การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร (ตอน 1)


การตั้งสติให้รู้จักตนเองแล้วพิจารณาทบทวนบทบาทตนเองในการปฎิบัตงาน
จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดหนึ่งที่นำร่องในการดำเนินการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาตั้งแต่ปี 2548 ในการดำเนินงานครั้งแรกทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระการปฎิบัติงาน เป็นงานชิ้นใหม่ที่มาเพิ่มให้เราดำเนินการ แต่มีดำเนินการมาแล้ว 2 ปี ทำเราเริ่มเข้าใจและมีความรู้สึกว่า การจัดการความรู้เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่มาช่วยในการปฎิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น เป็นเครื่องมือสร้างทีมงานได้เป็นอย่างดี ในปี 2548 สำนักงานเกษตรจังหวัดดำเนินการในระดับเจ้าหน้าที่ โดยนำ KM มาใช้กับการปฎิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร แล้วขยายวงดำเนินการไปถึงเกษตรกรในปี 2549 จากการดำเนินงาน KM กับระบบส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านมากับเจ้าหน้าที่ทำให้มองเห็นแนวทางในการดำเนินงานพัฒนาประสิทธิภาพเจ้าหน้าที่ จึงนำหลักการ KM มาปรับใช้ในปี 2549 สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือเรื่องการปรับบทบาทของตัวเจ้าหน้าที่ ดังนี้ 1 ปรับบทบาทเกษตรอำเภอ ในการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร เกษตรอำเภอจะทำหน้าที่ประธานในการประชุมประจำเดือนสำนักงานเกษตรอำเภอ (DW) ซึ่งเกษตรอำเภอมักจะคุ้นเคยกับการปฏิบัติที่ผ่านมาหลายปี ตั้งแต่เริ่มระบบส่งเสริมการเกษตร กล่าวคือ มักจะนำงานนโยบายงานที่จังหวัดสั่งการมา สั่งการต่อไปในที่ประชุม มักจะทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมาโดยเน้นที่ตัวปัญหาอย่างเดียว หรือในบางครั้งชี้แจงงานที่จะต้องนำไปปฏิบัติมักจะถกเถียงกันเรื่องปัญหา ทั้งๆที่งานนี้ยังไม่ได้เกิดการปฏิบัติ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่เกิดความท้อแท้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับบทบาทเกษตรอำเภอจากผู้สั่งการอย่างเดียว มาเป็นผู้กระตุ้นให้ทีมงานแสดงความคิดเห็นให้มีส่วนร่วม เปิดเวทีให้เกษตรตำบลได้แสดงศักยภาพให้โอกาสแสดงผลการปฏิบัติงานที่ประสบผลสำเร็จ (Best practice) ให้เจ้าหน้าที่ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากทีมงาน แล้วค่อยสรุปหรือสั่งการในตอนท้ายคอยติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผลเป็นอย่างไร นำมาทบทวนอีกครั้ง (After Action Review : AAR) เมื่อมีความมั่นใจว่าเทคนิคการปฏิบัติงานนั้นประสบผลสำเร็จจริงก็บันทึกเรื่องเล่าไว้เป็นคลังความรู้ (Knowledge Asset) ต่อไป กล่าวโดยสรุปก็คือ เกษตรอำเภอควรปรับบทบาทจากการเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว มาเป็นผู้อำนวยการ (CKO) เป็นผู้จัดการความรู้ให้เกิดปัญญา เปิดโอกาสให้ทีมงานได้แสดงศักยภาพ เพื่อแก้ไขปัญหา แทนการเน้นปัญหาอย่างเดียวเหมือนที่เคยปฏิบัติมา
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 51233เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • เป็นการนำ KM  ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตร
  • ถ้ามีผลสรุปแล้วน่าจะมา ลปรร.ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อจังหวัดอื่น ๆ ด้วย
การทบทวนบทบาทหน้าที่ตามที่เข้าใจ น่าจะถูกต้องแล้ว แต่การทบทวนคงจะต้องมองสิ่งที่จะทบทวนให้สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลง นโยบาย แผนงานที่เป็นแผนงานหลัก ขอแสดงความยินดีด้วย จะเป็นกำลังใจให้ และฝากไว้ว่า การทบทวนจะต้องทบทวนทั้งบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท