โครงการธรรมศึกษาวิจัย
: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี
ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์
มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑ ๕๐๐ เล่ม
เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์
มหาสติปัฏฐานสูตร
กถาว่าด้วยอุทเทสวาร
[๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุนิคม
ของหมู่ชนชาวกุรุชื่อกัมมาสทัมมะในกาลนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าพระเจ้าข้าดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทางนี้เป็นที่ไปอันเอกเพื่อความหมดจดวิเศษ
ของสัตว์ทั้งหลายเพื่อความก้าวล่วงซึ่งความโศกและความร่ำไรเพื่ออัสดงค์
ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรมเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือสติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) ๔อย่าง. สติปัฏฐาน๔อย่าง
เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายเนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌา
และโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศเธอย่อมพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศเธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต
๑. พระศาสนโศภน (แจ่มจตฺตสลฺโล) วัดมกุฏกษัตริยารามแปล.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 210
เนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศเธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนืองๆ
อยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกเสียให้พินาศ.จบกถาว่าด้วยอุทเทสวาร
กายานุปัสสนาอานาปานบรรพ
[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย
เนืองๆอยู่อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปแล้วสู่ป่าก็ดีไปแล้วสู่
โคนไม้ก็ดีไปแล้วสู่เรือนว่างเปล่าก็ดีนั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง
ดำรงสติเฉพาะหน้า. เธอย่อมหายใจเข้าย่อมมีสติหายใจออกเมื่อหายใจ
เข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาวหรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าเรา
หายใจออกยาวเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้นหรือเมื่อหายใจ
ออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้นยอมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนด
รู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออกย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกาย
สังขาร (คือลมอัสสาสะปัสสาสะ) หายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับ
กายสังสารหายใจออก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้ฉันใดนายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่าง
กลึงผู้ฉลาดเมื่อชักเชือกกลึงยาวก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาวหรือเมื่อชัก
เชือกกลึงสั้นก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุก็ฉัน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 211
นั้นนั่นแหละเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาวหรือเมื่อหายใจ
ออกยาวก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาวเมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจ
เข้าสั้นหรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้นย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่า
เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า
เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้าย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขาร
หายใจออกดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
ภายในภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยลมหายใจเข้าออก
อิริยาบถบรรพ
[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเมื่อเดินอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเดินหรือเมื่อยืนก็รู้ชัดว่าเรายืนหรือเมื่อนั่งก็รู้ชัดว่าเรานั่งหรือเมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน. อนึ่งเมื่อเธอนั้นเป็นผู้ตั้งกายไว้แล้วอย่างใดๆก็ย่อมรู้ชัดอาการกายนั้นอย่างนั้นๆดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อม
ไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
อย่างนี้.
สัมปชัญญบรรพ
[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมเป็นผู้ทำ
สัมปชัญญะ (ความเป็นผู้รู้พร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้าและถอยกลับมาข้าง
หลังย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการแลไปข้างหน้าแลเหลียวไปข้างซ้าย
ข้างขวาย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการคู้อวัยวะเข้าเหยียดอวัยวะออก
ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวรย่อมเป็นผู้
ทำสัมปชัญญะในการกินดมเคี้ยวและลิ้มย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ
ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะในการเดินยืนนั่ง
หลับตื่นพูดและความเป็นผู้นิ่งอยู่ดังนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก
บ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความคิดเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอเป็น
ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
จบข้อกำหนดว่าด้วยสัมปชัญญะ
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
กายนี้นี่แลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไปเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่
โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆว่ามีอยู่ในกายนี้คือ
ผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูกเยื่อในกระดูกม้ามหัวใจตับพังผืดไตปอดไส้ใหญ่ไส้น้อยอาหารใหม่อาหารเก่าน้ำดีน้ำเสลดน้ำเหลืองน้ำเลือดน้ำเหงื่อมันข้นน้ำตามันเหลวน้ำลายน้ำมูกไขข้อน้ำมูตร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไถ้มีปาก๒ข้างเต็มด้วยธัญญชาติมีประการ
ต่างๆคือ.ข้าวสาลีข้าวเปลือกถั่วเขียวถั่วเหลืองงาข้าวสารบุรุษมีจักษุ
แก้ไถ้นั้นออกแล้วพึงเห็นได้ว่าเหล่านี้ข้าวสาลีเหล่านี้ข้าวเปลือกเหล่านี้
ถั่วเขียวเหล่านี้ถั่วเหลืองเหล่านี้งาเหล่านี้ข้าวสารฉันใดดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายฉันนั้นนั่นแลภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป
เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมามีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการ
ต่างๆว่ามีอยู่ในกายนี้คือ
ผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเอ็นกระดูกเยื่อในกระดูกม้าม
หัวใจตับพังผืดไตปอดไส้ใหญ่ไส้น้อยอาหารใหม่อาหารเก่า
น้ำดีน้ำเสลดน้ำเหลืองน้ำเลือดน้ำเหงื่อมันข้นน้ำตามันเหลว
น้ำลายน้ำมูกไขข้อน้ำมูตรดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภาย
นอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอเป็นผู้
อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
อย่างนี้.จบข้อกำหนดว่าด้วยของปฏิกูล.
ธาตุมนสิการบรรพ
[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
กายอันตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แลโดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้
ธาตุดินธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคนฆ่าโคหรือลูกมือคนฆ่าโคผู้ฉลาดฆ่าแม่โค
แล้วพึงแบ่งออกเป็นส่วนแล้วนั่งอยู่ที่หนทางใหญ่๔แพร่งแม้ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุฉันนั้นนั่นแลย่อมพิจารณากายอันตั้งอยู่
ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แลโดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ธาตุดิน
ธาตุน้ำธาตุไฟธาตุลมดังนี้. ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายใน
บ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิด
ขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือ
สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึกเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ
ในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่
อย่างนี้.จบข้อกำหนดว่าด้วยธาตุ
นวสีวถิกาบรรพ
[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะพึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าตายแล้ววันหนึ่งหรือตายแล้ว๒วันหรือตายแล้ว๓วันอันพองขึ้นสีเขียวน่าเกลียดเป็นสรีระมีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภาย
นอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าอันฝูงกาจิกกินอยู่บ้างฝูงแร้ง
จิกกินอยู่บ้างฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้างหมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้างหมู่สุนัข
จิ้งจอกกัดกินอยู่บ้างหมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆกัดกินอยู่บ้างเธอก็น้อมเข้ามา
สู่กายนี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้
ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่. แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอเป็นผู้
อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าเป็นร่างกระดูกยังมีเนื้อและ
เลือดอันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่า
ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าเป็นร่างกระดูกเปื้อนด้วย
เลือดแต่ปราศจากเนื้อแล้วยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่
แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วง
ความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภาย-
นอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้างก็หรือสติของเธอที่คงมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียง
สักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้
[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าเป็นร่างกระดูกปราศจาก
เนื้อและเลือดแล้วยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าถึง
ร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่าง
นี้ไปได้ดังนี้ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็
หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่า
เป็นที่อาศัยระลึกเธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่
ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกับว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าคือเป็น (ท่อน) กระดูก
ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้วกระจายไปแล้วในทิศน้อยและทิศใหญ่คือ
กระดูกมือ (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกเท้า (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกแข้ง (ไป
อยู่) ทางอื่นกระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกสะเอว (ไปอยู่ ) ทางอื่น
กระดูกหลัง (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกสันหลัง (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกซี่โครง
(ไปอยู่)ทางอื่นกระดูกหน้าอก (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 219
กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่นกระดูกคาง (ไปอยู่)
ทางอื่นกระดูกฟัน (ไปอยู่) ทางอื่นกระโหลกศีรษะ (ไปอยู่) ทางอื่น. เธอ
ก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็น
อย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก
บ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือทั้ง
ความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าคือเป็น (ท่อน) กระดูกมี
สีขาวเปรียบด้วยสีสังข์เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็
มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่
ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าคือเป็น (ท่อน) กระดูกเป็น
กองเรี่ยรายแล้วมีในภายนอก (เกิน) ปีหนึ่งไปแล้วเธอก็น้อมเข้ามาสู่กาย
นี้นี่แลว่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วง
ความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอก
บ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือทั้ง
ความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากาย
มีอยู่. แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึกเธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย
อยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุเหมือนกะว่าจะ
พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้าคือเป็น (ท่อน) กระดูก
ผุละเอียดแล้ว. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่เล่าถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้
เป็นธรรมดาคงเป็นอย่างนี้ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา
คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง. ก็หรือว่าสติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่ากายมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อม
เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆอยู่อย่างนี้.
จบข้อกำหนดด้วยป่าช้า๙ข้อจบกายานุปัสสนา
เวทนานุปัสสนา
[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา
(ความเสวยอารมณ์) ในเวทนาเนืองๆอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อเสวยสุขเวทนาก็รู้ชัด
ว่าบัดนี้เราเสวยสุขเวทนาเมื่อเสวยทุกขเวทนาก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวย
ทุกขเวทนาเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา (ไม่ทุกข์ไม่สุข) ก็รู้ชัดว่าบัดนี้
เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาหรือเมื่อเสวยสุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ )
ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิสหรือเมื่อเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
(คือไม่เจือกามคุณ) ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิสหรือเมื่อเสวย
ทุกขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสหรือเมื่อ
เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิสก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
มีอามิสหรือเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราเสวย
อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิสดังนี้ .
ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาในเวทนาเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในเวทนา
บ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในเวทนาบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง. ก็หรือสติ
ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึกเธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถือ
อะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ
อยู่อย่างนี้แล.จบเวทนานุปัสสนา
จิตตานุปัสสนา
[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตเนืองๆอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้อนึ่งจิตมีราคะก็รู้ชัดว่า
จิตมีราคะหรือจิตไม่มีราคะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีราคะหรือจิตมีโทสะก็รู้ชัดว่า
จิตมีโทสะหรือจิตไม่มีโทสะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโทสะหรือจิตมีโมหะก็รู้ชัดว่า
จิตมีโมหะหรือจิตไม่มีโมหะก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีโมหะหรือจิตหดหู่ก็รู้ชัดว่า
จิตหดหู่หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่านหรือจิตเป็นมหรคต (คือถึงความ
เป็นใหญ่หมายเอาจิตที่เป็นฌานหรือเป็นอัปปมัญญาพรหมวิหาร) ก็รู้ชัดว่า
จิตเป็นมหรคตจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นมหรคตหรือจิตเป็น
สอุตตระ (คือกามาวจรจิตซึ่งมีจิตอื่นยิ่งกว่าไม่ถึงอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิต
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 223
เป็นสอุตตระหรือจิตเป็นอนุตตระ (คือกามาวจรจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าหมาย
เอาอุปจารสมาธิ) ก็รู้ชัดว่าจิตเป็นอนุตตระหรือจิตตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น
หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่นหรือจิตวิมุตติ (คือหลุดพ้นด้วยตทังค-
วิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติ) ก็รู้ชัดว่าจิตวิมุตติหรือจิตยังไม่วิมุตติก็รู้ชัด
ว่าจิตยังไม่วิมุตติดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณาเห็นจิต
ในจิตเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในจิตบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในจิตบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าจิตมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่อย่างนี้แล.
จบจิตตานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
นีวรณบรรพ
[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมเนืองๆอยู่ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์๕.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือนิวรณ์๕ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อกามฉันท์
(ความพอใจในกามารมณ์) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์มีอยู่ณ
ภายในจิตของเราหรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์
ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่กามฉันท์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น
ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยอนึ่งความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว
เสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยอนึ่งความที่กามฉันท์อันตนละ
เสียแล้วไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย
อนึ่งเมื่อพยาบาทมีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าพยาบาทมีอยู่ณ
ภายในจิตของเราหรือเมื่อพยาบาทไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าพยาบาท
ไม่มีณภายในจิตของเราความที่พยาบาทอันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วย
ประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความที่พยาบาทอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้น
ต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่งถิ่นมิทธะมีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าถิ่นมิทธะมีอยู่ณภายใน
จิตของเราหรือเมื่อถิ่นมิทธะไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าถิ่นมิทธะไม่มี
ณภายในจิตของเราความที่ถิ่นมิทธะอันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วย
ประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความละถิ่นมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความละถิ่นมิทธะอันตนละเสียแล้วไม่
เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ) มีณภายใน
จิตย่อมรู้ชัดว่าอุทธัจจกุกกจจะมีอยู่ณภายในจิตของเราหรือเมื่อ
อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าอุทธัจจกุกกุจจะไม่มีณ
ภายในจิตของเราความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้น
ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 225
เสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความที่อุทธัจจกุกกุจจะอันตน
ละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อวิจิกิจฉา (ความเคลือบแคลงสงสัย) มีณภายในจิตย่อม
รู้ชัดว่าวิจิกิจฉามีอยู่ณภายในจิตของเราหรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีณภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาไม่มีณภายในจิตของเราความที่วิจิกิจฉาอันยัง
ไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความละ
วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการนั้นด้วยความ
ที่วิจิกิจฉาอันตนละเสียแล้วไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้ประการ
นั้นด้วยดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย
ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่
ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์๕
อย่างนี้แล.จบข้อกำหนดนิวรณ์
ขันธบรรพ
[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุ
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์๕.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า)
อย่างนี้รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของรูปอย่างนี้
ความดับไปของรูปอย่างนี้เวทนา (ความเสวยอารมณ์) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของ
เวทนาอย่างนี้ความดับไปของเวทนาอย่างนี้สัญญา (ความจำ) อย่างนี้ความ
เกิดขึ้นของสัญญาอย่างนี้ความดับไปของสัญญาอย่างนี้สังขาร (สภาพปรุงแต่ง)
อย่างนี้ความเกิดของสังขารอย่างนี้ความดับของสังขารอย่างนี้วิญญาณ
(ความรู้) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของวิญญาณอย่างนี้ความดับไปของวิญญาณดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภาย
ในทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปา-
ทานขันธ์๕อย่างนี้แล.จบข้อกำหนดว่าด้วยขันธ์.
อายตนบรรพ
[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
ธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก๖ (อย่างละ๖)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรอายตนบรรพภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก๖.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักตาด้วยย่อมรู้จัก
รูปด้วยอนึ่งสังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้นอาศัยตาและรูปทั้ง๒นั้น
อันใดย่อมรู้จักอันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อม
เกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความที่ละสังโยชน์
ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความ
ที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้
จักประการนั้นด้วย.ย่อมรู้จักหูด้วยย่อมรู้จักเสียงด้วยอนึ่งสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นอาศัยหูและเสียงทั้ง๒นั้นอันใดย่อมรู้จักอันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันยัง
ไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความ
ละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่งความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักจมูกด้วยย่อมรู้จักกลิ่นด้วยอนึ่งสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้น
อาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง๒นั้นอันใดย่อมรู้จักอันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์
อันยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความ
ละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่งความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักลิ้นด้วยย่อมรู้จักรสด้วยอนึ่งสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นอาศัย
ลิ้นและรสทั้ง๒นั้นอันใดย่อมรู้จักอันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันยัง
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 228
ไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความ
ละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย
อนึ่งความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้วย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการ
ใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักกายด้วยย่อมรู้จักโผฏฐัพพะ (สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย) ด้วย
อนึ่งสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง๒นั้นอันใดย่อมรู้จัก
อันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการ
ใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันตนละเสีย
แล้วย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วย.
ย่อมรู้จักใจด้วยย่อมรู้จักธรรมารมณ์ (สิ่งที่พึงรู้ได้ด้วยใจ) ด้วย
อนึ่งสังโยชน์ย่อมเกิดขึ้นอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง๒นั้นอันใดย่อมรู้จัก
อันนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการ
ใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วเสียได้ด้วย
ประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยอนึ่งความที่สังโยชน์อันตนละเสียแล้ว
ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใดย่อมรู้จักประการนั้นด้วยดังนี้ .
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติ
ของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่
อาศัยระลึก. เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถือ
อะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและอายตนะภายนอก๖อย่างนี้แล.
จบข้อกำหนดว่าด้วยอายตนะ.
โพชฌงคบรรพ
[๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้๗อย่าง).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์๗.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้เมื่อสติสัมโพชฌงค์ (องค์
แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือสติ) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์มีณภายในจิตของเราหรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าสติสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่สติสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพซฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้
คือความเลือกเฟ้นธรรม) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
มีณภายในจิตของเราหรือเมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตย่อม
รู้ชัดว่าธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่ธัมม-
วิจยสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วยอนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์. (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือ
ความเพียร) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าวิริยสัมโพชฌงค์มีณภายในจิต
ของเราหรือเมื่อวิริยสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าวิริย
สัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่วิริยสัมโพชฌงค์อันยัง
ไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่งความ
เจริญบริบูรณ์ของวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือปิติ
ความปลื้มใจ) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าปิติสัมโพชฌงค์มีณภายใน
จิตของเราหรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า
ปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่ปิติสัมโพชฌงค์
อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่ง
ความเจริญบริบูรณ์ของปิติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ( องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือ
ปัสสัทธิความสงบกายสงบจิต ) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าปัสสัทธิ
สัมโพชฌงค์มีณภายในจิตของเราหรือเมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีณ
ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่ง
ความที่ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือ
สมาธิมีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าสมาธิสัมโพชฌงค์มีณภายในจิตของเรา
หรือเมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าสมาธิสัมโพชฌงค์
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 231
ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่งความที่สมาธิสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่งความเจริญ
บริบูรณ์ของสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย.
อนึ่งเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้คือ
อุเบกขาความที่จิตมัธยัสถ์เป็นกลาง) มีณภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขา
สัมโพชฌงค์มีณภายในจิตของเราหรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีณ
ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีณภายในจิตของเราอนึ่ง
ความที่อุเบกขาสัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วยอนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิด
ขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอ
ที่ตั้งมั่นอยู่ว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์๗อย่างนี้แล.จบข้อกำหนดว่าด้วยโพชฌงค์.
สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ
[๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายข้ออื่นยังมีอยู่อีกภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ๔.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์)ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์).
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายของจริงแห่งพระอริยเจ้าคือทุกข์เป็นอย่างไรเล่า.
แม้ชาติก็เป็นทุกข์แม้ชราก็เป็นทุกข์แม้มรณะก็เป็นทุกข์
แม้โสกะปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส
(ความเสียใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์ความประสบ
สัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ความพลัดพรากจากสัตว์และ
สังขารซึ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์สัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้แม้ข้อที่ไม่
สมประสงค์นั้นก็เป็นทุกข์โดยย่ออุปาทานขันธ์ (ขันธ์ประกอบด้วยอุปาทาน
ความถือมั่น) ๕เป็นทุกข์.
[๒๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายชาติเป็นอย่างไรความเกิดเกิดพร้อม
ความหยั่งลงเกิดเกิดจำเพาะความปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆอันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้ที่กล่าวว่าชาติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายชราเป็นอย่างไรความแก่ความคร่ำคร่า
ความที่ฟันหลุดความที่ผมหงอกความที่หนังหดเหี่ยวเป็นเกลียวความ
เสื่อมแห่งอายุความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆของสัตว์นั้นๆ
อันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าชรา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมรณะเป็นอย่างไรความจุติความเคลื่อนไป
ความแตกทำลายความหายไปมฤตยูความตายความทำกาละความแตก
แห่งขันธ์ความทิ้งซากศพไว้ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆอันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่ามรณะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโสกะ (ความแห้งใจ) เป็นอย่างไรเล่าดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายความโสกความเศร้าใจความแห้งใจความผากณภายใน
ความโศกณภายในของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งและ
ผู้มีความทุกข์อันใดอันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันใดเล่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่าโสกะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปริเทวะ (ความร่ำไรรำพัน ) เป็นอย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความคร่ำครวญความร่ำไรรำพันกิริยาที่คร่ำครวญ
ความที่ร่ำไรรำพันความที่สัตว์คร่ำครวญความที่สัตว์ร่ำไรรำพันของสัตว์
ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งและผู้ที่มีความทุกข์อันใดอันหนึ่ง
มาถูกต้องแล้วอันใดเล่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าปริเทวะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทุกข์ (ความไม่สบายกาย) เป็นอย่างไรเล่าดู
ก่อนภิกษุทั้งหลายความทุกข์เกิดในกายความไม่ดีเกิดในกายเวทนาไม่ดีเป็น
ทุกข์เกิดแต่สัมผัสทางกายอันใดเล่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าทุกข์.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 234
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโทมนัส ( ความเสียใจ ) เป็นอย่างไรดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายความทุกข์เกิดในใจความไม่ดีเกิดในใจเวทนาไม่ดีเป็นทุกข์
เกิดแต่สัมผัสทางใจอันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าโทมนัส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เป็นอย่างไรดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายความแค้นความคับแค้นความที่สัตว์แค้นความที่สัตว์คับแค้น
ของสัตว์ผู้ประกอบด้วยความฉิบหายอันใดอันหนึ่งและผู้ที่ความทุกข์อันใด
อันหนึ่งมาถูกต้องแล้วอันนี้กล่าวว่าอุปายาส.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความประสบสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รัก
เป็นทุกข์อย่างไรดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนาไม่เป็นที่รักใคร่ไม่เป็นที่ปลื้มใจคือรูปเสียงกลิ่นรสและ
โผฏฐัพพะย่อมมีแก่ผู้นั้นอนึ่งหรือชนเหล่าใดที่ใคร่ต่อความฉิบหาย
ใคร่สิ่งที่ไม่เกื้อกูลใคร่ความไม่สำราญและใคร่ความไม่เกษมจากเครื่อง
ประกอบแก่ผู้นั้นความไปร่วมความมาร่วมความประชุมร่วมความระคน
กับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้นอันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่า
ความประสบกับสัตว์และสังขารซึ่งไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รัก
เป็นทุกข์อย่างไรดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารมณ์เหล่าใดในโลกนี้ซึ่งเป็นที่
ปรารถนาเป็นที่รักใคร่เป็นที่ปลื้มใจคือรูปเสียงกลิ่นรสและโผฏฐัพพะ
ย่อมมีแก่ผู้นั้นอนึ่งหรือชนเหล่าใดที่ใคร่ต่อความเจริญใคร่ประโยชน์
เกื้อกูลใคร่ความสำราญและใคร่ความเกษมจากเครื่องประกอบแก่ผู้นั้นคือ
มารดาหรือบิดาพี่ชายน้องชายหรือพี่หญิงน้องหญิงมิตรหรืออำมาตย์
หรือญาติสาโลหิตความไม่ไปร่วมความไม่มาร่วมความไม่ประชุมร่วม
ความไม่ระคนกับด้วยอารมณ์และสัตว์เหล่านั้นอันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อันนี้กล่าวว่าความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารซึ่งเป็นที่รักเป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตว์ปรารถนาสิ่งใดย่อมไม่ได้แม้ของที่ไม่สม-
ประสงค์นั้นเป็นทุกข์อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ที่มี
ความเกิดเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเกิดเป็นธรรมดาเถิดอนึ่งขอความ
เกิดอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอดังนี้ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา
โดยแท้แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาอย่างนี้ว่าโอหนอขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความแก่เป็นธรรมดา
เถิดอนึ่งขอความแก่อย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนาดังนี้ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้
ตามความปรารถนาโดยแท้แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ที่มี
ความเจ็บๆไข้ๆเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาเถิดข้อนั้น
สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าการไม่ได้สิ่งที่
ปรารถนาก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ที่มีความ
ตายเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีความตายเป็นธรรมดาเถิดอนึ่งขอ
ความตายอย่ามีมาถึงแก่เราเลยหนอดังนี้สัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนา
โดยแท้แม้ข้อนี้ก็ชื่อว่าการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ที่มีโสกะ
ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดาอย่างนี้ว่า
โอหนอขอเราพึงเป็นผู้ไม่มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส
เป็นธรรมดาเถิดอนึ่งขอโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่ามีมา
ถึงแก่เราเลยดังนี้ข้อนั้นสัตว์ไม่พึงได้ตามความปรารถนาโดยแท้แม้ข้อนี้
ก็ชื่อว่าการไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้ง๕เป็นทุกข์อย่างไรนี้คือ
อุปาทานขันธ์คือรูปอุปาทานขันธ์คือเวทนาอุปาทานขันธ์คือสัญญา
อุปาทานขันธ์คือสังขารอุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายโดยย่อเหล่านี้กล่าวว่าอุปาทานขันธ์ทั้ง๕
เป็นทุกข์ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าอริยสัจคือทุกข์.
ทุกขสมุทัยอริยสัจ
[๒๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสัจคือทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)เป็นอย่างไร. ตัณหา (ความทะยานอยาก) นี้อันใดมีความเกิดขึ้นอีกเป็นปกติประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความเพลิดเพลินมักเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆนี้คือกามตัณหาภวตัณหาวิภวตัณหา.
[๒๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลตัณหานั้นนั่นเองเมื่อจะเกิดขึ้น
ย่อมเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน. ที่ใดเป็นที่รักใคร่เป็นที่
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 237
พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นในที่นั้นเมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ในที่นั้น. ก็อะไรเล่าเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตาเป็นที่
รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ตานั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ตานั้น. หูเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่หูนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่หู
นั้น. จมูกเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นที่จมูกนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จมูกนั้น. ลิ้นเป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ลิ้นนั้นเมื่อจะ
ตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ลิ้นนั้น. กายเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายนั้น.
ใจเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้น
ที่ใจนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ใจนั้น. รูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจ
ในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปนั้นเมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปนั้น. เสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
จะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เสียงนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เสียงนั้น. กลิ่น
เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้น
ที่กลิ่นนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กลิ่นนั้น. รสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจ
ในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อม
ตั้งอยู่ที่รสนั้น. โผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่
โผฏฐัพพะนั้น. ธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมารมณ์เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นั้น.จักขุวิญญาณเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนั้นโสตวิญญาณเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสตวิญญาณนั้นฆาณวิญญาณนั้นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ฆานวิญญาณนั้นชิวหาวิญญาณเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาวิญญาณนั้นกายวิญญาณเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายวิญญาณนั้นมโนวิญญาณเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่มโนวิญญาณนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนั้น.
จักขุสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่จักขุสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนั้นโสตสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่โสตสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โสตสัมผัสนั้น.ฆานสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ฆานสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ฆานสัมผัสนั้นชิวหาสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ชิวหาสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ชิวหาสัมผัสนั้น
กายสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่กายสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่กายสัมผัสนั้นมโน
สัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นที่มโนสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนั้น.
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักขุสัมผัสนั้นเวทนาซึ่งเกิดแต่
โสตสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่
เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้นเวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิด
แต่ฆานสัมผัสเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้นเวทนาซึ่งเกิด
แต่กายสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิด
ขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อม
ตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้นเวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น.
รูปสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น. เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญญานั้นสัททสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่สัททสัญญานั้นคันธสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญญานั้นรสสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิด
ขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รสสัญญานั้น
โผฏฐัพพสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่โผฏฐัพพสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่โผฏฐัพพ
สัญญานั้นธัมมสัญญาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
จะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ธัมมสัญญานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ธัมม
สัญญานั้น.
รูปสัญเจตนาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะ
เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รูปสัญเจตนานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่รูปสัญ-
เจตนานั้นสัททสัญเจตนาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่สัททสัญเจตนานั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่สัททสัญเจตนานั้นคันธสัญเจตนาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่คันธสัญเจตนานั้นเมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่คันธสัญเจตนานั้นรสสัญเจตนาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจ
ในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่รสสัญเจตนานั้นเมื่อจะ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 241
ตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิดถึงรสนั้น. ความคิดถึงโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่
เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึง
โผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอูยู่ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความคิด
ถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความคิด
ถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความอยากในรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในรูปนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความอยากในรูปนั้น. ความอยากในเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในเสียงนั้นเมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในเสียงนั้น. ความอยากในกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่
พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในกลิ่นนั้น. ความอยากในรสเป็นที่รัก
ใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยาก
ในรสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในรสนั้น. ความอยากใน
โผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความ
อยากในโผฏฐัพพะนั้น . ความอยากในธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจ
ในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น.
ความตรึกถึงรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงรูปนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความตรึกถึงรูปนั้น. ความตรึกถึงเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 242
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงเสียงนั้น. เมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมจะตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงเสียงนั้น. ความตรึกถึงกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่
พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น. ความตรึกถึงรสเป็นที่รัก
ใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึก
ถึงรสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงรสนั้น. ความตรึกถึงโผฏ-
ฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อม
เกิดขึ้นที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึง
โผฏฐัพพะนั้น. ความตรึกถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะ
ตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความตรองถึงรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงรูปนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่
ที่ความตรองถึงรูปนั้น. ความตรองถึงเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงเสียงเมื่อจะตั้งอยู่
ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงเสียงนั้น. ความตรองถึงกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่
พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้น. ความตรองถึงรสเป็นที่
รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความ
ตรองถึงรสนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงรสนั้น. ความตรอง
โผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้น
ก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความ
ตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น. ความตรองถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 243
ในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้นที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น
เมื่อจะตั้งอยู่ก็ย่อมตั้งอยู่ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าอริยสัจคือทุกขสมุทัย (เหตุให้ทุกข์เกิด).
ทุกขนิโรธอริยสัจ
[๒๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสัจคือทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. คือความสำรอกและความดับโดยไม่มีเหลือความสละความส่งคืนความปล่อยวางความไม่อาลัยในตัณหานั้นนั่นแลอันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ตัณหานั้นนั่นแลเมื่อบุคคลจะละเสียย่อมละเสียได้ใน
ที่ไหนเมื่อจะดับย่อมดับในที่ไหน. ที่ใดเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก
ตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ในที่นั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับ
ในที่นั้น. ก็อะไรเล่าเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลก.
ตาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสีย
ก็ย่อมละเสียได้ที่ตานั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ตานั้น.
หูเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ
เสียก็ย่อมละเสียได้ทีหูนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่หูนั้น.
จมูกเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่จมูกนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่จมูกนั้น.
ลิ้นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ลิ้นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ลิ้นนั้น.
กายเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่กายนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่กายนั้น .
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 244
ใจเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ใจนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ใจนั้น.
รูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่รูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่รูปนั้น.
เสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจโนโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เสียงนั้น.
กลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะ
ละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่กลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่กลิ่นนั้น.
รสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละ
เสียก็ย่อมละเสียได้ที่รสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่รสนั้นโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่โผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่โผฏฐัพพะนั้น.
ธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ธัมมารมณ์นั้น.
ความรู้ทางตาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางตานั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางตานั้น.ความรู้ทางหูเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางหูนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางหูนั้น.ความรู้ทางจมูกเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางจมูกนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางจมูกนั้น.ความรู้ทางลิ้นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางลิ้นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางลิ้นนั้น.
ความรู้ทางกายเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางกายนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางกายนั้น.
ความรู้ทางใจเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความรู้ทางใจนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความรู้ทางใจนั้น.
ความกระทบทางตาเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางตานั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางตานั้น.
ความกระทบทางหูเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางหูนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางหูนั้น.
ความกระทบทางจมูกเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางจมูกนั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางจมูกนั้น.
ความกระทบทางลิ้นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางลิ้นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางลิ้นนั้น.
ความกระทบทางกายเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางกายนั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความกระทบทางกายนั้น.
ความกระทบทางใจเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความกระทบทางใจนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความกระทบทางใจนั้น.
เวทนาที่เกิดแต่จักษุสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่จักษุสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่โสตสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ฆานสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่ชิวหาสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่กายสัมผัสนั้น.
เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหา
นั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น
เมื่อจะดับก็ย่อมดับที่เวทนาซึ่งเกิดแต่มโนสัมผัสนั้น.
ความจำรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความจำรูปนั้น.
ความจำเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคล
จะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำเสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความจำ
เสียงนั้นความจำกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคล
จะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำกลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความจำ
กลิ่นนั้น.ความจำรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคล
จะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำรสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความจำรสนั้น
ความจำโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำโผฏฐัพพะเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความจำโผฏฐัพพะนั้น.
ความจำธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความจำธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความจำธัมมารมณ์นั้น.
ความคิดถึงรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับ
ความคิดถึงรูปนั้น.
ความคิดถึงเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงเสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความคิดถึงเสียงนั้น.
ความคิดถึงกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั่นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงกลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับ
ความคิดถึงกลิ่นนั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 248
ความคิดถึงรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงรสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่
ความคิดถึงรสนั้น.
ความคิดถึงโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะดับ
ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความคิดถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความคิดถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความอยากในรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับ
เสียได้ที่ความอยากในรูปนั้น.
ความอยากในเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับเสียได้ที่ความอยากในเสียงนั้น.
ความอยากในกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในกลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความอยากในกลิ่นนั้น.
ความอยากในรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในรสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่
ความอยากในรสนั้น.
ความอยากในโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะดับ
ก็ดับได้ที่ความอยากในโผฏฐัพพะนั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 249
ความอยากในธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับที่ความอยากในธัมมารมณ์นั้น.
ความตรึกถึงรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับได้
ที่ความตรึกถึงรูปนั้น.
ความตรึกถึงเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงเสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่
ความตรึกถึงเสียงนั้น.
ความตรึกถึงกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อม
ดับที่ความตรึกถึงกลิ่นนั้น.
ความตรึกถึงรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงรสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงรสนั้น.
ความตรึกถึงโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความตรึกถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความตรึกถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับก็
ย่อมดับเสียได้ที่ความตรึกถึงธัมมารมณ์นั้น.
ความตรองถึงรูปเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อ
บุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับ
เสียได้ที่ความตรองถึงรูปนั้นความตรองถึงเสียงเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงเสียงนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความตรองถึงเสียงนั้นความตรองถึงกลิ่นเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงกลิ่นนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความตรองถึงกลิ่นนั้นความตรองถึงรสเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมจะละเสียได้ที่ความตรองถึงรสนั้นเมื่อจะดับก็ย่อมดับที่ความตรองถึงรสนั้น.
ความตรองถึงโผฏฐัพพะเป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเลียได้ที่ความตรองถึงโผฏฐัพพะนั้น.
ความตรองถึงธัมมารมณ์เป็นที่รักใคร่เป็นที่พอใจในโลกตัณหานั้น
เมื่อบุคคลจะละเสียก็ย่อมละเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้นเมื่อจะดับ
ก็ย่อมดับเสียได้ที่ความตรองถึงธัมมารมณ์นั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าอริยสัจคือทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์).
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๒๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์) เป็นอย่างไร. ทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์๘ทางเดียวนี้แลทางนี้เป็นอย่างไรคือความเห็นชอบความดำริชอบการเจรจาชอบการกระทำชอบการเลี้ยงชีพชอบความพยายามชอบความระลึกชอบความตั้งจิตมั่นชอบ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความรู้ในทุกข์ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ความรู้
ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ความรู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์อันใดแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมาทิฏฐิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เป็นอย่างไร
ความดำริในการออกบวช (คือออกจากกามารมณ์) ความดำริในความไม่พยาบาท
ความดำริในการไม่เบียดเบียน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมาสังกัปปะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาวาจา (การเจรจาชอบ) เป็นอย่างไร
การเว้นจากการกล่าวเท็จการเว้นจากวาจาส่อเสียดการเว้นจากวาจาหยาบคาย
การเว้นจากเจรจาเพ้อเจ้อดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมาวาจา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) เป็นอย่างไร
การเว้นจากการฆ่าสัตว์การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้การ
เว้นจากความประพฤติผิดในกามดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมา-
กัมมันตะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีพชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ละความเลี้ยงชีพผิดเสีย
แล้วย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพชอบดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้
กล่าวว่าสัมมาอาชีวะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาวายามะ (ความพยายามชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาป
ที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้นย่อมยังความพอใจให้บังเกิดย่อมพยายามย่อม
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 252
ปรารภความเพียรย่อมประ
ปรารภความเพียรย่อมประคองตั้งจิตไว้เพื่อจะละอกุศลธรรมอันเป็นบาป
ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมยังความพอใจให้บังเกิดย่อมพยายามย่อมปรารภความ
เพียรย่อมประคองตั้งจิตไว้เพื่อจะยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น
ย่อมยังความพอใจให้บังเกิดย่อมพยายามย่อมปรารภความเพียรย่อมประคอง
ตั้งจิตไว้เพื่อความตั้งอยู่ไม่ใช่สาบศูนย์เจริญยิ่งไพบูลย์มีขึ้นเต็มเปี่ยม
แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมยังความพอใจให้เกิดขึ้นย่อมพยายามย่อม
ปรารภความเพียรย่อมประคองตั้งจิตไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่า
สัมมาวายามะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย
เนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌา
และโทมนัส (ความยินดีและความยินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศย่อมเป็น
ผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมี
สัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศย่อมเป็นผู้พิจารณา
เห็นจิตในจิตเนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสติ
นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมเนืองๆอยู่มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อนมีสัมปชัญญะมีสตินำอภิชฌา
และโทมนัสในโลกเสียให้พินาศดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมาสติ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดแล้วจากกามารมณ์สงัดแล้ว
จากธรรมที่เป็นอกุศลเข้าถึงปฐมฌาน (ความเพ่งที่๑) ประกอบด้วยวิตก
และวิจารมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกเพราะความที่วิตกและวิจาร (ทั้ง๒)
ระงับลงเข้าถึงทุติฌาน (ความเพ่งที่๒) เป็นเครื่องผ่องใสใจณภายใน
ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้นไม่มีวิตกไม่มีวิจารมีแต่ปีติและสุขที่
เกิดจากสมาธิอนึ่งเพราะความที่ปีติปราศไปย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่
และมีสติสัมปชัญญะและเสวยความสุขด้วยกายอาศัยคุณคืออุเบกขาสติ
สัมปชัญญะและเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุพระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมกล่าว
สรรเสริญผู้นั้นว่าเป็นผู้อุเบกขามีสติอยู่เป็นสุขเข้าถึงตติยฌาน(ความเพ่ง
ที่๓) เพราะละสุขเสียได้เพราะละทุกข์เสียได้เพราะความที่โสมนัสและ
โทมนัส (ทั้ง๒) ในกาลก่อนอัสดงดับไปเข้าถึงจตุตถฌาน (ความเพ่งที่๔)
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขมีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่าสัมมาสมาธิ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้กล่าวว่า
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาดังนี้.
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้างย่อมพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้างย่อม
พิจารณาเห็นธรรมดาคือความเสื่อมไปในธรรมบ้างย่อมพิจารณาเห็น
ธรรมดาคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของ
เธอที่ตั้งอยู่ว่าธรรมมีอยู่แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก.
เธอย่อมเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลก
ด้วย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ
๔อย่างนี้แล.
อานิสงส์การเจริญสติปัฏฐาน๔.
[๓๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐาน๔นี้
ว่าอย่างนั้นตลอด๗ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๗ปียกไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพึงเจริญสติ
ปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๖ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผลอันใดอันหนึ่ง
คือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ก็เป็นพระ-
อนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๖เปียกไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งพึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๕ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผล
อันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๕ปียกไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๔ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผล
อันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๔ปียกไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งพึง
เจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๓ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผล
อันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๓ปียกไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๒ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๒ปียกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๑ปีผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยังเหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปีหนึ่งยกไว้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๗เดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๗เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๖เดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๖เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๕เดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๕เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๔เดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 256
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๔เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๓เดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๓เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๒เดือนผู้นั้นพึงหวังผลใน๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๒เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๑เดือนผู้นั้นพึงหวังผลใน๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๑เดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอดกึ่งเดือนผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒
ผลอันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกึ่งเดือนยกไว้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง๔นี้อย่างนั้นตลอด๗วันผู้นั้นพึงหวังผลทั้ง๒ผล
อันใดอันหนึ่งคือพระอรหัตผลในปัจจุบันชาตินี้๑หรือเมื่ออุปาทิยัง
เหลืออยู่ก็เป็นพระอนาคามี๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายทางนี้เป็นที่ไปอันเอกเพื่อความหมดจดวิเศษ
ของสัตว์ทั้งหลายเพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโสกและความร่ำไรเพื่ออัสดงดับไป
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 257
แห่งทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรมเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง
ทางนี้คือสติปัฏฐาน๔อย่างด้วยประการฉะนี้.
คำอันใดที่กล่าวแล้วอย่างนี้คำอันนั้นเราอาศัยเอกายนมรรค
(คือสติปัฏฐาน๔) นี้กล่าวแล้วด้วยประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้วภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี
เพลิดเพลินนักซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
มหาสติปัฏฐานสูตรมีคำเริ่มต้นว่าข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. ใน
มหาสติปัฏฐานสูตรนั้นมีพรรณนาตามลำดับบทดังต่อไปนี้.
มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร
เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระสูตรนี้ว่าดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายหนทางนี้เป็นทางเดียวก็เพราะชนชาวแคว้นกุรุสามารถรับเทศนาที่
ลึกซึ้งได้.เล่ากันว่าชาวแคว้นกุรุไม่ว่าเป็นภิกษุภิกษุณีและอุบาสกอุบาสิกา
มีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์อยู่เป็นนิจด้วยเสพปัจจัยคือฤดูเป็นที่สบายเพราะ
แคว้นนั้นสมบูรณ์ด้วยสัปปายะมีอุตุสัปปายะเป็นต้น. ชาวกุรุนั้นมีกำลัง
ปัญญาอันร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์อุดหนุนแล้วจึงสามารถรับเทศนาที่ลึก
ซึ้งนี้ได้. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็นความเป็นผู้สามารถรับ
เทศนาที่ลึกซึ้งอันนี้จึงทรงยกกัมมัฏฐาน๒๑ฐานะใส่ลงในพระอรหัตตรัส
มหาสติปัฏฐานสูตรที่มีอรรถอันลึกซึ้งนี้แก่ชาวกุรุเหล่านั้น. เปรียบเสมือน
บุรุษได้ผอบทองแล้วพึงบรรจงใส่ดอกไม้นานาชนิดลงในผอบทองนั้นหรือว่า
บุรุษได้หีบทองแล้วพึงใส่รตนะ๗ลงฉันใดแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าฉันนั้น
ทรงได้บริษัทชาวกุรุแล้วจึงทรงวางเทศนาที่ลึกซึ้ง. ด้วยเหตุนั้นแลในข้อนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรอื่นๆอีกมีอรรถอันลึกซึ้งในคัมภีร์
ทีฆนิกายนี้ก็คือมหานิทานสูตรในคัมภีร์มัชฌิมนิกายก็คือสติปัฏฐานสูตร
สาโรปมสูตรรุกโขปมสูตรรัฏฐปาลสูตรมาคัณฑิยสูตรอาเนญชสัปปายสูตร.
อนึ่งบริษัท๔ในแคว้นกุรุนั้นต่างประกอบเนืองๆในการเจริญสติ
ปัฏฐานอยู่โดยปกติโดยที่สุดคนรับใช้และคนงานทั้งหลายก็พูดกันแต่เรื่อง
ที่เกี่ยวด้วยสติปัฏฐานกันทั้งนั้นแม้แต่ในที่ท่าน้ำที่กรอด้ายเป็นต้นก็ไม่มี
การพูดกันถึงเรื่องที่ไร้ประโยชน์เลย. ถ้าสตรีบางท่านถูกถามว่าคุณแม่จ๊ะคุณ
แม่ใสใจสติปัฎฐานข้อไหนนางจะไม่ตอบว่าอะไรชาวกุรุจะติเตียนเขาว่าน่า
ตำหนิชีวิตของเจ้าจริงๆเจ้าถึงเป็นอยู่ก็เหมือนตายแล้วต่อนั้นก็จะสอนเขาว่า
อย่าทำอย่างนี้อีกต่อไปนะแล้วให้เขาเรียนสติปัฏฐานข้อใดข้อหนึ่ง. แต่สตรี
ผู้ใดพูดว่าดิฉันใส่ใจสติปัฏฐานข้อโน้นเจ้าค่ะชาวกุรุก็จะกล่าวรับรองว่าสาธุ
สาธุแก่นางสรรเสริญด้วยถ้อยคำต่างๆเป็นต้นว่าชีวิตของเจ้าเป็นชีวิตดีสม
กับที่เจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติมาเพื่อประโยชน์แก่เจ้า
แท้ๆ. ในข้อนี้มิใช่ชาวกุรุที่เกิดมาเป็นมนุษย์ประกอบด้วยการใส่ใจสติปัฏฐาน
แต่พวกเดียวเท่านั้นแม้แต่สัตว์ดิรัจฉานที่อาศัยชาวกุรุอยู่ก็ใส่ใจเจริญสติ
ปัฏฐานด้วยเหมือนกัน. ในข้อนั้นมีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้.
เรื่องลูกนกแขกเต้า
เขาเล่าว่านักฟ้อนรำผู้หนึ่งจับลูกนกแขกเต้าได้ตัวหนึ่งฝึกสอน
มันพูดภาษาคน ( ตัวเองเที่ยวไปแสดงการฟ้อนรำในที่อื่นๆ). นักฟ้อนรำผู้นั้น
อาศัยสำนักของนางภิกษุณีอยู่เวลาไปในที่อื่นๆลืมลูกนกแขกเต้าเสียสนิท
แล้วไป. เหล่าสามเณรีก็จับมันมาเลี้ยงตั้งชื่อมันว่าพุทธรักขิต. วันหนึ่งพระมหา
เถรี. เห็นมันจับอยู่ตรงหน้าจึงเรียกมันว่าพุทธรักขิต. ลูกนกแขกเต้าจึงขาน
ถามว่าอะไรจ๊ะแม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงถามว่าการใส่ใจภาวนาอะไรๆของเจ้า
มีบ้างไหม. มันตอบว่าไม่มีจ๊ะแม่เจ้า. พระมหาเถรีจึงสอนว่าขึ้นชื่อว่าผู้อยู่ใน
สำนักของพวกนักบวชจะปล่อยตัวอยู่ไม่สมควรควรปรารถนาการใส่ใจบาง
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 260
อย่างแต่เจ้าไม่ต้องสำเหนียกอย่างอื่นดอกจงท่องว่าอัฏฐิอัฏฐิก็พอ. ลูกนก
แขกเต้านั้นก็อยู่ในโอวาทของพระเถรีท่องว่าอัฏฐิอัฏฐิอย่างเดียวแล้วเที่ยว
ไป. วันหนึ่งตอนเช้ามันจับอยู่ที่ยอดประตูผึ่งแดดอ่อนอยู่แม่เหยี่ยวตัวหนึ่งก็
เฉี่ยวมันไปด้วยกรงเล็บ. มันส่งเสียงร้องกิริๆ. เหล่าสามเณรีก็ร้องว่าแม่เจ้า
พุทธรักขิตถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไปเราจะช่วยมันต่างคว้าก้อนดินเป็นต้นไล่ตาม
จนเหยี่ยวปล่อย. เหล่าสามเณรีนำมันมาวางไว้ตรงหน้าพระมหาเถรีๆถามว่า
พุทธรักขิตขณะถูกเหยี่ยวจับไปเจ้าคิดอย่างไร. ลูกนกแขกเต้าตอบว่าแม่เจ้าไม่
คิดอะไรๆดอกคิดแต่เรื่องกองกระดูกเท่านั้นจะแม่เจ้าว่ากองกระดูกพากอง
กระดูกไปจักเรี่ยราดอยู่ในที่ไหนหนอ. พระมหาเถรีจึงให้สาธุการว่าสาธุสาธุ
พุทธรักขิตนั้นจักเป็นปัจจัยแห่งความสิ้นภพของเจ้าในกาลภายภาคหน้าแล.
แม้สัตว์ดิรัจฉานในแคว้นกุรุนั้นก็ประกอบเนืองๆซึ่งสติปัฏฐานด้วยประการ
ฉะนี้เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงความเจริญแพร่หลายแห่ง
สติปัฏฐานของชาวกุรุเหล่านั้นจึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
อธิบายความตามลำดับบท
ในพระสูตรนั้นข้อว่าเป็นทางเดียวคือเป็นทางเอก. แท้จริง
ทางมีมากชื่อคือ
มัคคะปันถะปถะปัชชะอัญชสะ
วฏุมะอยนะนาวาอุตตรเสตุกุลละภิสิสังกมะ
ทางนี้นั้นในที่นี้ท่านกล่าวโดยชื่อว่าอยนะเพราะฉะนั้นในข้อที่ว่าดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นทางเดียวนี้จึงควรเห็นความย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหนทางนี้เป็นทางเอกมิใช่ทางสองแพร่ง.
อีกนัยหนึ่งชื่อว่าเอกายนะเพราะอรรถวิเคราะห์ว่าเป็นทางที่บุคคลพึงไปผู้เดียว.
คำว่าผู้เดียวคือคนที่ละการคลุกคลีด้วยหมู่ปลีกตัวไปสงบสงัด.
ข้อว่าพึงไปคือพึงดำเนินไป. อีกนัยหนึ่ง
ชื่อว่าอยนะเพราะอรรถวิเคราะว่าเป็นเครื่องไปอธิบายว่าไปจากสังสารวัฏสู่พระนิพพาน. หนทางไปของบุคคลผู้เป็นเอกชื่อว่าเอกายนะ.
บทว่าเอกสฺสคือของบุคคลผู้ประเสริฐสุดแห่งสรรพสัตว์. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประเสริฐกว่าสรรพ-สัตว์
เพราะฉะนั้นท่านจึงอธิบายว่าหนทางของพระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้สัตว์
เหล่าอื่นถึงจะเดินไปด้วยหนทางนั้นก็จริงแม้เช่นนั้นหนทางนั้นก็เป็นทาง
เดินของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นเพราะเป็นทางที่พระองค์ทรงทำให้เกิดขึ้น.
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในโคปกโมคคัลลานสูตร) ว่าดูก่อนพราหมณ์พระผู้มี
พระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นดังนี้เป็นต้น . อีกนัยหนึ่ง
ทางย่อมไปเหตุนั้นจึงชื่อว่าอยนะอธิบายว่าไปคือเป็นไป. หนทางไป
ในธรรมวินัยอันเดียวชื่อว่าเอกายนะท่านอธิบายว่าหนทางเป็นไปในธรรม
วินัยนี้เท่านั้นไม่เป็นไปในธรรมวินัย (ศาสนา) อื่น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้
(ในมหาปรินิพพานสูตร) ว่าดูก่อนสุภัททะมรรคมีองค์๘ที่เป็นอริยะบุคคล
จะได้ก็แต่ในธรรมวินัยนี้แลดังนี้. ก็มรรคนั้นต่างกันโดยเทศนาแต่โดย
อรรถก็อันเดียวกันนั้นเอง.
อีกนัยหนึ่งหนทางย่อมไปครั้งเดียวเหตุนั้นหนทางนั้นจึงชื่อ
เอกายนะ (ทางไปครั้งเดียว). ท่านอธิบายว่าหนทางแม้เป็นไปโดยมุขคือ
ภาวนามีนัยต่างๆกันเบื้องต้นในเบื้องปลายก็ไปสู่พระนิพพานอันเดียวกัน
นั่นเอง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าท้าว
สหัมบดีพรหมกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 262
เอกายนํชาติขยนฺตทสฺสี
มคฺคํปชานาติหิตานุกมฺปี
เอเตนมคฺเคนตรึสุปุพฺเพ
ตริสฺสเรเจวตรนฺติใจฆํ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นธรรม
เป็นที่สิ้นชาติทรงพระกรุณาอนุเคราะห์
ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทรงทราบชัด
เอกายนมรรคพระพุทธะทั้งหลายในอดีต
พากันข้ามโอฆะ(โอฆะ๔) ด้วยมรรคนั้น
มาแล้วพระพุทธะทั้งหลายในอนาคตก็
จักข้ามโอฆะด้วยมรรคนั้นและพระพุทธะ
ทั้งในปัจจุบันก็ข้ามโอฆะด้วยมรรคอย่าง
เดียวกันนั้นแล.
แต่เกจิอาจารย์กล่าวตามนัยแห่งคาถาที่ว่าชนทั้งหลายไม่ไปสู่ฝั่ง
(พระนิพพาน) สองครั้งดังนี้ว่าเพราะเหตุบุคคลไปพระนิพพานได้คราวเดียว
ฉะนั้นหนทางนั้นจึงชื่อว่าเอกายนะไปคราวเดียว. คำนั้นไม่ถูก. เพราะอรรถนี้
จะพึงมีพยัญชนะอย่างนี้ว่าสกึอยโนไปคราวเดียว. ก็ถ้าหากว่าจะพึงประกอบ
อรรถะกล่าวอย่างนี้ว่าการไปครั้งเดียวคือการดำเนินครั้งเดียวของมรรคนั้น
เป็นไปอยู่ดังนี้พยัญชนะก็น่าจะถูก. แต่อรรถะไม่ถูกทั้งสองประการ. เพราะ
เหตุไร. ก็เพราะในที่นี้ท่านประสงค์แต่มรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้น. เป็นความจริง
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาแต่มรรคที่มีสติปัฏฐานเป็นส่วนเบื้องต้นซึ่งเป็นไป
โดยอารมณ์๔มีกายเป็นต้น. มิได้ประสงค์เอามรรคที่เป็นโลกุตตระ. ด้วยว่า
มรรคที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นย่อมดำเนินไปแม้มากครั้งทั้งการดำเนินไปของ
มรรคนั้นก็มิใช่มีครั้งเดียว.
ธรรมสากัจฉาของพระมหาเถระ
ในข้อนี้แต่ก่อนพระมหาเถระทั้งหลายก็ได้เคยสนทนากันมาแล้ว.
ท่านพระจุลลนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกกล่าวว่าสติปัฏฐานเป็นมรรค
เบื้องต้น (บุพภาค). ส่วนท่านจุลลสุมนเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกอาจารย์
ของท่านพระจุลลนาคเถระกล่าวว่าเป็นมรรคผสม (มิสสกะ). ศิษย์ว่าเป็น
ส่วนเบื้องต้นขอรับ. อาจารย์ว่าเป็นมรรคผสมนะเธอ. แต่เมื่ออาจารย์พูดบ่อยๆ
เข้าศิษย์ก็ไม่ค้านกลับนิ่งเสีย. ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์ตกลงปัญหากันไม่ได้
ต่างก็ลุกไป. ภายหลังพระเถระผู้เป็นอาจารย์เดินไปโรงสรงน้ำคิดใคร่ครวญว่า
เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสมส่วนท่านจุลลนาคยึดหลักกล่าวว่าเป็นส่วนเบื้องต้น
ข้อวินิจฉัยในข้อนี้เป็นอย่างไรกันหนอเมื่อทบทวนสวดพระสูตร (มหาสติ
ปัฏฐานสูตร) ตั้งแต่ต้นก็กำหนดได้ตรงนี้ที่ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใดผู้หนึ่ง
พึงเจริญสติปัฏฐาน๔เหล่านี้ถึง๗ปีก็รู้ว่าโลกุตตมรรคเกิดขึ้นแล้วชื่อว่า
ตั้งอยู่ถึง๗ปีไม่มีที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสมย่อมไม่ได้ (ไม่ถูก) ส่วน
ที่ท่านจุลลนาคเห็นว่าเป็นมรรคส่วนเบื้องต้นย่อมได้ (ถก) เมื่อเขาประกาศ
การฟังธรรมวัน๘ค่ำท่านก็ไป.
เล่ากันว่าพระเถระเก่าๆเป็นผู้รักการฟังธรรมครั้นได้ยินเสียง
ประกาศก็เปล่งเสียงเป็นอันเดียวกันว่าผมก่อนผมก่อน. วันนั้นเป็นวาระ
ของท่านพระจุลลนาคเถระ. ท่านนั่งบนธรรมาสน์จับพัดกล่าวคาถาเบื้องต้น
พระเถระผู้อาจารย์อยู่หลังอาสนะก็คิดว่าจะนั่งลับๆไม่พูดจาละ. แท้จริง
พระเถระเก่าๆไม่ริษยากันไม่หยิบยกเอาความชอบใจของตนขึ้นเป็นภาระ
อย่างแบกท่อนอ้อยถือเอาแต่เหตุ (ที่ควร) เท่านั้นที่มิใช่ก็สละไปเพราะ
ฉะนั้นท่านพระจุลลสุมนเถระจึงเรียกท่านจุลลนาคเบาๆท่านจุลลนาคเถระ
ได้ยินเหมือนเสียงอาจารย์เรียกจึงหยุดธรรมกถาถามว่าอะไรขอรับ .
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 264
อาจารย์กล่าวว่าท่านจุลลนาคที่เรากล่าวว่าเป็นมรรคผสมนั้นไม่ถูกดอก
ส่วนที่เธอกล่าวว่าสติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้นถูกแล้ว. ท่านพระจุลลนาคเถระ
คิดว่าอาจารย์ของเราทรงปริยัติธรรมไว้ทั้งหมดเป็นสุตพุทธะทางพระไตรปิฎก
ภิกษุเห็นปานนี้ยังวุ่นวายกับปัญหามากต่อไปภายภาคหน้าพระธรรมกถึก
ทั้งหลายจักวุ่นวายกับปัญหาชนิดนี้เพราะฉะนั้นเราจักยึดพระสูตรเป็นหลัก
ทำปัญหาชนิดนี้ไม่ให้วุ่นวายต่อไปละ. สติปัฏฐานเป็นมรรคเบื้องต้นแต่
ปฏิสัมภิทามรรคเรียกว่าเอกายนมรรค. ท่านจึงนำพระสูตร (ในธรรมบท
ขุททกนิกาย) ตั้งเป็นบทอุเทศว่า
มคฺคานฏฐงฺคิโกเสฏฺโฐสจฺจานํจตุโรปทา
วิราโคเสฏฺโฐธมฺมานํทิปทานญฺจจกฺขุมา
เอเสวมคฺโคนตฺถญฺโญทสฺสนสฺสวิสุทฺธิยา
เอตญฺหิตุมฺเหปฏิปชฺชถมารเสนปฺปมทฺทนํ
เอตญฺหิตุมฺเหปฏิปนฺนาทุกขสฺสสนฺตํกริสฺสถ
บรรดาทางทั้งหลายทางมีองค์๘
ประเสริฐสุดบรรดาสัจจะทั้งหลายบท
ทั้ง๔ (อริยสัจ) ประเสริฐสุดบรรดาธรรม
ทั้งหลายวิราคธรรมประเสริฐสุดบรรดา
สัตว์สองเท้าทั้งหลายพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ
ประเสริฐสุดทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมด
จดแห่งทรรศนะทางอื่นไม่มีท่านทั้งหลาย
จงเดินทางนี้ที่เป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร
ท่านทั้งหลายเดินทางนี้แล้วจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ดังนี้.
ในข้อว่ามรรคที่ชื่อว่ามรรคเพราะอรรถว่าอะไร. เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องเดินไปสู่พระนิพพานอย่างหนึ่งเพราะอรรถว่าอันผู้ต้องการ
พระนิพพานพึงค้นหาอย่างหนึ่ง.
ข้อว่าเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายหมายความว่าเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเศร้าหมองเพราะมลทินทั้งหลายมีราคะเป็นต้นและเพราะอุปกิเลสทั้งหลายมีอภิชฌาวิสมโลภะเป็นต้นเป็นความจริงสัตว์เหล่านี้คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอเนกตั้งต้นแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกรเมธังกรสรณังกรทีปังกรซึ่งปรินิพพานในกัปเดียวเท่านั้นเบื้องต้นแต่๔อสงไขยแสนกัปป์แต่กัปป์นี้ลงมาจนถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่าศากยมุนีเป็นที่สุดพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายร้อยแลพระอริยสาวกทั้งหลายอีกนับไม่ถ้วนต่างลอยมลทินทางจิตทั้งหมดถึงความหมดจดอย่างยิ่งด้วยทางนี้เท่านั้น. การบัญญัติความเศร้าหมองและผ่องแผ้วโดยมลทินทางรูปอย่างเดียวไม่มีสมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า
รูเปนสงฺกิลิฏฺเฐนสํกิลิสฺสนฺติมาณวา
รูเปสุทฺเธวิสุชฺฌนฺติอนกฺขาตํมเหสินา
จิตฺเตนสงฺกิลิฏฺเฐนสํกิลิสฺสนฺติมาณวา
จิตฺเตสุทฺเธวิสุชฺฌนฺติอิติวุตฺตํมเหสินา.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่ง
ใหญ่มิได้ตรัสสอนว่าคนทั้งหลายมีรูป
เศร้าหมองแล้วจึงเศร้าหมองมีรูปหมดจด
แล้วจึงหมดจดแต่พระผู้ทรงแสวงหาคุณ
อันยิ่งใหญ่ทรงสอนว่าคนทั้งหลายมีจิต
เศร้าหมองแล้วจึงเศร้าหมองมีจิตหมด
จดแล้วจึงหมดจดดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 266
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายขันธวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลายย่อมเศร้าหมองเพราะจิตเศร้าหมองย่อมบริสุทธิ์เพราะจิต
ผ่องแผ้วดังนี้. ก็ความผ่องแผ้วแห่งจิตนั้นย่อมมีได้ด้วยมรรคคือสติปัฏฐานนี้.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย.
ข้อว่าเพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะหมายความว่าเพื่อก้าว
ล่วงคือละโสกะและปริเทวะ. จริงอยู่มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อก้าวล่วงโสกะเหมือนอย่างโสกะของสันตติมหาอำมาตย์เป็นต้น
เพื่อก้าวล่วงปริเทวะเหมือนอย่างปริเทวะของนางปฏาจาราเป็นต้นเพราะ
เหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ. แท้จริง
สันตติมหาอำมาตย์ฟังคาถาที่ว่า
ยํปุพฺเพตํวิโสเธหิปจฺฉาเตมาหุกิญฺจนํ
มชฺเฌเจโนคเหสฺสสิอุปสนฺโตจริสฺสสิ
ท่านจงทำความโศกในกาลก่อนให้
เหือดแห้งท่านอย่ามีความกังวลใจในกาล
ภายหลังถ้าท่านจักไม่ยึดถือในท่ามกลาง
ก็จักเป็นผู้สงบเที่ยวไปดังนี้
แล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทานางปฏาจาราฟังพระคาถานี้ว่า
นสนฺติปุตฺตาตาณายนปิตานปิพนฺธวา
อนฺตเกนาธิปนฺนสฺสนตฺถิญาตีสุตาณตา
มีบุตรไว้เพื่อช่วยก็ไม่ได้บิดาก็ไม่ได้
พวกพ้องก็ไม่ได้เมื่อความตายมาถึงตัว
แล้วญาติทั้งหลายก็ช่วยไม่ได้ดังนี้
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 267
แล้วก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลก็เพราะเหตุว่าชื่อว่าการไม่ถูกต้องธรรมบางอย่าง
ในกายเวทนาจิตธรรมทั้งหลายแล้วภาวนาไม่มีเลยฉะนั้นสันตติมหา-
อำมาตย์กับนางปฏาจาราแม้นั้นจึงควรทราบว่าเป็นผู้ก้าวล่วงโสกะและปริเทวะ
ด้วยมรรคนี้เอง.
ข้อว่าเพื่อดับทุกข์และโทมนัสความหมายว่าเพื่อตั้งอยู่ไม่ได้
คือดับทั้งสองนี้คือทุกข์ทางกายและโทมนัสทางใจ. ด้วยว่ามรรคนี้
บุคคลเจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์เหมือนทุกข์ของพระติสสเถระเป็นต้น
ดับโทมนัสเหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะเป็นต้น. ในเรื่องทั้งสองนั้น
แสดงความดังต่อไปนี้.
เรื่องทุกข์ของพระติสสเถระ
เล่ากันว่าในกรุงสาวัตถีบุตรของกุฏุมภีชื่อติสสะทรัพย์๔๐โกฏิ
ออกบวชโดดเดี่ยวอยู่ในป่าที่ไม่มีบ้าน. ภริยาของน้องชายท่านส่งโจร๕๐๐ให้
ไปฆ่าท่านเสีย. พวกโจรไปล้อมท่านไว้. ท่านจึงถามว่าท่านอุบาสกมาทำไมกัน
พวกโจรตอบว่ามาฆ่าท่านนะซิ. ท่านจึงพูดขอร้องว่าท่านอุบายสกทั้งหลาย
โปรดรับประกันอาตมาให้ชีวิตอาตมาสักคืนหนึ่งเถิด. พวกโจรกล่าวว่าสมณะ
ใครจักประกันท่านในฐานะอย่างนี้ได้. พระเถระก็จับหินก้อนใหญ่ทุบกระดูกขา
ทั้งสองข้างแล้วกล่าวว่าประกันพอไหม. เหล่าโจรพวกนั้นก็ยังไม่หลบไป
กลับก่อไฟนอนเสียที่ใกล้จงกรมพระเถระข่มเวทนาพิจารณาศีลอาศัยศีล
ที่บริสุทธิ์ก็เกิดปีติและปราโมช. ลำดับต่อจากนั้นก็เจริญวิปัสสนาทำสมณ
ธรรมตลอดคืนในยามทั้งสามพออรุณขึ้นก็บรรลุพระอรหัตจึงเปล่งอุทานว่า
อุโภปาทานิภินฺทิตฺวาสญฺญมิสฺสามิโวอหํ
อฏฺฏิยามิหรายามิสราคมรเณอหํ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 268
เอวาหํจินฺตยิตฺวานยถาภูตํวิปสฺสิสํ
สมฺปตฺเตอรุณุคฺคมฺหิอรหตฺตํอปาปุณึ
เราทุบเท้าสองข้างป้องกันท่าน
ทั้งหลายเราเอือมระอาในความตายทั้งที่
ยังมีราคะเราคิดอย่างนี้แล้วก็เห็นแจ้ง
ตามเป็นจริงพอรุ่งอรุณมาถึงเราก็บรรลุ
พระอรหัตดังนี้.
เรื่องทุกข์ของภิกษุ๓๐รูป
ภิกษุ๓๐รูปอีกกลุ่มหนึ่งเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มี
พระภาคเจ้าแล้วจำพรรษาในวัดป่าทำกติกากันว่าผู้มีอายุเราควรทำสมณ-
ธรรมตลอดคืนในยามทั้งสามเราไม่ควรมายังสำนักของกันและกันแล้วต่าง
คนต่างอยู่. เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำสมณธรรมตอนใกล้รุ่งก็โงกหลับเสือตัวหนึ่ง
ก็มาจับภิกษุไปกินทีละรูปๆ. ภิกษุไรๆก็มิได้เปล่งแม้วาจาว่าเสือคาบผมแล้ว.
ภิกษุถูกเสือกินไป๑๕รูปด้วยอาการอย่างนี้ถึงวันอุโบสถภิกษุที่เหลือ
ก็ถามว่าท่านอยู่ที่ไหนและรู้เรื่องแล้วก็กล่าวว่าถูกเสือคาบควรบอกว่าบัดนี้
เราถูกเสือคาบไปๆแล้วก็อยู่กันต่อไป. ต่อมาเสือก็จับภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งโดย
นัยก่อน. ภิกษุหนุ่มก็ร้องว่าเสือขอรับ. ภิกษุทั้งหลายก็ถือไม้เท้าและคบ
เพลิงติดตามหมายว่าจะให้มันปล่อยเสือก็ขึ้นไปยังเขาขาดทางที่ภิกษุทั้งหลาย
ไปไม่ได้เริ่มกินภิกษุนั้นตั้งแต่นิ้วเท้า. ภิกษุทั้งหลายนอกนั้นก็ได้แต่กล่าวว่า
สัปบุรุษบัดนี้กิจที่พวกเราจะต้องทำไม่มีขึ้นชื่อว่าความวิเศษของภิกษุทั้งหลาย
ย่อมปรากฏในฐานะเช่นนี้. ภิกษุหนุ่มนั้นนอนอยู่ในปากเสือข่มเวทนา
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 269
เจ็บปวดแล้วเจริญวิปัสสนาตอนเสือกินถึงข้อเท้าเป็นพระโสดาบันตอนกิน
ไปถึงหัวเข่าเป็นพระสกทาคามีตอนเสือกินไปถึงท้องเป็นพระอนาคามี
ตอนเสือกินไปยังไม่ถึงหัวใจก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาจึงเปล่ง
อุทานดังนี้ว่า
สีลวาวตฺตสมฺปนฺโนปญฺญวาสุสมาหิโต
มุหุตฺตํปมาทมนฺวายพฺยคฺเฆโนรุทฺธมานโส
ปญฺชรสฺมึโสคเหตฺวาสิลายอุปรีกโต
กามํขาทตุมํพฺยคฺโฆอฏฺฐิยาจนฺหารุสฺสจ
กิเลเสเขปยิสฺสามิผุสิสฺสามิวิมุตฺติยํ
เรามีศีลถึงพร้อมด้วยวัตรมีปัญญา
มีใจมั่นคงดีแล้วอาศัยความประมาทครู่
หนึ่งทั้งที่มีใจไม่คิดร้ายในเสือมันก็จับ
ไว้ในกรงเล็บพาไปไว้บนก้อนหินเสือ
จงกินเราถึงกระดูกและเอ็นก็ตามทีเราจัก
ทำกิเลสให้สิ้นไปจักสัมผัสวิมุตติดังนี้.
เรื่องทุกข์ของพระปีติมัลลเถระ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งชื่อปีติมัลลเถระครั้งเป็นคฤหัสถ์ท่านถือธงมา
เกาะลังกาถึง๓รัชกาลเข้าเฝ้าพระราชาแล้วได้รับพระราชานุเคราะห์
วันหนึ่งเดินทางไปประตูศาลาที่มีที่นั่งปูด้วยเสื่อลำแพนได้พึงนตุมหากวรรค
(ในสังยุตตนิกายขันธวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายรูปไม่ใช่ของท่าน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 270
ท่านจงละรูปนั้นเสียรูปนั้นท่านละได้แล้วจักมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อ
ความสุขตลอดกาลนานดั่งนี้แล้วก็คิดว่ามิใช่รูปเท่านั้นเวทนาก็ไม่ใช่ของ
ตน. เขาทำพระบาลีนั้นให้เป็นหัวข้อแล้วออกไปยังมหาวิหารขอบวช
บรรพชาอุปสมบทแล้วกระทำมาติกาให้ทั้งสองคล่องแคล่วพาภิกษุ๓๐รูป
ไปยังลานณตำบลควปรปาลีกระทำสมณธรรม. เมื่อเท้าเดินไม่ไหวก็คุก
เข่าเดินจงกรม. ในคืนนั้นพรานเนื้อผู้หนึ่งสำคัญว่าเนื้อก็พุ่งหอกออกไป
หอกก็แล่นถูกท่านถึงทะลุท่านก็ให้เขาชักหอกออกเอาเกลียวหญ้าอุดปากแผล
ให้เขาจับตัวนั่งบนหลังแผ่นหินให้เขาเปิดโอกาสเจริญวิปัสสนาก็บรรลุ
พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาพยากรณ์แก่ภิกษุทั้งหลายที่พากันมาโดยให้
เสียงไอจามเปล่งอุทานดังนี้ว่า
ภาสิตํพุทฺธเสฏฺฐสฺสสพฺพโลกคฺควาทิโน
นตุมฺหากมิทํรูปํตํชเหยฺยาถภิกฺขโว
อนิจฺจาวตสงฺขาราอุปฺปาทวยธมฺมิโน
อุปฺปชฺชิตฺวานิรุชฺฌนฺติเตสํวูปสโมสุโข
พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดที่สรร-
เสริญกันว่าเลิศทุกแหล่งล้าทรงภาษิตไว้
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายรูปนี้มิใช่ของท่าน
ท่านทั้งหลายพึงละรูปนั้นเสีย
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอมีเกิด
และเสื่อมไปเป็นธรรมดาเกิดแล้วก็ดับ
ความสงบระงับแห่งสังขารเหล่านั้นเป็น
สุขดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 271
มรรคนี้ย่อมเป็นไปเพื่อดับทุกข์เหมือนอย่างทุกข์ของพระติสสเถระ
เป็นต้นเพียงเท่านี้ก่อน.
เรื่องโทมนัสของท้าวสักกะ
ก็ท้าวสักกะจอมเทพทรงเห็นบุพนิมิต๕ประการของพระองค์
ถูกมรณภัยคุกคามเกิดโทมนัสเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหา.
ท้าวเธอก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตตผลพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นองค์ด้วยอำนาจการ
วิสัชนาอุเบกขาปัญหา. เรื่องการอุบัติของท้าวเธอจึงกลับเป็นปกติอีก.
เรื่องโทมนัสของสุพรหมเทพบุตร
แม้สุพรหมเทพบุตรอันนางเทพอัปสรพันหนึ่งห้อมล้อมก็เสวย
สวรรคสมบัติ. ในจำพวกนางเทพอัปสรพันหนึ่งนั้นนางเทพอัปสรห้าร้อย
มัวเก็บดอกไม้จากต้นก็จุติไปเกิดในนรกสุพรหมเทพบุตรรำพึงว่าทำไมเทพ
อัปสรเหล่านี้จึงชักช้าอยู่ก็รู้ว่าพวกนางไปเกิดในนรกจึงหันมาพิจารณาดู
ตัวเองว่าอายุเท่าไรแล้วหนอก็รู้ว่าตนจะสิ้นอายุจะไปเกิดในนรกนั้นด้วย
ก็หวาดกลัวเกิดโทมนัสอย่างยิ่งเห็นว่าพระบรมศาสดาเท่านั้นจะยังความ
โทมนัสของเรานี้ให้พินาศไปไม่มีผู้อื่นแล้วก็พานางเทพอัปสรห้าร้อยที่เหลือ
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาว่า
นิจฺจุตฺรสฺตมิทํจิตฺตํนิจฺจุพฺพิคฺคมิทํมโน
อนุปฺปนฺเนสุกิจฺเจสุอโถอุปฺปตฺติเตสุจ
สเจอตฺถิอนุตฺรสฺตํตํเมอกฺขาหิปุจฺฉิโต
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 272
จิตนี้สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์จิตใจนี้หวาด
อยู่เป็นนิตย์ทั้งในกิจที่ยังไม่เกิดทั้งในกิจ
ที่เกิดแล้วถ้าหากว่าความไม่หวาดสะดุ้ง
มีอยู่ขอพระองค์ที่ถูกทูลถามแล้วโปรด
บอกความไม่หวาดสะดุ้งนั้นแก่ข้าพระ-
องค์ด้วยเถิด. ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงได้ตรัสบอกสุพรหมเทพบุตร
(ในสังยุตตนิกายสคาถวรรค) ว่า
นาญฺญตฺรโพชฺฌาตปสานาญฺญตฺรอินฺทฺริยสํวรา
นาญฺญตฺรสพฺพปฏินิสฺสคฺคาโสตฺถึปสฺสามิปาณินํ
นอกจากปัญญาเครื่องรู้ตปะเครื่อง
เผาความชั่วนอกจากความสำรวมอินทรีย์
นอกจากความสละคืนทุกสิ่งทุกอย่างเราก็
มองไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้.
ในที่สุดเทศนาสุพรหมเทพบุตรก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วย
นางเทพอัปสรห้าร้อยทำสมบัตินั้นให้ถาวรแล้วกลับไปยังเทวโลก.
มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้วบัณฑิตพึงทราบว่าย่อมเป็นไปเพื่อดับ
โทมนัสเหมือนอย่างโทมนัสของท้าวสักกะเป็นต้นดังกล่าวมานี้.
มรรคมีองค์๘ที่เป็นอริยะเรียกว่าญายธรรมในข้อที่ว่าญายสฺสอธิคมายเพื่อบรรลุญายธรรมท่านอธิบายว่าเพื่อบรรลุคือเพื่อถึงญายธรรมนั้น. จริงอยู่มรรคคือสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยะเบื้องต้นนี้อันบุคคลเจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุมรรคที่เป็นโลกุตตร. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าเพื่อบรรลุญายธรรม.
ข้อว่าเพื่อให้แจ้งพระนิพพานท่านอธิบายว่าเพื่อทำให้แจ้ง
คือเพื่อประจักษ์ด้วยตนเองซึ่งอมตธรรมที่ได้ชื่อว่านิพพานเพราะเว้นจาก
ตัณหาเครื่องร้อยรัด. จริงอยู่มรรคนี้อันบุคคลเจริญแล้วย่อมยังการทำ
ให้แจ้งพระนิพพานให้สำเร็จไปตามลำดับ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่าเพื่อทำให้แจ้งพระนิพพานดังนี้.
ในพระสูตรนั้นถึงเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายแล้วข้อที่ว่าเพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะเป็นต้น
ก็เป็นอันสำเร็จใจความได้ก็จริงแต่ยกเวนผู้ฉลาดรู้ข้อยุติของคำสั่งสอนเสียแล้ว
ก็ไม่ปรากฏแก่คนอื่นๆได้แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าหาได้ทรงทำให้ชนผู้ฉลาด
รู้ข้อยุติของคำสั่งสอนเสียก่อนแล้วทรงแสดงธรรมในภายหลังไม่หากแต่ทรง
ยังชนทั้งหลายให้รู้อรรถะนั้นๆด้วยสูตรนั้นๆเลยทีเดียวเพราะฉะนั้นในที่นี้
เอกายนมรรคจะยังอรรถใดๆให้สำเร็จได้ก็ทรงแสดงอรรถนั้นๆให้ปรากฏ
จึงตรัสข้อว่าเพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะเป็นต้น. หรืออีกนัยหนึ่ง
ความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปได้ด้วยเอกายนมรรคความหมดจด
นั้น. ย่อมมีได้ด้วยความก้าวล่วงโสกะและปริเทวะความก้าวล่วงโสกะและ
ปริเทวะย่อมมีได้ด้วยความดับทุกข์และโทมนัสความดับทุกข์และโทมนัส
ย่อมมีได้ด้วยการบรรลุญายธรรมการบรรลุญายธรรมย่อมมีได้ด้วยการทำ
ให้แจ้งพระนิพพานเพราะฉะนั้นเมื่อจะทรงแสดงลำดับการอันนี้จึงตรัสว่า
เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย
แล้วตรัสข้อว่าเพื่อก้าวล่วงโสกะและปริเทวะเป็นต้นไป.
อีกนัยหนึ่งคำที่กล่าวมานี้เป็นการพรรณนาคุณของเอกายนมรรค. 0
เปรียบเหมือนอย่างว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคุณด้วยบททั้ง๘ด้วย
ฉฉักกเทศนา (ฉฉักกสูตรมัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์) ว่าดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเราจักแสดงแก่ท่านทั้งหลายถึงธรรมอันงามในเบื้องต้นงามใน
ท่ามกลางงามในเบื้องปลายจักประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิงพร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะคือฉฉักกธรรม๖ดังนี้ฉันใด
และตรัสคุณด้วยบททั้ง๙ด้วยอริยวังสเทศนา (อังคุตตรนิกายจตุกกนิบาต)
ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยวงศ์๔เหล่านี้รู้กันว่าเลิศมีมานานเป็นวงศ์
พระอริยะเป็นของเก่าในอดีตก็ไม่มีใครรังเกียจไม่เคยรังเกียจในปัจจุบัน
ก็ไม่รังเกียจกันในอนาคตก็จักไม่รังเกียจกันสมณพราหมณ์ผู้รู้ก็ไม่เกลียด
แล้วดังนี้ฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคุณของเอกายนมรรคแม้อันนี้
ด้วยบททั้ง๗มีว่าเพื่อหมดจดของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้นก็ฉันนั้น. ถ้าจะถามว่า
เพราะเหตุใดก็ตอบได้ว่าเพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้น. จริงอยู่
ภิกษุเหล่านั้นฟังการตรัสคุณ(ของเอกายนมรรค) รู้ว่ามรรคนี้นำไปเสียซึ่ง
อุปัททวะ๔คือโสกะอันเป็นเครื่องเผาใจปริเทวะอันเป็นการพิไรรำพัน
ทุกขะอันเป็นความไม่สำราญทางกายโทมนัสอันเป็นความไม่สำราญทางใจ
นำมาซึ่งคุณวิเศษ๓คือวิสุทธิญายธรรมพระนิพพานดังนี้แล้วก็เกิด
อุตสาหะสำคัญเทศนานี้ว่าควรเล่าควรเรียนควรทรงจำควรบอกกล่าว
และจักสำคัญมรรคอันนี้ว่าควรเจริญ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) เพื่อให้เกิดอุตสาหะแก่ภิกษุเหล่านั้นเหมือน
พ่อค้าผ้ากัมพลเป็นต้นโฆษณาคุณภาพของผ้ากัมพลเป็นต้นฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่าแม้ว่าพ่อค้าผ้ากัมพลอันมีค่านับแสนโฆษณาว่าโปรด
ซื้อผ้ากัมพลมนุษย์ทั้งหลายก็ยังไม่ทราบก่อนดอกว่าผมคนก็มีผ้ากัมพล
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 275
ทำด้วยขนสัตว์ก็มีเป็นต้นมันมีกลิ่นสาบสัมผัสหยาบแต่ก็เรียกว่าผ้ากัมพล
เหมือนกันต่อเมื่อใดพ่อค้านั้นโฆษณาว่าผ้ากัมพลสีแดงทำในแคว้นคันธาระ
ละเอียดสดใสสัมผัสละมุนเมื่อนั้นถ้ามีเงินพอก็จะซื้อเอามีไม่พอก็อยาก
จะชมฉันใดแม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายหนทางนี้
เป็นทางเดียวดังนี้ก็ยังไม่ปรากฏก่อนดอกว่าหนทางไหนด้วยว่าแม้หนทาง
ที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์มีประการต่างๆก็เรียกกันว่าหนทางเหมือนกันแต่
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลายดังนี้เป็นต้น
ภิกษุทั้งหลายก็ทราบว่าหนทางนี้นำมาซึ่งอุปัทวะ๔นำมาซึ่งคุณวิเศษ๓
แล้วก็เกิดอุตสาหะสำคัญเทศนานี้ว่าควรเล่าควรเรียนควรทรงจำ
ควรบอกกล่าวและจักสำคัญมรรคอันนี้ว่าควรเจริญเพราะฉะนั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสคุณ (ของเอกายนมรรค) จึงตรัสว่าเพื่อความหมดจด
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นต้น.
อนึ่งข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้าผ้ากัมพลสีเหลืองอันมีค่าแสนนำมา
เปรียบฉันใดในข้อนี้ก็ควรนำข้ออุปมาว่าด้วยพ่อค้าทองชมพูนุทสีสุกแก้วมณี
กรองน้ำให้ใสแก้วมุกดาที่บริสุทธิ์ผ้าขนสัตว์และแก้วประพาฬเป็นต้น
เอามาเปรียบฉันนั้น.
คำว่ายทิทํเป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์นิบาตนั้นมีความดังนี้ว่า
เหล่านี้ใด (เยอิเม). คำว่าจตฺตาโร(๔) เป็นศัพท์กำหนดจำนวนด้วย
จำนวนนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการกำหนดจำนวนสติปัฏฐานว่าไม่
ต่ำกว่านั้นไม่สูงกว่านั้นคำว่าสติปัฏฐานทั้งหลายได้แก่สติปัฏฐาน๓คือ
อารมณ์แห่งสติก็มีความที่พระบรมศาสดาทรงล่วงเลยความยินร้ายและยินดีใน
พระสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ๓อย่างก็มีตัวสติก็มี. อารมณ์แห่งสติเรียกว่า
สติปัฏฐานได้ในบาลีเป็นต้น (สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเราจักแสดงความเกิดและความดับไปแห่งสติปัฏฐาน๔ท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 276
จงฟังฯลฯดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเกิดแห่งกายเป็นอย่างไรความเกิดแห่ง
กายก็เพราะอาหารก่อให้เกิดดังนี้. อีกอย่างหนึ่งชื่อว่าสติปัฏฐานได้ในบาลี
(ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค) เป็นต้นว่ากายเป็นที่ปรากฏมิใช่สติสติ
เป็นที่ปรากฏด้วยเป็นตัวสติด้วย. คำนั้นมีความดังนี้. ชื่อว่าปัฏฐานเพราะ
อรรถวิเคราะห์ว่าเป็นที่ตั้งในที่นี้. ถามว่าอะไรตั้ง. ตอบว่าสติ. ที่ตั้งอยู่
แห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่งความตั้งเป็นประธานเหตุนั้น
จึงชื่อว่าปัฏฐาน. ความตั้งแห่งสติชื่อว่าสติปัฏฐานเหมือนอย่าง
การยืนของช้างการยืนของม้าเป็นต้น. ความที่พระบรมศาสดาทรง
ล่วงเลยความยินร้ายและความยินดีในพระสาวกทั้งหลายผู้ปฏิบัติ๓อย่าง
เรียกว่าสติปัฏฐานได้ในบาลี (สฬายตนวิภังสูตรมัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์)
นี้ว่าสติปัฏฐาน๓พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระอริยะทรงเสพสติปัฏฐาน
ไรเล่าเมื่อทรงเสพสติปัฏฐานไรเล่าจึงเป็นพระศาสดาสมควรสอนพระสาวก
ดังนี้. คำนั้นมีความดังนี้ชื่อว่าปัฏฐานเพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้อธิบายว่า
ควรให้เป็นไป. ถามว่าเพราะเป็นธรรมที่ควรตั้งไว้ด้วยอะไร. ตอบว่าด้วยสติ.
การตั้งไว้ด้วยสติชื่อว่าสติปัฏฐานก็สติเท่านั้นเรียกว่าสติปัฏฐานได้ในบาลี
(สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) เป็นต้นว่าสติปัฏฐาน๔อันบุคคลเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้วย่อมยังสัมโพชฌงค์๗ให้บริบูรณ์ดังนี้ . คำนั้นมีความดังนี้
ธรรมชาติใดตั้งอยู่ทั่วอธิบายว่าเข้าไปตั้งมั่นคือแล่นเป็นไปเหตุนั้น
ธรรมชาตินั้นชื่อว่าปัฏฐาน. สตินั้นเองชื่อว่าสติปัฏฐาน. อีกนัยหนึ่งที่ชื่อว่าสติ
เพราะอรรถว่าระลึกได้ที่ชื่อว่าปัฏฐานเพราะอรรถว่าเข้าไปตั้งไว้. เพราะ
ฉะนั้นสตินั้นด้วยปัฏฐานด้วยเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าสติปัฏฐาน. ในที่นี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาสติปัฏฐานอันนี้.
ถามว่าหากเป็นเช่นนั้นเหตุไรคำว่าสติปัฏฐานทั้งหลายจึงเป็นคำพหูพจน์.
ตอบว่าเพราะต้องมีสติมากเป็นความจริงสติเหล่านั้นมีมากเพราะต่างแห่งอารมณ์.
ถามว่าแต่เหตุไร
คำว่ามรรคจึงเป็นเอกวจนะ. อบว่าเพราะมีทางเดียวด้วยอรรถว่า
เป็นมรรค. เป็นความจริงสติเหล่านั้นแม้มี๔ก็นับว่าทางเดียวด้วย
อรรถว่าเป็นมรรค. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่าถามว่าในคำว่ามรรคที่ชื่อว่า
มรรคเพราะอรรถว่าอะไรตอบว่าเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องไปสู่พระนิพพาน
ด้วยเพราะอรรถว่าผู้ต้องการพระนิพพานจะพึงค้นหาด้วย. สติทั้ง๔นั้น
ทำกิจให้สำเร็จในอารมณ์ทั้งหลายมีกายเป็นต้นจึงถึงพระนิพพานในภายหลัง
แต่ผู้ต้องการพระนิพพานทั้งหลายจำต้องดำเนินไปตั้งแต่ต้นมาเพราะฉะนั้น
สติทั้ง๔จึงเรียกว่าหนทางเดียว. เทศนาพร้อมด้วยอนุสนธิย่อมมีด้วย
การอนุสนธิคำว่าสติเหมือนดังในบาลีทั้งหลาย (สังยุตตนิกายมหาวารวรรค)
เป็นต้นว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราจักแสดงมรรคเป็นเครื่องกำจัดกองทัพมาร
เธอจงฟังมรรคนั้นเป็นเครื่องกำจัดกองทัพมารเป็นอย่างไรคือสัมโพชฌงค์๗
ดังนี้. คำว่ามรรคเป็นเครื่องกำจัดกองทัพมารและคำว่าสัมโพชฌงค์๗โดย
อรรถก็เป็นอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นฉันใดคำว่าเอกายนมรรค
กับคำว่าสติปัฏฐาน๔โดยอรรถก็เป็นอันเดียวกันต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น
ก็ฉันนั้นเพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบว่าเป็นเอกวจนะก็เพราะเป็นทาง
เดียวด้วยอรรถว่าเป็นมรรคเป็นพหุวจนะก็เพราะมีสติมากโดยความ
ต่างแห่งอารมณ์.
ถามว่าก็เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสติปัฏฐานว่ามี๔
ไม่หย่อนไม่ยิ่ง. ตอบว่าก็เพราะจะทรงให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่เวไนยสัตว์.
แท้จริงในจำพวกเวไนยสัตว์ที่เป็นตัณหาจริตทิฏฐิจริตผู้เป็นสมถยานิก
(ผู้มีสมถะเป็นยาน) และวิปัสสนายานิก (ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน) ที่เป็นไปโดย
ส่วนทั้งสองคือปัญญาอ่อนและปัญญากล้ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 278
หยาบเป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีตัณหาจริตมีปัญญาอ่อนเวทนา
นุปัสสนาสติปัฏฐานมีอารมณ์ละเอียดเป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้มี
ตัณหาจริตมีปัญญากล้าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานที่มีอารมณ์ไม่แยกออกมากนัก
เป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้มีทิฏฐิจริตมีปัญญาอ่อนธัมมานุปัสสนา
สติปัฏฐานที่มีอารมณ์แยกออกมากเป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้มี
ทิฏฐิจริตมีปัญญากล้าอนึ่งสติปัฏฐานข้อ๑ที่มีนิมิตอันจะพึงบรรลุได้โดย
ไม่ยากเป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิกมีปัญญาอ่อนสติ
ปัฏฐานข้อที่๒เพราะไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างหยาบจึงเป็นทางหมดจด
สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นสมถยานิกมีปัญญากล้าสติปัฏฐานข้อที่๓มีอารมณ์
ที่แยกออก. ไม่มากนักเป็นทางหมดจดสำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิก
มีปัญญาอ่อนสติปัฏฐานข้อที่๔มีอารมณ์ที่แยกออกมากเป็นทางหมดจด
สำหรับเวไนยสัตว์ผู้เป็นวิปัสสนายานิกมีปัญญากล้าเพราะเหตุดังนั้นจึงกล่าวว่า
สติปัฏฐานมี๔เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง. อีกอย่างหนึ่งที่ตรัสว่าสติปัฏฐานมี๔
ก็เพื่อละเสียซึ่งวิปัลลาสความสำคัญผิดว่างามสุขเที่ยงและเป็นตัวตน. แท้จริง
กายเป็นอสุภะไม่งามแต่สัตว์ทั้งหลายก็ยังสำคัญว่างามในกายนั้น. ด้วยทรง
แสดงความไม่งามในกายนั้นแก่สัตว์เหล่านั้นจึงตรัสสติปัฏฐานข้อที่๑เพื่อละ
วิปัลลาสนั้นเสีย. และในเวทนาเป็นต้นที่สัตว์ยึดถือว่าสุขเที่ยงเป็นตัวตน
เวทนาก็เป็นทุกข์จิตไม่เที่ยงธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา. แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยัง
สำคัญว่าสุขเที่ยงเป็นตัวตนในเวทนาจิตธรรมนั้นด้วยทรงแสดงความเป็น
ทุกข์เป็นต้นในเวทนาจิตธรรมนั้นแก่สัตว์เหล่านั้นจึงตรัสสติปัฏฐาน๓ที่เหลือ
เพื่อละวิปัลลาสเหล่านั้นเสียเพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงทราบว่าที่ตรัสว่าสติ
ปัฏฐาน๔ไม่หย่อนไม่ยิ่งก็เพื่อละความสำคัญผิดว่างามสุขเที่ยงและตัวตน
เสียดังที่กล่าวมานี้. มิใช่เพื่อละวิปัลลาสอย่างเดียวเท่านั้นบัณฑิตพึงทราบว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 279
ที่ตรัสสติปัฏฐาน๔ก็เพื่อละโอฆะโยคะอาสวะคัณฐะอุปาทานและ
อคติอย่างละ๔ด้วยเพื่อกำหนดรู้อาหาร๔อย่างด้วยพึงทราบในที่มาใน
ปกรณ์ (บาลี) เท่านี้ก่อน.
ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวว่าสติปัฏฐานมีอันเดียวเท่านั้นโดยเป็น
ความระลึกและโดยเป็นที่ประชุมลงเป็นอันเดียวกันมี๔ด้วยอำนาจอารมณ์.
เปรียบเหมือนพระนครมี๔ประตูคนที่มาแต่ทิศตะวันออกนำสิ่งของที่อยู่ทาง
ทิศตะวันออกมาเข้าพระนครทางประตูทิศตะวันออกคนที่มาแต่ทิศใต้ทิศ
ตะวันตกก็เหมือนกันคนที่มาแต่ทิศเหนือก็นำสิ่งของที่อยู่ทางทิศเหนือมาเข้า
พระนครทางประตูทิศเหนือฉันใดข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น. จริงอยู่นิพพาน
เปรียบเหมือนนครโลกุตตรมรรคมีองค์แปดเปรียบเหมือนประตูพระนครสติ
ปัฏฐานมีกายเป็นต้นเปรียบเหมือนทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น. ก็คน
ที่มาแต่ทิศตะวันออกนำสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันออกมาเข้าพระนครทางประตู
ทิศตะวันออกฉันใดผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งกายานุปัสสนาเจริญกายานุปัสสนา
๑๔วิธีย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเองด้วยอริยมรรคที่เกิดจาก
อานุภาพแห่งการเจริญกายานุปัสสนาก็ฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศใต้นำสิ่งของที่อยู่
ทางทิศใต้ย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศใต้ฉันใดผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งเวทนา
นุปัสสนาเจริญเวทนานุปัสสนา๙วิธีย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั่นเอง
ด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพแห่งการเจริญเวทนานุปัสสนาก็ฉันนั้น. คนที่มา
แต่ทิศตะวันตกนำสิ่งของที่อยู่ทางทิศตะวันตกย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตู
ทิศตะวันตกฉันใดผู้ปฏิบัติโดยมุขแห่งจิตตานุปัสสนาเจริญจิตตานุปัสสนา
๑๖วิธีย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพานอันเดียวกันนั้นเองด้วยอริยมรรคที่เกิดจาก
อานุภาพแห่งการเจริญจิตตานุปัสสนาฉันนั้น. คนที่มาแต่ทิศเหนือนำสิ่งของที่
อยู่ทางทิศเหนือย่อมเข้ามาสู่พระนครทางประตูทิศเหนือฉันใดผู้ปฏิบัติโดยมุข
แห่งธัมมานุปัสสนาเจริญธัมมานุปัสสนา๕วิธีย่อมหยั่งลงสู่พระนิพพาน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 280
อันเดียวกันนั้นเองด้วยอริยมรรคที่เกิดจากอานุภาพแห่งการเจริญธัมมานุ-
ปัสสนาก็ฉันนั้น. บัณฑิตพึงทราบว่าที่ท่านกล่าวว่าสติปัฏฐานมีอันเดียวเท่านั้น
ก็ด้วยอำนาจความระลึกได้อย่างหนึ่งด้วยอานุภาพประชุมลงสู่ความเป็นอันเดียว
กันหนึ่งที่กล่าวว่ามี๔ก็โดยจัดตามอารมณ์ดังกล่าวมาฉะนี้.
คำว่ามี๔เป็นอย่างไรเป็นคำถามด้วยหมายจะตอบ (ถามเอง
ตอบเอง). คำว่าในธรรมวินัยนี้คือในพระศาสนานี้. คำว่าภิกฺขเว
นั้นเป็นคำเรียกบุคคลผู้รับธรรม. คำว่าภิกษุนั้นเป็นคำแสดงถึงบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ. เทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่นก็ดำเนินการ
ปฏิบัติให้พร้อมเหมือนกัน. แต่ที่ตรัสว่าภิกษุก็เพราะเป็นผู้ประเสริฐ
อย่างหนึ่งเพราะทรงแสดงภาวะของภิกษุด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง. เป็น
ความจริงในบุคคลทั้งหลายผู้รับคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าภิกษุ
เป็นผู้ประเสริฐเพราะเป็นประหนึ่งภาชนะรองรับคำสั่งสอนมีประการต่างๆ
เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ประเสริฐ. แต่เมื่อทรงถือเอาภิกษุ
แล้วคนทั้งหลายที่เหลือก็เป็นอันทรงถือเอาด้วยเหมือนอย่างในการเสด็จพระ-
ราชดำเนินเป็นต้นเหล่าราชบริพารนอกนั้นก็เป็นอันท่านรวมไว้ด้วยศัพท์
ว่าราช. ผู้ใดปฏิบัติข้อปฏิบัตินี้ผู้นั้นย่อมชื่อว่าภิกษุเพราะฉะนั้นพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าภิกษุก็เพราะจะทรงแสดงภาวะของภิกษุด้วยการปฏิบัติ.
เป็นความจริงผู้ปฏิบัติจะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ก็ตามย่อมนับได้ว่าเป็น
ภิกษุทั้งนั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในธรรมบทขุททกนิกาย) ว่า
อลงฺกโตฺเจปิสมํจเรยฺย
สนฺโตทนฺโตนิยโตพฺรหฺมจารี
สพฺเพสุภูเตสุนิธายทณฺฑํ
โสพฺราหฺมโณโสสมโณสภิกฺขุ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 281
หากว่าบุคคลมีธรรมประดับแล้วเป็น
ผู้สงบแล้วฝึกแล้วเป็นคนแน่เป็น
พรหมจารีเลิกอาชญากรรมในสัตว์ทั้งปวง
พึงประพฤติสม่ำเสมออยู่ไซร้ผู้นั้นก็ชื่อว่า
พราหมณ์ผู้นั้นก็ชื่อว่าสมณะผู้นั้นก็
ชื่อว่าภิกษุดังนี้.
คำว่าในกายคือในรูปกาย. จริงแล้วรูปกายในที่นั้นท่านประสงค์
เอาว่ากายเพราะอรรถว่าเป็นที่รวมแห่งอวัยวะน้อยใหญ่และธรรมทั้งหลายมี
ผมเป็นต้นเหมือนตัวของช้างตัวของรถเป็นต้น. ที่ชื่อว่ากายเพราะอรรถว่า
เป็นที่รวมฉันใดที่ชื่อว่ากายเพราะอรรถว่าเป็นแหล่งที่มาของสิ่งที่น่ารังเกียจ
ฉันนั้น. จริงแล้วกายนั้นเป็นแหล่งที่มาของสิ่งน่ารังเกียจคือน่าเกียจอย่างยิ่ง
แม้เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ากาย. คำว่าเป็นแหล่งที่มาคือเป็นถิ่นเกิดใจความของคำ
ในคำว่าเป็นแหล่งที่มานั้นมีดังนี้ธรรมชาติทั้งหลายมาแต่กายนั้นเหตุนั้น
กายนั้นจึงชื่อว่าเป็นแหล่งที่มา. อะไรมา. สิ่งอันน่าเกลียดทั้งหลายมีผมเป็นต้น
ย่อมมา. ชื่อว่าอายะเพราะเป็นแหล่งมาแห่งสิ่งน่าเกลียดทั้งหลายด้วย
ประการฉะนี้. คำว่าพิจารณาเห็นกายหมายความว่ามีปกติพิจารณา
เห็นในกายหรือพิจารณาเห็นกาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้จะตรัสว่าในกาย
แล้วบัณฑิตพึงทราบว่าทรงกระทำศัพท์ว่ากายครั้งที่สองว่าพิจารณาเห็น
กายอีกครั้งหนึ่งเพื่อทรงแสดงการกำหนดและการแยกออกจากก้อนเป็นต้น
โดยไม่ปนกัน. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในกายหรือพิจารณาเห็นจิตในกาย
หรือพิจารณาเห็นธรรมในกายหามิได้ที่แท้พิจารณาเห็นกายในกายต่างหาก
เพราะฉะนั้นจึงเป็นอันทรงแสดงการกำหนดไม่ปนกันด้วยทรงแสดงอาการ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 282
คือพิจารณาเห็นกายในวัตถุที่นับว่ากาย. มิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งที่
พ้นจากอวัยวะน้อยใหญ่ในกายทั้งมิใช่พิจารณาเห็นเป็นหญิงหรือเป็นชายที่พ้น
จากผมขนเป็นต้น. จริงอยู่ในข้อนั้นกายแม้อันใดที่นับว่าเป็นที่รวมของ
ภูตรูปและอุปาทายรูปมีผมขนเป็นต้นมิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างหนึ่งที่
พ้นจากภูตรูปและอุปาทายรูปที่แท้พิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมอวัยวะน้อยใหญ่
ในกายแม้อันนั้นเหมือนพิจารณาเห็นส่วนประกอบของรถฉะนั้นพิจารณา
เห็นกายเป็นที่รวมของผมขนเป็นต้นเหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อยใหญ่
ของพระนครพิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของภูตรูปและอุปาทายรูปเหมือน
แยกใบและก้านของต้นกล้วยและเหมือนแบกำมือที่ว่างเปล่าฉะนั้นเพราะ
ฉะนั้นจึงเป็นอันทรงแสดงการแยกออกจากก้อนด้วยทรงแสดงวัตถุที่นับ
ได้ว่ากายโดยเป็นที่รวมโดยประการต่างๆนั่นแล้ว. ความจริงกายหรือ
ชายหญิงหรือธรรมไรๆอื่นที่พ้นจากกายอันเป็นที่รวมดังกล่าวแล้วหาปรากฏ
ในกายนั้นไม่แต่สัตว์ทั้งหลายก็ยึดมันผิดๆโดยประการนั้นๆในกายที่สักว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมดังกล่าวแล้วอยู่นั่นเอง. เพราะฉะนั้นพระโบราณาจารย์
ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
ยํปสฺสตินตํทิฏฺฐํยํทิฏฺฐํต
ยํปสฺสตินตํทิฏฺฐํยํทิฏฺฐํตํนปสฺสติ
อปสฺสํพชฺฌเตมูฬฺโหพชฺฌมาโนนมุจฺจติ
บุคคลเห็นสิ่งใดสิ่งนั้นก็ไม่ได้เห็น
สิ่งใดเห็นแล้วก็ไม่เห็นสิ่งนั้นเมื่อไม่เห็น
ก็หลงติดเมื่อติดก็ไม่หลุดพ้นดังนี้.
ท่านกล่าวคำนี้ก็เพื่อแสดงการแยกออกจากก้อนเป็นต้น. ด้วยศัพท์ว่า
อาทิเป็นต้นในคำนี้บัณฑิตพึงทราบความดังนี้. ก็ภิกษุนี้พิจารณาเห็นกาย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 283
ในกายนี้เท่านั้นท่านอธิบายว่ามิใช่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น. คนทั้งหลาย
แลเห็นน้ำในพยับแดดแม้ที่ไม่มีน้ำฉันใดภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนไม่สวยงามว่าเป็นของเที่ยงเป็นสุข
เป็นตัวตนและสวยงามฉันนั้นหามิได้ที่แท้พิจารณาเห็นกายท่าน
อธิบายว่าพิจารณาเห็นกายเป็นที่รวมของอาการคือไม่เที่ยงเป็นทุกข์
มิใช่ตัวตนและไม่สวยงามต่างหาก.
อีกอย่างหนึ่งก็กายอันนี้ใดที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้าว่ามีลมอัสสาสะ
ปัสสาสะเป็นต้นมีกระดูกที่ป่นเป็นที่สุดตามนัยพระบาลีเป็นต้นว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปป่าก็ดีฯลฯเธอมีสติหายใจ
เข้าดังนี้และกายอันใดที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรค(ขุททกนิกาย) ว่า
ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายคือดินกายคือน้ำกายคือไฟ
กายคือลมกายคือผมกายคือขนกายคือผิวหนังกายคือหนึ่งกายคือเนื้อ
กายคือเลือดกายคือเอ็นกายคือกระดูกกายคือเยื่อในกระดูกโดยความเป็น
ของไม่เที่ยงดังนี้บัณฑิตพึงทราบเนื้อความของกายนั้นทั้งหมดแม้อย่างนี้ว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายโดยพิจารณาเห็นในกายอันนี้เท่านั้น.
อีกอย่างหนึ่งพึงทราบความอย่างนี้ว่าพิจารณาเห็นกายที่นับว่า
เป็นที่รวมแห่งธรรมมีผมเป็นต้นในกายโดยไม่พิจารณาเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
ที่พึงถือว่าเป็นเราเป็นของเราในกายแต่พิจารณาเห็นกายนั้นๆเท่านั้นเป็น
ที่รวมแห่งธรรมต่างๆมีผมขนเป็นต้น.
อนึ่งพึงทราบความอย่างนี้ว่าพิจารณาเห็นกายในกายแม้โดยพิจารณา
เห็นกายที่นับว่าเป็นที่รวมแห่งอาการมีลักษณะไม่เที่ยงเป็นต้นทั้งหมดทีเดียว
ซึ่งมีนัยที่มาในปฏิสัมภิทามรรคตามลำดับบาลีเป็นต้นว่าพิจารณาเห็นใน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 284
กายนี้โดยความเป็นของไม่เที่ยงไม่ใช่โดยเป็นของเที่ยงดังนี้. จริงอย่างนั้น
ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาคือพิจารณาเห็นกายในกายรูปนี้ย่อมพิจารณาเห็นกาย
อันนี้โดยเป็นของไม่เที่ยงไม่ใช่เห็นโดยเป็นของเที่ยงพิจารณาเห็นโดยเป็น
ทุกข์ไม่ใช่เห็นโดยเป็นสุขพิจารณาเห็นโดยมิใช่ตัวตนไม่ใช่เห็นเป็นตัวตน
ด้วยอำนาจอนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) ๗ประการมีพิจารณาเห็นความ
ไม่เที่ยงเป็นต้นย่อมเบื่อหน่ายมิใช่ยินดีย่อมคลายกำหนัดมิใช่กำหนัดย่อม
ดับทุกข์มิใช่ก่อทุกข์ย่อมสละมิใช่ยึดถือ. ภิกษุนั้นเมื่อพิจารณาเห็นกายอันนี้
โดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมละนิจจสัญญาความสำคัญว่าเที่ยงเสียได้เมื่อ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ย่อมละทุกขสัญญาความสำคัญว่าเป็นสุขเสียได้
เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตนย่อมละอัตตสัญญาความสำคัญว่า
เป็นตัวตนเสียได้เมื่อเบื่อหน่ายย่อมละความยินดีเสียได้เมื่อคลายกำหนัด
ย่อมละความกำหนัดเสียได้เมื่อดับทุกข์ย่อมละเหตุเกิดทุกข์เสียได้เมื่อสละ
ย่อมละความยึดถือเสียได้ดังนี้พึงทราบดังกล่าวมาฉะนี้.
คำว่าอยู่คือเป็นไปอยู่. คำว่ามีเพียรมีอรรถว่าสภาพใดย่อม
แผดเผากิเลสทั้งหลายในภพทั้ง๓เหตุนั้นสภาพนั้นชื่อว่าอาตาปะแผดเผา
กิเลสคำนี้เป็นชื่อของความเพียร. ความเพียรของผู้นั้นมีอยู่เหตุนั้นผู้นั้น
ชื่อว่าอาตาปีมีความเพียร. คำว่ามีสัมปชัญญะคือผู้ประกอบด้วยความรู้
ที่นับว่าสัมปชัญญะ. คำว่ามีสติคือประกอบด้วยสติกำกับกาย. ก็ภิกษุรูปนี้
กำหนดอารมณ์ด้วยสติพิจารณาเห็นด้วยปัญญาธรรมดาว่าปัญญาพิจารณา
เห็นของผู้เว้นจากสติย่อมมีไม่ได้ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
(สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากล่าวว่าสติแล
จำปรารถนาในที่ทั้งปวงเพราะฉะนั้นในที่นี้จึงตรัสว่าย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ดังนี้. กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นอันทรงอธิบายด้วย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 285
ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่งความท้อแท้ภายในย่อมทำอันตรายแก่ผู้ไม่มี
ความเพียรผู้ไม่มีสัมปชัญญะย่อมหลงลืมในการกำหนดอุบายในการงดเว้น
สิ่งที่มิใช่อุบายผู้มีสติหลงลืมแล้วย่อมไม่สามารถในการกำหนดอุบายและ
ในการสละสิ่งที่ไม่ใช่อุบายด้วยเหตุนั้นกัมมัฏฐานนั้นของภิกษุนั้นย่อม
ไม่สำเร็จเพราะฉะนั้นกัมมัฏฐานนั้นย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพแห่งธรรม
เหล่าใดเพื่อทรงแสดงธรรมเหล่านั้นพึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มีเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ. ทรงแสดงกายานุปัสสนาสติปัฏฐานและองค์
แห่งสัมปโยคะบัดนี้เพื่อจะทรงแสดงองค์แห่งการละจึงตรัสว่านำออกเสีย
ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลก.
บรรดาคำเหล่านั้นคำว่านำออกเสียหมายความว่านำออกเสีย
ด้วยการนำออกชั่วขณะหรือด้วยการนำออกด้วยการข่มไว้. คำว่าในโลกก็คือ
ในกายอันนั้นแหละ. จริงอยู่กายในที่นี้ทรงหมายถึงโลกเพราะอรรถ
ว่าชำรุดชุดโทรม. อภิชฌาและโทมนัสมิใช่พระโยคาวจรนั้นละได้ในอารมณ์
เพียงกายเท่านั้นแม้ในเวทนาเป็นต้นก็ละได้เหมือนกันเพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ในวิภังค์ (สติปัฏฐานวิภังค์) ว่าอุปาทานขันธ์๕ก็ชื่อว่าโลก.
คำนั้นท่านกล่าวตามนัยแห่งการขยายความเพราะธรรมเหล่านั้นนับ
ได้ว่าเป็นโลก. แต่ท่านกล่าวคำอันใดไว้ว่าโลกเป็นอย่างไรโลกก็คือกาย
อันนั้นแหละความในคำนั้นมีดังนี้แล. พึงเห็นการเชื่อมความดังนี้ว่านำออก
เสียซึ่งอภิชฌาและโทมนัสในโลกนั้น . ก็เพราะในที่นี้กามฉันท์รวมเข้ากับ
ศัพท์ว่าอภิชฌาพยาบาทรวมเข้ากับศัพท์ว่าโทมนัสฉะนั้นจึงควรทราบว่า
ทรงอธิบายการละนิวรณ์ด้วยการทรงแสดงธรรมอันเป็นคู่ที่มีกำลังนับเนื่องใน
นิวรณ์. แต่โดยพิเศษในที่นี้ตรัสการละความยินดีที่มีกายสมบัติเป็น
มูลด้วยการกำจัดอภิชฌาตรัสการละความยินร้ายที่มีกายวิบัติเป็นมูลด้วยการ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 286
กำจัดโทมนัสตรัสการละความยินดียิ่งในกายด้วยการกำจัดอภิชฌาตรัส
การละความไม่ยินดียิ่งในการเจริญกายานุปัสสนาด้วยการกำจัดโทมนัสตรัส
การละกายของผู้ใส่ซึ่งภาวะว่างามเป็นสุขเป็นต้นที่ไม่มีจริงในกายด้วยการ
กำจัดอภิชฌาและตรัสการละการเอาออกไปซึ่งภาวะที่ไม่งามเป็นทุกข์เป็นต้น
ที่มีอยู่จริงในกายด้วยการกำจัดโทมนัส. ด้วยพระดำรัสนั้นเป็นอันทรงแสดง
อานุภาพของความเพียรและความเป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรของ
พระโยคาวจร. แท้จริงอานุภาพของความเพียรนั้นก็คือเป็นผู้หลุดพ้นจากความ
ยินดียินร้ายครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีและเว้นจากใส่สิ่งที่ไม่
มีจริงและนำออกซึ่งสิ่งที่มีจริงก็พระโยคาวจรนั้นเป็นผู้หลุดพ้นจากความยินดี
ยินร้ายเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีไม่ใส่สิ่งที่ไม่มีจริงไม่
นำออกซึ่งสิ่งที่มีจริงจึงชื่อว่าเป็นผู้สามารถในการประกอบความเพียรด้วย
ประการฉะนั้น.
อีกนัยหนึ่ง. ตรัสกัมมัฏฐานด้วยอนุปัสสนาในคำที่ว่ากาเยกายา
นุปสฺสีพิจารณาเห็นกายในกาย. ตรัสการบริหารกายของพระโยคาวจรบำเพ็ญ
กัมมัฏฐานด้วยวิหารธรรมที่กล่าวไว้แล้วในคำนี้ว่าวิหรติอยู่. ก็ในคำเป็น
ต้นว่าอาตาปีมีความเพียรพึงทราบว่าตรัสความเพียรชอบด้วยอาตาปะ
ความเพียรเครี่องเผากิเลสตรัสกัมมัฏฐานที่ให้สำเร็จประโยชน์ทั่วๆไปหรือ
อุบายเครื่องบริหารกัมมัฏฐานด้วยสติสัมปชัญญะหรือตรัสสมถะที่ได้
มาด้วยอำนาจกายานุปัสสนาตรัสวิปัสสนาด้วยสัมปชัญญะตรัสผลแห่งภาวนา
ด้วยการกำจัดซึ่งอภิชฌาและโทมนัสฉะนี้.
บาลีวิภังค์
ส่วนในบาลีวิภังค์กล่าวความของบทเหล่านั้นไว้อย่างนี้ว่าบทว่า
อนุปสฺสีความว่าอนุปัสสนาในคำนั้นเป็นอย่างไรความรอบรู้ความรู้ทั่ว
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 287
ฯลฯความเห็นชอบนี้เรียกอนุปัสสนาบุคคลได้ประกอบแล้วประกอบพร้อม
แล้วเข้าไปแล้วเข้าไปพร้อมแล้วเข้าถึงแล้วเข้าถึงพร้อมแล้วมาตามพร้อม
แล้วด้วยอนุปัสสนานี้เหตุนั้นบุคคลนั้นจึงเรียนว่าอนุปสฺสี. บทว่าวิหรติ
แปลว่าเป็นอยู่เป็นไปอยู่รักษาอยู่ดำเนินไปอยู่ให้อัตตภาพดำเนินไปอยู่
เที่ยวไปอยู่เหตุนั้นจึงเรียกว่าวิหรติ. บทว่าอาตาปีผู้มีเพียรความว่า
อาตาปะความเพียรในคำนั้นเป็นอย่างไรการปรารภความเพียรเป็นไปทางใจ
ฯลฯสัมมาวายามะใดนี้เรียกว่าอาตปะบุคคลผู้ประกอบด้วยอาตาปะนี้เหตุนั้น
บุคคลนั้นจึงเรียกว่าอาตาปี. บทว่าสมฺปชาโนความว่าสัมปชัญญะในคำ
นั้นเป็นอย่างไรความรอบรู้ความรู้ทั่วฯลฯความเห็นชอบนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ
บุคคลใดประกอบแล้วฯลฯมาตามพร้อมแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้เหตุนั้น
บุคคลนั้นจึงเรียกว่าสมฺปชาโน. บทว่าสติมาความว่าสติในคำนั้น
เป็นอย่างไรความระลึกได้ความระลึกถึงฯลฯความระลึกชอบนี้เรียกว่า
สติบุคคลใดประกอบแล้วฯลฯมาตามพร้อมแล้วด้วยสตินี้เหตุนั้นบุคคล
นั้นจึงเรียกว่าสติมา. ข้อว่าวิเนยฺยโลเกอภิชฺฌาโทมนสฺสํความว่า
โลกในคำนั้นเป็นอย่างไรกายนั้นแลชื่อว่าโลกอุปาทานขันธ์แม้ทั้ง๕ก็ชื่อ
ว่าโลกนี้เรียกว่าโลก. อภิชฌาในคำนั้นเป็นอย่างไรความกำหนัดความ
กำหนัดนักความดีใจความยินดีความเพลิดเพลินความกำหนัดด้วยอำนาจ
ความเพลิดเพลินความกำหนัดนักแห่งจิตนี้เรียกว่าอภิชฌาโทมนัสในคำนั้น
เป็นอย่างไรความไม่สำราญทางใจทุกข์ทางใจฯลฯเวทนาที่ไม่สำราญเป็น
ทุกข์อันเกิดแก่สัมผัสทางใจนี้เรียกว่าโทมนัสอภิชฌาและโทมนัสนี้
เป็นอันพระโยคาวจรกำจัดเสียแล้วนำออกไปแล้วสงบแล้วให้สงบแล้วให้
ระงับแล้วให้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้วให้ถึงความสาบศูนย์แล้วให้ถึงความ
ไม่มีแล้วให้ถึงความย่อยยับแล้วให้เหือดแห้งแล้วให้แห้งผากแล้ว
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 288
ทำให้ถึงที่สุดแล้วเหตุนั้นจึงตรัสว่าวิเนยฺยโลเกอภิชฺฌาโทมนสฺสํ
ดังนี้. นัยที่มาในอรรถกถานี้กับบาลีวิภังค์นั้นบัณฑิตพึงทราบได้โดยการ
เทียบกัน.
พรรณนาความแห่งอุทเทสที่ว่าด้วยกายานุปัสสนาสติปัฏฐานมีเพียง
เท่านี้ก่อน.
อุทเทสวารแห่งเวทนาจิตตธัมมานุปัสสนา
บัดนี้จะวินิจฉัยในคำว่าภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้ง
หลายจิตในจิตธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ฯลฯกำจัดอภิชฌาและโทมนัส
ในโลกดังนี้ประโยชน์ในอันจะกล่าวซ้ำเวทนาเป็นต้นในคำซึ่งมีอาทิอย่าง
นี้ว่าเวทนาสุเวทนานุปสฺสีพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายพึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล. อนึ่งในข้อที่ว่าพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายพิจารณาเห็นจิตในจิตพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ทั้งหลายนี้มีวินิจฉัยดังนี้เวทนาได้แก่เวทนา๓ก็เวทนา๓นั้นเป็น
โลกิยะอย่างเดียวแม้จิตก็เป็นโลกิยะธรรมทั้งหลายก็เป็นโลกิยะเหมือนกัน. การ
จำแนกเวทนาจิตธรรมนั้นจักปรากฏในนิทเทสวาร. ส่วนในอุทเทสวารนี้
ภิกษุผู้พิจารณาเวทนา๓นั้นโดยประการที่คนพึงพิจารณาเห็นก็พึงทราบว่า
เป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย. แม้ในจิตและธรรมก็นัยนี้เหมือน
กัน.
ถามว่าจะพึงพิจารณาเห็นเวทนาอย่างไร. ตอบว่าพึงพิจารณาเห็น
สุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์เห็นทุกข์เวทนาโดยเป็นดุจลูกศรเห็นอทุกขม
สุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง. ดังที่ตรัสไว้ว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 289
โยสุขํทุกฺขโตอทฺททุกฺขมทฺทกฺขิสลฺลโต
อทุกฺขมสุขํสนฺตํอทฺทกฺขินํอนิจฺจโต
สเวสมฺมทฺทโสภิกฺขุอุปสนฺโตจริสฺสติ
ภิกษุใดเห็นสุขเวทนาโดยความเป็น
ทุกข์เห็นทุกขเวทนาโดยความเป็นดังลูก
ศรเห็นอทุกขมสุขเวทนาที่มีอยู่โดยความ
เป็นของไม่เที่ยงภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็น
ชอบจักเป็นผู้สงบเที่ยวไปดังนี้.
อนึ่งพระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดนั้นแหละโดยความ
เป็นทุกข์ด้วย. สมจริงดังที่ตรัสไว้ดังนี้ว่าเรากล่าวเวทนาทุกอย่างบรรดามี
อยู่ในทุกข์ทั้งนั้น. พึงพิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นสุขเป็นทุกข์ (เปลี่ยน
เวียนกันไป). ดังที่ตรัสไว้ว่าสุขเวทนาเป็นสุขเมื่อเกิดขึ้นเมื่อตั้งอยู่
เป็นทุกข์เมื่อแปรไปดังนี้คำทั้งหมดผู้ศึกษาพึงเข้าใจให้กว้างขวาง.
อนึ่งพระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นแม้ด้วยอำนาจอนุปัสสนา๗มี
อนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. ข้อควรกล่าวนี้ยังเหลือจักปรากฏในนิทเทสวารแล.
ก่อนอื่นบรรดาจิตและธรรมจิตอันพระโยคาวจรพึงพิจารณา
เห็นด้วยอำนาจประเภทแห่งจิตอันต่างๆกันมีอารัมมณจิตอธิปติจิตสหชาตจิต
ภูมิจิตกัมมจิตวิปากจิตและกิริยาจิตเป็นต้นและด้วยอำนาจประเภทแห่ง
จิตมีจิตมีราคะเป็นต้นซึ่งมาในนิทเทสวารแห่งอนุปัสสนามีอนิจจานุปัสสนา
เป็นต้น. ธรรมอันพระโยคาวจรพึงพิจารณาเห็นด้วยอำนาจแห่งลักษณะเฉพาะ
ตนและลักษณะทั่วไปและแห่งธรรมที่เป็นสภาพว่างเปล่าและด้วยอำนาจ
ประเภทแห่งธรรมมีธรรมอันมีสงบเป็นต้นซึ่งมาในนิทเทสสวารแห่งอนุปัสสนา
๗มีอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 290
อภิชฌาและโทมนัสในโลกคือกายอันพระโยคาวจรใดละได้แล้ว
ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้แม้อภิชฌาและโทมนัสในโลกคือเวทนาเป็นต้น
ก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้นละได้แล้วเหมือนกันก็จริงอยู่ถึงดังนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ยังตรัสการละอภิชฌาและโทมนัสไว้ในสติปัฏฐานทุกข้อด้วย
อำนาจแห่งบุคคลต่างๆกันและด้วยอำนาจแห่งสติปัฏฐานภาวนาอันเป็นไป
ในขณะจิตต่างกัน. อีกนัยหนึ่งเพราะอภิชฌาและโทมนัสที่ละได้ในสติปัฏฐาน
ข้อหนึ่งถึงในสติปัฏฐานที่เหลือทั้ง๓ข้อก็เป็นอันละได้เหมือนกัน. เพราะ
ฉะนั้นแลจึงควรทราบว่าการละอภิชฌาและโทมนัสนี้ตรัสไว้เพื่อทรง
แสดงการละในสติปัฏฐานเหล่านั้นของภิกษุนั้นฉะนั้นแล.
จบอุทเทสวารกถา
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 291
นิทเทสวารกถา
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
สัมมาสติมีอารมณ์๔
นายช่างจักสานผู้ฉลาดประสงค์จะทำเครื่องใช้เช่นเสื่อหยาบ
เสื่ออ่อนเตียบลุ้งและฝาชีเป็นต้นได้ไม้ไผ่ลำใหญ่มาลำหนึ่งตัดเป็น๔ท่อน
แล้วพึงเอาท่อนๆหนึ่งแต่๔ท่อนนั้นมาผ่าออกทำเป็นเครื่องใช้นั้นๆแม้
ฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกันบัดนี้ทรงประสงค์จะทำสัตว์
ทั้งหลายให้บรรลุคุณวิเศษต่างๆด้วยการทรงแสดงสติปัฏฐานจำแนกสัมมาสติ
อย่างเดียวเท่านั้นออกเป็น๔ส่วนด้วยสามารถแห่งอารมณ์โดยนัย
เป็นต้นว่าสติปัฏฐาน๔เป็นอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ดังนี้ทรงถือเอาสติปัฏฐานแต่ละอย่างจาก๔อย่างนั้นเมื่อจะ
ทรงจำแนกกายจึงทรงเริ่มตรัสนิทเทสวารโดยนัยเป็นต้นว่ากถญฺจภิกฺขเว.
อธิบายศัพท์ในปุจฉวา
ในนิทเทสวารนั้นคำว่ากถญฺจอย่างไรเล่าเป็นต้นเป็นคำถาม
ด้วยหมายจะขยายให้กว้างขวาง. ก็แลความย่อในปุจฉวารนี้มีดังนี้ว่าดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายโดยประการไรเล่า. ในปุจฉวารทุกข้อ
ก็นัยนี้. ข้อว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้คือภิกษุใน
พระศาสนานี้. ก็อิธศัพท์ในคำนี้เป็นเครื่องแสดงศาสนาอันเป็นที่อาศัยอย่างดี
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 292
ของบุคคลผู้บำเพ็ญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานทุกประการให้เกิดขึ้นแล้วและ
เป็นเครื่องปฏิเสธความไม่เป็นจริงของศาสนาอื่น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ (ในจูฬ-
สีหนาทสูตรมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมณะที่
๑-๒-๓-๔มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้นศาสนาอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้เป็น
พระอรหันต์ทั้งหลายเพราะฉะนั้นจึงตรัสว่าภิกษุในศาสนานี้.
อานาปานบรรพ
คำว่าภิกษุไปป่าก็ดีไปที่โคนไม้ก็ดีไปยังเรือนว่างก็ดีนี้
เป็นเครื่องแสดงการกำหนดเอาเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของ
ภิกษุนั้น. เพราะจิตของเธอซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นมานาน
ย่อมไม่ประสงค์จะลงสู่วิถีแห่งกัมมัฏฐานคอยแต่จะแล่นออกนอกทางท่าเดียว
เหมือนเกวียนที่เทียมด้วยโคโกงฉะนั้น. เพราะฉะนั้นภิกษุผู้จะเจริญสติปัฏฐานนี้
ประสงค์จะทรมานจิตที่ร้ายที่เจริญมาด้วยการดื่มรสมีรูปารมณ์เป็นต้น
มานานพึงพรากออกจากอารมณ์เช่นรูปารมณ์เป็นต้นแล้วเข้าไปป่าก็ได้
โคนไม้ก็ได้เรือนว่างก็ได้แล้วเอาเชือกคือสติผูกเข้าไว้ที่หลักคืออารมณ์
ของสติปัฏฐานนั้นจิตของเธอนั้นแม้จะดิ้นรนไปทางนั้นทางนี้เมื่อไม่ได้
อารมณ์ที่คุ้นเคยมาก่อนไม่อาจตัดเชือกคือสติให้ขาดแล้วหนีไปได้ก็จะแอบ
แนบสนิทเฉพาะอารมณ์นั้นอย่างเดียวด้วยอำนาจเป็นอุปจารภาวนาและ
อัปปนาภาวนาเหมือนอย่างคนเลี้ยงโคต้องการจะทรมานลูกโคโกงที่ดื่มนม
แม่โคตัวโกงจนเติบโตพึงพรากมันไปเสียจากแม่โคแล้วปักหลักใหญ่ไว้หลัก
หนึ่งเอาเชือกผูกไว้ที่หลักนั้นครั้งนั้นลูกโคของเขานั้นก็จะดิ้นไปทางโน้น
ทางนี้เมื่อไม่อาจหนีไปได้ก็หมอบหรือนอนแนบหลักนั้นนั้นแลฉะนั้น.
เหตุนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 293
ยถาถมฺเภนิพนฺเธยฺยวจฺฉํทมํนโรอิธ
พนฺเธยฺเยวํสกํจิตฺตํสติยารมฺมเณทฬฺหํ
นรชนในพระศาสนานี้พึงผูกจิต
ของตนไว้ในอารมณ์ให้มั่นด้วยสติเหมือน
คนเลี้ยงโคเมื่อจะฝึกกลูกโคพึงผูกมันไว้
ที่หลักฉะนั้น.
เสนาสนะนี้ย่อมเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุผู้เจริญสติปัฏ-
ฐานนั้นด้วยประการฉะนี้. เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวว่าคำนี้เป็นเครื่อง
แสดงการกำหนดเสนาสนะอันเหมาะแก่การเจริญสติปัฏฐานของภิกษุนั้นดังนี้.
เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
อีกอย่างหนึ่งเพราะพระโยคาวจรไม่ละละแวกบ้านอันอื้ออึงด้วยเสียง
หญิงชายช้างม้าเป็นต้นจะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐานอันเป็นยอดใน
กายานุปัสสนาเป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษและธรรมเครื่องอยู่เป็น
สุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้
สำเร็จไม่ใช่ทำได้ง่ายๆเลยเพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึกแต่พระโยคาวจร
กำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌานมีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น
ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาทพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต
ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่ายก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้านฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้นจึงตรัสว่าอรญฺญ-
คโตวาไปป่าก็ดีเป็นต้น.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนอาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ. อาจารย์ผู้รู้ชัยภูมิ
เห็นพื้นที่ควรสร้างนครแล้วใคร่ครวญถี่ถ้วนแล้วก็ชี้ว่าท่านทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 294
จงสร้างนครตรงนี้เมื่อเขาสร้างนครเสร็จโดยสวัสดีแล้วย่อมได้รับลาภ
สักการะอย่างใหญ่จากราชสกุลฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นก็ฉันนั้น
ทรงใคร่ครวญถึงเสนาสนะอันเหมาะแก่พระโยคาวจรแล้วทรงชี้ว่าเสนาสนะ
ตรงนี้พระโยคาวจรควรประกอบกัมมัฏฐานเนืองๆต่อแต่นั้นพระโยคีเจริญ
กัมมัฏฐานเนืองๆในเสนาสนะนั้นได้บรรลุพระอรหัตตามลำดับย่อมทรงได้
รับสักการะอย่างใหญ่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงเป็นผู้ตรัสรู้เอง
โดยชอบจริงหนอ.
ก็ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่าเป็นเช่นเดียวกับเสือเหลือง. เหมือนอย่างพระยา
เสือเหลืองขนาดใหญ่อาศัยพงหญ้าป่าชัฏหรือเทือกเขาในป่าซ่อนตัวคอยจับ
หมู่มฤคมีกระบือป่าละมังหมูป่าเป็นต้นฉันใดภิกษุนี้ผู้มีเพียรประกอบ
เนืองๆซึ่งกัมมัฏฐานในป่าเป็นต้นย่อมถือเอาซึ่งมรรค๔และอริยผล๔ได้
ตามลำดับฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะเหตุนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า.
ยถาปิทีปิโกนามนิลียิตฺวาคณฺหตีมิเค
ตเถวายํพุทฺธปุตฺโตยุตฺตโยโควิปสฺสโก
อรญฺญํปวิสิตฺวานคณฺหติผลมุตฺตมํ
อันเสือเหลืองซ่อนตัวคอยจับหมู่
มฤคฉันใดภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกันเข้าไปสู่ป่าแล้วประกอบ.
ความเพียรเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง (เจริญ
วิปัสสนา) ย่อมถือไว้ได้ซึ่งผลอันสูงสุด
ได้.
เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะป่าอัน
เป็นภูมิที่เหมาะแก่ชวนปัญญาอันเป็นเครื่องบากบั่นของพระโยคาวจรนั้น
จึงตรัสว่าอรญฺญคโตวาไปป่าก็ดีเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 295
ต่อแต่นี้ไปก่อนอื่นคำที่ควรจะกล่าวในอานาปานบรรพนี้ท่านกล่าว
ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทั้งนั้น.
กำหนดลมอัสสาสปัสสาสะ
ก็คำว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายช่างกลึงหรือลูกมือ
ของนายช่างกลึงผู้ขยันนี้เป็นเพียงคำอุปมาเท่านั้น. คำว่าในกายภายในก็ดีนี้
เป็นเพียงอัปปนาเท่านั้น. แต่อัปปนานั้นก็ย่อมไม่มาในคำนั้น. มาแต่อุปจาร
กัมมัฏฐานที่เหลือ. แต่ก็ยังมาไม่ถึงคำว่าผู้ขยันหมายถึงผู้ฉลาด (ผู้ชำนาญ).
คำว่าชักเชือกกลึงยาวก็ดีความว่าเหยียดมือเหยียดเท้าชักเชือกยาวใน
เวลากลึงกลองช่องพิณเป็นต้นซึ่งเป็นของใหญ่. คำว่าชักเชือกสั้นก็ดี
ความว่าชักเชือกสั้นๆในเวลากลึงของเล็กๆน้อยๆเช่นงาและลิ่มสลัก
เป็นต้น. คำว่าฉันนั้นเหมือนกันแลความว่าแม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเมื่อ
หายใจเข้ายาวโดยลมอัสสาสะและปัสสาสะที่เป็นไปโดยระยะยาวและระยะสั้น
ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาวฯลฯคอยสำเหนียกอยู่ว่าเราหายใจออกยาวดังนี้.
เมื่อเธอสำเหนียกอยู่อย่างนี้ฌาน๔ย่อมเกิดในนิมิตแห่งลมอัสสาสะปัสสาสะ.
เธอออกจากฌานแล้วจะกำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะหรือองค์ฌานได้.
ในการกำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะนั้นภิกษุประกอบกัมมัฏฐานในลม
อัสสาสะปัสสาสะย่อมกำหนดรูปอย่างนี้ว่าลมอัสสาสะปัสสาสะเหล่านี้
อาศัย
อะไรอาศัยวัตถุกรัชกายชื่อว่าวัตถุมหาภูตรูป๔กับอุปาทายรูปชื่อว่า
กรัชกายต่อแต่นั้นจึงกำหนดในนามธรรมซึ่งมีผัสสะเป็นที่๕ (๑. เวทนา
๒. สัญญา๓. เจตนา๔. วิญญาณ๕. ผัสสะ) มีรูปนั้นเป็นอารมณ์. ครั้น
กำหนดนามรูปนั้นอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล้วค้นหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 296
อยู่เห็นปฏิจจสมุปบาทมีอวิชชาเป็นต้นแล้วข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ว่า
นี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยเท่านั้นไม่ใช้สัตว์หรือบุคคล
จึงยกนามรูปกับทั้งปัจจัยขึ้นสู่พระไตรลักษณ์เจริญวิปัสสนาอยู่ย่อมบรรลุ
พระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นทางปฏิบัติออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุ
รูปหนึ่ง.
ภิกษุผู้เจริญฌานกัมมัฏฐานกำหนดนามรูปว่าองค์ฌานเหล่านี้อาศัย
อะไรอาศัยวัตถุรูปกรัชกายชื่อว่าวัตถุรูปองค์ฌานจัดเป็นนามกรัชกายจัด
เป็นรูปเมื่อจะแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้นจึงเห็นปัจจยาการมีอวิชชา
เป็นต้นจึงข้ามความสงสัยเสียได้ว่านี้เป็นเพียงปัจจัยและธรรมอาศัยปัจจัย
เกิดขึ้นไม่ใช่สัตว์หรือบุคคลจึงยกนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยขึ้นสู่ไตรลักษณ์
เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตโดยลำดับ. นี้เป็นมุขของการออกจากทุกข์
จนถึงพระอรหัตของภิกษุรูปหนึ่ง.
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาในกายภายในความว่าพิจารณาเห็นกายใน
กายคือลมอัสสาสะปัสสาสะของตนอยู่อย่างนี้. คำว่าหรือภายนอกความว่า
หรือพิจารณาเห็นกายในกายคือลมอัสสาสะปัสสาสะของคนอื่นอยู่. คำว่าทั้ง
ภายในทั้งภายนอกความว่าหรือในกายคือลมอัสสาสะปัสสาสะของตนตามกาล
ของคนอื่นตามกาลด้วยคำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาลที่ภิกษุนั้นไม่หยุด
กัมมัฏฐานที่คล่องแคล่วให้กายคือลมอัสสาสะปัสสาสะสัญจรไปมาอยู่ก็กิจ
ทั้งสองนี้ย่อมไม่ได้ในเวลาเดียวกัน.
คำว่าพิจารณาเห็นธรรมดาคือความเกิดความว่าลมอาศัยสูบ
ของช่างทอง๑ลูกสูบ๑ความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้น๑จึงจะสัญจรไป
มาได้ฉันใดกายคือลมอัสสาสะปัสสาสะก็อาศัยกรัชกาย๑ช่องจมูก๑จิต๑
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 297
ของภิกษุจึงสัญจรไปมาได้ฉันนั้น. ภิกษุเห็นธรรมมีกายเป็นต้นซึ่งมีความ
เกิดเป็นธรรมดาท่านเรียกว่าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดในกาย. คำว่า
พิจารณาธรรมคือความเสื่อมก็ดีความว่าเมื่อสูบถูกนำออกไปแล้ว
เมื่อลูกสูบแตกแล้วเมื่อความพยายามอันเกิดแต่ลูกสูบนั้นไม่มีลมนั้นย่อมเป็น
ไปไม่ได้ฉันใดเมื่อกายแตกแล้วเมื่อช่องจมูกถูกกำจัดเสียแล้วและเมื่อจิต
ดับแล้วชื่อว่ากายคือลมอัสสาสะปัสสาสะก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ฉันนั้น
เหมือนกัน. ภิกษุผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่าลมอัสสาสะปัสสาสะดับเพราะกายเป็นต้น
ดับดังนี้ท่านเรียกว่าพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกาย. คำว่า
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดและความเสื่อมหมายความว่า
พิจารณาเห็นความเกิดตามกาลความเสื่อมตามกาล.
คำว่าสติของเธอปรากฏชัดว่ากายมีอยู่ความว่าสติของภิกษุนั้น
เข้าไปตั้งเฉพาะอย่างนี้ว่ากายแลมีอยู่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่หญิง
ไม่ใช่ชายไม่ใช่ตนไม่ใช่ของตนไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไม่ใช่ใครไม่ใช่
ของใคร. คำว่าเพียงเท่านั้นนี้เป็นเครื่องกำหนดเขตแห่งประโยชน์. ท่าน
อธิบายว่าสติที่เข้าไปตั้งอยู่นั้นหาใช่เพื่อประโยชน์อย่างอื่นไม่ที่แท้ก็เพียง
เพื่อประโยชน์สักว่าความรู้คือประมาณแห่งความรู้ยิ่งๆขึ้นไปและประ-
มาณแห่งสติเท่านั้นอธิบายว่าเพื่อความเจริญแห่งสติสัมปชัญญะ. คำว่าไม่
ถูกกิเลสอาศัยอยู่ความว่าไม่ถูกกิเลสอาศัยด้วยอำนาจแห่งกิเลสเป็น
ที่อาศัยคือตัณหาและทิฏฐิอยู่. คำว่าไม่ยึดถือสิ่งไรๆในโลกด้วย
ความว่าไม่ถือสิ่งไรๆในโลกคือรูปฯลฯหรือวิญญาณว่านี้เป็นตัวของ
เรานี้มีในตัวของเรา. ปิอักษรในคำว่าเอวํปิลงในอรรถคืออาศัยความ
ข้างหน้าประมวลมา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบเทศนาคืออานาปาน
บรรพแสดงแล้วด้วยบทนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 298
อานาปานสติเป็นอริยสัจ๔
ในอานาปานบรรพนั้นสติที่กำหนดลมอัสสาสะปัสสาสะเป็นอารมณ์
เป็นทุกขสัจตัณหามีในก่อนอันยังทุกขสัจนั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสมุทัยสัจความไม่
เป็นไปแห่งสัจจะทั้งสองเป็นนิโรธสัจอริยมรรคที่กำหนดรู้ทุกขสัจละสมุทัย
สัจมีนิโรธสัจเป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจ. ภิกษุโยคาวจรขวนขวายด้วยอำนาจ
สัจจะ๔อย่างนี้ย่อมบรรลุความดับทุกข์ได้ฉะนี้. นี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจาก
ทุกข์จนบรรลุพระอรหัตของภิกษุผู้ตั้งมั่นแล้วด้วยอำนาจแห่งลมอัสสาสะ
ปัสสาสะรูปหนึ่งฉะนั้นแล.
จบอานาปานบรรพ
อิริยาบถบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางแห่ง
ลมอัสสาสะปัสสาสะอย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางแห่งอิริยาบถ
จึงตรัสว่าปุนจปรํอีกอย่างหนึ่งดังนี้เป็นต้น. ในอิริยาบถนั้นพึงทราบความ
ว่าแม้สัตว์ดิรัจฉานเช่นสุนัขบ้านสุนัขจิ้งจอกเป็นต้นเมื่อเดินไปก็รู้ว่า
ตัวเดินก็จริงอยู่แต่ในอิริยาบถนั้นมิได้ตรัสหมายเอาความรู้เช่นนั้น. เพราะ
ความรู้เช่นนั้นละความเห็นว่าสัตว์ไม่ได้เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ไม่ได้.
ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐานภาวนาเลย. ส่วนการรู้ของภิกษุ (ผู้เจริญ
กายานุปัสสนา) นี้ย่อมละความเห็นว่าสัตว์เพิกถอนความเข้าใจว่าสัตว์ได้.
เป็นทั้งกัมมัฏฐานและเป็นสติปัฏฐานภาวนา. และคำที่ตรัสหมายถึงความรู้ชัด
อย่างนี้ว่าใครเดินการเดินของใครเดินได้เพราะอะไรแม้ในอิริยาบถ
อื่นมีการยืนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน .
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 299
จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้นคำว่าใครเดินความว่าไม่ใช่สัตว์
หรือบุคคลไรๆเดิน. คำว่าการเดินของใครความว่าไม่ใช่การเดินของ
สัตว์หรือบุคคลไรๆเดิน. คำว่าเดินได้เพราะอะไรความว่าเดินได้เพราะ
การแผ่ไปของวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิต. เพราะฉะนั้นภิกษุนั้นย่อม
รู้ชัดอย่างนี้คือจิตเกิดขึ้นว่าเราจะเดินจิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆก็ทำให้
เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหวการนำสกลกายให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความ
ไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิตเรียกว่าเดิน. แม้ในอิริยาบถอื่น
มียืนเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ในอิริยาบถยืนเป็นต้นนั้นจิตเกิดขึ้นว่าเรา
จะยืนจิตนั้นทำให้เกิดวาโยธาตุๆทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหวการทรง
สกลกายตั้งขึ้นแต่พื้นเท้าเป็นที่สุดด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การ
ทำของจิตเรียกว่ายืน. จิตเกิดขึ้นว่าเราจะนั่งจิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆ
ก็ทำให้เกิดวิญญัติความเคลื่อนไหวความคู้กายเบื้องล่างลงทรงกายเบื้องบน
ตั้งขึ้นด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิตเรียกว่านั่ง
จิตเกิดขึ้นว่าเราจะนอนจิตนั้นก็ทำให้เกิดวาโยธาตุๆทำให้เกิดวิญญัติความ
เคลื่อนไหวการเหยียดกายทั้งสิ้นเป็นทางยาวด้วยความไหวตัวแห่งวาโยธาตุ
อันเกิดแต่การทำของจิตเรียกว่านอน. เมื่อภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ย่อมมี
ความคิดเห็นอย่างนี้ว่าเขากล่าวกันว่าสัตว์เดินสัตว์ยืนแต่โดยอรรถ
แล้วสัตว์ไรๆที่เดินที่ยืนไม่มีประดุจคำที่กล่าวกันว่าเกวียนเดิน
เกวียนหยุดแต่ธรรมดาว่าเกวียนไรๆที่เดินได้หยุดได้เองหามีไม่ต่อเมื่อ
นายสารถีผู้ฉลาดเทียมโค๔ตัวแล้วขับไปเกวียนจึงเดินจึงหยุดเพราะ
ฉะนั้นคำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันใดกายเปรียบเหมือน
เกวียนเพราะอรรถว่าไม่รู้ลมที่เกิดจากจิตเปรียบเหมือนโคจิตเปรียบ
เหมือนสารถีเมื่อจิตเกิดขึ้นว่าเราจะเดินเราจะยืนวาโยธาตุที่ทำให้เกิด
ความเคลื่อนไหวก็เกิดขึ้นอิริยาบถมีเดินเป็นต้นย่อมเป็นไปเพราะความไหวตัว
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 300
แห่งวาโยธาตุอันเกิดแต่การทำของจิตต่อแต่นั้นสัตว์ก็เดินสัตว์ก็ยืนเราเดิน
เรายืนเพราะเหตุนั้นคำนั้นจึงเป็นเพียงบัญญัติสมมุติเรียกกันฉันนั้น
เหมือนกัน. ด้วยฉะนั้นพระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
นาวามาลุตเวเคนชิยาเวเคนเตชนํ
ยถายาติตถากาโยยาติวาตาหโตอยํ
ยนฺตํสุตฺตวเสเนวจิตฺตสุตฺตวเสนิทํ
ปยุตฺตํกายยนฺตมฺปิยาติฐาตนิสีทติ
โกนามเอตฺถโสสตฺโตโยวินาเหตุปจฺจเย
อตฺตโนอานุภาเวนติฏฺเฐวายทิวาวเช
เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลมลูกธนู
แล่นไปด้วยกำลังสายธนูฉันใดกายนี้อัน
ลมนำไปจึงเดินไปได้ฉันนั้นแม้ยนต์
คือกายนี้อันปัจจัยประกอบแล้วเดิน
ยืนและนั่งได้ด้วยอำนาจสายชักคือจิต
เหมือนเครื่องยนต์หมุนไปได้ด้วยอำนาจ
สายชักฉะนั้นนั่นแหละในโลกนี้สัตว์ใด
เว้นเหตุปัจจัยเสียแล้วยังยืนได้เดินได้
ด้วยอานุภาพของตนเองสัตว์นั้นชื่อไร
เล่าจะมีดังนี้.
เพราะฉะนั้นพึงทราบว่าภิกษุนี้กำหนดอิริยาบถมีเดินเป็นต้นซึ่งเป็นไปได้
ด้วยอำนาจเหตุปัจจัยเท่านั้นอย่างนี้เมื่อเดินก็รู้ว่าเราเดินเมื่อยืนก็รู้ว่าเรายืน
เมื่อนั่งก็รู้ว่าเรานั่งเมื่อนอนก็รู้ว่าเรานอนดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 301
คำว่าก็หรือกายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใดๆก็รู้กายนั้น
โดยอาการนั้นๆนี้เป็นคำกล่าวรวมอิริยาบถทั้งปวง. มีคำอธิบายว่าหรือกาย
ของเธอดำรงอยู่โดยอาการใดๆก็รู้ชัดกายนั้นโดยอาการนั้นๆคือกายนั้นดำรง
อยู่โดยอาการเดินก็รู้ชัดว่าเราเดินกายดำรงอยู่โดยอาการยืนนั่งนอน
ก็รู้ชัดว่าเรายืนเรานั่งเรานอน.
อิริยาบถภายในภายนอก
คำว่าภายในหรือดังนี้ความว่าพิจารณาเห็นกายในกายด้วยการ
กำหนดอิริยาบถของตนเองอย่างนี้อยู่. คำว่าหรือภายนอกความว่าด้วย
การกำหนดอิริยาบถสี่ของคนอื่นอยู่. คำว่าหรือทั้งภายในทั้งภายนอกความ
ว่าพิจารณาเห็นกายในกายด้วยการกำหนดอิริยาบถ๔ของตนเองตามกาลของ
คนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคำบาลีเป็นต้นว่าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิด
คือพึงนำความเกิดและความเสื่อมแห่งรูปขันธ์ออกแสดงโดยอาการทั้ง๕ตาม
นัยบาลีเป็นต้นว่ารูปเกิดเพราะอวิชชาเกิดดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาความเกิดและความเสื่อมนั้นแลตรัสว่าพิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดดังนี้เป็นต้นในที่นี้.
คำบาลีเป็นต้นว่าสติของเธอก็ปรากฏชัดว่ากายมีอยู่ดังนี้
ก็มีข้อความเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดอิริยาบถเป็นอริยสัจ๔
แม้ในอิริยาบถบรรพนี้สติที่กำหนดอิริยาบถ๔เป็นอารมณ์เป็น
ทุกขสัจตัณหาที่มีในก่อนอันยังสติที่กำหนดอิริยาบถ๔นั้นให้ตั้งขึ้น
เป็นสมุทัยสัจการหยุดทุกขสัจและสมุทัยสัจทั้งสองเป็นนิโรธสัจอริยมรรค
ที่กำหนดรู้ทุกข์ละสมุทัยมีนิโรธเป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจภิกษุผู้โยคาวจร
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 302
ขวนขวายโดยทางสัจจะ๔อย่างนี้ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์. นี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้กำหนดอิริยาบถ๔รูปหนึ่ง
ฉะนี้แล.
จบอิริยาบถบรรพ
สัมปชัญญบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทาง
อิริยาบถ๔อย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางสัมปชัญญะ๔
จึงตรัสว่ายังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้นในสัมปชัญญบรรพนั้นคำว่าก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้นทรงพรรณนาไว้แล้วในสามัญญผลสูตร. คำว่าหรือภายใน
ความว่าพิจารณาเห็นกายในกายของตนหรือในกายของคนอื่นหรือในกาย
ของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลโดยกำหนดสัมปชัญญะ๔อย่างนี้อยู่.
ความเกิดและความเสื่อมของรูปขันธ์นั้นแลพึงนำออกแสดงในคำว่าพิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดเป็นต้นแม้ในสัมปชัญญบรรพนี้. คำนอกจากนี้ก็
เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดสัมปชัญญะเป็นอริยสัจ๔
ในสัมปชัญญบรรพนี้สติกำหนดสัมปชัญญะ๔เป็นทุกขสัจตัณหา
ที่มีในก่อนอันยังสติกำหนดสัมปชัญญะ๔นั้นให้ตั้งขึ้นเป็นสุมทัยสัจการ
ไม่เกิดทุกขสัจและสมุทัยสัจทั้งสองเป็นนิโรธสัจอริยมรรคมีประการดังกล่าว
มาแล้วเป็นมรรคสัจภิกษุโยคาวจรขวนขวายโดยทางสัจจะ๔อย่างนี้ย่อม
บรรลุนิพพานดับทุกข์ได้แล. นี้เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกจนถึงพระอรหัตของ
ภิกษุผู้กำหนดสัมปชัญญะ๔รูปหนึ่งฉะนี้แล.
จบสัมปชัญญบรรพ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 303
ปฏิกูลมนสิการบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางสัมปชัญญะ
๔อย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกการใส่ใจถึงกายโดยความเป็นของปฏิกูล
จึงตรัสว่ายังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนั้นคำใดที่ควร
กล่าวในบาลีเป็นต้นว่ากายนี้นี่แลคำนั้นทั้งหมดท่านกล่าวไว้แล้วในกายคตา-
สติกัมมัฏฐานคัมภีร์วิสุทธิมรรคโดยพิสดารด้วยอาการทั้งปวง. คำว่ามีปาก
สองข้างความว่าประกอบด้วยปากทั้งสองทั้งข้างล่างข้างบน. คำว่ามีอย่าง
ต่างๆคือมีชนิดต่างๆ. ในข้อนั้นมีคำเทียบเคียงอุปมาดังต่อไปนี้. ก็กายอัน
ประกอบด้วยมหาภูตรูป๔พึงทราบเปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้างอาการ
๓๒มีผมเป็นต้นเปรียบเหมือนธัญญชาติต่างชนิดที่เขาใส่ปนกันลงไปในไถ้
นั้นพระโยคาวจรเปรียบเหมือนบุรุษมีจักษุอาการปรากฏชัดแห่งอาการ๓๒
ของพระโยคาวจรพึงทราบเหมือนอาการที่ธัญญชาติต่างชนิดปรากฏแก่บุรุษผู้
แก้ไถ้นั้นออกแล้วพิจารณาดูอยู่.
คำว่าภายในก็ดีความว่าพิจารณาเห็นกายในกายของตนหรือ
ในกายของคนอื่นหรือในกายของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการ
กำหนดอาการ๓๒มีผมเป็นต้นอย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ก็มีนัยดังที่กล่าว
มาแล้ว. ในปฏิกูลมนสิการบรรพนี้ต่างกันอย่างเดียวก็คือควรประกอบ
ความอย่างนี้ว่าสติกำหนดอาการ๓๒เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจแล้วพึงทราบ
ว่าเป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์จนถึงพระอรหัตของภิกษุผู้กำหนดอาการ
๓๒รูปหนึ่ง. คำนอกจากนี้ก็เป็นเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั้นแล.
จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 304
ธา____________ตุมนสิการบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางการใส่ใจ
ถึงกายโดยเป็นของปฏิกูลอย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดยทางการใส่ใจ
ถึงกายโดยความเป็นธาตุจึงตรัสธาตุมนสิการบรรพว่ายังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น.
ในธาตุมนสิการบรรพนั้นมีการพรรณนาอรรถพร้อมด้วยข้อเทียบเคียงอุปมา
ดังต่อไปนี้. คนฆ่าโคบางคนหรือลูกมือของเขาที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหาร
และค่าจ้างฆ่าโคแล้วชำแหละแบ่งออกเป็นส่วนๆแล้วนั่งณที่ทางใหญ่๔
แพร่งคือที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ซึ่งไปได้ทั้ง๔ทิศฉันใดภิกษุ (ผู้
บำเพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน) ก็ฉันนั้นนั่นแลย่อมพิจารณากายซึ่งชื่อว่าตั้งอยู่
ตามที่เพราะตั้งอยู่ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแห่งอิริยาบถทั้ง๔และซึ่ง
ชื่อว่าดำรงอยู่ตามที่เพราะตั้งอยู่ตามที่อย่างนี้ว่าในกายนี้มีปฐวีธาตุอาโป-
ธาตุเตโชธาตุวาโยธาตุ.
กายสักว่าธาตุ๔
ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่าเมื่อคนฆ่าโคเลี้ยงโคอยู่ก็ดี
นำโคไปยังที่ฆ่าก็ดีนำมาผูกไว้ที่ฆ่าก็ดีกำลังฆ่าก็ดีมองดูโคที่ฆ่าตายแล้วก็ดี
ความสำคัญว่าโคยังไม่หายไปตราบเท่านี้เขายังไม่ได้ชำแหละโคนั้นออกเป็น
ส่วนๆต่อเมื่อเขาชำแหละแบ่งออกแล้วความสำคัญว่าโคก็หายไปกลับสำคัญ
เนื้อโคไปเขามิได้คิดว่าเราขายโคคนเหล่านี้ซื้อไปที่แท้เขาคิดว่าเรา
ขายเนื้อโคคนเหล่านี้ซื้อเนื้อโคเปรียบฉันใดแม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลาเป็นคฤหัสก็ดีบรรพชิตก็ดีความสำคัญว่าสัตว์
หรือบุคคลยังไม่หายไปก่อนตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้นี่แลตามที่
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 305
ตั้งอยู่ตามที่ดำรงอยู่แยกออกจากก้อนโดยความเป็นธาตุต่อเมื่อเธอ
พิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุความสำคัญว่าสัตว์จึงหายไปจิตก็ตั้งอยู่ด้วยดี
โดยความเป็นธาตุอย่างเดียว. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้นี่แลตามที่ตั้งอยู่ตามที่ดำรงอยู่โดยความเป็น
ธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ปฐวีธาตุอาโปธาตุเตโชธาตุวาโยธาตุดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลายเปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยันฯลฯวาโย-
ธาตุดังนี้ฉันนั้น. ก็พระโยคาวจรเปรียบเหมือนคนฆ่าโคความสำคัญว่า
สัตว์เปรียบเหมือนความสำคัญว่าโคอิริยาบถทั้ง๔เปรียบเหมือนทางใหญ่๔
แพร่งความพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุเปรียบเหมือนการที่คนฆ่าโคนั่ง
แบ่งออกเป็นส่วนๆนี้เป็นการพรรณนาบาลีในธาตุมนสิการบรรพนี้. ส่วน
กถาว่าด้วยกัมมัฏฐานท่านพรรณนาไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้ว.
คำว่าหรือภายในความว่าพิจารณาเห็นกายในกายของตนหรือ
ในกายของคนอื่นหรือในกายของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการ
กำหนดธาตุ๔ด้วยอาการอย่างนี้อยู่. ข้อต่อไปจากนี้ก็มีนัยที่กล่าวมาแล้ว
ทั้งนั้น. แต่ในที่นี้มีข้อต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความอย่างนี้ว่าสติ
กำหนดธาตุ๔เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้วพึงทราบว่านี้เป็นทาง
ปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดธาตุ๔ดังนี้. ส่วนคำที่เหลือก็เช่นกับ
ที่กล่าวมาแล้วแต่ก่อนนั่นแล.
จบธาตุมนสิการบรรพ
นวสีวถิกาบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกกายานุปัสสนาโดยทางธาตุมนสิ-
การอย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกด้วยนวสีวัฏฐิกาบรรพข้อกำหนดว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 306
ด้วยป่าช้า๙ข้อจึงตรัสว่ายังมีอีกข้อหนึ่งเป็นต้น. บรรดาเหล่านั้นบทว่า
เหมือนอย่างว่าเห็นคือเหมือนอย่างว่าพบ. บทว่าสรีระคือสรีระของ
คนตาย. บทว่าที่เขาทิ้งไว้ที่ป่าช้าคือที่เขาปล่อยทิ้งไว้ที่สุสาน. ซากศพที่ชื่อว่า
ตายแล้ววันเดียวเพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้๑วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว๒
วันเพราะเป็นซากศพที่ตายแล้วได้๒วัน. ที่ชื่อว่าตายแล้ว๓วันเพราะ
ซากศพที่ตายแล้วได้๓วัน. ที่ชื่อว่าศพที่พองขึ้นเพราะเป็นศพที่พองขึ้นโดย
เป็นศพที่ขึ้นอืดตามลำดับตั้งแต่สิ้นชีพไปเหมือนลูกสูบช่างทองอันพองขึ้นด้วย
ลม. ศพที่พองขึ้นนั่นแลชื่อว่าอุทธุมาตกะ. อีกนัยหนึ่งศพที่พองขึ้นน่าเกลียด
เพราะเป็นของปฏิกูลเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอุทธุมาตกะ. ศพที่มีสีต่างๆ
เจือเขียวเรียกว่าศพที่มีสีเขียวเจือ. ศพที่มีสีเขียวเจือนั่นแลชื่อว่าวินีลกะ.
อีกนัยหนึ่งศพที่มีสีเขียวน่าเกลียดเพราะเป็นของปฏิกูลเพราะเหตุนั้นจึง
ชื่อว่าวินีลกะ. คำว่าวินีลกะนี้เป็นชื่อของซากศพมีสีแดงในที่เนื้อนูนหนา
มีสีขาวในที่อันบ่มหนองโดยมากมีสีเขียวในที่ควรเขียวคล้ายผ้าห่มสีเขียว.
ศพที่มีน้ำเหลืองไหลออกจากที่ปริแตกทางปากแผลทั้ง๙บ้างชื่อว่าศพมีน้ำ
เหลืองไหล. ศพมีน้ำเหลืองไหลนั่นแลชื่อว่าวิบุพพกะ. อีกนัยหนึ่งศพมี
น้ำเหลืองไหลน่าเกลียดเพราะเป็นของปฏิกูลเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า
วิบุพพกะ. ศพที่เป็นวิบุพพกะเกิดแล้วคือถึงความเป็นซากศพมีน้ำเหลือง
ไหลอย่างนั้นเพราะเหตุนั้นชื่อว่าวิบุพพกชาตะ. ข้อว่าโสอิมเมวกายํ
ความว่าภิกษุนั้นใช้ญาณนั้นแหละน้อมนำกายของตนนี้ไปเปรียบกับกายอันนั้น
(ซากศพ). เปรียบอย่างไร. เปรียบว่ากายนี้แลมีอย่างนั้นเป็นธรรมดา
ต้องเป็นอย่างนั้นไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 307
กายที่ปราศจากอายุไออุ่นวิญญาณเป็นซากศพ
ท่านอธิบายไว้ว่ากายนี้ยังทนยืนเดินเป็นต้นอยู่ได้ก็เพราะมี
ธรรม๓อย่างนี้คืออายุไออุ่นและวิญญาณแต่เพราะธรรม๓อย่างนี้พราก
จากกันแม้กายนี้จึงต้องมีอย่างนั้นเป็นธรรมดาคือมีสภาพเปื่อยเน่าอย่าง
นั้นเหมือนกันต้องเป็นอย่างนั้นคือจักเป็นประเภทศพขึ้นพองเป็นต้นอย่าง
นั้นเหมือนกันไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนั้นไปได้คือไม่ล่วงพ้นความเป็นศพ
พองขึ้นเป็นต้นอย่างนั้นไปได้.
ข้อว่าหรือภายในความว่าพิจารณาเห็นกายในกายของตนใน
กายของคนอื่นหรือในกายของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการ
กำหนดซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้นอย่างนี้อยู่.
เทียบกายด้วยซากศพ
บทว่าขชฺชมานํอันสัตว์กัดกินอยู่ได้แก่ศพอันสัตว์มีแร้งกา
เป็นต้นจับที่อวัยวะเช่นท้องเป็นต้นแล้วดึงเนื้อท้องเนื้อปากเบ้าตา
เป็นต้นจิกกินอยู่. บทว่าสมํสโลหิตํยังมีเนื้อและเลือดคือศพที่มีเนื้อ
และเลือดยังเหลืออยู่. บทว่านิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํที่ปราศจากเนื้อแต่
เปื้อนเลือดคือเมื่อเนื้อหมดไปแล้วแต่เลือดยังไม่แห้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายเอาศพประเภทนั้นจึงตรัสว่านิมฺมํสโลหิตมกฺขิตํ. บทว่า
อญฺเญนคือศพไปทางทิศอื่น. บทว่าหตฺถฏฺฐิกํกระดูกมือความว่ากระดูก
มือมีประเภทถึง๖๔ชิ้นกระจัดกระจายแยกกันไป. แม้กระดูกเท้าเป็นต้น
ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่าเตโรวสฺสิกานิเกินปีหนึ่งขึ้นไปคือล่วงปีไปแล้ว.
บทว่าปูตีนิเป็นของผุความว่ากระดูกอันตั้งอยู่กลางแจ้งย่อมผุเปื่อย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 308
เพราะกระทบลมแดดและฝนส่วนกระดูกที่อยู่ใต้พื้นดินย่อมตั้งอยู่ได้
นานกว่า. บทว่าจุณฺณกชาตานิเป็นผงคือแหลกเป็นผงกระจัดกระจาย
ไป. พึงประกอบความเข้าในข้อทั้งปวงโดยบทว่าขชฺชมานํอันสัตว์กัดกิน
เป็นต้นโดยนัยที่กล่าวมาแล้วว่าเธอก็น้อมกายอันนี้นี่แลเข้าไปเทียบกับศพ
เป็นต้น.
ข้อว่าหรือภายในเป็นต้นความว่าพิจารณาเห็นกายในกาย
ของตนในกายของคนอื่นหรือในกายของตนตามกาลของคนอื่นตามกาล
ด้วยการกำหนดซากศพอันสัตว์กัดกินเป็นต้นจนถึงเป็นกระดูกอันแหลกเป็น
ผงอย่างนี้อยู่.
จัดเป็นบรรพ
ป่าช้า๙ข้อที่อยู่ในนวสีวถิกาบรรพนี้บัณฑิตพึงจัดประมวลมาดังนี้คือ
๑. ข้อที่ตรัสโดยนัยเป็นต้นว่าศพที่ตายแล้วได้วันหนึ่งบ้างแม้ทั้ง
หมดเป็นบรรพอันหนึ่ง.
๒. ข้อที่ว่าศพที่ฝูงกาจิกกินบ้างเป็นต้นเป็นบรรพอันหนึ่ง.
๓. ข้อที่ว่าร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อและเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่
เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๔. ข้อว่าปราศจากเนื้อแต่เปื้อนเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๕. ข้อที่ว่าปราศจากเนื้อและเลือดมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่เป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๖. ข้อที่ว่ากระดูกทั้งหลายที่ปราศจากเส้นเอ็นรัดรึงแล้วเป็นต้น
เป็นบรรพอันหนึ่ง.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 309
๗. ข้อที่ว่ากระดูกทั้งหลายขาวคล้ายสีสังข์เป็นบรรพอันหนึ่ง.
๘. ข้อที่ว่ากระดูกทั้งหลายที่กองเรี่ยรายเกินหนึ่งปีขึ้นไปเป็นบรรพ
อันหนึ่ง.
๙. ข้อที่ว่ากระดูกทั้งหลายที่ผุแหลกเป็นผงเป็นบรรพอันหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงป่าช้าทั้ง๙แล้วจะทรงจบกายา-
นุปัสสนาจึงตรัสคำนี้ว่าเอวํโขภิกฺขเวอย่างนี้แลภิกษุทั้งหลายเป็นต้น.
สติกำหนดซากศพเป็นอริยสัจ๔
ในนวสีวถิกาบรรพนั้นสติอันกำหนดป่าช้าทั้ง๙ข้อเป็นทุกขสัจ
ตัณหาที่มีในก่อนที่ยังสตินั้นให้เกิดขึ้นเป็นสมุทัยสัจการหยุดทุกขสัจและ
สมุทัยสัจทั้งสองเป็นนิโรธสัจอริยมรรคอันกำหนดทุกข์ละสมุทัยมีนิโรธ
เป็นอารมณ์เป็นมรรคสัจภิกษุผู้โยคาวจรขวยขวายด้วยอำนาจสัจจะอย่างนี้
ย่อมบรรลุพระนิพพานดับทุกข์ได้ดังนี้. อันนี้เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์
จนถึงพระอรหัตของเหล่าภิกษุผู้กำหนดป่าช้าทั้ง๙ข้ออย่างนี้แล.
จบนวสีวถิกาบรรพ.
ก็กายานุปัสสนา๑๔บรรพคืออานาปานบรรพ๑อิริยาบถบรรพ๑
จตุสัมปชัญญบรรพ๑ปฏิกูลมนสิการบรรพ๑ธาตุมนสิการบรรพ๑สีวถิกา๙
บรรพเป็นอันจบลงด้วยคำพรรณนามีประมาณเพียงเท่านี้.
ใน๑๔บรรพนั้นอานาปานบรรพกับปฏิกูลมนสิการบรรพ๒บรรพ
นี้เท่านั้นเป็นอัปปนากัมมัฏฐานส่วน๑๒บรรพที่เหลือเป็นอุปจารกัมมัฏ-
ฐานอย่างเดียวเพราะตรัสไว้โดยการพิจารนาเห็นโทษแห่งกายอันเกี่ยวด้วย
ป่าช้าดังนี้แล.
จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 310
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน๑๔วิธีอย่างนี้
แล้วบัดนี้เพื่อจะตรัสเวทนานุปัสสนา๙วิธีจึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเวทนาเป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่าสุขเวทนาความว่าภิกษุกำลังเสวย
เวทนาที่เป็นสุขทางกายก็ดีทางใจก็ดีก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา. จะ
วินิจฉัยในคำนั้นแม้เด็กทารกที่ยังนอนหงายเมื่อเสวยสุขในคราวดื่มน้ำนม
เป็นต้นก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาก็จริงอยู่. แต่คำว่าสุขเวทนาเป็นต้นนี้
มิได้ตรัสหมายถึงความรู้ชัดอย่างนั้น. เพราะความรู้ชัดเช่นนั้นไม่ละความเห็น
ว่าสัตว์ไม่ถอนความสำคัญว่าเป็นสัตว์ไม่เป็นกัมมัฏฐานหรือสติปัฏฐาน
ภาวนาเลย. ส่วนความรู้ชัดของภิกษุนี้ละความเห็นว่าสัตว์ถอนความสำคัญ
ว่าเป็นสัตว์ได้ทั้งเป็นกัมมัฏฐานเป็นสติปัฏฐานภาวนา. ก็คำนี้ตรัสหมายถึง
ความเสวยสุขเวทนาพร้อมทั้งที่รู้ตัวอยู่อย่างนี้ว่าใครเสวยความเสวยของ
ใครเสวยเพราะเหตุไร.
สักว่าเวทนาไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
จะวินิจฉัยในปัญหาเหล่านั้นถามว่าใครเสวยตอบว่ามิใช่สัตว์
หรือบุคคลไรๆเสวย. ถามว่าความเสวยของใครตอบว่ามิใช่ความเสวยของ
สัตว์หรือบุคคลไรๆ. ถามว่าเสวยเพราะเหตุไรตอบว่าก็เวทนาของภิกษุ
นั้นมีวัตถุเป็นอารมณ์อย่างเดียวเหตุนั้นเธอจึงรู้อย่างนี้ว่าสัตว์ทั้งหลาย
เสวยเวทนาเพราะทำวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้นนั้นๆ
ให้เป็นอารมณ์ก็คำว่าเราเสวยเวทนาเป็นเพียงสมมติเรียกกันเพราะยึดถือ
ความเป็นไปแห่งเวทนานั้น. เธอกำหนดว่าสัตว์ทั้งหลายเสวยเวทนาเพราะ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 311
ทำวัตถุให้เป็นอารมณ์อย่างนี้พึงทราบว่าเธอย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนา
เหมือนพระเถระรูปหนึ่งซึ่งสำนักอยู่ที่จิตตลบรรพต.
พระเถระผู้เสวยทุกขเวทนา
ได้ยินว่าพระเถระทุรนทุรายกลิ้งเกลือกอยู่ด้วยเวทนากล้าแข็งคราว
อาพาธไม่ผาสุก. ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเรียนถามว่าท่านเจ็บตรงไหนขอรับ. ท่าน
ตอบว่าบอกที่เจ็บไม่ได้ดอกเธอฉันทำวัตถุเป็นอารมณ์เสวยเวทนา. ถามว่า
ตั้งแต่เวลารู้ชัดอย่างนั้นท่านอดกลั้นไว้ไม่ควรหรือขอรับ. ตอบว่าฉันจะ
อดกลั้นนะเธอ. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่าอดกลั้นได้ก็ดีนะสิขอรับ. พระเถระก็อดกลั้น
(ทุกขเวทนา). โรคลมก็ผ่าแล่งจนถึงหัวใจไส้ของพระเถระก็ออกมากองบนเตียง.
พระเถระชี้ให้ภิกษุหนุ่มดูถามว่าอดกลั้นขนาดนี้ควรไหม. ภิกษุหนุ่มก็นิ่ง.
พระเถระก็ประกอบความเพียรสม่ำเสมอบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา
ทั้งหลายเป็นพระอรหัตสมสีสีปรินิพพานแล้ว.
อนึ่งภิกษุผู้เจริญเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นเสวยทุกขเวทนาฯลฯ
อทุกขมสุขเวทนาปราศจากอามิสอยู่ก็รู้ชัดว่าเราเสวยทุกขเวทนาฯลฯอทุกขสุข-
เวทนาปราศจากอามิสเหมือนเมื่อเธอเสวยสุขเวทนาแล.
เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสรูปกัมมัฏฐานด้วยประการฉะนี้แล้วเมื่อ
จะตรัสอรูปกัมมัฏฐานแต่เพราะที่ตรัสด้วยอำนาจผัสสะหรือด้วยอำนาจจิต
กัมมัฏฐานไม่ปรากฏชัดปรากฏเหมือนมืดมัวส่วนความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
ทั้งหลายปรากฏชัดกัมมัฏฐานปรากฏชัดด้วยอำนาจเวทนาฉะนั้นจึงตรัส
อรูปกัมมัฏฐานด้วยอำนาจเวทนาแม้ในพระสูตรนี้เหมือนอย่างในสักกปัญห-
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 312
สูตร. กถามรรคในพระสูตรนี้นั้นพึงทราบโดยนัยที่ตรัสไว้ในสกกปัญหสูตร
แล้วนั่นแลว่าก็กัมมัฏฐานมี๒อย่างคือรูปกัมมัฏฐานและอรูปกัมมัฏฐาน
ดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้นในคำว่าสุขเวทนา
ดังนี้เป็นต้นมีปริยาย (ทาง ) แห่งความรู้ชัดอีกอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้. ข้อว่า
สุขํเวทนํเวทิยามีติปชานาติรู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาความว่า
เมื่อเสวยสุขเวทนาเพราะขณะเสวยสุขเวทนาไม่มีทุกขเวทนาก็รู้ชัดว่าเรา
เสวยสุขเวทนาดังนี้. เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความ
แปรปรวนเป็นธรรมดาเพราะในขณะที่ไม่มีทุกขเวทนาที่เคยมีมาก่อนและ
เพราะก่อนแต่นี้ก็ไม่มีสุขเวทนานี้. เธอรู้ตัวในสุขเวทนานั้นอย่างนี้. สมจริง
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ (ในทีฆนขสูตรมูลปัณณาสก์มัชฌิมนิกาย)
ดังนี้ว่าดูก่อนอัคคิเวสสนะสมัยใดเสวยสุขเวทนาสมัยนั้นหาเสวย-
ทุกขเวทนาไม่หาเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่ย่อมเสวยสุขเวทนาเท่านั้นสมัยใด
เสวยทุกขเวทนาฯลฯเสวยอทุกขมสุขเวทนาสมัยนั้นหาเสวยสุขเวทนาไม่
หาเสวยทุกขเวทนาไม่เสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาเท่านั้นดูก่อนอัคคิเวสสนะ
แม้สุขเวทนาแลไม่เที่ยงอันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยปัจจัยเกิดขึ้นมีความสิ้น
ไปเป็นธรรมดามีความเสื่อมไปเป็นธรรมดามีความจางไปเป็นธรรมดามี
ความดับไปเป็นธรรมดาแม้ทุกขเวทนาเล่าฯลฯแม้อทุกขมสุขเวทนาเล่า
ไม่เที่ยงฯลฯมีความดับไปเป็นธรรมดาดูก่อนอัคคิเวสสนะอริยสาวกสดับ
แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมหน่ายแม้ในสุขเวทนาแม้ในทุกขเวทนาแม้ใน
อทุกขมสุขเวทนาเมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดเพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นย่อมหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์
อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำก็ทำเสร็จแล้วกิจอย่างอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 313
เวทนาที่เป็นสามิสและนิรามิส
จะวินิจฉัยในข้อว่าสามิสํวาสุขํหรือสุขเวทนาที่มีอามิสเป็นต้น
โสมนัสสเวทนาอาศัยอามิสคือกามคุณ๕อาศัยเรือน๖ชื่อว่าสามิสสุขเวทนา
โสมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ๖ชื่อว่านิรามิสสุขเวทนาโทมนัสสเวทนา
อาศัยเรือน๖ชื่อว่าสามิสทุกขเวทนาโทมนัสสเวทนาอาศัยเนกขัมมะ๖
ชื่อว่านิรามิสทุกขเวทนาอุเบกขาเวทนาอาศัยเรือน๖ชื่อว่าสามิสอทุกขม-
สุขเวทนาอุเบกขาอันอาศัยเนกขัมมะ๖ชื่อว่านิรามิสอทุกขมสุขเวทนา.
อนึ่งการจำแนกเวทนาแม้เหล่านั้นท่านกล่าวไว้ในสักกปัญหสูตรแล้วแล.
เวทนาในเวทนานอก
ข้อว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในความว่าพิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาทั้งหลายของตนในเวทนาทั้งหลายของคนอื่นหรือใน
เวทนาทั้งหลายของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการกำหนดสุขเวทนา
เป็นต้นอย่างนี้อยู่. ส่วนในข้อว่าสมุทยธมฺมานุปสฺสีวาพิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิด (ในเวทนาทั้งหลาย) นี้มีวินิจฉัยว่าภิกษุเมื่อเห็นความ
เกิดและความเสื่อมแห่งเวทนาทั้งหลายด้วยอาการอย่างละ๕ว่าเพราะ
อวิชชาเกิดจึงเกิดเวทนาดังนี้เป็นต้นพึงทราบว่าเธอพิจารณาเห็นธรรม
คือความเกิดในเวทนาทั้งหลายอยู่พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนา
ทั้งหลายอยู่หรือพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดในเวทนาทั้งหลายตามกาล
อยู่พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาทั้งหลายตามกาลอยู่. ข้อต่อ
จากนี้ไปก็มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วในกายานุปัสสนานั่นแล.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 314
สติกำหนดเวทนาเป็นอริยสัจ๔
แต่ในเวทนานุปัสสนานี้มีข้อต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความ
อย่างนี้ว่าสติที่กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้วพึงทราบว่า
เป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดเวทนาเป็นอารมณ์. คำที่เหลือ
ก็มีความเช่นนั้นเหมือนกัน.
จบเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน๙. วิธีอย่าง
นี้แล้วบัดนี้เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนา๑๖วิธีจึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตตานุปัสสนาเป็นอย่างไรเล่
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน๙. วิธีอย่าง
นี้แล้วบัดนี้เพื่อจะตรัสจิตตานุปัสสนา๑๖วิธีจึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจิตตานุปัสสนาเป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
จำแนกอารมณ์ของจิต
บรรดาบทเหล่านี้บทว่าจิตมีราคะคือจิตที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ๘
อย่าง. บทว่าจิตปราศจากราคะคือจิตที่เป็นกุศลแลอพยากฤตฝ่าย
โลกิยะ. แต่ข้อนี้เป็นการพิจารณามิใช่เป็นการชุมนุมธรรมเพราะฉะนั้นใน
คำว่าจิตมีราคะนี้จึงไม่ได้โลกุตตรจิตแม้แต่บทเดียว. อกุศลจิต๔ดวง
ที่เหลือจึงไม่เข้าบทต้นไม่เข้าบทหลัง. บทว่าจิตมีโทสะได้แก่จิต๒
ดวงที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัส. บทว่าจิตปราศจากโทสะได้แก่จิตที่เป็น
กุศลและอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. อกุศลจิต๑๐ดวงที่เหลือไม่เข้าบทต้นไม่
เข้าบทหลัง. บทว่าจิตมีโมหะได้แก่จิต๒ดวงคือจิตที่เกิดพร้อมด้วย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 315
วิจิกิจฉาดวง๑ที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะดวง๑. แต่เพราะโมหะย่อมเกิดได้ใน
อกุศลจิตทั้งหมดฉะนั้นแม้อกุศลจิตที่เหลือก็ควรได้ในบทว่าจิตมีโมหะนี้
โดยแท้. จริงอยู่อกุศลจิต๑๒ (โลภมูล๘โทสมูล๒โมหมูล๒) ท่าน
ประมวลไว้ในทุกกะ (หมวด๒) นี้เท่านั้น. บทว่าจิตปราศจากโมหะ
ได้แก่จิตที่เป็นกุศลและอพยากฤตฝ่ายโลกิยะ. บทว่าจิตหดหู่ได้แก่จิตที่
ตกไปในถิ่นมิทธะ. ก็จิตที่ตกไปในถิ่นมิทธะนั้นชื่อว่าจิตหดหู่บทว่า
ฟุ้งซ่านได้แก่จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะจิตที่เกิดพร้อมด้วยอุทธัจจะนั้น
ชื่อว่าจิตฟุ้งซ่าน. บทว่าจิตเป็นมหัคคตะได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจรและ
อรูปาวจร. บทว่าจิตไม่เป็นมหัคคตะได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่า
สอุตฺตรํจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าได้แก่จิตที่เป็นกามาวจร. บทว่าอนุตฺตรํจิต
ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าได้แก่จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. แม้ในจิตเหล่านั้น
จิตที่ชื่อว่าสอุตตระได้แก่จิตเป็นรูปาวจรจิตชื่อว่าอนุตตระได้แก่จิตที่เป็น
อรูปาวจร. บทว่าสุมาหิตํจิตตั้งมั่นแล้วได้แก่อัปปนาสมาธิหรืออุปจาร
สมาธิ. บทว่าอสมาหิตํจิตไม่ตั้งมั่นได้แก่จิตที่เว้นจากสมาธิทั้งสองบทว่า
วิมุตฺตํจิตหลุดพ้นได้แก่จิตหลุดพ้นด้วยตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติ.
บทว่าอวิมุตฺติจิตไม่หลุดพ้นได้แก่จิตที่เว้นจากวิมุตติทั้งสอง. ส่วนสมุจ-
เฉทวิมุตติปฏิปัสสัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตติไม่มีโอกาสในบทนี้เลย.
จิตในจิตนอก
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในความว่าภิกษุโยคาวจร
กำหนดจิตที่เป็นไปในสมัยใดๆด้วยการกำหนดจิตมีราคะเป็นต้นอย่างนี้
ชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตของตนหรือในจิตของคนอื่นในจิตของตน
ตามกาลหรือในจิตของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็ในคำว่าพิจารณาเห็นธรรม
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 316
คือความเกิดนี้พึงนำความเกิดและความเสื่อมแห่งวิญญาณออกเทียบเคียงด้วย
อาการอย่างละ๕ว่าเพราะเกิดอวิชชาวิญญาณจึงเกิดดังนี้เป็นต้น. ข้อต่อ
ไปจากนี้ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วแล.
สติกำหนดจิตเป็นอริยสัจ๔
แต่ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียวคือพึง
ประกอบความว่าสติที่กำหนดจิตเป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจดังนี้เป็นต้น
แล้วพึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดจิตเป็น
อารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นเดียวกันนั่นแล.
จบจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน๑๖วิธีอย่าง
นี้แล้วบัดนี้เพื่อจะตรัสธัมมานุปัสสนา๕วิธีจึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธัมมานปัสสนาเป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
อีกอย่างหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานล้วน
ด้วยกายานุปัสสนาตรัสการกำหนดอรูปกัมมัฏฐานล้วนๆด้วยเวทนานุปัสสนา
และจิตตานุปัสสนา. บัดนี้เพื่อจะตรัสการกำหนดรูปกัมมัฏฐานกับอรูปกัมมัฏ-
ฐานผสมกันจึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเวดูก่อนภิกษุทั้งหลายธัมมานุปัสสนา
เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรูปขันธ์ด้วยกายานุปัสสนา
ตรัสการกำหนดเวทนาขันธ์ด้วยเวทนานุปัสสนาตรัสการกำหนดวิญญาณขันธ์
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 317
ด้วยจิตตานุปัสสนา. บัดนี้เพื่อจะตรัสแม้การกำหนดสัญญาขันธ์และ
สังขารขันธ์จึงตรัสว่ากถญฺจภิกฺขเวดูก่อนภิกษุทั้งหลายธัมมานุปัสสนา
เป็นอย่างไรเล่าเป็นต้น.
นีวรณบรรพ
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่าสนฺตํมีอยู่คืออยู่พร้อมด้วยอำนาจฟุ้ง
ขึ้นเนืองๆ. บทว่าอสนฺตํไม่มีอยู่คือไม่มีอยู่พร้อมเพราะไม่ฟุ้งขึ้นหรือ
เพราะละได้แล้ว. บทว่าก็โดยประการใดความว่ากามฉันท์เกิดขึ้น
เพราะเหตุใด. บทว่าตญฺจปชานาติก็รู้ชัดประการนั้นคือรู้ชัดเหตุนั้น.
ทุกๆบทพึงทราบความโดยนัยนี้นี่แล.
เหตุเกิดกามฉันท์
ในนิมิตทั้งสองนั้นกามฉันท์ย่อมเกิดขึ้นเพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย
ในสุภนิมิต. สิ่งที่งามก็ดีอารมณ์ที่งามก็ดีชื่อว่าสุภนิมิต. การใส่ใจโดยไม่มีอุบาย
การใส่ใจนอกทางการใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข
ในสิ่งที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตนหรือในสิ่งที่ไม่งามว่างามชื่อว่าอโยนิโสมนสิการ
(การใส่ใจโดยไม่แยบคาย). เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ
ในสุภนิมิตนั้นกามฉันท์ย่อมเกิดขึ้น. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายสุภนิมิต
มีอยู่การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในสุภนิมิตนั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อทำให้กามฉันท์ที่เกิดแล้วให้กำเริบ
ยิ่งขึ้นดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 318
เหตุละกามฉันท์
ส่วนกามฉันท์นั้นจะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจโดย
แยบคาย) ในอสุภนิมิต. สิ่งที่ไม่งามก็ดีอารมณ์ที่ไม่งามก็ดี. ชื่อว่าอสุภนิมิต.
การใส่ใจโดยอุบายการใส่ใจถูกทางการใส่ใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยงใน
สิ่งที่เป็นทุกข์ว่าทุกข์ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าไม่ใช่ตัวตนหรือในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่
งามชื่อว่าโยนิโสมนสิการ. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆ
ในอสุภนิมิตนั้นย่อมละกามฉันท์เสียได้. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายอสุภนิมิต
มีอยู่การทำให้มากๆซึ่งโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิตนั้นนี้เป็นอาหารเพื่อ
ความไม่เกิดแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อละกามฉันท์ที่เกิดแล้ว.
ธรรมสำหรับละกามฉันท์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์คือ๑.
การถืออสุภนิมิตเป็นอารมณ์๒. การประกอบเนืองๆซึ่งอสุภภาวนา๓. การ
รักษาทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย๔. ความรู้จักประมาณในโภชนะ๕. ความมี
กัลยาณมิตร๖. พูดแต่เรื่องที่เป็นสัปปายะ (เป็นที่สบาย). จริงอยู่เมื่อภิกษุ
กำหนดอสุภนิมิต๑๐อย่างอยู่ก็ละกามฉันท์ได้. เมื่อเจริญอสุภ๑๐ก็ดีเมื่อ
ปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลายก็ดีรู้จักประมาณในโภชนะเพราะเมื่อมีโอกาสจะ
บริโภค๔-๕คำมีอยู่ก็ดื่มน้ำยังอัตตภาพให้เป็นไปได้ก็ย่อมละกามฉันท์ได้.
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวไว้ (ในขุททกนิกายเถรคาถา) ว่า
จตฺตาโรปญฺจอาโลเปอภุตฺวาปิเว
อลํผาสุวิหารายปหิตตฺตสฺสภิกฺขุโน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 319
ภิกษุพึงเว้นคำข้าวเสีย๔-๕คำเลิก
ฉันแล้วดื่มน้ำเสียนี้เป็นข้อปฏิบัติอัน
สมควรสำหรับภิกษุผู้มีตนอันส่งไปแล้ว.
แม้ภิกษุผู้เสพกัลยาณมิตรซึ่งเป็นผู้ยินดีในการเจริญอสุภเช่น
พระติสสเถระผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานก็ย่อมละกามฉันท์ได้. แม้ด้วยการเจรจา
ปรารภเรื่องเป็นที่สบายอันอาศัยอสุภ๑๐ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้นก็ย่อม
ละกามฉันท์ได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าธรรม๖ประการย่อมเป็นไป
เพื่อละกามฉันท์ดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็กามฉันท์ที่ละได้แล้วด้วยธรรม
๖ประการนี้ย่อมไม่เกิดอีกต่อไปด้วยอรหัตมรรค.
เหตุเกิดพยาบาท
ส่วนพยาบาทย่อมเกิดเพราะอโยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิต. ปฏิฆะ
(ความขุ่นใจ) ก็ดีอารมณ์อันช่วยให้เกิดปฏิฆะก็ดีชื่อว่าปฏิฆนิมิตในคำว่า
ปฏิฆนิมิตเป็นต้นนั้น. อโยนิโสมนสิการมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันในธรรม
ทั้งปวง. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการนั้นให้เป็นไปมากๆใน (ปฏิฆะ) นิมิตนั้น
พยาบาทย่อมเกิด. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายปฏิฆนิมิตมีอยู่การไม่ทำให้มากซึ่ง
โยนิโสมนสิการในปฏิฆนิมิตนั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งพยาบาทที่ยัง
ไม่เกิดหรือเพื่อทำให้พยาบาทที่เกิดแล้วกำเริบเสิบสานขึ้นดังนี้ .
เหตุละพยาบาท
แต่พยาบาทนั้นจะละได้ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคายในเมตตาเจโต-
วิมุตติ. ในคำว่าเมตตาเจโตวิมุตินั้นเมื่อพูดกันถึงเมตตาย่อมควรทั้งอัปปนา
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 320
ทั้งอุปจาระ. บทว่าเมตตาเจโตวิมุตติได้แก่อัปปนาโยนิโสมนสิการมีลักษณะ
ดังกล่าวแล้ว. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆในเมตตาเจโตวิมุตติ
นั้นย่อมละพยาบาทได้. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุต-
กายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมตตาเจโตวิมุตติมีอยู่การทำให้
มากซึ่งโยนิโสมนสิการในเมตตาเจโตวิมุตตินั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิด
แห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อละพยาบาทที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมสำหรับละพยาบาท
อีกอย่างหนึ่งธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละพยาบาทคือ๑.
การกำหนดนิมิตในเมตตาเป็นอารมณ์๒. การประกอบเนืองๆซึ่งเมตตาภาวนา
๓. การพิจารณาถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆตน๔. การทำให้มากซึ่งการ
พิจารณา๕. ความมีกัลยาณมิตร๖. การพูดแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่แม้เมื่อภิกษุกำหนดเมตตากัมมัฏฐานด้วยการแผ่เมตตาไปทั่ว
ทิศโดยเจาะจงหรือไม่เจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมละพยาบาทได้. เมื่อภิกษุ
เจริญเมตตาโดยแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจงไม่เจาะจงก็ดีเมื่อพิจารณาถึงความ
ที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของๆตนอย่างนี้ว่าท่านโกรธคนนั้นจะทำอะไร
เขาได้ท่านอาจจักทำศีลเป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือท่านมาแล้วด้วยกรรม
ของตนจักไปด้วยกรรมของตนนั่นแลขึ้นชื่อว่าการโกรธผู้อื่นก็เป็นเช่น
เดียวกับผู้ปรารถนาจะจับถ่านไฟที่คุโชนซี่เหล็กอันร้อนจัดและอุจจาระเป็นต้น
ประหารผู้อื่นฉะนั้นหรือถึงคนนั้นโกรธท่านจักทำอะไรได้เขาจักอาจทำศีล
เป็นต้นของท่านให้พินาศได้หรือเขามาด้วยกรรมของตนก็จักไปตามกรรมของ
เขานั่นแหละความโกรธนั้นจักตกลงบนกระหม่อมของเขานั่นเองเหมือนประหาร
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 321
ผู้ไม่ประหารตอบและเหมือนนำธุลีซัดไปในที่ทวนลมฉะนั้นดังนี้ก็ดีเมื่อ
พิจารณากัมมัสสกตาทั้งสองหยุดอยู่ในการพิจารณาก็ดีคบกัลยาณมิตรผู้ยินดีใน
การเจริญเมตตาเช่นท่านพระอัสสคุตตเถระก็ดีย่อมละพยาบาทได้. แม้ด้วย
การเจรจาเรื่องที่เป็นที่สบายซึ่งอาศัยเมตตาในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น
ก็ละพยาบาทได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าธรรม๖ประการย่อมเป็นไป
เพื่อละพยาบาทดังนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็พยาบาทที่ละได้แล้วด้วยธรรม๖
ประการนี้ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.
เหตุเกิดถีนมิทธะ
ถีนมิทธะย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายมีอรติ
เป็นต้นความไม่ยินดีด้วยกับเขา (ริษยา) ชื่อว่าอรติ. ความคร้านกายชื่อว่า
ตันที. ความบิดกาย (บิดขี้เกียจ) ชื่อว่าวิชัมภิตา. ความมึนเพราะอาหาร
ความกระวนกระวายเพราะอาหารชื่อว่าภัตตสัมมทะ. อาการคือความย่อหย่อน
แห่งจิตชื่อว่าความย่อหย่อนแห่งจิต. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไป
มากๆในอรติเป็นต้นนี้ถีนมิทธะย่อมเกิด. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสไว้ ( ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายความไม่
ยินดีความคร้านกายความบิดกายความเมาอาหารความหดหู่แห่งจิตมีอยู่
การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิด
แห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อทำถีนมิทธะที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสาน
ยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละถีนมิทธะ
แต่ถีนมิทธะนั้นจะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายมี
อารภธาตุเป็นต้น. ความเพียรเริ่มแรกชื่อว่าอารภธาตุ. ความเพียรที่มีกำลังกว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 322
อารภธาตุนั้นเพราะออกไปพ้นจากความเกียจคร้านแล้วชื่อว่านิกกมธาตุ-
ความเพียรที่มีกำลังยิ่งกว่านิกกมธาตุแม้นั้นเพราะล่วงฐานอื่นๆชื่อว่า
ปรักกมธาตุ (ก้าวไปข้างหน้า. บากบั่น). เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการให้เป็นไป
มากๆในความเพียร๓ประเภทนี้ย่อมละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธาตุคือความเริ่มความเพียรธาตุคือความออกพ้นไปจากความเกียจคร้านธาตุ
คือความก้าวไปข้างหน้ามีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโมนสิการในธาตุเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อละถีนมิทธะ
ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ
อีกอย่างหนึ่งธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะคือ
๑. การกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกิน๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ๓. การ
ใส่ใจถึงอาโลกสัญญา (คือความสำคัญว่าสว่างๆ) ๔. การอยู่กลางแจ้ง
๕. ความมีกัลยาณมิตร๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย
เพราะว่าเมื่อภิกษุบริโภคโภชนะเหมือนพราหมณ์ที่ชื่ออาหารหัตถกะ
ที่ชื่อตัตรวัฏฏกะที่ชื่ออลังสาฏกะที่ชื่อกากมาสกะและที่ชื่อภุตตวมิตกะนั่งใน
ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันกระทำสมณธรรมอยู่ถีนมิทธะย่อมมา
ท่วมทับได้เหมือนช้างใหญ่แต่ถีนมิทธะนั้นจะไม่มีแก่ภิกษุที่เว้นโอกาสบริโภค
๔- ๕คำแล้วดื่มน้ำดื่มยังอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติเพราะเหตุนั้นเมื่อ
ภิกษุกำหนดนิมิตในโภชนะส่วนเกินอย่างนี้ย่อมละถีนมิทธะได้เมื่อภิกษุเข้าสู่
ถีนมิทธะในอิริยาบถใดเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นจากอิริยาบถนั้นเสียก็
ละถีนมิทธะได้. เมื่อภิกษุใส่ใจแสงจันทร์แสงประทีปแสงคบเพลิงในเวลา
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 323
กลางคืนแสงอาทิตย์เวลากลางวันก็ดีอยู่ในที่กลางแจ้งก็ดีเสพกัลยาณมิตร
ผู้ละถีนมิทธะได้เช่นท่านพระมหากัสสปเถระก็ดีก็ละถีนมิทธะได้. แม้ด้วยการ
เจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบายที่อาศัยธุดงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น
ก็ละถีนมิทธะได้. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าธรรม๖ประการนี้ย่อมเป็น
ไปเพื่อละถีนมิทธะ. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะที่ละได้ด้วยธรรม๖ประการ
จะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรคดังนี้.
เหตุเกิดอุทธัจจกุกกุจจะ
อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิดด้วยอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบ
แห่งใจ. อาการที่ไม่สงบชื่อว่าความไม่สงบ. คำนี้โดยอรรถก็คืออุทธัจจกุกกุจจะ
นั่นเอง. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆในความไม่สงบแห่งใจนั้น
อุทธัจจกุกกุจจะย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ใน
สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายความไม่สงบแห่งใจ
มีอยู่การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในความไม่สงบแห่งใจนั้นนี้เป็น
อาหารเพื่อความเกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อทำอุทธัจจกุกกุจจะ
ที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละอุทธัจจกุกกุจจะ
แต่อุทธัจจกุกกุจจะนั้นจะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในความสงบ
แห่งใจกล่าวคือสมาธิ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้(ใน
สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายความสงบแห่งใจมีอยู่
การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความสงบแห่งใจนั้นนี้เป็นอาหารเพื่อ
ความไม่เกิดแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิด
แล้วดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 324
ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ
อีกอย่างหนึ่งธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ
คือ๑. ความสดับมาก๒. ความสอบถาม๓. ความชำนาญในวินัย๔. ความ
คบผู้เจริญ๕. ความมีกัลยาณมิตร๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่เมื่อภิกษุแม้ร่ำเรียนทั้งบาลีทั้งอรรถกถานิกายหนึ่งสอง-
สาม-สี่นิกายหรือ๕นิกายย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยความเป็น
พหูสูต (พาหุสัจจะความเป็นผู้สดับมาก). ภิกษุผู้มากด้วยการสอบถามสิ่งที่
ควรและไม่ควรก็ดีผู้ชำนาญเพราะมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในวินัยบัญญัติ
ก็ดีผู้เข้าหาพระเถระผู้แก่ผู้เฒ่าก็ดีคบกัลยาณมิตรผู้ทรงวินัยเช่นท่าน
พระอุบาลีเถระก็ดีย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่
เป็นที่สบายอันอาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควรในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่ง
เป็นต้นก็ละอุทธัจจกุกกุจจะได้. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าธรรม๖ประการ
นี้ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะภิกษุย่อมรู้ชัดว่าเมี่ออุทธัจจกุกกุจจะ
ละได้แล้วด้วยธรรม๖ประการนี้อุทธัจจะจะไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตมรรค
กุกกุจจะไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.
เหตุเกิดวิจิกิจฉา
วิจิกิจฉาย่อมเกิดได้ด้วยอโยนิโสมนสิการในธรรมทั้งหลายอันเป็น
ที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. ความเคลือบแคลงเพราะเป็นเหตุแห่งความสงสัยบ่อยๆ
ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา. เมื่อภิกษุทำอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากๆ
ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้นวิจิกิจฉาย่อมเกิด. เพราะเหตุนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกายมหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการในธรรม
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 325
เป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉานั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด
หรือเพื่อทำวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วให้กำเริบเสิบสานยิ่งขึ้นดังนี้.
เหตุละวิจิกิจฉา
แต่วิจิกิจฉานั้นจะละได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการในธรรมมีกุศล
เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมที่เป็นกุศลอกุศลธรรมที่มีโทษ
ไม่มีโทษธรรมที่ควรเสพไม่ควรเสพธรรมที่ทรามประณีตธรรมที่เทียบ
ด้วยของดำของขาวมีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น
นี้เป็นอาหารเพื่อความไม่เกิดแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดหรือเพื่อละวิจิกิจฉา
ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา
อีกอย่างหนึ่งธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉาคือ๑.
ความสดับมาก๒. ความสอบถาม๓. ความชำนาญในวินัย๔. ความมากด้วย
ความน้อมใจเชื่อ๕. ความมีกัลยาณมิตร๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.
จริงอยู่แม้เมื่อภิกษุร่ำเรียนทั้งบาลีทั้งอรรถกถานิกายหนึ่งสอง-
สาม-สี่หรือห้านิกายย่อมละวิจิกิจฉาได้ด้วยความเป็นพหูสูต. เมื่อภิกษุ
มากด้วยการปรารภพระรัตนตรัยสอบถามก็ดีมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ใน
วินัยก็ดีมากไปด้วยความน้อมใจเชื่อกล่าวคือศรัทธาที่ยังกำเริบได้ในพระ-
รัตนตรัยก็ดีคบกัลยาณมิตรเช่นท่านพระวักกลีผู้น้อมใจไปในศรัทธาก็ดี
ย่อมละวิจิกิจฉาได้. แม้ด้วยการเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบายอันอาศัยคุณของ
พระรัตนตรัยในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ละวิจิกิจฉาได้. เพราะ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 326
เหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าธรรม๖ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา. ภิกษุ
ย่อมรู้ชัดว่าวิจิกิจฉาที่ละได้ด้วยธรรมเหล่านี้ย่อมไม่เกิดต่อไปด้วยโสดา-
บัติมรรคดังนี้.
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในความว่าพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายของตนในธรรมทั้งหลายของคนอื่นหรือในธรรมทั้งหลาย
ของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการกำหนดนิวรณ์๕อย่างนี้อยู่. ก็ความ
เกิดและความเสื่อมในคำว่าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดและความเสื่อม
นี้ที่กล่าวแล้วในนีวรณ์๕ด้วยอำนาจอโยนิโสมนสิการและโยนิโสมนสิการ
ในสุภนิมิตและอสุภนิมิตเป็นต้นบัณฑิตพึงนำมาเทียบเคียง. ข้อต่อไปนี้
ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแล.
สติกำหนดนีวรณ์เป็นอริยสัจ๔
แต่ในนีวรณบรรพนี้มีต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความว่า
สติอันกำหนดนีวรณ์เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจพึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัตินำ
ออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดนีวรณ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
นั่นแล.
จบนีวรณบรรพ
ขันธบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาโดยนีวรณ์๕
อย่างนี้บัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดยขันธ์๕จึงตรัสว่าปุนจปรํยังมีอีกข้อ
หนึ่งเป็นต้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 327
บรรดาบทเหล่านั้นคำว่าในอุปาทานขันธ์๕คือกองอุปาทานชื่อ
ว่าอุปาทานขันธ์อธิบายว่ากลุ่มธรรมคือกองธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน.
ความสังเขปในที่นี้มีเท่านี้ส่วนความพิสดารท่านกล่าวไว้แล้วในขันธกถาใน
คัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่าอิติรูปํดังนี้รูปความว่านี้รูปรูปมีเท่านี้. ภิกษุย่อม
รู้ชัดรูปโดยสภาพว่ารูปอื่นนอกจากนี้ไม่มีดังนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน. ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนรูปเป็นต้นท่านกล่าวไว้
แล้วในขันธกถาในคัมภีร์สุทธิมรรคโดยพิสดาร. บทว่าอิติรูปสฺสสมุทโย
นี้ความเกิดแห่งรูปความว่าความเกิดแห่งรูปด้วยอาการ๕โดยความ
เกิดแห่งอวิชชาเป็นต้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ . คำว่าอิติรูปสฺสอตฺถงฺคโม
ความดับแห่งรูปความว่าความดับแห่งรูปด้วยอาการ๕โดยดับอวิชชาเป็น
ต้นย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. ความ
สังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารท่านกล่าวไว้แล้วในอุทยัพ-
พยญาณกถาในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในความว่าพิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมทั้งหลายของตนในธรรมทั้งหลายของคนอื่นหรือในธรรมทั้งหลายของ
ตนตามกาลของคนอื่นตามกาลด้วยการกำหนดขันธ์๕อย่างนี้อยู่. ก็ความ
เกิดและความเสื่อมในคำว่าพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดและความเสื่อม
บัณฑิตพึงนำมาเทียบเคียงโดยลักษณะ๕๐ที่กล่าวไว้ในขันธ์๕ว่าเพราะ
อวิชชาเกิดรูปจึงเกิดดังนี้เป็นต้น. คำอื่นนอกจากนี้ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดขันธ์๕เป็นอริยสัจ๔
แต่ในที่นี้มีข้อต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความอย่างนี้ว่าสติ
กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจดังนี้แล้วพึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัติ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 328
นำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดขันธ์เป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้น
เหมือนกัน
จบขันธบรรพ
อายตนบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาด้วยอำนาจขันธ์๕
อย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดยอายตนะจึงตรัสว่าปุนจปรํยังมีอีก
ข้อหนึ่งดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่าฉสุอชฺฌตฺติกพาหิเรสุอายตเนสุใน
อายตนะภายในและภายนอก๖ความว่าในอายตนะภายใน๖เหล่านี้คือตา
หูจมูกลิ้นกายใจ. ในอายตนะภายนอก๖เหล่านี้คือรูปเสียงกลิ่นรส
โผฏฐัพพะธรรมารมณ์. บทว่าจกฺขุญฺจปชานาติรู้ชัดจักษุความว่าย่อมรู้
ชัดจักษุประสาทโดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. บทว่ารูเปจ
ปชานาติรู้ชัดรูปความว่าย่อมรู้ชัดรูปอันเกิดแต่๔สมุฏฐาน (กรรมอุตุจิต
อาหาร) ในภายนอกโดยลักษณะพร้อมด้วยกิจตามความเป็นจริง. คำว่ายญฺจตทุ
ภยํ
ปฏิจฺจอุปฺปชฺชติสํโยชนํสังโยชน์ย่อมอาศัยอายตนะทั้งสองเกิดขึ้นความ
ว่าสังโยชน์๑๐อย่างคือกามราคะปฏิฆะมานะทิฏฐิวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรมาสภวราคะอิสสามัจฉริยะและอวิชชาสังโยชน์เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยอายตนะทั้งสองคือจักษุกับรูป. และย่อมรู้ชัดสังโยชน์๑๐นั้นโดย
ลักษณะพร้อมด้วยกิจตามเป็นจริง.
เหตุเกิดสังโยชน์
ถามว่าก็สังโยชน์นั้นเกิดได้อย่างไร. ตอบว่าเกิดได้อย่างนี้จะกล่าว
ในจักษุทวารก่อนเมื่อบุคคลยินดี. เพลิดเพลินอิฏฐารมณ์อันมาปรากฏทางจักษุ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 329
ทวารโดยความยินดีในกามสังโยชน์คือกามราคะก็เกิด. เมื่อบุคคลขัดเคืองใน
อนิฏฐารมณ์สังโยชน์คือปฏิฆะก็เกิด. เมื่อสำคัญว่ายกเว้นเราเสียใครอื่น
ที่สามารถเสวยอารมณ์นั้นไม่มีดังนี้สังโยชน์คือมานะก็เกิด. เมื่อยึดถือ
รูปารมณ์นั้นว่าเที่ยงยั่งยืนสังโยชน์คือทิฏฐิก็เกิด. เมื่อสงสัยรูปารมณ์นั้น
ว่าสัตว์หรือหนอของสัตว์หรือหนอสังโยชน์คือวิจิกิจฉาก็เกิดเมื่อ
ปรารถนาภพว่าอารมณ์นี้เราได้โดยง่ายในสมบัติภพแน่สังโยชน์คือภวราคะ
ก็เกิด. เมื่อถือมั่นศีลและพรตว่าเราถือมั่นศีลและพรตอาจได้อารมณ์เห็นปาน
นี้ต่อไปอีกสังโยชน์คือสีลัพพตปรามาสก็เกิด. เมื่อเกียดกันอยู่ว่าคนเหล่าอื่น
ไม่พึงได้รูปารมณ์เห็นปานนี้กันเลยสังโยชน์คืออิสสาก็เกิด. เมื่อหวงแหน
รูปารมณ์ที่ตนได้แล้วต่อผู้อื่นสังโยชน์คือมัจฉริยะก็เกิดเมื่อไม่รู้แจ้งด้วย
อำนาจความไม่รู้สิ่งซึ่งเกิดพร้อมกับจักษุและรูปทั้งมวลสังโยชน์คืออวิชชาก็
เกิด.
ความรู้เหตุละสังโยชน์
คำว่ายถาจอนุปฺปนฺนสสที่ยังไม่เกิดด้วยเหตุใดความว่าสังโยชน์
แม้๑๐อย่างนั้นที่ยังไม่เกิดโดยความไม่ฟุ้งขึ้นย่อมเกิดเพราะเหตุใดย่อม
รู้ชัดเหตุนั้นด้วย. คำว่ายถาจอุปฺปนฺนสฺสที่เกิดแล้วเพราะเหตุใด
ความว่าสังโยชน์แม้๑๐อย่างนั้นที่เกิดแล้วเพราะอรรถว่ายังละไม่ได้
หรือเพราะฟุ้งขึ้นย่อมละได้เพราะเหตุใดย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย.
คำว่ายถาจปหีนสฺสที่ละได้แล้วเพราะเหตุใดความว่าสังโยชน์
๑๐อย่างนั้นแม้ละได้แล้วโดยตทังคปหานและวิกขัมภนปหานย่อม
ไม่เกิดต่อไปเพราะเหตุใดย่อมรู้ชัดเหตุนั้นด้วย. ถามว่าสังโยชน์๑๐นั้น
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 330
ไม่เกิดต่อไปเพราะเหตุใด. ตอบว่าก่อนอื่นสังโยชน์๕คือทิฏฐิวิจิกิจฉา
สีลัพพตปรามาสอิสสาและมัจฉริยะไม่เกิดต่อไปด้วยโสดาปัตติมรรค.
สังโยชน์๒คือกามราคะปฏิฆะอย่างหยาบไม่เกิดต่อไปด้วยสกทาคามิมรรค.
อย่างละเอียดไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค. สังโยชน์๓คือมานะ
ภวราคะและอวิชชาไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค. แม้ในคำว่าโสตญฺจ
ปชานาติสทฺเทจย่อมรู้ชัดโสตะนั้นด้วยเสียงด้วยเป็นต้นก็นัยนี้
เหมือนกัน. อนึ่งอายตนกถาในที่นี้พึงทราบโดยพิสดารตามนัยที่ท่าน
กล่าวไว้แล้วในอายตนนิทเทสคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในความว่าพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายของตนด้วยการกำหนดอายตนะภายในในธรรมทั้งหลาย
ของคนอื่นด้วยการกำหนดอายตนะภายนอกหรือในธรรมทั้งหลาย
ของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลอย่างนี้อยู่. ก็ความเกิดและความเสื่อมใน
อายตนบรรพนี้พึงนำมาเทียบรูปายตนะลงในรูปขันธ์มนายตนะในอรูปายตนะ
ทั้งหลายลงในวิญญาณขันธ์ธัมมายตนะลงในขันธ์ที่เหลือไม่พึงถือว่าโลกุตตร-
ธรรม. ข้อความต่อจากนี้มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
สติกำหนดอายตนะเป็นอริยสัจ๔
ในบรรพนี้มีข้อต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า
สติกำหนดอายตนะเป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจดังนี้เป็นต้นแล้วพึงทราบว่า
เป็นทางปฏิบัตินำทุกข์ออกไปของภิกษุผู้กำหนดอายตนะเป็นอารมณ์. คำที่
เหลือก็เช่นกันแล.
จบอายตนบรรพ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 331
โพชฌงคบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาโดยอายตนะ
ภายในภายนอกอย่างละ๖อย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกโดย
โพชฌงค์จึงตรัสว่าปุนจปรํยังมีอีกข้อหนึ่งดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้นบทว่าในโพชฌงค์ทั้งหลายคือในองค์ของ
สัตว์ผู้ตรัสรู้. บทว่ามีอยู่คือมีพร้อมอยู่โดยการได้มา. บทว่าสติสัม-
โพชฌงค์ได้แก่สัมโพชฌงค์กล่าวคือสติ. พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า
สัมโพชฌงค์นี้ดังนี้พระโยคาวจรตรัสรู้จำเดิมแต่เริ่มวิปัสสนาหรือพระ-
โยคาวจรนั้นตื่นลุกขึ้นจากกิเลสนิทราหรือแทงตลอดสัจจะทั้งหลายด้วยธรรม
สามัคคี๗มีสติเป็นต้นอันใดธรรมสามัคคีอันนั้นชื่อว่าสัมโพธิองค์
ของผู้ตื่นนั้นหรือธรรมสามัคคีเครื่องปลุกให้ตื่นนั้นเหตุนั้นจึงชื่อว่า
สัมโพชฌงค์. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าสัมโพชฌงค์กล่าวคือสติ. แม้
ในสัมโพชฌงค์ที่เหลือก็พึงทราบความแห่งคำตามนัยนี้แล. บทว่าไม่มีอยู่
คือไม่มีเพราะไม่ได้มา.
วินิจฉัยในคำว่ายถาจอนุปฺปนฺนสฺสที่ยังไม่เกิดเพราะ
เหตุใดเป็นต้นดังต่อไปนี้ก่อนอื่นสติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาใน
บาลี (สังยุตตนิกายมหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในสติสัม-
โพชฌงค์นั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือ
เป็นทางไพบูลย์จำเริญบริบูรณ์ยิ่งๆขึ้นไปแห่งสติสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วใน
ธรรมเหล่านั้นสตินั้นแหละชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์. โยนิ-
โสมนสิการมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. เมื่อภิกษุทำโยนิโสมนสิการนั้น
ให้เป็นไปมากๆในอารมณ์นี้แล้วสติสัมโพชฌงค์ก็เกิด.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 332
ธรรมเป็นเหตุเกิดสติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๔ประการเป็นทางเกิดสติสัมโพชฌงค์คือ
๑. สติสัมปชัญญะ๒. การเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม๓. การคบหาบุคคลผู้มี
สติมั่นคง๔. ความน้อมจิตไปในสติสัมโพชฌงค์นั้น.
ก็สติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดด้วยสติสัมปชัญญะในฐานทั้ง๗มีก้าวไป
ข้างหน้าเป็นต้นด้วยการงดเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืมเช่นเดียวกับกาตัวเก็บ
อาหารด้วยการคบหาบุคคลผู้มีสติมั่นคงเช่นเดียวกับพระติสสทัตตเถระและ
พระอภัยเถระเป็นต้นและด้วยความเป็นผู้มีจิตโน้มน้อมไปเพื่อตั้งสติในอิริยาบถ
ทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็สติสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้ว
ด้วยเหตุ๔ประการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
เหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาในบาลีอย่างนี้ว่าดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายธรรมที่เป็นกุศลและอกุศลฯลฯธรรมที่เปรียบด้วยธรรมฝ่าย
ดำและฝ่ายขาวมีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นนี้เป็น
อาหารเพื่อความเกิดแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือเป็นทางไพบูลย์
เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๗ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์คือ๑. การสอบถาม๒. การทำวัตถุให้สละสลวย๓. การ
ปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน๔. เว้นบุคคลมีปัญญาทราม๕. คบหาบุคคล
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 333
ผู้มีปัญญา๖. พิจารณาสอดส่องด้วยปัญญาอันลึกซึง๗. ความน้อมจิตไปใน
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น.
บรรดาธรรม๗ประการนั้นความเป็นผู้มากไปด้วยการสอบถามอัน
อาศัยอรรถแห่งขันธ์ธาตุอายตนะอินทรีย์พละโพชฌงค์องค์มรรค
องค์ฌานสมถะและวิปัสสนาชื่อว่าการสอบถาม.
การทำวัตถุภายในและภายนอกให้สละสลวยชื่อว่าการทำวัตถุให้
สละสลวย. ก็เวลาใดภิกษุมีผมเล็บและขนยาวเกินไปหรือร่างกายสกปรก
เปรอะเปื้อนด้วยเหงื่อและไคลเวลานั้นวัตถุภายใน (คือร่างกาย) ไม่สละสลวย
ไม่สะอาด. แต่ในเวลาใดจีวรเก่าคร่ำคร่าสกปรกเหม็นสาบหรือเสนาสนะ
รกรุงรังในเวลานั้นวัตถุภายนอกไม่สละสลวยไม่สะอาด. เพราะฉะนั้นจึง
ควรทำวัตถุภายในให้สละสลวยด้วยกิจมีการปลงผมเป็นต้นด้วยการทำร่างกาย
ให้เบาสบายด้วยกิจมีการถ่ายชำระมลทินให้ทั่วทั้งเบื้องบนเบื้องล่างเป็นต้น
และด้วยการขัดสีอาบน้ำบรรเทากลิ่นเหม็น. พึงทำวัตถุภายนอกให้สละสลวย
ด้วยกิจมีการเย็บย้อมซักจีวรและทำการรมบาตรเป็นต้น. เพราะเมื่อวัตถุ
ภายในและภายนอกนั้นไม่สละสลวยเมื่อจิตและเจตสิกเกิดขึ้นแม้ปัญญาก็ไม่
ผ่องแผ้วเหมือนแสงสว่างของดวงประทีปที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวตะเกียงไส้
และน้ำมันที่ไม่สะอาดหมดจดฉะนั้นแต่เมื่อวัตถุภายในและภายนอกสละสลวย
เมื่อจิตและเจตสิกเกิดขึ้นแม้ปัญญาก็ผ่องแผ้วเหมือนแสงสว่างของดวง
ประทีปที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวตะเกียงไส้และน้ำมันที่สะอาดหมดจด
ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าการทำวัตถุให้สละสลวยย่อมเป็น
ไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 334
การทำปรับปรุงอินทรีย์มีศรัทธาเป็นต้นให้สม่ำเสมอกันชื่อว่าการ
ทำปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ. ด้วยว่าถ้าอินทรีย์คือศรัทธาของเธอมีกำลัง
กล้าอินทรีย์นอกนี้อ่อนแต่นั้นอินทรีย์คือวิริยะก็ไม่อาจทำกิจคือการ
ประคองจิตได้อินทรีย์คือสติก็ไม่อาจทำกิจคือการปรากฏอินทรีย์คือสมาธิ
ก็ไม่อาจทำกิจคือความไม่ฟุ้งซ่านอินทรีย์คือปัญญาก็ไม่อาจทำกิจคือการเห็น
ได้เพราะฉะนั้นเมื่อมนสิการถึงอินทรีย์คือศรัทธานั้นด้วยการพิจารณา
สภาวธรรมหรือโดยประการใดอินทรีย์คือศรัทธามีกำลังกล้าพึงลดลงด้วย
การไม่มนสิการโดยประการนั้น. ในข้อนี้มีเรื่องท่านพระวักกลิเถระเป็น
อุทาหรณ์. ถ้าอินทรีย์คือวิริยะมีกำลังกล้าเมื่อเป็นเช่นนั้นอินทรีย์คือศรัทธา
ก็ไม่อาจทำกิจคือการน้อมใจเชื่อได้อินทรีย์นอกนี้ก็ไม่อาจทำกิจคือหน้าที่
ต่างๆของตนได้เพราะฉะนั้นจึงควรลดอินทรีย์คือวิริยะนั้นลงด้วยการ
เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. แม้ในข้อนั้นพึงแสดงเรื่องท่านพระโสณ-
เถระเป็นอุทาหรณ์. แม้ในอินทรีย์ที่เหลือก็เหมือนกันเมื่ออินทรีย์อย่างหนึ่ง
มีกำลังกล้าก็พึงทราบว่าอินทรีย์นอกนี้ก็ไม่สามารถในกิจคือหน้าที่ของตน
ได้. แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องอินทรีย์นี้ท่านสรรเสริญศรัทธากับ
ปัญญาและสมาธิกับวิริยะต้องเสมอกัน. เพราะผู้มีศรัทธากล้าแต่มีปัญญา
อ่อนมีความเลื่อมใสแรงย่อมเลื่อมใสไปนอกเรื่อง. มีปัญญากล้าแต่มีศรัทธา
อ่อนย่อมฝักใฝ่ไปข้างเกเรเหมือนโรคเกิดเพราะผิดยาแก้ไขไม่ได้ฉะนั้น.
ผู้มีปัญญากล้าก็โลดแล่นเขวไปว่ากุศลมิได้ด้วยเพียงจิตตุปบาทใจคิดขณะ
หนึ่งเท่านั้นดังนี้แล้วก็ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้นย่อมเกิดในนรก. เพราะ
อินทรีย์คือศรัทธากับปัญญาทั้งสองเสมอกันจึงเลื่อมใสในวัตถุคือพระ-
รัตนตรัยอย่างเดียว. แต่สมาธิกล้าวิริยะอ่อนโกสัชชะความเกียจคร้านย่อม
ครอบงำได้เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. วิริยะกล้าสมาธิอ่อนอุทธัจจะ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 335
ย่อมครอบงำได้เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะแต่สมาธิอันวิริยะเข้าประกบไว้
ย่อมไม่ตกไปในโกสัชชะวิริยะอันสมาธิเข้าประกบไว้ก็ไม่ตกไปในอุทธัจจะ.
เพราะฉะนั้นจึงควรทำอินทรีย์สองคู่นั้นให้เสมอเท่าๆกัน. ด้วยว่าอัปปนา
จะมีได้ก็เพราะอินทรีย์สองคู่เสมอกัน. อีกอย่างหนึ่งศรัทธาแม้มีกำลังกล้าก็
ควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. เพราะผู้เจริญสมาธิเชื่อมมั่นหยั่งลงมั่นอย่างนี้จักบรรลุ
อัปปนาได้ส่วนในสมาธิกับปัญญาเอกัคคตาความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
มีกำลังกล้าย่อมควรแก่ผู้เจริญสมาธิ. ด้วยว่าผู้เจริญสมาธินั้นย่อมบรรลุอัปปนา
ได้ด้วยเอกัคคตาอย่างนี้. ปัญญามีกำลังกล้าย่อมควรแก่ผู้เจริญวิปัสสนา.
ด้วยว่าผู้เจริญวิปัสสนานั้นย่อมถึงความแทงตลอดไตรลักษณ์ด้วยปัญญาอย่างนี้.
แต่อัปปนาจะมีได้ก็เพราะศรัทธากับปัญญาทั้งสองเสมอกันโดยแท้. ส่วน
สติมีกำลังแล้วย่อมควรในที่ทั้งปวง. เพราะว่าสติย่อมรักษาจิตมิให้ตกไปใน
อุทธัจจะด้วยอำนาจศรัทธาวิริยะปัญญาซึ่งเป็นฝ่ายอุทธัจจะมิให้ตก
ไปในโกสัชชะเพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. เพราะฉะนั้นสตินั้นจึงจำต้อง
ปรารถนาในที่ทั้งปวงเหมือนการปรุงรสด้วยเกลือจำปรารถนาในการปรุงอาหาร
ทุกอย่างและเหมือนอำมาตย์ผู้ชำนาญในราชกิจทุกอย่างจำปรารถนาในราชกิจ
ทุกอย่างฉะนั้น. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่าสติจำปรารถนาใน
ที่ทั้งปวงเพราะเหตุไรเพราะจิตมีสติเป็นที่อาศัยและสติมีการอารักขาเป็น
ที่ปรากฏเว้นสติเสียแล้วจะประคองและข่มจิตไม่ได้เลย.
การเว้นบุคคลผู้มีปัญญาทรามไม่มีปัญญาหยั่งลงในประเภทแห่งธรรม
มีขันธ์เป็นต้นให้ห่างไกลชื่อว่าการงดเว้นบุคคลทรามปัญญา. การคบหา
บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญารอบรู้ความเกิดและความเสื่อมแห่งสภาวธรรมอัน
กำหนดด้วยลักษณะ๕๐ถ้วนชื่อว่าคบหาบุคคลผู้มีปัญญา. การพิจารณา
ประเภทแห่งปัญญาอันลึกซึ้งที่เป็นไปในสภาวธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้นอัน
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 336
ลุ่มลึกชื่อว่าการพิจารณาสอดส่องด้วยปัญญอันลึกซึ้ง. ความเป็นผู้มีจิตอัน
โน้มน้อมไปเพื่อตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่ง
เป็นต้นชื่อว่าความน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่า
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดด้วยอาการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วย
อรหัตตมรรค.
วิริยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายอารภธาตุ (ธาตุคือความเริ่ม
ความเพียร) นิกกมธาตุปรักกมธาตุ (ธาตุคือความเพียรก้าวไปข้างหน้า)
มีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธาตุทั้ง๓นั้นนี้เป็นอาหารเพื่อความ
เกิดแห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือเป็นไปเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์
เต็มที่แห่งวิริยสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๑๑ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่ง
วิริยสัมโพชฌงค์คือ๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย๒. การเห็นอานิสงส์
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน๔. ความเคารพยำเกรงในบิณฑบาต๕. การ
พิจารณาความเป็นใหญ่แห่งการรับทรัพย์มรดก๖. การพิจารณาความมีพระ-
ศาสดาเป็นใหญ่๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่๘. การพิจารณาความ
มีสพหมจารีเป็นใหญ่๙. การงดเว้นบุคคลเกียจคร้าน๑๐. การคบหาบุคคล
ผู้ปรารภความเพียร๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 337
๑. การพิจารณาเห็นภัยในอบาย
บรรดาธรรม๑๑ประการนั้นเมื่อภิกษุผู้เจริญวิริยสัมโพชฌงค์แม้
พิจารณาเห็นภัยในอบายอย่างนี้ว่าใครๆไม่อาจยังวิริยสัมโพชฌงค์ให้เกิดได้
ในเวลาที่เสวยทุกข์ใหญ่จำเดิมแต่ถูกลงโทษด้วยเครื่องจองจำ๕ประการในนรก
ก็ดีในเวลาที่ถูกเขาจับด้วยเครื่องจับมีข่ายแหและอวนเป็นต้นบ้างในเวลาขับ
ต้อนทิ่มแทงด้วยเครื่องประหารมีปะฏักเป็นต้นให้ลากเกวียนบ้างในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานก็ดีในเวลาที่ทุรนทุรายด้วยความหิวกระหายตั้งหลายพันปีบ้าง
พุทธันดรหนึ่งบ้างในเปรตวิสัยก็ดีในเวลาที่ต้องเสวยทุกข์อันเกิดแต่ลมและ
แดดเป็นต้นด้วยเรือนร่างที่สูงประมาณ๖๐ศอก๘๐ศอกเหลือแต่หนังหุ้ม
กระดูกในจำพวกกาลกัญชิกอสูรก็ดีดูก่อนภิกษุเวลานี้เท่านั้นเป็นเวลา
ทำความเพียรของเธอดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดขึ้นได้.
๒. การเห็นอานิสงส์
เมื่อเห็นอานิสงส์อย่างนี้ว่าคนเกียจคร้านไม่อาจได้โลกุตตรธรรม๙
คนที่ปรารภความเพียรเท่านั้นจึงสามารถนี้เป็นอานิสงส์ของความเพียรดังนี้
วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดได้.
๓. การพิจารณาวิถีทางดำเนิน
เมื่อพิจารณาวิถีทางดำเนินอย่างนี้ว่าควรดำเนินทางที่พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าพระมหาสาวกทุกพระองค์ดำเนินไปแล้วทางนั้นคน
เกียจคร้านไม่อาจเดินไปได้ดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ก็ย่อมเกิดได้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 338
๔. การเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาต
เมื่อพิจารณาความเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่ามนุษย์เหล่าใด
บำรุงเธอด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้นมนุษย์เหล่านั้นนี้ก็ไม่ใช่ญาติไม่ใช่
ทาสและคนงานของเธอเลยทั้งมนุษย์เหล่านั้นก็มิใช่ถวายปัจจัยมีจีวรเป็นต้น
อันประณีตแก่เธอด้วยคิดว่าจักอาศัยเธอเลี้ยงชีวิตโดยที่แท้เขาหวังให้อุปการะ
ที่ตนทำแล้วมีผลมากจึงถวายแม้พระศาสดาก็มิได้ทรงพิจารณาเห็นอย่างนี้
ว่าภิกษุนี้บริโภคปัจจัยเหล่านี้แล้วจักมีร่างกายแข็งแรงมากอยู่เป็นสุขดังนี้
แล้วทรงอนุญาตปัจจัยแก่เธอโดยที่แท้พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าภิกษุ
บริโภคปัจจัยเหล่านี้บำเพ็ญสมณธรรมจักพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ดังนี้จึง
ทรงอนุญาตปัจจัยไว้เดี๋ยวนี้เธอเกียจคร้านอยู่ไม่เคารพยำเกรงบิณฑบาต
นั้นขึ้นชื่อว่าการเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาตย่อมมีแก่ผู้ปรารภความเพียรเท่า
นั้นดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ก็เกิดได้เหมือนวิริยสัมโพชฌงค์เกิดแก่ท่าน
พระมหามิตตเถระฉะนั้น.
เรื่องพระมหามิตตเถระ
เล่ากันว่าพระเถระอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อกสกะ. และมหาอุบาสิกาผู้หนึ่ง
ในบ้านเป็นที่โคจรของท่านบำรุงพระเถระเหมือนบุตร. วันหนึ่งนางจะไปป่า
จึงสั่งลูกสาวว่าลูกข้าวสารเก่าอยู่โน้นน้ำนมเนยใสน้ำอ้อยอยู่โน้นเวลา
ที่พระเป็นเจ้ามิตตะพี่ชายของเจ้ามาแล้วจงปรุงอาหารถวายพร้อมด้วยน้ำนม
เนยใสและน้ำอ้อยด้วยนะลูก. ลูกสาวถามว่าก็แม่จะรับประทานไหมจ๊ะ.
มหาอุบาสิกาตอบว่าก็เมื่อวานนี้แม่รับประทานอาหารสำหรับค้างคืน
(ปาริวาสกภัต) ที่ปรุงกับน้ำส้มแล้วนี้จ๊ะ. ลูกสาวถามว่าแม่จักรับประทาน
กลางวันไหมจ๊ะ. มหาอุบาสิกาสั่งว่าเจ้าจงใส่ผักดองแล้วเอาปลายข้าวสาร
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 339
ต้มข้าวต้มมีรสเปรี้ยวเก็บไว้ให้เถอะลูก. พระเถระครองจีวรแล้วกำลังนำบาตร
ออก (จากถลก) ได้ยินเสียงนั้นแล้วก็สอนตนเองว่าได้ยินว่ามหาอุบาสิกา
รับประทานแต่อาหารสำหรับค้างคืนกับน้ำส้มแม้กลางวันก็จักรับประทาน
ข้าวต้มเปรี้ยวใส่ผักดองนางบอกอาหารมีข้าวสารเก่าเป็นต้นเพื่อประโยชน์
แก่เธอก็มหาอุบาสิกานั้นมิได้หวังที่นาที่สวนอาหารและผ้าเพราะอาศัย
เธอเลยแต่ปรารถนาสมบัติ๓ประการ (มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัตินิพพาน
สมบัติ) จึงถวายเธอจักสามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่มหาอุบาสิกานั้นได้หรือ
ไม่เล่าดังนี้ท่านคิดว่าบิณฑบาตนี้แลเธอยังมีราคะโทสะโมหะอยู่
ไม่อาจรับได้ดังนี้แล้วก็เก็บบาตรเข้าถลกปลดดุมจีวรกลับไปถ้ำกสกะเลย
เก็บบาตรไว้ใต้เตียงพาดจีวรไว้ที่ราวจีวรนั่งลงอธิษฐานความเพียรว่าเราไม่
บรรลุพระอรหัตจักไม่ออกไปจากถ้ำดังนี้. ภิกษุผู้ไม่ประมาทอยู่มาช้านาน
เจริญวิปัสสนาก็บรรลุพระอรหัตก่อนเวลาอาหารเช้าเป็นพระมหาขีณาสพ
(สิ้นอาสวะแล้ว) นั่งยิ้มอยู่เหมือนดอกปทุมที่กำลังแย้มฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่
ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า
นโมเตปุริสาชญฺญนโมเตปุริสุตฺตม
ยสฺสเตอาสวาขีณาทกฺขิเณยฺโยสิมาริส
ท่านบุรุษอาชาไนยข้าพเจ้าขอนอบ
น้อมท่านท่านยอดบุรุษข้าพเจ้าขอนอบน้อม
ท่านข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านผู้มีอาสวะสิ้น
แล้วท่านผู้นิรทุกข์ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทานดังนี้
แล้วกล่าวว่าท่านเจ้าข้าพวกหญิงแก่ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ทั้งหลายเช่น
ท่านผู้เข้าไปบิณฑบาตจักพ้นจากทุกข์ได้ดังนี้.
พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูดูเวลาทราบว่ายังเช้าอยู่จึงถือบาตร
และจีวรเข้าสู่หมู่บ้านฝ่ายเด็กหญิง. จัดเตรียมอาหารเสร็จแล้วนั่งคอยดูอยู่ตรง
ประตูด้วยนึกว่าประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมาประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจักมา.
เมื่อพระเถระมาถึงประตูเรือนแล้วเด็กหญิงนั้นก็รับบาตรบรรจุเต็มด้วยอาหาร
เจือน้ำนมที่ปรุงด้วยเนยใสและน้ำอ้อยแล้ววางไว้บนมือ (ของพระเถระ).
พระเถระทำอนุโมทนาว่าจงมีสุขเถิดแล้วก็หลีกไป. เด็กหญิงนั้นยืนจ้องดูท่าน
อยู่แล้ว. ความจริงในคราวนั้นผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์ยิ่งนักอินทรีย์
ผ่องใสหน้าของท่านเปล่งปลั่งยิ่งนักประดุจผลตาลสุกหลุดออกจากขั้วฉะนั้น.
มหาอุบาสิกากลับมาจากป่าถามว่าพี่ชายของเจ้ามาแล้วหรือลูกเด็กหญิงนั้นก็
เล่าเรื่องทั้งหมดให้มารดาฟัง. มหาอุบาสิกาก็รู้ได้ว่าวันนี้บรรพชิตกิจแห่ง
บุตรของเราถึงที่สุดแล้วจึงกล่าวว่าลูกพี่ชายของเจ้ายินดียิ่งนักในพระพุทธ-
ศาสนาไม่กระสัน (อยากสึก) แล้วละดังนี้.
๕. การพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีทรัพย์มรดกเป็นใหญ่อย่างนี้ว่าก็ทรัพย์มรดกของ
พระศาสดามีมากแลคืออริยทรัพย์๗ประการทรัพย์มรดกนั้นผู้เกียจคร้าน
ไม่อาจรับได้เหมือนอย่างว่ามารดาบิดาย่อมตัดบุตรผู้ประพฤติผิดทำให้เป็นคนภายนอกว่าคนนี้ไม่ใช่ลูกของเราเมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปเขาก็ไม่ได้รับทรัพย์มรดกฉันใดแม้บุคคลผู้เกียจคร้านก็ฉันนั้นย่อมไม่ได้มรดกคืออริยทรัพย์นี้ผู้ปรารภความเพียรเท่านั้นย่อมได้รับดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
๖. การพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีพระศาสดาเป็นใหญ่อย่างนี้ว่าพระศาสดาของเธอ
เป็นใหญ่เพราะในเวลาที่พระศาสดาของเธอทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ
พระมารดาก็ดีเวลาเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดีเวลาตรัสรู้พระอนุตตรสัมมา-
สัมโพธิญาณก็ดีเวลาประกาศพระธรรมจักรแสดงยมกปาฏิหาริย์เสด็จลงจาก
เทวโลกและทรงปลงอายุสังขารก็ดีเวลาเสด็จดับขันธปรินิพพานก็ดีหมื่น-
โลกธาตุก็หวั่นไหวแล้วเธอบวชในพระศาสนาของศาสดาเห็นปานฉะนั้นแล้ว
เป็นคนเกียจคร้านควรแล้วหรือดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
๗. การพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีชาติเป็นใหญ่อย่างนี้ว่าแม้โดยชาติบัดนี้เธอ
ไม่ใช่คนมีชาติต่ำแล้วละเธอชื่อว่าเกิดแล้วในวงศ์ของพระเจ้าอุกกากราชที่
สืบทอดกันมาโดยมหาสมมตประเพณีไม่เจือปนกับชนชาติอื่นเป็นพระนัดดา
ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชและพระนางเจ้ามหามายาเทวีเป็นพระอนุชา
ของท่านพระราหุลพุทธชิโนรสขึ้นชื่อว่าเธอเป็นพุทธชินบุตรเห็นปานฉะนี้
แล้วอยู่อย่างคนเกียจคร้านไม่สมควรดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
๘. การพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาความมีสพรหมจารีเป็นใหญ่อย่างนี้ว่าท่านพระสารีบุตร
ท่านพระโมคคัลลานะและพระสาวกผู้ใหญ่๘๐รูปแทงตลอด (ตรัสรู้)
โลกุตตรธรรมด้วยความเพียรกันทั้งนั้นเธอจะดำเนินตามทางของสพรหมจารี
เหล่านั้นหรือไม่ดำเนินตามเล่าดังนี้วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 342
๙. การงดเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน
๑๐. การคบหาบุคคลผู้ปรารภความเพียร
๑๑. ความน้อมจิตไปในวิริยสัมโพชฌงค์นั้น
เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้านผู้สละความเพียรทางกายและทางใจ
ซึ่งเป็นเหมือนงูเหลือมกินเต็มท้องแล้วก็หยุดอยู่กับที่ก็ดีคบหาบุคคล
ผู้ปรารภความเพียรผู้อุทิศตนมุ่งปฏิบัติธรรมก็ดีมีจิตโน้มน้อมโอนไปเพื่อ
ให้ความเพียรเกิดขึ้นในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ดีวิริยสัม-
โพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าวิริยสัมโพชฌงค์นั้นที่เกิดแล้วด้วย
อาการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
ปีติสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดโดยนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัม-
โพชฌงค์มีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ปีติสัมโพชฌงค์นี้เป็นอาหารเพื่อความเกิดแห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด
หรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งปีติสัมโพชฌงค์ที่เกิด
แล้วดังนี้. ปีตินั้นเองชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์ในบาลีนั้น.
มนสิการอันยังปีตินั้นให้เกิดชื่อว่าโยนิโสมนสิการ.
ธรรมเป็นเหตุเกิดปีติสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๑๑ประการย่อมเป็นทางเกิดปีติสัมโพชฌงค์
คือ๑. พุทธานุสสติ๒. ธัมมานุสสติ๓. สังฆานุสสติ๔. สีลานุสสติ
๕. จาคานุสสติ๖. เทวานุสสติ๗. อุปสมานุสสติ๘. เว้นบุคคลผู้เศร้าหมอง
๙. คบหาบุคคลผู้หมดจด๑๐. การพิจารณาความในพระสูตรเป็นที่ตั้งแห่ง
ความเลื่อมใส๑๑. ความน้อมจิตไปในปีติสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 343
จริงอยู่ผู้เจริญปีติสัมโพชฌงค์เมื่อระลึกถึงพระพุทธคุณปีติสัม-
โพชฌงค์แผ่ซ่านทั่วสรีระจนกระทั่งอุปจารสมาธิย่อมเกิดขึ้น. เมื่อระลึกถึง
คุณพระธรรมและพระสงฆ์ก็ดีพิจารณาปาริสุทธิศีล๔ที่ตนรักษาไม่ขาดวิ่น
เป็นเวลานานก็ดีแม้คฤหัสถ์พิจารณาศีล๑๐ศีล๕ก็ดีพิจารณาจาคะการ
บริจาคว่าในเวลาประสบทุพภิกขภัยเป็นต้นเราถวายโภชนะอันประณีตแก่
สพรหมจารีทั้งหลายแล้วถวายโภชนะชื่ออย่างนี้ดังนี้ก็ดีแม้คฤหัสถ์พิจารณา
ถึงทานที่ถวายแก่ท่านผู้มีศีลในเวลาเห็นปานนั้นก็ดีพิจารณาถึงคุณเช่นกับที่
เทวดาประกอบแล้วถึงความเป็นเทวดาว่ามีอยู่ในตนก็ดีพิจารณาเห็นว่า
กิเลสที่ข่มได้แล้วแม้ด้วยสมาบัติตลอด๖๐ปีบ้าง๗๐ปีบ้างไม่ฟุ้งกำเริบ
ดังนี้ก็ดีเว้นบุคคลเศร้าหมองผู้มีความหม่นหมองอันสร้างสมไว้เพราะไม่ทำ
โดยเคารพในเวลาเห็นพระเจดีย์เห็นโพธิพฤกษ์และเห็นพระเถระผู้เป็น
เช่นกับละอองธุลีบนหลังลาเพราะไม่มีความเลื่อมใสรักใคร่ในพระรัตนตรัย
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดีส้องเสพบุคคลผู้หมดจดผู้มากด้วยควานเลื่อมใสมี
จิตอ่อนโยนในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นก็ดีพิจารณาความใน
พระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสซึ่งแสดงคุณของพระรัตนตรัยก็ดีมีจิต
โน้มน้อมโอนไปเพื่อให้เกิดปีติในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ดี
ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าปีติสัมโพชฌงค์นั้นซึ่งเกิดแล้ว
ด้วยอาการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค.
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดโดยนัยที่มาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายกายปัสสัทธิความสงบกาย
จิตตปัสสัทธิความสงบจิตมีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในความ
สงบกายและความสงบจิตนั้นนี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิด
แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือเป็นทางเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์
เต็มที่แห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้.
ธรรมเป็นเหตุเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๗ประการย่อมเป็นทางเกิดปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
คือ๑. เสพโภชนะอันประณีต๒. เสพฤดูเป็นที่สบาย๓. เสพอิริยาบถเป็นที่
สบาย๔. ประกอบความเป็นกลาง๕. เว้นบุคคลผู้ไม่สงบกาย๖. เสพบุคคล
ผู้สงบกาย๗. น้อมจิตไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น.
จริงอยู่ผู้เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เมื่อบริโภคโภชนะเป็นที่สบาย
อันประณีตหมดจดก็ดี. เสพฤดูเป็นที่สบายไม่ว่าจะเป็นฤดูหนาวฤดูร้อน
เสพอิริยาบถเป็นที่สบายไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถยืนเป็นต้นก็ดีย่อมเกิดความ
สงบได้. แต่คำนั้นท่านมิได้กล่าวหมายถึงบุคคลผู้เป็นมหาบุรุษซึ่งทนฤดู
และอิริยาบถเป็นที่สบาย. เมื่อผู้ที่มีฤดูและอิริยาบถที่ถูกกันและไม่ถูกกัน
เว้นฤดูและอิริยาบถที่ไม่ถูกกันเสียแล้วเสพฤดูและอิริยาบถที่ถูกกันปัสสัทธิสัม-
โพชฌงค์ย่อมเกิดได้. การพิจารณาถึงความที่ตนและคนอื่นมีกรรมเป็นของๆ
ตนเรียกว่าประกอบความเป็นกลางปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ด้วย
ประกอบความเป็นกลางอันนี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้มีกายไม่สงบเช่นเที่ยวเบียดเบียน
สัตว์อื่นด้วยเครื่องประหารมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้นก็ดีเสพบุคคลผู้
มีกายสงบสำรวมมือเท้าก็ดีมีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ในอิริยาบถมียืนนั่งเป็นต้นก็ดีปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้.
ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้
ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตมรรค.
สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้โดยนัยมาแล้วในบาลี (สังยุตตนิกาย
มหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายสมถนิมิต (บาลีว่าสมาธินิมิต)
อัพยัคคนิมิตมีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในนิมิตทั้งสองนั้นนี้เป็น
อาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือ
เป็นทางเพื่อความไพบูลย์เจริญบริบูรณ์เต็มที่แห่งสมาธิสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้ว
ดังนี้.
ในนิมิตเหล่านั้นสมถะนั่นแลชื่อว่าสมถนิมิตและอัพยัคคนิมิต
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน.
ธรรมเป็นเหตุเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๑๑ประการย่อมเป็นทางเกิดสมาธิสัมโพชฌงค์
คือ๑. ทำวัตถุให้สละสลวย๒. การปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ๓. ฉลาด
ในนิมิต๔. ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง๕. ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๖. ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง๗. เพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉย
๘. เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ๙. คบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ๑๐. พิจาร-
ณาและวิโมกข์๑๑. น้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์นั้น.
อธิบายธรรม๑๑ประการ
ในธรรม๑๑ประการนั้นเฉพาะการทำวัตถุให้สละสลวยและการ
ปรับปรุงอินทรีย์ให้สม่ำเสมอพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 346
ความฉลาดในการกำหนดกสิณนิมิตเป็นอารมณ์ชื่อว่าฉลาดใน
นิมิต. การประคองจิตไว้ด้วยการตั้งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์วิริยสัมโพชฌงค์.
และปีติสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตหดหู่เพราะมีความเพียรย่อหย่อนเกินไป
เป็นต้นชื่อว่าประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง.
การข่มจิตไว้ด้วยการตั้งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์สมาธิสัมโพชฌงค์
และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ในสมัยที่จิตฟุ้งซ่านเพราะปรารภความเพียรมากเกิน
ไปเป็นต้นชื่อว่าข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม.
คำว่าทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรร่าเริงอธิบายว่าสมัยใดจิตไม่แช่ม
ขึ้นเพราะมีปัญญาและความเพียรอ่อนไปหรือเพราะไม่บรรลุสุขที่เกิดแต่ความ
สงบสมัยนั้นก็จิตให้สลดด้วยพิจารณาสังเวควัตถุเรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความสลด๘ประการ. เรื่องอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลด๘ประการคือ๑. ชาติ
๒. ชรา๓. พยาธิ๔. มรณะ๕. ทุกข์ในอบาย๖. ทุกข์ในอดีตมีวัฏฏะ
เป็นมูล๗. ทุกข์ในอนาคตมีวัฏฏะเป็นมูล๘. ทุกข์ในปัจจุบันมีการแสวงหา
อาหารเป็นมูล. อนึ่งการทำความเลื่อมใสให้เกิดด้วยมาระลึกถึงคุณพระรัตน-
ตรัยอันนี้ก็เรียกว่าการทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง.
ชื่อว่าเพ่งเฉยในสมัยที่ควรเพ่งเฉยอธิบายว่าสมัยใดจิตอาศัยการ.
ปฏิบัติชอบไม่หดหู่ไม่ฟุ้งซ่านแช่มขึ้นเป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ดำเนิน
ในสมถวิถีสมัยนั้นไม่ต้องขวยขวายในการประคองข่มและทำจิตให้ร่าเริง
เหมือนสารถีไม่ต้องขวนขวายในเมื่อม้าวิ่งเรียบฉะนั้นอันนี้เรียกว่าเพ่งเฉย
ในสมัยที่ควรเพ่งเฉย.
การเว้นบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่บรรลุอุปจาระหรืออัปปนาให้
ห่างไกลชื่อว่าเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 347
การเสพคบหาเข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิด้วยอุปจาร
ภาวนาหรืออัปปนาภาวนาชื่อว่าคบหาบุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิ.
ความเป็นผู้มีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดสมาธิในอิริยาบถทั้งหลาย
มียืนนั่งเป็นต้นชื่อว่าน้อมจิตไปในสมาธิสัมโพชฌงค์.
ด้วยว่าเมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นย่อมเกิดได้.
เมื่อภิกษุรู้ชัดว่าก็สมาธิสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ย่อม
เจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
อุเบกขาสัมโพชฌงค์
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเกิดได้ตามนัยอันมาแล้วในบาลี (สังยุตต-
นิกายมหาวารวรรค) อย่างนี้ว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่การทำให้มากซึ่งโยนิโสมนสิการในธรรมเป็นที่ตั้งแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นนี้เป็นอาหาร (ย่อมเป็นไป) เพื่อความเกิดแห่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดหรือเป็นทางเพื่อความเจริญไพบูลย์บริบูรณ์
เต็มที่แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดแล้วดังนี้. ก็ในธรรมเหล่านั้นอุเบกขา
นั่นแลชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ธรรมเป็นเหตุเกิดอุเบกขาสัมโพชฌงค์
อีกอย่างหนึ่งธรรม๕ประการย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดแห่งอุเบก-
ขาสัมโพชฌงค์คือ๑. วางตนเป็นกลางในสัตว์๒. วางตนเป็นกลางในสังขาร
๓. เว้นบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขาร๔. คบหาบุคคลผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์
และสังขาร๕. น้อมจิตไปในอุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้น.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 348
อธิบายธรรม๕ประการ
ในธรรม๕ประการนั้นผู้เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมตั้งการวาง
ตนเป็นกลางในสัตว์ด้วยอาการ๒อย่างคือด้วยการพิจารณาถึงความที่ตนและ
ผู้อื่นมีกรรมเป็นของๆตนอย่างนี้ว่าท่านมาด้วยกรรมของตนก็จักไปด้วย
กรรมของตนแม้เขาก็มาด้วยกรรมของตน (เขา) จักไปด้วยกรรมของตน
(เขา) เหมือนกันท่านจะยึดถืออะไรกันดังนี้และด้วยการพิจารณาถึงความ
ไม่มีสัตว์อย่างนี้ว่าเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ที่ว่าสัตว์ๆมันไม่มีท่านจะยึดอะไร
กันเล่าดังนี้.
ตั้งการวางตนเป็นกลางในสังขารด้วยอาการ๒อย่างคือด้วยการ
พิจารณาโดยความเป็นของไม่มีเจ้าของอย่างนี้ว่าจีวรนี้จักเข้าถึงความเปลี่ยนสี
และความเก่าคร่ำคร่าเป็นผ้าเช็ดเท้าต้องเขี่ยทิ้งด้วยปลายไม้เท้าก็ถ้าว่าจีวร
นั้นพึงมีเจ้าของไซร้เขาก็ไม่พึงให้มันเสียหายอย่างนี้ดังนี้และด้วยการ
พิจารณาโดยความเป็นของชั่วคราวอย่างนี้ว่าจีวรนี้อยู่ไม่ได้นานเป็นของ
ชั่วคราวดังนี้. แม้ในบริขารมีบาตรเป็นต้นก็พึงประกอบความเหมือนอย่างใน
จีวร.
ในข้อว่าเว้นบุคคลผู้ยึดถือในสัตว์และสังขารมีวินิจฉัยดังนี้
บุคคลใดเป็นคฤหัสถ์ก็ยึดถือปิยชนมีบุตรธิดาเป็นต้นของตน
หรือเป็นบรรพชิตก็ยึดถือบรรพชิตมีอันเตวาสิกและผู้ร่วมอุปัชฌาย์กันเป็นต้น
ของตนมัวทำกิจกรรมมีปลงผมเย็บจีวรซักย้อมจีวรระบมบาตรเป็นต้น
ของชนเหล่านั้นด้วยมือของตนทีเดียวเมื่อไม่เห็นเพียงครู่เดียวก็บ่นถึงว่า
สามเณรรูปโน้นไปไหนภิกษุหนุ่มรูปโน้นไปไหนเหลียวซ้ายแลขวาเหมือน
มฤคตื่นตกใจฉะนั้นแม้ผู้อื่นอ้อนวอนขอว่าโปรดส่งสามเณรชื่อโน้นไปช่วย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 349
ปลงผมเป็นต้นสักครู่เถิดดังนี้ก็ไม่ยอมให้ด้วยพูดว่าพวกเราจะไม่ให้ทำ
กิจกรรมของตนบ้างหรือพวกท่านพาเธอไปจะลำบากดังนี้บุคคลนี้ชื่อว่า
ยึดถือสัตว์.
ฝ่ายบุคคลใดยึดถือบริขารมีจีวรบาตรถลกบาตรไม้เท้าเป็นต้น
แม้ผู้อื่นจะเอามือจับก็ไม่ให้จับถึงขอยืมก็ตอบขัดข้องว่าเราต้องการใช้ทรัพย์
ก็ยังไม่ใช้จักให้พวกท่านได้อย่างไรดังนี้บุคคลนี้ชื่อว่ายึดถือสังขาร.
ฝ่ายบุคคลใดวางตนเป็นกลางเที่ยงตรงในวัตถุทั้งสองนั้นบุคคล
นี้ชื่อว่าวางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขาร.
เมื่อเว้นไกลบุคคลผู้ยึดถือสัตว์และสังขารเห็นปานฉะนี้ก็ดีคบหาบุคคล
ผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์และสังขารก็ดีมีจิตน้อมโน้มโอนไปเพื่อให้เกิดอุเบกขา
สัมโพชฌงค์ในอิริยาบถทั้งหลายมียืนนั่งเป็นต้นก็ดีอุเบกขาสัมโพชฌงค์นี้
ย่อมเกิดได้ด้วยประการฉะนี้. ภิกษุย่อมรู้ชัดว่าก็อุเบกขาสัมโพชฌงค์นั้นอัน
เกิดแล้วด้วยอาการอย่างนี้ย่อมเจริญบริบูรณ์ด้วยอรหัตตมรรค.
คำว่าอิติอชฺฌตฺตํวาหรือภายในเป็นต้นความว่าพิจารณาเห็นธรรม
ในธรรมทั้งหลายเพราะกำหนดสัมโพชฌงค์๗ของตนหรือของคนอื่น
หรือกำหนดสัมโพชฌงค์๗ของตนตามกาลหรือของคนอื่นตามกาลอยู่. ก็
ความเกิดและความเสื่อม (แห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์) พึงทราบด้วยอำนาจ
ความเกิดและความดับแห่งสัมโพชฌงค์ทั้งหลายในโพชฌงคบรรพนี้. ข้อความ
ต่อจากนี้ก็มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดโพชฌงค์เป็นอริยสัจ๔
แต่ในโพชฌงค์บรรพนี้มีข้อแตกต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบ
ความอย่างนี้ว่าสติกำหนดโพชฌงค์เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 350
พึงทราบว่าเป็นทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดโพชฌงค์เป็น
อารมณ์. คำที่เหลือก็เช่นนั้นเหมือนกัน.
จบโพชฌงคบรรพ
สัจจบรรพ
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงจำแนกธัมมานุปัสสนาโดยโพชฌงค์๗
ประการอย่างนี้แล้วบัดนี้เพื่อจะทรงจำแนกสัจจะ๔ประการจึงตรัสว่า
ปุนจปรํยังมีอีกข้อหนึ่งดังนี้เป็นต้น.
อริยสัจ๔
ในคำเหล่านั้นคำว่ารู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์เป็นต้นความว่า
รู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งธรรมที่เป็นไปในภูมิ๓เว้นตัณหาว่านี้ทุกข์รู้ชัด
ตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งตัณหาที่มีอยู่ก่อน. อันทำทุกข์นั้นนั่นแลให้เกิดให้
ปรากฏขึ้นนี้ทุกขสมุทัยรู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งความดับคือหยุดทุกข์
และทุกขสมุทัยทั้งสองว่านี้ทุกขนิโรธรู้ชัดตามสภาพที่เป็นจริงซึ่งอริยมรรค
อันเป็นเหตุกำหนดรู้ทุกข์เป็นเหตุละสมุทัยเป็นเหตุทำให้แจ้งนิโรธว่านี้ทุกข
นิโรธคามินีปฏิปทา. กถาว่าด้วยสัจจะที่เหลือเว้นกถาว่าด้วยบทภาชนะแจก
บทแห่งทุกข์มีชาติเป็นต้นท่านกล่าวไว้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วเทียว.
อธิบายบทภาชนะ
ชาติ
ส่วนในบทภาชนะพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้คำว่ากตมาจภิกฺ-
ขเวชาติดูก่อนภิกษุทั้งหลายชาติเป็นอย่างไรความว่าดูก่อนภิกษุทั้ง
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 351
หลายก็ชาติอันใดที่เรากล่าวอย่างนี้ว่าแม้ชาติก็เป็นทุกข์ชาติอันนั้นเป็น
อย่างไร. พึงทราบอรรถในปุจฉาทั้งปวงอย่างนี้. คำว่าของสัตว์เหล่านั้นๆ
อันใดนี้เป็นคำกำหนดรวมสัตว์ไว้ทั้งหมดโดยไม่มีกำหนดว่าของเหล่าสัตว์ชื่อนี้.
แม้คำว่าในหมู่สัตว์นั้นๆนี้เป็นคำกำหนดรวมหมู่สัตว์ไว้ทั้งหมด. ความเกิดชื่อว่า
ชาติ. คำว่าชาตินี้เป็นชื่อของขันธ์ที่เกิดจำเพาะทีแรกพร้อมด้วยความเปลี่ยน
แปลง. คำว่าสัญชาตินี้เป็นไวพจน์ (แทน) ของชาตินั่นเองแต่ประกอบด้วย
อุปสรรค. ความเกิดนั่นแลชื่อว่าโอกฺกนฺติก้าวลงด้วยอรรถว่าก้าวลง
โดยอาการที่เข้าไปโดยลำดับชื่อว่าอภินิพฺพตฺติเกิดจำเพาะด้วยอรรถว่า
เกิดเฉพาะกล่าวคือเกิดทั้ง๔อย่างนี้ชื่อว่ากล่าวโดยสมมัติ. ส่วนบาลี
ขนฺธานํปาตุภาโวความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนี้กล่าวโดยปรมัตถ์.
ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลายนั่นแลที่แยกเป็นขันธ์หนึ่งขันธ์สี่และขันธ์ห้า
ในบรรดาหมู่สัตว์ที่มีขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเองไม่ใช่ความปรากฏแห่งบุคคล.
แต่เมื่อความปรากฏแห่งขันธ์นั้นมีอยู่. ก็สมมติเรียกกันว่าบุคคลปรากฏดังนี้.
คำว่าอายตนานํปฏิลาโภความได้อายตนะทั้งหลายความว่าอายตนะ
ทั้งหลายปรากฏอยู่นั่นแลเป็นอันชื่อว่าได้มานั้นชื่อว่าความได้มาที่กล่าว
ได้ว่าความปรากฏแห่งอายตนะเหล่านั้น.
ชรา
ศัพท์ว่าชราเป็นศัพท์แสดงถึงสภาพความเป็นเอง. ศัพท์ว่าชีรณตา
แสดงถึงภาวะคืออาการ. ศัพท์ว่าขณฺฑิจฺจํเป็นต้นคือแสดงถึงภาวะเปลี่ยน
แปลงจริงอยู่เวลาเป็นหนุ่มสาวฟันก็เรียบขาว. ครั้นหง่อมเข้าฟันเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 352
ก็เปลี่ยนสีไปโดยลำดับหลุดตกไปในที่นั้นๆ. อนึ่งฟันหักหมายถึงฟันที่
หลุดร่วงและที่ยังอยู่ชื่อว่าขณฺฑิตา. ภาวะแห่งฟันที่หักเรียกว่าขณฺฑิจฺจํ
ความที่ฟันหัก. ผมและขนคร่ำคร่าไปโดยลำดับชื่อว่าผมหงอก. ผมหงอก
เกิดพร้อมแล้วแก่บุคคลนั้นเหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ามีผมหงอก. ภาวะแห่ง
บุคคลผู้มีผมหงอกชื่อว่าปาลิจฺจํความที่ผมหงอก. เกลียวที่หนังของบุคคล
นั้นมีอยู่เพราะมีเนื้อและเลือดแห้งไปด้วยถูกลมคือชราประหารเหตุนั้น
บุคคลนั้นชื่อว่ามีหนังเป็นเกลียว (เหี่ยว). ภาวะแห่งบุคคลผู้มีหนังเป็นเกลียวนั้น
ชื่อว่าวลิตฺตจตาความที่หนังเหี่ยว. ด้วยถ้อยคำมีประมาณเพียงเท่านี้เป็นอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงชราที่เปิดเผยอันปรากฏชัดโดยแสดงความ
เปลี่ยนแปลงในฟันผมขนหนัง. ทางไปของลมหรือไฟจะปรากฏได้
ก็เพราะลมพัดถูกหญ้าหรือต้นไม้เป็นต้นหักระเนระนาดหรือไฟไหม้แต่
ทางไปของลมและไฟนั้นก็หาปรากฏไม่ฉันใดทางไปแห่งชราก็ฉันนั้นเหมือน
กันจะปรากฏได้ก็โดยภาวะมีฟันหักเป็นต้นแห่งอาการ๓๒มีฟันเป็นต้น
แม้บุคคลลืมตาดูก็จับไม่ได้ความคร่ำคร่าแห่งอาการมีฟันหักเป็นต้นหาใช่ตัว
ชราไม่เพราะชราจะพึงรู้ทางจักษุมิได้. แต่เพราะเมื่อถึงชราอายุเสื่อมไป
ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่าความเสื่อมไปแห่งอายุ
เรียกว่าชรา. อนึ่งเพราะเวลาเป็นหนุ่มสาวอินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น
แจ่มใสดีสามารถรับอารมณ์ของคนแม้ที่ละเอียดได้ให้สะดวกทีเดียวเมื่อถึง
ชราก็แก่งอมขุ่นมัวไม่ผ่องใสไม่สามารถรับอารมณ์ของตนแม้ที่หยาบได้
ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสโดยผลใกล้เคียงว่าความแก่งอมแห่งอินทรีย์
ทั้งหลายเรียกว่าชราดังนี้บ้าง.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 353
มรณะ
ในมรณนิทเทสมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
ศัพท์ว่ายํหมายถึงมรณะเป็นศัพท์แสดงนุปํสกลิงค์(ไม่ใช่
เพศชายเพศหญิงทางไวยากรณ์). ในคำว่ายํนั้นพึงประกอบความดังนี้ว่า
มรณะท่านเรียกว่าจุติเรียกว่าจวนตา. ในศัพท์เหล่านั้นศัพท์ว่าจุติ
แสดงถึงสภาพที่เป็นเอง. ศัพท์ว่าจวนตาแสดงถึงภาวะคืออาการ. เมื่อ
บุคคลถึงมรณะแล้วขันธ์ทั้งหลายย่อมแตกและหายไปแลไม่เห็นเพราะ
ฉะนั้นมรณะนั้นจึงเรียกว่าความแตกความหายไปความมอดม้วย. บทว่า
มัจจุมรณะคือมัจจุมรณะมิใช่ขณิกมรณะ (ตายชั่วขณะ). การทำ
กาละคือตายชื่อว่ากาลกิริยา. แม้ทั้งหมดนี้กล่าวโดยสมมติทั้งนั้น. ส่วน
บาลีว่าขนฺธานํเภโทนี้เป็นการกล่าวโดยปรมัตถ์. ความแตกแห่งขันธ์
ทั้งหลายที่แยกเป็นขันธ์หนึ่งขันธ์สี่และขันธ์ห้าในบรรดาหมู่สัตว์ที่มี
ขันธ์หนึ่งเป็นต้นนั่นเองมิใช่ความแตกแห่งบุคคล. แต่เมื่อความประชมพร้อม
แห่งขันธ์มีอยู่ก็สมมติเรียกว่าบุคคลตาย. การทอดทิ้งอัตตภาพชื่อว่าการ
ทอดทิ้งซากศพ. จริงอยู่เมื่อบุคคลถึงความตายอัตตภาพก็ตกเป็นเหมือน
ท่อนไม้ไร้ประโยชน์ฉะนั้นเพราะฉะนั้นมรณะนั้นท่านจึงเรียกว่าการ
ทอดทิ้งซากศพ. ส่วนความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เมื่อว่าโดยปรมัตถ์
โดยอาการทั้งปวงก็คือมรณะ. มรณะนั้นนั่นแหละเรียกว่าสมมติมรณะ.
ชาวโลกถือเอาความขาดแห่งชีวิตินทรีย์เท่านั้นจึงพูดว่าติสสะตายผุสสะ
ตายดังนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 354
โสกะ
โสกะ
บทว่าพฺยสเนนด้วยความวิบัติความว่าด้วยความวิบัติอย่างใด
อย่างหนึ่งบรรดาความวิบัติทั้งหลายมีความวิบัติจากญาติเป็นต้น. บทว่า
ทุกฺขธมฺเมนอันทุกขธรรมความว่าอันเหตุแห่งทุกข์มีการฆ่าและ
จองจำเป็นต้น. บทว่าผุฏฺฐสฺสถูกต้องแล้วได้แก่ท่วมทับครอบงำแล้ว.
คำว่าโสกะได้แก่ความโศกอันมีความแห้งใจเป็นลักษณะย่อมเกิดแก่
บุคคลในเมื่อถูกความวิบัติมีความวิบัติจากญาติเป็นต้นหรือเหตุแห่งทุกข์
มีการฆ่าการจองจำเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว. ความเป็นผู้
เศร้าโศกได้แก่ความเศร้าโศก. ก็ความเศร้าโศกนั้นเกิดขึ้นทำภายในให้แห้ง
ให้แห้งผากเพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าความเศร้าใจความแห้งใจภายในดังนี้.
ปริเทวะ
คนทั้งหลายยึดถืออย่างนี้ว่าลูกหญิงของเราลูกชายของเราดังนี้
ย่อมคร่ำครวญรำพันด้วยความยึดถือนั้นเหตุนั้นความยึดถือนั้นจึงชื่อว่า
เป็นเหตุคร่ำครวญ. คนทั้งหลายรำพันยกยอคุณนั้นๆด้วยเหตุนั้นเพราะ
ฉะนั้นเหตุนั้นจึงชื่อว่าเป็นเหตุรำพัน. ศัพท์ทั้งสอง (อาเทวนาปริเทวนา)
นอกจากอาเทวะปริเทวะนั้นเป็นศัพท์แสดงภาวะแห่งความคร่ำครวญรำพัน
นั้นนั่นแหละ.
ทุกขโทมนัส
ความทุกข์อันมีกายประสาทเป็นที่ตั้ง (ที่เกิด) เพราะอรรถว่า
ทนได้ยากชื่อว่าทุกข์ทางกาย. คำว่าไม่ชื่นใจคือไม่หวานใจ. คำว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒ - หน้าที่ 355
ทุกข์ที่เกิดแต่กายสัมผัสคือทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสทางกายคำว่าเวทนา
ที่ไม่น่าชื่นใจคือเวทนาที่ไม่น่าชอบใจ. โทมนัสสัมปยุตกับจิตชื่อว่า
เจตสิกได้แก่โทมนัสทางใจ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วในทุกข์นั่นแล.
อุปายาส
บทว่าอายาโสได้แก่ความลำบากทางใจอันถึงอาการคือความ
ท้อแท้ห่อเหี่ยว. ความคับใจโดยภาวะมีกำลังแรงชื่อว่าความคับแค้นใจ.
ศัพท์ทั้งสอง(อายาสิตฺตกํอุปายาสิตฺตํ) นอกจากอายาสะและอุปายาสะ
นั้นเป็นธรรมเนื่องอยู่ในตนส่องภาวะชี้ภาวะ.
การไม่สมควรปรารถนาเป็นทุกข์
บทว่าชาติธมฺมานํมีความเกิดเป็นธรรมดาคือมีความเกิดเป็น
สภาวะ. สองบทว่าอิจฺฉาอุปฺปชฺชติความปรารถนาย่อมเกิดคือตัณหา
ย่อมเกิด. คำว่าอโหวตได้แก่ความปรารถนา. บทว่านโขปเนตํอิจฺฉาย
ข้อนั้นไม่พึงได้ด้วยความปรารถนาแลความว่าข้อนั้นคือความไม่ต้อง
มาเกิดเว้นมรรคภาวนาเสียบุคคลไม่พึงบรรลุได้ด้วยปรารถนา. คำว่าอิทํปิ
แม้นี้คือแม้อันนี้. ปิอักษรในคำว่าอิทมฺปิหมายถึงบทที่เหลือข้างหน้า.
บทว่ายมฺปิจฺฉํปรารถนาสิ่งใดความว่า. บุคคลปรารถนาสิ่งที่ไม่พึงได้
ย่อมไม่ได้. เพราะธรรมใดความปรารถนาในสิ่งที่ไม่พึงได้นั้นก็เป็นทุกข์. ทุกๆ
บทก็นัยนี้เหมือนกัน. ในขันธนิทเทสมีวินิจฉัยดังนี้. รูปนั้นด้วยอุปาทานขันธ์
ด้วยเพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่ารูปูปาทานขันธ์. ทุกๆขันธ์ก็พึงทราบอย่างนี้.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่356
สมุทัยอริยสัจ
คำว่ายายํตณฺหาตัดเป็นยาอยํตณฺหาแปลว่าตัณหานี้ใด.
คำว่าโปโนพฺภวิกามีวิเคราะห์ว่าการทำภพใหม่ชื่อว่าภพใหม่ภพใหม่นั้น
เป็นปกติแห่งตัณหานั้นเหตุนั้นตัณหานั้นจึงชื่อว่าโปโนพฺภวิกามี
ความเกิดอีกเป็นปกติ. คำว่านนฺทิราคสหคตาได้แก่ตัณหาที่เกิดร่วม
ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน. ท่านอธิบายว่าโดยอรรถ
ตัณหานั้นก็เป็นอันเดียวกันกับนันทิราคะนั่นเอง. ในคำเหล่านั้นคำว่าตตฺรตตฺ-
ราภินนฺทินีเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆความว่าอัตตภาพเกิดจำเพาะใน
ที่ใดๆตัณหาก็เพลิดเพลินในที่นั้นๆ. อีกนัยหนึ่งตัณหามักเพลิดเพลินใน
อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นชื่อว่าในที่นั้นๆ. อธิบายว่าเพลิดเพลินในรูป
เพลิดเพลินในเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์. ศัพท์ว่าเสยฺยถีทํ
เป็นศัพท์นิบาต. ศัพท์ว่าเสยฺยถีทํนั้นมีความว่าถ้ามีคำถามว่าตัณหานั้น
เป็นไฉน. ความอยากในกามชื่อว่ากามตัณหา. คำว่ากามตัณหานั้นเป็นชื่อของ
ความกำหนัดเกี่ยวด้วยกามคุณ๕. ความอยากในภพชื่อว่าภวตัณหา.
คำว่าภวตัณหานี้เป็นชื่อของความกำหนัดในรูปภพและอรูปภพอันเกิดพร้อม
ด้วยสัสสตทิฏฐิที่เกิดโดยความปรารถนาภพและความยินดีในฌาน. ความ
อยากในวิภพชื่อว่าวิภวตัณหา. คำว่าวิภวตัณหานี้เป็นชื่อของความ
กำหนัดที่เกิดพร้อมด้วยอุจเฉททิฏฐิ. บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดง
วัตถุที่ตั้งที่เกิดแห่งตัณหานั้นโดยพิสดารจึงตรัสว่าสาโขปเนสา
ก็ตัณหานี้นั้นแลดังนี้เป็นต้น.
บรรดาคำเหล่านั้นคำว่าอุปฺปชฺชติแปลว่าเกิด. คำว่านิวีสติ
ได้แก่ตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อยๆ. คำว่ายํโลเกปิยรูปํสาตรูปํความว่า
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่357
เป็นสภาวะที่รักและสภาวะที่ชอบใจในโลก. ในคำว่าจกฺขุํโลเกเป็นต้น
มีอธิบายดังนี้จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายถือมั่นในจักษุเป็นต้นในโลกโดยความ
เป็นของๆเราตั้งมั่นอยู่ในสมบัติย่อมสำคัญจักษุ(ตา) ของตนอันมี
ประสาททั้ง๕แจ่มใสเหมือนหน้าต่างแก้วมณีอันเผยขึ้นแล้วในวิมานทอง
ด้วยทำนองถือเอานิมิตในกระจกเป็นต้นย่อมสำคัญโสต(หู) เหมือนหลอดเงิน
และเหมือนด้ายร้อยสังวาลย์ย่อมสำคัญฆานะ(จมูก) ที่ได้โวหารเรียกว่า
ตุงฺคนาสา(จมูกโด่ง) เหมือนขั้วหรดาลที่เขาปั้นตั้งไว้ย่อมสำคัญชิวหา
(ลิ้น) อันอ่อนสะอาดคอยรับรสอร่อยเหมือนพื้นผ้ากัมพลแดงย่อมสำคัญกาย
เสมือนต้นสาละหนุ่มและเสมือนเสาระเนียดทองย่อมสำคัญมนะ(ใจ)
อันโอฬาร(ของตน) ไม่เหมือนกับใจของคนอื่นๆย่อมสำคัญรูปประหนึ่ง
ว่ามีผิวพรรณดังดอกกัณณิการ์ทองเป็นต้นย่อมสำคัญเสียงประหนึ่งเสียงนก
การะเวกและดุเหว่าที่น่าคลั่งไคล้และเสียงกังวานของปี่แก้วที่เป่าแผ่วๆ
ย่อมสำคัญอารมณ์มีคันธารมณ์(หอม) เป็นต้นอันมีสมุฏฐาน๔ที่ตนได้แล้ว
ว่าอารมณ์เห็นปานนี้ของคนอื่นใครเล่าจะมี. เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้
จักษุเป็นต้นเหล่านั้นก็ย่อมเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจ. เมื่อเป็นเช่นนั้นตัณหา
ของสัตว์เหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ย่อมเกิดในจักษุเป็นต้นนั้นและตัณหาที่เกิด
แล้วก็ย่อมตั้งอยู่โดยความเป็นไปบ่อยๆ. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่าจักษุเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลกตัณหานั้นเมื่อจะเกิดก็เกิด
ที่จักษุนั้นดังนี้เป็นต้น. คำว่าตตฺถอุปฺปชฺชมานาอุปฺปชฺชติความว่า
ตัณหานั้นเมื่อเกิดในกาลใดก็ย่อมเกิดที่จักษุนี้ในกาลนั้น. ทุกๆบทก็นัยนี้.
ทุกขนิโรธอริยสัจ
บททั้งปวงมีบทว่าอเสสวิราคนิโรโธความดับด้วยสำรอกโดย
ไม่เหลือเป็นต้นทั้งหมดเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั่นเอง. จริงอยู่ตัณหา
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่358
มาถึงพระนิพพานย่อมคลายดับไม่เหลือเพราะฉะนั้นพระนิพพานนั้นจึงตรัส
เรียกว่าความดับด้วยคลายไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นแล. อนึ่งตัณหา
มาถึงพระนิพพานย่อมละสละคืนปล่อยไม่ติดเพราะฉะนั้นพระนิพพาน
จึงตรัสเรียกว่าเป็นที่ละสละปล่อยไม่ติด. แท้จริงพระนิพพานก็มี
อย่างเดียวเท่านั้น. แต่ชื่อของพระนิพพานนั้นมีมากโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อชื่อของ
สังขตธรรมทั้งหมด. คืออย่างไรคือธรรมเป็นที่คายไม่เหลือเป็นที่ดับไม่เหลือ
เป็นที่ละเป็นที่สละเป็นที่พ้นเป็นที่ไม่ติดเป็นที่สิ้นราคะเป็นที่สิ้นโทสะ
เป็นที่สิ้นโมหะเป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่ไม่เกิดเป็นที่หยุดไม่มีนิมิตไม่มี
ที่ตั้งไม่มีที่อาศัยไม่มีปฏิสนธิไม่เป็นไปไม่ไปไม่เกิดไม่แก่ไม่เจ็บ
ไม่ตายไม่โศกไม่คร่ำครวญไม่คับแค้นไม่เศร้าหมองดังนี้เป็นต้น. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งตัณหาทั้งปวงที่มรรคตัด
ได้แล้วถึงความหยุด(ไม่เป็นไป) เพราะมาถึงพระนิพพานในวัตถุที่
พระองค์ทรงแสดงว่าตัณหาเกิดนั่นแหละจึงตรัสว่าสาโขปเนสาก็ตัณหา
นี้นั้นดังนี้เป็นต้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นดังต่อไปนี้เหมือนอย่างว่าบุรุษพบเถาน้ำ
เต้าขมที่เกิดในนาแล้วจับตั้งแต่ยอดค้นหาโคนพบแล้วตัดออกเสียเถานั้น
ก็เหี่ยวแห้งโดยลำดับถึงความไม่ปรากฏที่นั้นเขาก็เรียกกันว่าเถาน้ำเต้าขม
ในนานั้นดับแล้วละแล้วตัณหาในจักษุเป็นต้นเปรียบเหมือนเถาน้ำเต้าขม
ในนาตัณหานั้นตัดรากได้ด้วยอรหัตตมรรคถึงความหยุด(งอก) เพราะมาถึง
พระนิพพานอนึ่งตัณหาอันถึงความหยุดอย่างนั้นแล้วย่อมไม่ปรากฏในวัตถุ
เหล่านั้นเหมือนเถาน้ำเต้าขมไม่ปรากฏในนาฉะนั้น. อนึ่งเปรียบเหมือนพวก
มนุษย์นำโจรมาจากดงพึงฆ่าเสียที่ประตูด้านทิศใต้แห่งพระนครแต่นั้นคน
ทั้งหลายจะพึงพูดกันว่าพวกโจรในดงตายแล้วหรือถูกฆ่าตายแล้วดังนี้ฉันใด
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่359
ก็ฉันนั้นเหมือนกันตัณหาในจักษุเป็นต้นเปรียบเหมือนโจรในดงตัณหานั้น
ชื่อว่าดับไปในพระนิพพานนั่นเองเพราะมาถึงพระนิพพานแล้วจึงดับไป
เหมือนโจรถูกฆ่าที่ประตูทิศใต้ฉะนั้นอนึ่งตัณหาอันดับแล้วอย่างนั้นย่อมไม่
ปรากฏในวัตถุเหล่านั้นเหมือนโจรไม่ปรากฏในดงฉะนั้น. เพราะฉะนั้นพระ
ผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความดับแห่งตัณหานั้นในจักษุเป็นต้นนั้น
จึงตรัสว่าจักษุเป็นที่รักเป็นที่ชื่นใจในโลกตัณหานั้นเมื่อบุคคลจะละก็ละได้
ที่จักษุนั้นเมื่อจะดับก็ดับที่จักษุนั้นดังนี้เป็นต้น
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
คำว่าอยเมวเป็นคำกำหนดแน่ชัดเพื่อปฏิเสธมรรคอื่น. คำว่าอริโย
ความว่ามรรคชื่อว่าอริยะเพราะไกลจากกิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้นๆพึงฆ่า
และเพราะทำความเป็นพระอริยะ. ทรงแสดงกัมมัฏฐานว่าด้วยสัจจะ๔ด้วยคำว่า
รู้ในทุกข์เป็นต้น. ในสัจจะ๔นั้น๒สัจจะต้น(ทุกขสมุทัย) เป็นวัฏฏ-
สัจจะ๒สัจจะหลัง(นิโรธมรรค) เป็นวิวัฏฏสัจจะ. ในวัฏฏสัจจะและ
วิวัฏฏสัจจะเหล่านั้นความตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐานของภิกษุย่อมมีในวัฏฏสัจจะ
ไม่มีในวิวัฏฏสัจจะก็พระโยคาวจรกำหนดสัจจะ๒เบื้องต้นในสำนักอาจารย์
โดยย่ออย่างนี้ว่าปัญจขันธ์เป็นทุกข์ตัณหาเป็นสมุทัยและพิสดารโดยนัย
เป็นต้นว่าปัญจขันธ์เป็นไฉนคือรูปขันธ์ดังนี้แล้วทบทวน(ท่องบ่น) ชื่อว่า
ทำกรรมในสัจจะ๒เหล่านั้น. ส่วนในสัจจะ๒นอกนี้พระโยคาวจรย่อม
ทำกรรมด้วยการฟังอย่างเดียวอย่างนี้ว่านิโรธสัจน่าปรารถนาน่าใคร่
น่าพอใจมรรคสัจน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ. พระโยคาวจรนั้นเมื่อทำอยู่
อย่างนี้ย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งด้วยปฏิเวธญาณอันเดียวย่อมตรัสรู้ด้วย
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่360
อภิสมยญาณอันเดียวคือแทงตลอดทุกขสัจจะด้วยปฏิเวธคือปริญญากิจแทง
ตลอดสมุทัยด้วยปหานกิจแทงตลอดนิโรธสัจจะด้วยสัจฉิกิริยากิจแทงตลอด
มรรคสัจจะด้วยภาวนากิจ. ย่อมตรัสรู้ทุกขสัจจะด้วยอภิสมยญาณคือปริญญากิจ
ตรัสรู้สมุทัยสัจจะด้วยปหานกิจตรัสรู้นิโรธสัจจะด้วยสัจฉิกิริยากิจตรัสรู้
มรรคสัจจะด้วยภาวนากิจ. ในเบื้องต้นพระโยคาวจรนั้นมีปฏิเวธญาณใน
สัจจะ๒เบื้องต้นด้วยการกำหนดการสอบถามการฟังการทรงจำและ
การพิจารณาส่วนในสัจจะ๒เบื้องปลายพระโยคาวจรมีปฎิเวธญาณด้วย
อำนาจการฟังอย่างเดียวในภายหลังจึงมีปฏิเวธญาณในสัจจะ๓โดยกิจมี
ปฏิเวธญาณในนิโรธสัจโดยอารมณ์. ส่วนปัจจเวกขณญาณมีแก่พระโยคาวจร
ผู้บรรลุสัจจะแล้ว. และพระโยคาวจรนี้เป็นผู้เริ่มบำเพ็ญเพียรเพราะฉะนั้น
จึงไม่ตรัสปัจจเวกขณญาณนั้นไว้ในที่นี้. อนึ่งเมื่อภิกษุนี้กำหนดรู้ในเบื้องต้น
ความคำนึงรวบรวมใจใส่ใจและพิจารณาว่าเรากำหนดรู้ทุกข์เราละสมุทัย
เราทำให้แจ้งนิโรธเราเจริญมรรคดังนี้ยังไม่มีจะมีได้ตั้งแต่การกำหนด
ไป. ส่วนในเวลาภายหลังทุกข์ก็เป็นอันชื่อว่ากำหนดรู้แล้วสมุทัยก็เป็นอัน
ละเสียแล้วนิโรธก็เป็นอันทำให้แจ้งแล้วมรรคก็เป็นอันทำให้เกิดแล้ว.
ในสัจจะเหล่านั้นสัจจะ๒เบื้องต้นชื่อว่าลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยาก
สัจจะ๒เบื้องหลังชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง. ความจริงทุกขสัจปรากฏ
ตั้งแต่เกิดมาถึงกับกล่าวกันว่าทุกข์หนอในเวลาที่ถูกตอและหนามตำเป็นต้น.
แม้สมุทัยสัจก็ปรากฏตั้งแต่เกิดมาด้วยอำนาจอยากเคี้ยวอยากกินเป็นต้น. แต่
แม้ทั้งสองสัจจะนั้นก็ชื่อว่าลึกซึ้งโดยลักษณะและการแทงตลอด. สัจจะ๒นั้น
ชื่อว่าลึกซึ้งเพราะเห็นได้ยากด้วยประการฉะนี้. ส่วนความพยายามเพื่อเห็น
สัจจะ๒นอกนี้ก็เป็นเหมือนเหยียดมือจับภวัคคพรหมเหยียดเท้าไปต้องอเวจี-
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่361
นรกและเป็นเหมือนเอาปลายขนทรายกับปลายขนทรายที่แยกออก๗ส่วน
ให้จดติดกัน. สัจจะ๒เบื้องปลายเหล่านั้นชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้ง
ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่านี้ความรู้ในทุกข์ดังนี้เป็นต้น
ทรงหมายถึงความเกิดญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นในสัจจะ๔ที่ชื่อว่าลึกซึ้ง
เพราะเห็นได้ยากและที่ชื่อว่าเห็นได้ยากเพราะลึกซึ้งด้วยอำนาจการกำหนด
เป็นต้นด้วยประการฉะนี้. ส่วนในขณะแทงตลอดญาณ(ปฏิเวธญาณ) นั้น
ก็มีหนึ่งเท่านั้น.
สัมมาสังกัปปะ
ความดำริมีความดำริออกจากกามเป็นต้นต่างกันในเบื้องต้นเพราะ
สัญญาในอันงดเว้นจากกามพยาบาทและวิหิงสาต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค
ความดำริฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จ
ความไม่เกิดแห่งความดำริฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้วในฐาน๓เหล่านี้เพราะตัดทาง
แห่งความดำริฝ่ายอกุศลนั้นได้ขาดนี้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ.
สัมมาวาจา
แม้กุศลธรรมมีเจตนางดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้นก็ต่างกันในเบื้องต้น
เพราะสัญญาในการงดเว้นจากมุสาวาทเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรค
เจตนางดเว้นฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์มรรคบริบูรณ์โดยให้
สำเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้วในฐานะ๔เหล่านี้
เพราะตัดทางแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลนั้นได้ขาดนี้ชื่อว่าสัมมาวาจา.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่362
สัมมากัมมันตะ
แม้กุศลธรรมมีเจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นก็ต่างกันใน
เบื้องต้นเพราะสัญญาในการงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรคเจตนางดเว้นฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีลฝ่ายอกุศลที่เกิดแล้วในฐานะ๓เหล่านี้เพราะตัดทางได้ขาดนี้ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ.
สัมมาอาชีวะ
คำว่ามิจฉาอาชีวะได้แก่กายทุจริตและวจีทุจริตที่เป็นไปเพื่อต้อง
การของเคี้ยวของกินเป็นต้น. คำว่าละคือเว้น. คำว่าด้วยสัมมาอาชีวะ
คือด้วยอาชีพที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ. คำว่าสำเร็จชีวิตคือดำเนินการ
เลี้ยงชีพ. ที่ชื่อว่าสัมมาอาชีวะต่างกันในเบื้องต้นเพราะสัญญาในการงดเว้น
จากทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรคเจตนางดเว้นฝ่ายกุศลอันเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จความไม่เกิดแห่งเจตนาเครื่องทุศีลอันเป็นมิจฉาอาชีวะที่เกิดแล้วในฐานะเจ็ด(กายทุจริต
๓วจีทุจริต๔) เหล่านี้แหละเพราะตัดทางได้ขาดนี้ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ.
สัมมาวายามะ
คำว่าที่ยังไม่เกิดคือที่ยังไม่เกิดแก่ตนในภพหนึ่งหรือในอารมณ์
เห็นปานนั้น. แต่พระโยคาวจรเห็นบาปอกุศลธรรมที่กำลังเกิดแก่คนอื่นย่อม
ยังฉันทะให้เกิดปรารภความเพียรประคองตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้เกิดบาปอกุศล
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่363
ที่ยังไม่เกิดด้วยคิดอย่างนี้ว่าโอหนอบาปอกุศลธรรมเห็นปานนั้นไม่พึง
เกิดแก่เราดังนี้. คำว่าฉนฺทํชเนติย่อมยังฉันทะให้เกิดคือให้เกิดความ
พอใจในความเพียรที่ให้สำเร็จข้อปฏิบัติอันไม่ให้เกิดบาปอกุศลเหล่านั้น. คำว่า
วายมติพยายามคือทำความพยายาม. คำว่าวิริยํอารภติปรารภ
ความเพียรคือดำเนินความเพียร. คำว่าจิตฺตํปคฺคณฺหาติประคองจิต
คือทำการประคองจิตด้วยความเพียร. คำว่าปทหติตั้งไว้คือดำเนินการ
ตั้งความเพียรว่าจะเหลือแต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามทีเถิดดังนี้. คำว่า
อุปฺปนฺนานํที่เกิดแล้วคือที่เคยเกิดแล้วแก่ตนโดยการกำเริบขึ้นย่อมให้
เกิดฉันทะเพื่อละบาปอกุศลเหล่านั้นว่าบัดนี้เราจักไม่ให้บาปอกุศลเช่นนั้น
เกิดขึ้นละ. คำว่าอนุปฺปนฺนานํกุสลานํกุศลที่ยังไม่เกิดคือกุศลธรรม
มีปฐมฌานเป็นต้นที่ตนยังไม่ได้. คำว่าอุปฺปนฺนานํที่เกิดแล้วคือกุศลธรรม
เหล่านั้นนั่นแหละที่ตนได้แล้ว. คำว่า ิติยาเพื่อตั้งมั่นคือเพื่อตั้งอยู่
โดยการเกิดต่อเนื่องกันบ่อยๆ. คำว่าอสมฺโมสายเพื่อไม่ขาดสายคือเพื่อ
ไม่ให้สูญเสีย. คำว่าภิยฺโยภาวายเพื่อมียิ่งๆคือเพื่อเจริญยิ่งขึ้นไป.
คำว่าเวปุลฺลายคือเพื่อความไพบูลย์. คำว่าภาวนายปาริปูริยาคือเพื่อ
ความมีบริบูรณ์. แม้สัมมาวายามนี้ก็ต่างกันในเบื้องต้นเพราะจิตที่คิดไม่ให้เกิด
อกุศลที่ยังไม่เกิดเป็นต้นต่างกัน. แต่ในขณะแห่งมรรควิริยะฝ่ายกุศลอันเดียว
เท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่งมรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จกิจในฐานะ๔เหล่านี้
เหมือนกันนี้ชื่อว่าสัมมาวายามะ.
สัมมาสติแม้สัมมาสติก็ต่างกันในเบื้องต้นเพราะจิตที่กำหนดอารมณ์มีกาย
เป็นต้นต่างกันแต่ในขณะแห่งมรรคสติอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นให้องค์แห่ง
มรรคบริบูรณ์โดยให้สำเร็จกิจในฐานะ๔นี้ชื่อว่าสัมมาสติ.
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่364
สัมมาสมาธิฌานทั้งหลายต่างกันทั้งในเบื้องต้นทั้งในขณะแห่งมรรค. ใน
เบื้องต้นต่างกันโดยสมาบัติ. ในขณะแห่งมรรคต่างกันโดยมรรค. จริงอยู่
มรรคที่๑แห่งมรรคขณะหนึ่งมีปฐมฌานเป็นบาทแม้มรรคที่๒เป็นต้น
มีปฐมฌานเป็นบาทบ้างมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งในทุติยฌานเป็นต้นเป็น
บาทบ้าง. มรรคที่๑แห่งมรรคขณะแม้อันหนึ่งมีฌานอย่างใดอย่างหนึ่งแห่ง
ทุติยฌานเป็นต้นเป็นบาทแม้มรรคที่๒เป็นต้นก็มีฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งทุติยฌานเป็นต้นเป็นบาทบ้างมีปฐมฌานเป็นบาทบ้าง. มรรคทั้ง๔ว่า
โดยฌานเหมือนกันก็มีต่างกันก็มีเหมือนกันบางแห่งก็มีด้วยประการฉะนี้.
นี้เป็นความแผกกันแห่งมรรคนั้นโดยกำหนดโดยฌานที่เป็นบาท. พึงทราบ
อธิบายโดยกำหนดด้วยฌานเป็นบาทก่อนมรรคที่เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ได้
ปฐมฌานออกจากปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่ามีปฐมฌานเป็นบาท.
ก็องค์แห่งมรรคและโพชฌงค์ย่อมบริบูรณ์ในปฐมฌานนี้โดยแท้. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ได้ทุติยฌานออกจากทุติยฌานแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่า
มีทุติยฌานเป็นบาท. ส่วนองค์มรรคในทุติยฌานนี้มี๗ประการ. มรรคที่เกิด
แก่พระโยคาวจรผู้ออกจากตติยฌานแล้วเจริญวิปัสสนาอยู่ชื่อว่ามีตติยฌานเป็น
บาท. ส่วนองค์มรรคในตติยฌานนี้มี๗แต่โพชฌงค์มี๖ประการ. สำหรับพระ-
โยคาวจรผู้ออกจากจตุตถฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะก็นัยนี้เหมือนกัน.
ฌานหมวด๔และหมวด๕ย่อมเกิดในอรูปและฌานนั้นท่านกล่าวว่าเป็น
โลกุตตระไม่ใช่โลกิยะ. ถามว่าในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นนี้เป็นอย่างไร. ตอบว่า
ในฌานมีปฐมฌานเป็นต้นแม้นี้พระโยคาวจรนั้นออกจากฌานใดแล้วได้โสดา-
ปัตติมรรคเจริญอรูปสมาบัติแล้วเกิดในอรูปภพมรรคทั้ง๓มีฌานนั้นเป็นบาท
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่365
เกิดขึ้นแก่พระโยคาวจรนั้นในอรูปภพนั้น. ท่านกำหนดมรรคที่มีฌานเป็นบาท
อย่างเดียวด้วยประการฉะนี้. แต่พระเถระบางเหล่ากล่าวว่ากำหนดขันธ์เป็น
อารมณ์แห่งวิปัสสนา. บางเหล่าก็ว่ากำหนดอัธยาศัยบุคคล. บางเหล่าก็ว่ากำหนด
วิปัสสนาอันเป็นวุฏฐานคามินี. วินิจฉัยวาทะของพระเถระเหล่านั้นพึงทราบ
ตามนัยที่ท่านกล่าวไว้ในอธิการว่าด้วยวุฏฐานคามินีวิปัสสนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
คำว่าอยํวุจฺจติภิกฺขเวสมฺมาสมาธิดูก่อนภิกษุทั้งหลายนี้เรียกว่า
สัมมาสมาธิความว่าธรรมนี้เบื้องต้นเป็นโลกิยะเบื้องหลังเรียกว่า
โลกุตตระสัมมาสมาธิ.
คำว่าอิติอชฺญตฺตํวาหรือภายในเป็นต้นความว่าพิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมทั้งหลายเพราะกำหนดสัจจะ๔ของตนของคนอื่นหรือเพราะ
กำหนดสัจจะ๔ของตนตามกาลของคนอื่นตามกาลอย่างนี้อยู่. ส่วนความ
เกิดและความเสื่อมในสัจจบรรพนี้พึงทราบโดยความเกิดและความหมดไปแห่ง
สัจจะ๔ตามเป็นจริง. คำอื่นนอกจากนี้มีนัยดังกล่าวมาแล้ว.
สติกำหนดสัจจะ๔เป็นอริยสัจ
แต่ในสัจจบรรพนี้ต่างกันอย่างเดียวคือพึงประกอบความอย่างนี้ว่า
สติกำหนดสัจจะ๔เป็นอารมณ์เป็นทุกขสัจเป็นต้นแล้วพึงทราบว่าเป็น
ทางปฏิบัตินำออกจากทุกข์ของภิกษุผู้กำหนดสัจจะเป็นอารมณ์. คำที่เหลือก็
เหมือนกันแล.
จบสัจจบรรพ
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่366
สรุปความ
ด้วยลำดับคำมีประมาณเพียงเท่านี้กัมมัฏฐาน๒๑คืออานาปาน-
บรรพ๑จตุอิริยาบถบรรพ๑จตุสัมปชัญญบรรพ๑ทวัตดึงสาการ๑จตุธาตุ-
ววัฏฐานะ๑สีวถิกา๙เวทนานุปัสสนา๑จิตตานุปัสสนา๑นีวรณปริคคหะ๑
ขันธปริคคหะ๑อายตนปริคคหะ๑โพชฌงคปริคคหะ๑สัจจปริคคหะ๑.
บรรดากัมมัฏฐาน๒๑นั้นกัมมัฏฐาน๑๑คืออานาปาน๑ทวัตดึง-
สาการ๑สีวถิกา๙เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. แต่พระมหาสิวเถระผู้รจนาคัมภีร์
ทีฆนิกายกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสีวถิกา๙โดยอาทีนวานุปัสสนา.
เพราะฉะนั้นตามมติของท่านอานาปานะและทวัตดึงสาการ๒เท่านั้น
เป็นอัปปนากัมมัฏฐาน. ที่เหลือเป็นอุปจารกัมมัฏฐานถามว่าความตั้งมั่น
เกิดในกัมมัฏฐานนั้นทั้งหมดหรือไม่เกิดตอบว่าไม่ใช่ไม่เกิดความตั้งมั่นไม่เกิด
ในอิริยาบถสัมปชัญญะนีวรณ์และโพชฌงค์เกิดในกัมมัฏฐานที่เหลือ. ส่วน
พระมหาสิวเถระกล่าวว่าความตั้งมั่นย่อมเกิดในกัมมัฏฐานแม้เหล่านั้น
(ทั้งหมด) เพราะพระโยคาวจรนี้ย่อมกำหนดอย่างนี้ว่าอิริยาบถ๔มีแก่เรา
หรือไม่หนอสัมปชัญญะ๔มีแก่เราหรือไม่หนอนีวรณ์๕มีแก่เราหรือไม่
หนอโพชฌงค์๗มีแก่เราหรือไม่หนอดังนี้เพราะฉะนั้นความตั้งมั่นย่อม
เกิดในกัมมัฏฐานทั้งหมด.
อานิสงส์
คำว่าโยหิโกจิภิกฺขเวความว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ใด
ผู้หนึ่งไม่ว่าภิกษุหรือภิกษุณีอุบาสกหรืออุบาสิกา. คำว่าเอวํภาเวยฺย
ความว่าพึงเจริญตามลำดับภาวนาที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้น. คำว่าปาฏิกงฺขํ
ความว่าพึงหวังได้พึงปรารถนาได้เป็นแน่แท้. คำว่าอญฺญาหมายถึง
พระสุตตันตปิฎกทีฆนิกายมหาวรรคเล่ม๒ภาค๒- หน้าที่367
พระอรหัต. คำว่าสติวาอุปาทิเสเสความว่าเมื่ออุปาทิเสสวิบากขันธ์
ที่กิเลสมีตัณหาเป็นต้นเข้าไปยึดไว้เหลืออยู่ยังไม่สิ้นไป. คำว่าอนาคามิตา
แปลว่าความเป็นพระอนาคามี. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่
คำสั่งสอนเป็นธรรมนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์โดย๗ปีอย่างนี้แล้วเมื่อจะ
ทรงแสดงเวลา(ปฏิบัติ) ที่น้อยไปกว่านั้นอีกจึงตรัสว่าติฏฺฐนฺตุภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย๗ปีจงยกไว้ดังนี้เป็นต้น. ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดตรัสโดย
เวไนยบุคคลปานกลาง. แต่ที่ตรัสว่าบุคคลรับคำสั่งสอนเวลาเช้าบรรลุคุณวิเศษเวลาเย็นรับคำสั่งสอนเวลาเย็นบรรลุคุณวิเศษเวลาเช้าดังนี้ทรงหมายถึงบุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่าคำสั