ศิลปการทำงานอย่างมีความสุข : จุดมุ่งหมายที่แตกต่าง...ความสุขก็แตกต่าง


ถ้าเราแต่ละคนตระหนักว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้เป็นงานยิ่งใหญ่ มีคุณค่าที่งดงามต่อองค์กร ต่อสังคม เราจะทำงานอย่างมีความสุขมาก และเราจะภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ

คนเราทำงานในที่เดียวกัน ทำงานอย่างเดียวกัน แต่บางครั้งผลที่ออกมาอาจจะแตกต่างกันก็ได้... 

คำถาม....ที่หลายคนเริ่มครุ่นคิด...คือ 

  • อ้าว...ทำไมล่ะ ?
  • ทำไมถึงได้แตกต่างกัน ?
  • และเพราะอะไร ?

คำตอบ.... คือ นั่นเป็นเพราะ....

  • ทัศนคติ
  • เจตนา
  • หรือจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดความแตกต่าง

มาดูตัวอย่างกันดีกว่า...

พนักงานเปลรับ-ส่งผู้ป่วยผ่าตัดคนที่ 1 ชื่อนายเฉื่อยเข็นเปลด้วยสีหน้าเฉื่อยชา ท่าทางเนือย ๆ ไม่กระฉับกระเฉง ไม่พูดไม่จากับผู้ป่วย เวลามีเจ้าหน้าที่ทักทายว่าจะไปไหน ก็จะตอบอย่างเหนื่อย ๆ ว่า " กำลังเข็นเปลอยู่"

พนักงานเปลรับ-ส่งผู้ป่วยผ่าตัดคนที่ 2 ชื่อนายเฉย เข็นเปลด้วยสีหน้าปกติไม่บึ้งตึงแต่ก็ไม่ยิ้มแย้ม ท่าทางขณะเข็นเปลกระฉับกระเฉงขึ้นมาหน่อย เวลามีเจ้าหน้าที่ทักทายว่าจะไปไหน ก็จะตอบว่า " กำลังพาผู้ป่วยไปผ่าตัดครับ"

พนักงานเปลรับ-ส่งผู้ป่วยผ่าตัดคนที่ 3 ชื่อนายชอบ เข็นเปลด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ท่าทางขณะเข็นเปลกระฉับกระเฉง แคล่วคล่องว่องไว  เวลามีเจ้าหน้าที่ทักทายว่าจะไปไหน ก็จะตอบด้วยสีหน้าแช่มชื่นว่า " กำลังพาผู้ป่วยไปผ่าตัดเพื่อให้หายจากการเจ็บป่วย มีความสุขสบายครับ"

เห็นมั๊ยคะว่า...ทั้งที่ทำงานอย่างเดียวกัน คือ

การเข็นเปลรับ-ส่งผู้ป่วยไปผ่าตัด แต่ว่าทั้ง 3 คนมีความรู้สึกต่างกัน 

ผลจึงต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นผลที่ตัวงานหรือผลทางด้านจิตใจ มาลองดูที่รายละเอียดอีกที

พนักงานคนที่ 1 นายเฉื่อย เห็นว่างานของเขาเป็นเพียงพนักงานเปล ก็เลยทำไปงั้น ๆ ไม่กระตือรือร้น ผู้ป่วยก็ไม่ประทับใจ

พนักงานคนที่ 2 นายเฉย ดีขึ้นมาหน่อยพอจะมองออกว่าพาผู้ป่วยมาผ่าตัด เห็นกว้างกว่าคนแรก ผู้ป่วยวางใจนิ้ดส์นึง แต่ก็ยังไม่ประทับใจ

พนักงานคนที่ 2 นายชอบ ทำงานด้วยความเต็มใจ กระฉับกระเฉง มีความสุข เพราะเขารู้สึกว่างานที่กำลังทำนั้นมีคุณค่า ขณะเข็นเปลก็มีการพูดคุย ปลอบใจผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยหวาดกลัวน้อยลง ผู้ป่วยก็เกิดความประทับใจในบริการ

ผลงานและความรู้สึกที่แตกต่างกันของคน 3 คน ขึ้นอยู่กับ...

  • ประสบการณ์และมุมมองหรือทัศนคติว่ามีต่องานอย่างไร ?
  • มองเห็นสิ่งที่จะเกิดตามมาจากงานที่ทำได้ไกลแค่ไหน หรือที่เราเรียกกันว่า "วิสัยทัศน์"

นายชอบ เป็นคนที่มองได้ไกล...

ว่าหน้าที่หรืองานที่เขากำลังทำอยู่ไม่ใช่เพียงการเข็นเปลอย่างเดียว...

แต่เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้มาผ่าตัดแล้วจะหายจากโรค...

ผู้ป่วยมีความทุกข์จากการเจ็บป่วยและหวาดกลัวต่อการผ่าตัด การพูดคุยจะช่วยปลอบใจและทำให้ผู้ป่วยหวาดกลัวและวิตกกังวลน้อยลง เขาจะต้องทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ดีและพึงพอใจ

ซึ่งเมื่อเขาคิดได้เช่นนี้ เขาจะรู้สึกเหมือนได้ทำบุญ

ก็เลยมีความสุขกับการทำงาน

ไม่ได้ถือว่าการเข็นเปลเป็นเพียงแค่ทำงานเพื่อให้ได้เงิน

จึงเป็นงานที่มีความหมายต่อจิตใจ มีความสุขกับการทำงานกับได้ช่วยเหลือผู้ป่วย

เราแต่ละคน จะเป็นหมอ เป็นพยาบาล นักวิชาการ นักวิจัย นักสังคมสงเคราะห์ คนครัว คนสวน หรือพนักงานก็ดี แต่ละคนแม้ว่าจะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ แต่ก็มีส่วนสร้างสังคม สร้างประเทศชาติ และสร้างโลก เราจึงเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่กำลังทำงานอันยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างให้สถาบันฯมีคุณภาพ

ถ้าเราแต่ละคนตระหนักว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้เป็นงานยิ่งใหญ่ มีคุณค่าที่งดงามต่อองค์กร ต่อสังคม  เราจะทำงานอย่างมีความสุขมาก และเราจะภาคภูมิใจในสิ่งที่เราทำ และไม่ขัดเขินกับกับภาพลักษณ์ที่สังคมมองว่าเราเป็นนางฟ้าจริง ๆ

<p></p>

หมายเลขบันทึก: 51415เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2006 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ดิชั้นเป็นคนหนึ่งที่ภูมิใจมาก กับอาชีพที่ทำอยู่

  • แต่บางครั้งไม่รู้เป็นอะไรค่ะ ที่รู้สึกว่ามันมาถึงทางตัน เหนื่อยเหลือเกินและอยากมีอะไรใหม่ๆเข้ามาในชีวิตบ้าง

ชอบข้อเขียนนี้มากค่ะ

มีคนบอกว่า เวลาทำงาน ต่อให้เหนื่อย ยากลำบากยังไง พยายามอย่าเอ๋ยบอกว่าตนเองเหนื่อย เพราะมันจะเหมือนเป็นการสะกดจิตใจของตนเองให้รู้สึกเหนื่อยเข้าไปอีก พยายามหาความสุขในงาน หรือพักผ่อนให้ผ่อนคลายแล้วกลับมาทำงานใหม่ จะดีกว่านะคะ ^__^

ได้รถพยาบาล และนางพยาบาลจากพี่เล็ก ทำให้อาการดีขึ้นแล้วล่ะคะ (แต่ป่วยเป็นอาทิตย์เนี่ย มึนหัวเลย)

คุณศุภลักษณ์ คะ

  • ครูอ้อยมีความสุขกับการทำงาน  และมีความสุขมากที่ได้จัดการความรู้ของตนเอง
  • แต่เนื่องจากเราเป็นคน  มีเลือดและเนื้อ  บางครั้งยังต้องการน้ำทิพย์ชะโมใจนะคะ
  • เรียนเชิญอ่าน ที่นี่ค่ะ
  • ยังไง  GotoKnow  ก็มีมิตรภาพที่เป็นกำลังใจ  ให้ข้อคิดค่ะ
  • Take care

เวลาเหนื่อยมากๆไม่ว่าทางกายหรือใจ พอนึกถึงคุณค่าของงานที่ทำ ก็ช่วยให้จิตใจกระชุ่มกระชวย หายเหนื่อยได้เหมือนกันค่ะ

หนูเล็กสื่อสารหน้าเจ้าเฉื่อย เฉย  ชอบ ได้ดีมากค่ะ     อ่านแล้วนำไปเป็นข้อคิดดีค่ะ

เป็นเรื่องที่เปรียบเทียบให้เห็นผลชัดเจนมากค่ะ นำไปเป็นตัวอย่างในการพัฒนาคนพัฒนางานได้อย่างดี ขอบคุณค่ะ
  • คุณ Ready Radee
  • ดิฉันดีใจที่บันทึกนี้ช่วยทำให้คุณสดชื่นขึ้นมาได้บ้าง
  • มีคนเขาบอกว่า "เวลาที่มีความทุกข์อย่าไปกลัดกลุ้ม แต่จงอยู่กับมันและมองให้เป็นประโยชน์แล้วเราจะทุกข์น้อยลง"
  • โอ๊ะ..โอ๋...หายดีแล้วใช่ไหมคะคุณ IS ดีจังเลย
  • เห็นด้วยค่ะกับ "ต่อให้เหนื่อย ยากลำบากยังไง พยายามอย่าเอ๋ยบอกว่าตนเองเหนื่อย "
  • เราต้องอยู่กับความทุกข์ความเหนื่อยให้ได้ หรือไปเพิ่มพลังชาร์ทแบตซะใหม่และสู้กับมันต่อไปค่ะ
  • ขอบคุณครูอ้อยค่ะ
  • กัลยาณมิตรใน G2K นี่ยอดเยี่ยมจริง ๆ สามารถปลอบประโลม ให้กำลังใจ และมีแต่สิ่งที่ดี ๆ ให้กันและกัน
  • ถูกต้องแล้วคร้าบพี่ปิ่ง
  • เมื่อนึกถึงคุณค่าของงานที่ทำก็จะทำให้มีความสุขและหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งจริง ๆ
  • ท่านผ.อ. ชอบหน้าของตัวละคร 3 ตัว แล้วชื่อของพนักงานทั้ง 3 คนละคะชอบมั๊ยคะ ? 
  • เล็กเองยังขำ ๆ ตัวเองที่ตั้งชื่อได้เชยดีจัง
  • พี่มอมคะ
  • อยากบอกว่าบันทึกที่เขียนนี่เป็นเรื่องราวจริง ๆ ค่ะ
  • แต่เดี๋ยวนี้เค้าปั้ด-ทะ-นาแล้ว
  • ทุกคนขณะนี้ มีทั้ง "service mind ' และ "ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางค่ะ"

อ่านแล้วทำให้อารมณ์ดีจังเลยค่ะ

เข้าใจคิดและเปรียบเทียบทำให้ต้องกลับมาทบทวนตัวเองว่าเราเองกำลังทำหน้าแบบไหนอยู่

ต้องแก้ไขให้เป็นแบบนายชอบมั่งแล้วล่ะ

  • ขอบคุณ อ.ขจิต และคุณ mind ต่ะ
  • หากเราเป็นนายชอบได้จะทำให้งานมีคุณค่าเราก็มีความสุขค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท