เขียนเล่าเพื่อสร้างสมาธิ


การจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการทำให้นักเรียนมีสมาธิกับเรื่องราวหรือกิจกรรม จากนั้นใช้กระบวนการอ่าน การเขียน การคำนวณ และการสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้


          วันพุธแรกของปี ๒๕๕๖ ห้องเรียนหนึ่งเป็นห้องแรกที่ได้พบกันในปีพุทธศักราชใหม่  ครูนกเข้าห้องเตรียมจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนแต่พบว่า บางคนยังวุ่นวายกับงานอื่นๆ บางคนยังนั่งคุยกันแบบเพิ่งเจอกัน  และมีบางส่วนยังไม่เคลื่อนที่มาถึงห้องเรียน  ครูนกเลยปรับกระบวนการในตอนนั้นเพื่อให้เด็กๆ ได้รวบจิตไว้เฉพาะที่เฉพาะทาง  นั่นคือ คำพรจากบัตรอวยพรปีใหม่ ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ซึ่งครูนกได้จดข้อความที่ปรากฏบนส.ค.ส.เพื่อเตรียมพูดในช่วงกิจกรรมหน้าเสาธงแต่วันนี้ครูนกต้องยกพื้นที่การพูดหน้าเสาธงให้ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนได้กล่าวอวยพรปีใหม่กับนักเรียนทุกคนทำให้ได้นำประโยชน์มาใช้ในห้องเรียน 
           ข้อความที่กล่าวถึงคือ 
 

“ความเมตตาเป็นคุณธรรมนำความสุข 

ช่วยปลอบปลุกปรุงใจให้หรรษา 

ความกตัญญูรู้คุณผู้เมตตา 

ทวีค่าของน้ำใจไมตรีเอย”


 สิ่งที่ครูต้องเตรียม
  1. ประเด็นอภิปรายแสดงความคิดเห็น
  2. กระดาษสำหรับนักเรียนคนละ ๑ แผ่น

 โดยครูนกวางกรอบกิจกรรมไว้ดังนี้คือ

  1. สรุปความคิดหรือความเห็นของตนเองต่อการนำคำกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองในปี ๒๕๕๖  
  2. เล่าความคิดให้ผู้ใหญ่ประจำกลุ่มฟัง  โดยผู้ใหญ่ประจำกลุ่มเด็กๆ จะเป็นคนคัดเลือกเพื่อนที่มีสมบัติใจกว้าง เปิดใจรับฟังผู้อื่น  และเป็นผู้ฟังที่ดีที่สุดของกลุ่ม 
  3. สรุปความคิดของกลุ่มโดยผู้ใหญ่ประจำกลุ่มให้เพื่อนๆ ทุกคนพร้อมกับครูได้รับฟัง 
  4. เปิดโอกาสให้เพื่อนๆที่ฟังได้สอบถามข้อสงสัย หรือประเด็นอยากรู้เพิ่มเติมจากผู้ใหญ่ประจำกลุ่ม 
  5. บันทึกสรุปรายบุคคลว่า การร่วมกิจกรรมวันนี้ได้แนวคิด  หรือประโยชน์อย่างไร
          หลังจากดำเนินกิจกรรมไปตามขั้นตอนข้างต้นทำให้ครูนกค้นพบหลายๆ ประเด็นจากการทำกิจกรรมของเด็กๆ ได้แก่

  • หลายคนสรุปประเด็นได้ดี  มีทักษะในการสื่อสาร
  • หลายคนชอบสื่อสารด้วยการวาดภาพ
  • หลายคนอ่านหนังสือในช่วงเวลาว่าง
  • หลายคนเน้นว่าต้องมีเมตตา และกตัญญู เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่มนุษย์เราต้องมี
  • และสำคัญที่สุดคือ เด็กๆ ทราบจุดต้องพัฒนาของตนเอง ซึ่งบางคนกำลังปรับปรุง แต่บางคนกำลังรอจังหวะ รอปัจจัยที่เหมาะสม

    "วาดภาพ แต้มฝัน ฉันทำได้"

    "อ้างถึงหนังสือที่อ่าน เพื่อเล่าขานถึงความคิดความเห็น"
    าษ
    "เด็กๆใช้นามแฝง ในการเล่าเรื่องราว หรือความคิดเห็นของตนเอง"

    "สอนวิทย์ให้เด็กเก่งศิลปะ"

         กิจกรรมครั้งนี้แม้จะใช้เวลาเกือบ ๙๐ นาทีแต่ผลลัพธ์ที่ได้น่ายินดีและคุ้มค่ากับเวลาที่ใช้ไปเด็กรู้จักเมตตา  รู้จักความกตัญญู  รู้จักคุณค่าของผู้อื่น และบรรลุวัตถุประสงค์หลักคือ ทำให้เด็กรวบสมาธิมาสู่เรื่องราวปัจจุบันได้  นอกจากนี้ได้พัฒนาปัจจัยพื้นฐานในการเรียนรู้คือ การอ่าน  การเขียน  และการคำนวณ (เวลากับเนื้อหาสาะที่จะเขียน หรือจะเล่า)

หมายเลขบันทึก: 514895เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2013 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ค้นพบหลายๆ ประเด็น....จากการทำกิจกรรมของเด็กๆ ดีจังเลย นะคะ  ... บางครั้งเด็กๆ เขาก็มี อะไรดีดีนะคะ 


ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ 

ขอพระพุทธป้องปัดกำจัดทุกข์

ขอพระธรรมนำสุขทุกสมัย

ขอพระสงฆ์จงนำอำนวยชัย

ตลอดไปตลอดกศกห้าหกเทอญ

ขอบคุณค่ะ คุณหมอ Dr. PleIco48 ที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ




กราบขอบพระคุณสำหรับพรปีใหม่ค่ะ  อาจารย์โสภณ เปียสนิท Ico48



มาเชียร์นะคะ ขอให้น้องมีความสุขกับการทำงานทุกเวลาค่ะ

ขอบพระคุณค่ะครูkrutoitingIco48 สุข สดชื่นเช่นกันค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท