गा रक्षेद्गवां रक्षणेन पुण्य भवतीति द्विजातयो मन्यन्ते। 2
  • -

  • यदा प्रयाग आगच्छेव तदा पित्रे पत्त्रं लिखेव। 3
  • เมื่อใดเราทั้งสองมาถึงซึ่งเมืองประยาคเมื่อนั้นเราทั้งสองควรจะเขียนจดหมายแด่บิดา

  • पितृभ्यो मासे मासे श्राद्धं यच्छेयुः। 4
  • พิธีสังเวยแด่บรรพบุรุษ(มี) ให้ในทุกๆเดือน

  • ग्राममद्य गच्छेतमिति मातरौ पुत्रावभाषेताम्। 5
  • คฺรามมฺ อทฺย คจฺเฉตมฺ อิติ  ....  ปุตฺราวฺ อภาเษตามฺ แยกได้เท่านี้คะ

  • गोः क्षीरेण शिशवो मोदन्ताम्। 6
  • เจ้าเด็กทั้งหลายจงมีความสุขด้วยนมของวัว

  • गामतिथये पचेमेत्यृषिर्भार्यामवदत्। 7
  • คามฺ อติถิ .. ฤษิสฺ ภารฺยามฺ อวทตฺ  ^-^

  • दुहितरं पितरौ रक्षेतां स्वसारं भ्रातरो मातॄः पुत्राश्च रक्षेयुः। 8
  • พ่อแม่ควรดูแลลูกสาว พี่ชายควรดูแลน้องสาว บุตรทั้งหลายควรดูแลมารดา

  • यदि शास्त्रमभ्यस्येयं तदा गुरवस्तुष्येयुः। 9
  • ถ้าท่องตำราได้เมื่อใดเมื่อนั้นครูทั้งหลายก็จะพอใจ

  • हे स्वसः पित्रोर्गृहे तिष्ठेः। 10
  • โอ้ พี่สาวได้โปรดให้พ่อแม่ยืนในบ้าน

  • बाहुभ्यां नदीं न तरेत्। 11
  • เขาไม่ควรจะข้ามแม่น้ำไปด้วยมือทั้งสอง

  • हे शिशवः पितॄन्सेवध्वं भातॄणां स्निह्यत। 12
  • โอ้ เด็กน้อยทั้งหลายจงรักและเชื่อฟังบรรพบุรุษ (พ่อ )ทั้งหลาย
  • สงสัย ภาตฤานามฺ คือคำไหนค่ะ ระหว่าง ภฺราตฺฤ กับ ภรฺตฤ

  • भर्तारं भर्तुश्च पितरं मातरं च पत्नी देवानिव पूजयेत्। 1
  •  อันว่าคู่ครองควรบูชาบิดาและมารดาของสามีผู้คุ้มครองเสมือนหนึ่งเทวดาทั้งหลาย.
  • ปตฺนี แปลว่า ภรรยาก็ได้
  • गा रक्षेद्गवां रक्षणेन पुण्य भवतीति द्विजातयो मन्यन्ते। 2
  • "gās rakṣet / gavām rakṣaṇena puṇya bhavati" iti dvijātayas manyante
    อารยันทั้งหลายคิดว่า "พึงคุ้มครอง(ซึ่ง)โคทั้งหลาย, บุญมีอยู่กับการคุ้มครองโค"

  • ग्राममद्य गच्छेतमिति मातरौ पुत्रावभाषेताम्। 5
  • คฺรามมฺ อทฺย คจฺเฉตมฺ อิติ  ....  ปุตฺราวฺ อภาเษตามฺ แยกได้เท่านี้คะ
  • "grāmam adya gacchetam" iti mātarau putrau abhāṣetām
  • บุตรทั้งสอง พูดแล้วกับแม่(ทั้งสอง) ว่า "วันนี้ท่านทั้งสองพึงไปสู่หมู่้บ้าน"
  • गामतिथये पचेमेत्यृषिर्भार्यामवदत्। 7
  • คามฺ อติถิ .. ฤษิสฺ ภารฺยามฺ อวทตฺ  ^-^
  • "gām atithaye pacema" iti ṛṣis bhāryām avadat

  • ฤษีกล่าวแล้วกับภรรยาว่า "เราควรปรุงโคเพื่อแขก"



  • हे स्वसः पित्रोर्गृहे तिष्ठेः। 10
  • โอ้ พี่สาวได้โปรดให้พ่อแม่ยืนในบ้าน ท่านโปรดยืนในบ้านของบิดามารดา
  • बाहुभ्यां नदीं न तरेत्। 11
  • เขาไม่ควรจะข้ามแม่น้ำไปด้วยมือทั้งสอง (ว่ายน้ำ)
  • हे शिशवः पितॄन्सेवध्वं भातॄणां स्निह्यत। 12
  • โอ้ เด็กน้อยทั้งหลายจงรักและเชื่อฟังบรรพบุรุษ (พ่อ )ทั้งหลาย
  • สงสัย ภาตฤานามฺ คือคำไหนค่ะ ระหว่าง ภฺราตฺฤ กับ ภรฺตฤ
  • भ्रा ครับ, พิมพ์ผิด

คราวนี้ถูกเยอะขึ้น แต่ประโยคคำพูดให้ทบทวนอีกที

pacema ในข้อห้านี้มาจากคำว่าอะไรค่ะ

ปจฺ แปลว่า หุง ต้ม ฯลฯ ครับ

อาจารย์คะ สัมภาษณ์ ของไทยเรามาจากสันสกฤต √ภาษฺ + สมฺ หรือเปล่าคะ หนูเพิ่งมานึกขึ้นได้

ใช่แล้วครับ 1อา√ภาษฺ (พูด).

สมฺ√ภาษฺ = พูดคุย ทักทาย

สวัสดีค่ะ

มาเรียนรู้ และ มาสวัสดีปีใหม่ด้วยค่ะ (คงไม่สายไปนะคะ)


สวัสดีครับ พี่ณัฐรดา

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีปีใหม่ ยังไม่สายครับ ถ้าช้ากว่านี้ก็ปีใหม่จีน

ช้ากว่านี้ก็ปีใหม่ไทย(แขก) อิอิ ;)

อาจารย์หมูหนูเอาอะไรขำๆมาให้ดูคะ น่ารักดี ท่องกอไก่..

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=CzigLJMbdbI

เก่งจังเลยครับ ท่องได้เข้มแข็งมาก อิๆๆๆ

มาส่งข้อนึงก่อนนะค่ะ เห็นว่ามันยาวเลยไม่แน่ใจว่าจะถูกหรือเปล่า..

แปลไทยเป็นสันสกฤต

  • 13. วัวจำนวนมากและหมู่บ้านทั้งหลายและเงินจำนวนมาก ถูกมอบแก่พราหมณ์ โดย ฤษีภทตฺตะ ลูกเขยของนหปานะ
=  ปฺรภูโต คาวะจ คฺรามาะ ปฺรภูโต ธนานิ จ พฺราหฺมณายิมฺยนฺเต ภทตฺโต ฤษินา นหปานาย ชามาตา

http://www.youtube.com/watch?v=Ilj7XKP4PgE


อาจารย์ลองดูวีดีโอนี้สิค่ะ เป็นเด็กยิวน่ารักดี เห็นในนั้นบอกว่าเจ็ดขวบเอง คงกำลังอ่านโตราห์อยู่

ความจริงหนูก็ชอบฟังภาษาฮิบรูนะค่ะ ก็เพราะดี แม้ว่าจะฟังออกอยู่คำเดียว อโดนาย = พระเจ้า


ยิวนี่เขาก็เคร่งนะค่ะ บังคับให้เด็กๆพูดภาษาฮิบรูกัน  ทราบมาว่าจริงๆตายไปนานแล้วพอมาตั้งประเทศอิสราเอลเลยมารื้อฟื้นขึ้นใหม่

ว่าแต่อินเดียนี้น่าจะให้เด็กๆได้เรียนสันสกฤตกันบ้างนะค่ะ พอคุยสันสกฤตกับเพื่อนอินเดียทีไรก็เมินหน้าหนีและบ่นอิ้บอ้ายกันทุกคนเลยคะ อิอิ

  • 13. วัวจำนวนมากและหมู่บ้านทั้งหลายและเงินจำนวนมาก ถูกมอบแก่พราหมณ์ โดย ฤษีภทตฺตะ ลูกเขยของนหปานะ
=  ปฺรภูโต คาวะจ คฺรามาะ ปฺรภูโต ธนานิ จ พฺราหฺมณายิมฺยนฺเต ภทตฺโต ฤษินา นหปานาย ชามาตา 

วัวจำนวนมาก วัว พหูพจน์ ปฺรภูต ก็ต้องพหูพจน์ด้วย

ปฺรภูตาสฺ คาวสฺ จ > ปฺรภูตา คาวศฺจ

เงินจำนวนมาก ก็ต้องแจก ปฺรภูต เป็นนปุ. ปฺรภูตานิ ธนานิ

บอกในคราวก่อนแล้ว ว่า ยมฺ ไม่เปลี่ยนเป็น อิมฺ ในกรรตุวาจก, แต่ถ้าเป็นอิม ก็ต้องสนธิ พฺราหฺมณาย + อิมฺ =พฺราหฺมณาเยมฺ...

ยมฺ ต้องเป็น ยมฺยนเต,

โดย ฤษี ภทตฺตะ ลูกเขย, ทั้ง ฤษี ภทตฺตะ และ ลูกเขย ต้องเป็น กรณการก > นหปานสฺย ชามาตฺา ฤษิา ภทตฺเตน 

ของ นหปานะ ต้องเป็นสัมพันธการก.

ดังนั้น : ปฺรภูตา คาวศฺจ คฺรามาะ ปฺรภูตานิ ธนานิ จ พฺราหฺมณาย นหปานสฺย ชามาตฺรา ฤษิณา ภทตฺเตน ยมฺยนเต. เอากริยาไว้หลังสุด

อาจเรียงอย่างนี้

นหปานสฺย ชามาตา ฤษิณา ภทตฺเตน  พฺราหฺมณาย  ปฺรภูตา คาวศฺจ คฺรามาะ ปฺรภูตานิ ธนานิ จ  ยมฺยนเต.


อินเดียเขาก็พยายามจะให้มีการใช้ภาษาสันสกตในชีวิตประจำวันนะครับ แต่ไม่ทราบว่าได้ผลถึงไหน เคยอ่านข่าว มีสามสี่หมู่บ้านที่ใ้ช้ภาษาสันสกฤตกัน ส่วนแบบเรียนสนทนาก็มีมาก ถ้าใ้ช้บ่อยๆ ก็คล่องขึ้น แต่ภาษาทั่วไปกับภาษาวรรณคดีนั้นต่างกัน แม้เรารู้ภาษาไทยดี แต่ไปอ่านวรรณคดีเก่าๆ ก็เข้าใจยากอยู่ดี

ที่หนูเปลี่ยน ยมฺ เป็น อิมฺ เพราะ ดูจากโจทย์แล้ว ถูกมอบแด่พราหมณ์ หนูเลยคิดว่าเป็นกรรมวาจก ปัจจุบันกาลคะ

ต่อไปต้องรอโจทย์กำหนดมาว่าจะให้เป็น กรรตุ หรือ กรรมวาจกก่อนใช่ไหมคะ ถึงจะทำตามนั้น

กรรมวาจก ถูกแล้วครับ แต่ ธาตุ ยมฺ ไม่เปลี่ยน, ธาตุ ยชฺ เปลี่ยน (ไม่ได้เปลี่ยนทุกธาตุ)

อุย .. งงค่ะ

 คือว่านำ √ยมฺ หมวด 1 มาทำเป็นกรรมวาจก ปัจจุบันกาล 

ยมฺ + ย = ยมฺยนฺเต

ทีนี้ที่หนูจดไปนั้นตรงกฎข้อยกเว้น คือธาตุที่ขึ้นต้นด้วย ย จะกดเสียงจาก ย เป็น อิ

แล้วข้อนี้ก็เป็น กรรมวาจก ปัจจุบันกาลด้วย แล้วทำไมถึงไม่ทำตามกฎข้อยกเว้นละคะอาจารย์

จริงๆ ย เป็น อิ คือ ข้อยกเว้นต่างหาก ;)

ยมฺยนฺเต นี่เป็นการทำตามกฏ

แต่ อิชฺยนเต เป็นตัวยกเว้น

สรุปคือ ย หดเสียงเป็น อิ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ได้ทุกคำที่ขึ้นต้นด้วย ย เสมอไปเหรอค่ะ

ถ้าอย่างนี้แล้วต้องจำหรือเปล่าค่ะ ดูเหมือนหนูยังจะงงๆอยู่ ^-^

จำไว้ก่อนครับ แต่ใช้บางกรณี

ตรวจเช็คจากเว็บ http://sanskrit.inria.fr/DICO/grammar.fr.html

ใส่ธาตุตรงช่อง conjugation ตัวอักษรแบบ KH

ใส่หมวดธาตุ class เลือกเอาต์พุตแบบโรมัน หรือ เทวนาครี

 อ่านแล้วมึนไปเลยเพราะไม่เคยเรียนรู้มาก่อน

แต่ก็คิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากมายต่อผู้ที่ได้ใช้ได้เกี่ยวข้องกับภาษานี้ครับ

รอบนี้ก็มั่วตรึมเลยคะ..  บางอันไม่ค่อยแน่ใจ

  • 14. ท่านพึงให้อัญมณีของแม่แก่พี่สาวทั้งหลาย (อาชฺญา หรือ วิธิ ก็ได้)
= มาตุรฺมณีนฺสฺวสฺฤภฺโย ยจฺเฉสฺ

  • 15. สารถีพึงนำฟางเพื่อม้าทั้งหลาย, เขาพึงไม่ทำร้าย(ตี)ม้า
= สูโต ฆาสานศฺเวภฺยสานเยทศฺวมฺ น ตฑเยสฺ

  • 16. ในบรรดาทรัพย์สินของพ่อ ส่วนที่มากกว่าพึงถูกมอบ(อาชฺญา)แก่พี่ชายคนโต (คนที่ใหญ่สุดในบรรดาพี่น้อง)
= ข้อนี้ทำไม่ได้คะ ไม่รู้ศัพท์หลายตัว เช่น พี่ชายคนโต คนโต ใช้ อธิก คุณศัพท์เปล่าค่ะ กับ พี่น้องไม่รู้ใช้อะไรดี
ได้เท่านี่เอง ยังไม่ได้สนธิคะ 
อธิเกษุ ธเนษุ  = ในบรรดาทรัพย์สินส่วนที่มากกว่า
 ปิตุสฺ = ของพ่อ
ภฺราตฺเร = แด่พี่ชาย (คนโต) 

  • 17. คำสั่งของบิดา(มี)ว่า “นี่แน่ะ ลูกๆ เจ้าจงนำไม้ฟืนและน้ำ(ไว้)ในบ้านทุกวัน”
= เห ปุตฺรา ชลํ กาษฺฐฺจ คฺฤเห นิตฺยนฺตฺวิติ ปิตุราชฺญา

  • 18. วัวทั้งหลายพึงเที่ยวไปในป่า
  • = คาโว วเน ภฺรามฺเยยุสฺ
  •  

  • 19. ทั้งสองคนพึงอาศัยด้วยนมของแม่โคสีดำ
  • = นเรา กษีเรณ กฺฤษฺโณสฺ โคะ

  • 20. เกวียนถูกลากโดยโคสองตัว (โคตัวผู้)
  • = ศกฎะ โคภฺยยำ ปฺรติษิธฺยเต
  •  

  • 21. ฤษียินดีกับโคขาวคู่หนึ่ง (ใช้โครงสร้าง กับคู่แห่งโคสีขาว)
  • = ฤษิะ เศฺเวตภฺยำ โคภฺยำ ตุษฺยติ

  • 22. หริ และศิวะ แต่งงาน(กับ)พี่น้อง ลูกสาวของราม. (ลองคิดดูว่าจะแปลอย่างไร)
  • = หริะ ศิวศฺจ สฺวสฺฤภี รามสฺย ทุหิตา

ทำไม่ค่อยได้เลย เฮ้อ..

มีเรื่องมารบกวนขอความช่วยเหลือจากอาจารย์นิดหน่อยคะ อิอิ อยากให้อาจารย์ช่วยแปลบทสวดนี้

พร้อมทั้งอธิบายไวยากรณ์ในส่วนที่เราพอจะเรียนมาบ้าง แต่ถ้าตรงไหนยังไม่ได้เรียนก็ข้ามไปคะ

เอาสั้นๆย่อๆพอเข้าใจก็ได้คะ ไม่ต้องอธิบายยืดยาวกลัวจะกินเวลาเรียนไป

และที่สำคัญคำศัพท์ต่างๆที่ได้จากมนต์บทนี้ด้วยคะ

อยากให้ได้ทันก่อนวสันตปัญจมีสรัสวตีบูชาวันที่ 15 กพ นี้คะ .. อิอิ

จริงๆมันก็มีคำแปลภาษาอังกฤษนะค่ะ แต่หนูอยากจะได้คำอธิบายจากการเรียนสันสกฤตเนี่ยละคะ

อ่านแบบนั้นมันง่ายไป 

'' เมธา สุกตัม '' ( ขอยกมาบางตอน คิดว่าน่าจะมาจากฤคเวทนะค่ะ จำไม่ค่อยได้แล้ว)

 हे उज्जवल मेधा देवी ,जिन्हें सत्य के उपासक ध्याते हैं ,शक्ति हैं ,धन वैभव देने वाली हैं ,हमपे कृपा करें

Oh Medha Devi, who is with a glowing countenance, whom seekers of Truth pursue, who is the seat of strength, who brings us up with milk and other wealth, come and be kind to us


प्सराओं के पास बुद्धि है , गन्धर्वों के पास बुद्धि है ,बुद्धि की देवी सरस्वती है , बुद्धि महक के सामान हर तरफ फ़ैल जाये ,हे देवी हम आपको प्रणाम है
Apsaras have intelligence,Gandharvas have intelligence,Goddess of intelligence is Saraswati,let the intelligence spread like fragrance.I offer you without any reservations


जो बुद्धि की देवी हैं , जो इत्र की तरह फ़ैल जाती हैं ,जो स्वर्णिम अक्षरों को धारण करने वाली हैं ,जो अजर अमर हैं ,हम पर कृपा करें

The one who grants intelligence, the one who spreads like perfume, the one who bears the golden letters, the one who is immortal, may that Goddess be kind to us 


อาจารย์ค่ะ ปรมาตมันคือ ปรม สนธิกับ อาตมัน หรือเปล่าค่ะ ปรม นี่ คือ บรม หรือเปล่า  เกี่ยวกันไหมค่ะ

แล้วแปลว่าอะไรเอ่ย แปลว่าที่สุดหรือเปล่า

แวะมาเยี่ยมครับ...
ยังคงเป็นบันทึกที่ทรงพลังไม่เปลี่ยนแปลง

ชื่นชม ครับ

สุภาษิตก็มั่วตามเคย ยากจริงๆ อิอิ

गौर्गौः कामदुघा सम्यक् प्रयुक्ता स्मर्यते बुधैः।

दुष्प्रयुक्ता पुनर्गोत्वं प्रयोक्तुः सैव शंसति॥ 


คำพรโดยฤาษีทั้งหลายที่ให้แล้ว ถูกทำให้นึกถึงดีแล้ว

เขาสรรเสริญในทางผิดๆอีกครั้ง

สวัสดีครับ คุณลุงชาติ และคุณแผ่นดิน

บทเรียนดำเนินมาเรื่อยๆ ครับ ท่านที่ไม่ได้ิติดตามตอนแรกจะงงๆ นิดหน่อยครับ ;)

ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ

ปรมาตฺมนฺ คือ รูปศัพท์จริง (นฺ การานฺต) มาจาก ปรม และ อาตฺมนฺ

อาตฺมนฺ แปลง่ายๆ วิญญาณ ในแต่ละสรรพสิ่ง

ปรม แปลว่ายิ่งใหญ่

ปรมาตฺมนฺ คือ วิญญาณอันยิ่งใหญ่ คือ พระผู้เป็นเจ้า อันเป็นที่รวมของวิญญาณทั้งหลาย 

(ด้วยความเชื่อว่า เมื่อถึงที่สุดของชีวิตในโลกนี้ อาตฺมนฺ ก็กลับไปรวมกันในปรมาตฺมนฺ นั่นเอง)


การบ้านค่อยตรวจนะครับ พอดีออกมาธุระ ตจว.

เมธา สูกฺตมฺ ขอไปดูภาษาสันสกฤตก่อนนะครับ ที่ยกมาเป็นภาษาฮินดี (สังเกตคำว่า हैं, की อะไรพวกนี้)

อาจารย์ลองดูนาทีที่สิคะ 07.19 จริงๆวีดีโอนี้สาธิตวิธีการทำขนมกุฎีจีน แต่หนูเหลือบไปเห็นเครื่องผสมไข่กับน้ำตาล

หน้าตาเจ้าเครื่องนั้นมันคล้ายๆกับการกวน (ปั่น) นมของอินเดียโบราณเลยคะ มันจะใช่อันเดียวกันไหมค่ะ อิอิ

ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยเห็นแล้ว

เหมือนของอินเดียจริงๆ ครับ เพราะที่ปั่นของฝรั่งไม่เห็นแบบนี้

ขอบคุณมากครับ กำลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับพวกนี้พอดี ;)

'' ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระทักษิณามูรติผู้ทรงไว้ซึ่งวีณา '' ว่าอย่างไรดีค่ะอาจารย์

จริงๆหนูอยากเขียนว่า ''ทรงวีณาไว้ซึ่งในพระหัตถ์''  หัตถ์ นี้คงไม่จำเป็นต้องใช้และเนอะค่ะอาจารย์ เพราะมี ธร แล้ว

ทกฺษิณามูรฺติ วีณาธร 

ส่วนคำคุณศัพท์ที่แปลว่ายิ่งใหญ่ในบทนี้คือ อธิก คำนี้คือคำเดียวกับ อธิการบดี ของไทยเราไหมค่ะ ?

แจก ทกฺษิณามูรฺติ (ปุ.) เป็นการกที่ 4 , ส่วน วีณาธร ค้นศัพท์ไม่เจอ แต่ถ้าจะใ้ช้ก็คงได้, หรือจะใช้ วีณาหสฺต ก็ได้

(वीणाहस्त หมายถึงพระศิวะ, वीणापाणि หมายถึง พระนารท) หสฺต ในที่นี้ไม่ได้แปลเพียงว่า มือ แต่แปลว่า ผู้มีมือ ผู้ใช้มือ (handed)

ทกฺษิณามูรฺตเย วีณาธราย นมะ. แบบนี้ก็ได้ครับ


คำหลักก็คือ อธิ ยิ่งใหญ่ เติมปัจจัย -ก, หรือ เติมหน้าธาตุ-ศัพท์ เช่น กฺฤ, กร, การ = อธิกฺฤ, อธิกร อธิการ อธิกรณ ฯลฯ ได้เยอะเลยครับ

15. สารถีพึงนำฟางเพื่อม้าทั้งหลาย, เขาพึงไม่ทำร้าย(ตี)ม้า

= สูโต ฆาสานศฺเวภฺยสานเยทศฺวมฺานฺน ตฑเยสฺ. ม้า(คำที่สอง)ใช้พหูพจน์

  1. ในบรรดาทรัพย์สินของพ่อ ส่วนที่มากกว่าพึงถูกมอบ(อาชฺญา)แก่พี่ชายคนโต (คนที่ใหญ่สุดในบรรดาพี่น้อง)

    ปิตุสฺ ธนสฺย อธิโก ศฺเรษฺฐาย ภฺราตฺเร ยมฺยตุ. พี่ชายคนโต ใช้ เศฺรษฺฐ ภฺราตฺฤ ครับ แล้วแจกการกเดียวกัีน

    17. คำสั่งของบิดา(มี)ว่า “นี่แน่ะ ลูกๆ เจ้าจงนำไม้ฟืนและน้ำ(ไว้)ในบ้านทุกวัน”

    = เห ปุตฺรา ชลํ กาษฺฐํจ คฺฤเห นิตฺยนฺตฺวิติ ปิตุราชฺญา. กาษฺฐฺ สงสัยจะพิมพ์ผิด

    19. ทั้งสองคนพึงอาศัยด้วยนมของแม่โคสีดำ
    • = นเรา กษีเรณ กฺฤษฺโณสฺ โคะ. => (นเรา) กฺฤษฺณายา โคะ กฺษีเรณ ชีเวตามฺ. (กฺฤษฺณา ส. การก 6 กฺฤษฺณายาสฺ ทำสนธิ)
    • 20. เกวียนถูกลากโดยโคสองตัว (โคตัวผู้)
    • = ศกฎะ โคภฺยำ ปฺรติษิธฺยเต
    • เขียนผิดนิดเดียว


    • 21. ฤษียินดีกับโคขาวคู่หนึ่ง (ใช้โครงสร้าง กับคู่แห่งโคสีขาว)
    • = ฤษิะ เศฺเวตภฺยำ โคภฺยำ ตุษฺยติ.
    • > ฤษิะ ศฺเวตโยสฺ คโวสฺ ยุคฺภฺยำ ตุษฺยติ. > ฤษิะ ศฺเวตโยรฺคโวรฺยุคฺภฺยำ ตุษฺยติ
    • ข้อนี้ลืมคำว่า คู่
    • 22. หริ และศิวะ แต่งงาน(กับ)พี่น้อง ลูกสาวของราม. (ลองคิดดูว่าจะแปลอย่างไร)
    • = หริะ ศิวศฺจ สฺวสฺฤภีสฺวสาเรา รามสฺย ทุหิตาทุหิตเรา ปริณยตะ. (ปริ+นี).
    • ข้อนี่ลืมใส่กริยา

    ถือว่าผ่านนะครับ ผิดตรงโน้นนิดตรงนี้หน่อย

    ตอนผมเรียน ทำการบ้านทีหนึ่ง หนังสือ/สมุึดจด เต็มโต๊ะเลย แถมยังเ้ปิดโปรแกรมในคอมพิวเตอร์อีก ;)

เมธา สูกฺตมฺ ค้นดูแล้ว ไม่ได้อยู่ในสํหิตาแห่งฤคเวท 

แต่เป็นคัมภีร์อารัณยกะของคัมภีร์ยชุรเวท(ดำ) เรียกว่า ไตตฺติรียารณฺยกมฺ 

ขออ่านดูก่อนนะครับ...

จริงคะ ตอนทำการบ้านนี้วุ่นวายไปหมด เปิดจนเมื่อยมือ

หนูไม่ได้จดใส่สมุดด้วยคะ จดใส่ไว้ในกระดาษ แล้วเดี๋ยวจะเอาไปเข้าเล่มอีกที

แต่ก็มีที่จดใส่สมุดเล่มเล็กๆนิดหน่อย พวกโครงสร้างเทนส์ต่างๆจดรวมๆไว้ คล้ายภาษาอังกฤษ

ที่ขำคือ กระดาษที่จดตอนนี้เปื่อยจนจะขาดแล้วคะ ฮ่าๆ

คือมันใช้แทบทุกวัน ขนาดยังไม่ถึงปีนะเนี่ย 

นี่ก็เลยกะว่าจะเอาไปถ่ายเอกสารให้หมด แล้วเก็บต้นฉบับที่หนูจดแบบเข้าใจไว้

เพราะถ้าที่จดไว้ทั้งหมดสี่สิบห้าสิบแผ่นนี้หายไป หนูตายแน่ๆ หาอ่านที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะจดด้วยสำนวนและความเข้าใจของตัวเอง


อยากทราบว่าสมัยตอนอาจารย์สอบทำยังไงค่ะเนี่ย จำอย่างไร ในข้อสอบมีบอกเพศของคำศัพท์ไว้ไหมค่ะ

ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นลักษณะไหนค่ะ ให้แปลอย่างเดียวเลย หรือว่ามีแบบอื่นๆด้วย จะยากไหมเอ่ย

อยากรู้ไว้พอเป็นแนว เผื่อบางทีไม่แน่หนูอาจจะไปสมัครเรียนบ้างในอนาคต อิอิ

แล้วก็ในมหาวิทยาลัยนี้เขาก็เข้าไปเริ่มต้นใหม่กันหมดเลยหรือเปล่าค่ะอาจารย์

หรือว่าเข้าไปก็เรียนวรรณคดีเลย คือพวกที่พอมีพื้นฐานมาบ้างแล้ว


ขอบคุณคะ


ป .ล. อาจารย์กลับจากธุรจากต่างจังหวัดแล้วเหรอค่ะ


กลับมาแล้วครับ. ลืมดูโศลก เดี๋ยวจะตรวจให้ครับ

ข้อสอบ ถ้าวิชาภาษาสันสกฤตก็ให้แปลประโยคบ้าง ให้แจกรูปกริยา

หรืออธิบายการแจกกริยาตามขั้นตอน อะไรทำนองนี้

ถ้าวิชาอื่น อาจแปล และอธิบายครับ

เข้ามหาวิทยาลัย ที่ศิลปากรมาเริ่มต้นใหม่หมดครับ ทั้งที่มีพื้นและไม่มีพื้น จะว่าไปก็ไม่ยากนัก

สมุดจด สำคัญที่สุด ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจัดเรียงคำศัพท์

ผมเคยเอาศัพท์ในตำราไวยากรณ์ใส่ไว้ในเว็บจนครบ พอดีเพื่อนที่ทำเว็บเขาเลิกทำ

อะไรๆ ก็หายไปด้วย ;)



गौर्गौः कामदुघा सम्यक् प्रयुक्ता स्मर्यते बुधैः।

दुष्प्रयुक्ता पुनर्गोत्वं प्रयोक्तुः सैव शंसति॥

โค(เคาสฺ) และคำพูด(เคาสฺ) ที่ีใช้อย่างเหมาะสม(สมฺยกฺ ปฺรยุกฺตา) ถูกจำได้โดยบรรดานักปราชญ์

(สฺมรฺยเต พุไธสฺ) ว่าที่ให้สิ่งตามปรารถนา (กามทุฆา)

แต่ (ปุนรฺ) นาง(โคนั้น/คำพูดนั้น)(สา) ที่ถูกใช้่ไม่เหมาะสม (ทุษฺปรยุกฺตา) ย่อมประกาศ (ศํสติ)

ความเขลาของผู้ใช้ (โคตฺวมฺ ปฺรโยกฺตุสฺ)  จริงๆ/เช่นนั้น (เอว)


โปรดสังเกตการใช้ เคาสฺ ในสองความหมาย ทำให้เข้าใจ แต่แปลยาก

สา+ เอว (ไส), ไม่ใช่ สา+อิว (เสว)

คำว่า สฺมรฺยเต อาจแปลว่า เ้ป็นที่รู้จักกัน

อีกภาษิตหนึ่ง ที่เหน็บแนมได้เจ็บปวดดี

อาจารย์ค่ะ หนูมายุให้อาจารย์เขียนเรื่องศิวะตาณฑวะในโหราคะ อิอิ

ให้อาจารย์หยิบมาอธิบายหลักปรัชญาที่สอดแทรกอยู่ในท่านั้นๆเลยว่ามีนัยสำคัญอย่างไร

จริงๆอยากจะรู้หมดทั้งร้อยแปดท่า แต่เห็นว่าจะยาวไป 

ดังนั้นก็เลือกเอาแต่ท่าที่สำคัญมาชำแหละก็ได้คะ เช่นพวก

  • 'Srishti' (सृष्टि) - creation, evolution
  • 'Sthiti' (स्थिति) - preservation, support
  • 'Samhara' (संहार) - destruction, evolution
  • 'Tirobhava' (तिरोभाव) - illusion
  • 'Anugraha' (अनुग्रह) - release, emancipation, grace
แล้วเดี๋ยวทาง บก เขาจะมาอธิบายซ้ำต่อแต่จะเป็นในเชิงโหราศาสตร์ภารตะคะ

ถ้าได้ข้อมูลทั้งสองแห่งนี้จะเป็นอะไรที่เลอเลิศมากๆคะ เพราะในเมืองไทยนี้ไม่เคยเห็นใครจะเขียนเลย

หนูก็อยากจะเขียน แต่ความรู้เท่าหางอึ่งเลยไม่รู้จะเอาอะไรไปเขียนกับเขาคะ ฮ่าๆ

อาจารย์บอกว่าแจก ทกฺษิณามูรฺติ (ปุ.) เป็นการกที่ 4 ,

มันต้องเป็นสตรีลิงค์เปล่าค่ะ เพราะไปดู เพศชายอิการานฺต แล้ว ไม่ได้แจกแบบนี้อะคะ

มูรฺติ ปุ. แจกแบบ อคฺนิ > อคฺนเย, มูรฺตเย

แต่ถ้า ส. ได้ 2 รูป เป็น มูรฺตเย/มูรฺตฺไย

เอ ถูกแล้วนะ


ส่วน ศิวะตาณฑวะ รับไว้พิจารณาครับ ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท