ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

วัยกับการบริหารเวลา


วัยกับการบริหารเวลา

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

  วัยกับการบริหารเวลา ในชีวิตของคนเราทุกๆคน
มักมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันกล่าวคือ เมื่อเราเกิดมาเราต้องผ่านวัยต่างๆ เช่น
วัยเด็ก วัยเรียน วัยทำงาน วัยชรา ซึ่งเราสามารถแบ่งออกเป็นช่วงๆ
โดยมีความสัมพันธ์กับอายุได้ดังนี้

อายุ 1-25 ปี 
เป็นวัยที่มีความสนุกสนาน วัยศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องรับผิดชอบในเรื่องการหาเงินเลี้ยงชีพมากนัก
ซึ่ง เราจำเป็นจะต้องเรียนให้ดีและให้ได้มากที่สุด
ซึ่งบุคคลใดที่มีความตั้งใจศึกษาเล่าเรียน บุคคลนั้นก็มักจะได้มีการงานอาชีพที่ดีและมั่นคงในอนาคต

อายุ 25-50 ปี เป็นวัยทำงาน เราต้องลองผิดลองถูก ท่านจึงไม่ควรกลัวความล้มเหลว
กลัวความผิดหวังมากนัก เพราะหากท่านเกิดความกลัวมากๆ ท่านก็จะไม่กล้าริเริ่มทำอะไรใหม่ๆให้กับชีวิตเลย
วัยนี้ เราต้องเรียนรู้ เราต้องฝึกหัดหาประสบการณ์
อีกทั้งต้องหาเงินเพื่อสร้างฐานะตนเองและครอบครัว ช่วงวัยนี้หากใคร ขยันทำงาน
มีความสามารถในการหาเงินเก่ง ก็จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงต่อไป เกิดความสุขความสบาย

อายุ 50-60 ปี เป็นวัยที่ บุคคลหลายๆคนประสบความสำเร็จในชีวิต
บางคนได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในตำแหน่งสูงๆ วัยนี้เป็นวัยที่เราสามารถช่วยเหลือสังคมได้มากกว่าวัยอื่นๆ
เช่น หลายคนรับราชการเมื่อใกล้อายุ 60 ปี
มักจะได้รับตำแหน่งบริหารในระดับต่างๆ อาทิ ปลัดกระทรวง อธิบดี  พลเอก พลตำรวจเอก บางคนดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเกษียณอายุในที่สุด

อายุ 60-80 ปี เป็นวัยพักผ่อน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลานสำหรับคนอายุในวัยนี้ ไม่ควรเครียดให้มาก
เพราะจะทำให้สุขภาพกาย สุขภาพใจเสียได้ง่าย และทำให้อายุไม่ยืนยาว บางคนอยู่ในช่วงนี้ยังไม่ย่อมปล่อยวาง
ไม่ยอมส่งมอบกิจการให้กับลูกหลาน จึงทำให้เกิดความทุกข์ ก็เนื่องจากการแบกรับภาระ

อายุ 80 ปีขึ้นไป เป็นวัยพลัดพราก หรือเป็นวัยที่ละสังขาร
หลายคนอาจอยู่ไม่ถึง แต่ถ้าหากใครอยู่ถึง 80 ปี
ขึ้นไปก็นับได้ว่า ท่านได้กำไรชีวิต ท่านควรรักษาสุขภาพให้ดีที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ลูกหลานในการที่จะต้องมาคอยดูแล
รักษาพยาบาลร่างกายของท่าน

 

  ดังนั้น
หากใครสามารถดำเนินชีวิตตามวัยได้ บุคคลผู้นั้นจะประสบความสำเร็จได้ดีกว่าบุคคลที่ไม่รู้จักใช้ชีวิตให้ไปตามวัย
เช่น หากใครอยู่ในอายุ
1-25
ปี แล้วไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน
เรียนไม่จบก็จะกระทบกับวัยอื่นๆไปด้วย กล่าวคือ อายุ 25-50 ปี ท่านจะได้ทำงานในอาชีพที่ไม่สู้จะดีนัก
เมื่อท่านมีหน้าที่การงาน อาชีพที่ไม่ดี
ท่านก็จะได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนในระดับที่ไม่สูงนัก


เมื่อท่านมีรายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย ก็จะทำให้ช่วง อายุ 50-60 ปี ท่านจะไม่ประสบความสำเร็จไปด้วย
เนื่องจากถ้าหากคนเราเสียเรื่องเงินก็จะทำให้เรื่องอื่นๆมีปัญหาไปด้วย
บางคนต้องถูกฟ้องล้มละลาย ก็เพราะการใช้เงินที่เกินตัว อายุ 60-80 ปี แทนที่ท่านจะได้พักผ่อน เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน
ท่านจำเป็นจะต้องหาเงินมาใช้หนี้สิน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่านเกิดความเครียดและทำให้ท่านพลัดพรากไปเร็วกว่าเวลาที่ควร


  สำหรับข้อความข้างต้น
เป็นข้อความที่นำเสนอภาพรวมที่เกี่ยวกับเรื่องวัยกับการบริหาร แต่ทั้งนี้ หลายคนไม่ได้ดำเนินชีวิตตามวัยในข้อความข้างต้น
แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ จึงข้อสรุปว่า
ความสำเร็จของคนเราขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือ ตัวเราเอง
เพราะบางคน ช่วงอายุ
1-25
ปี 
แต่ไม่มีโอกาสเรียนเนื่องจากฐานะทางบ้านยากจน บางคนไม่ชอบเรียนในระบบ
ต้องออกไปเรียนนอกระบบ แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จในระดับสูงได้เช่นกัน




หมายเลขบันทึก: 512251เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท