สิ่งที่พบในสวนปาล์มน้ำมัน(๑)


พบมีปัญหาในการปลูกปาล์มฯที่หลากหลายและแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป

          นับตั้งแต่ห้วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๕ ทีมงาน ได้ลงไปทำการศึกษาสภาพการปลูกปาล์มน้ำมัน  ของเกษตรกรที่ปลูกปาล์มฯไปแล้วหลายราย  พบว่าอายุของสวนปาล์มมีตั้งแต่ ๒ ปีเศษ ถึง ๗ ปีเลยทีเดียวแต่ก็พบมีปัญหาในการปลูกปาล์มฯที่หลากหลายและแต่ละรายก็จะแตกต่างกันไป เป็นต้นว่า บางรายยังขาดความรู้ในการคัดเลือกพื้นที่ปลูกรวมถึงการปรับพื้นที่ปลูกปาล์ม หากจะพูดง่ายๆก็คือบางรายยังขาดการมองถึงความเหมาะสมของแปลง/พื้นที่ปลูกปาล์มนั่นเอง


         



       


                 มีเกษตรกรบางรายสภาพพื้นที่ปลูกค่อนข้างจะมีความสมบูรณ์พอที่จะปลูกปาล์มฯ แต่ก็ขาดการวางแผนการปลูกว่าจะปลูกแบบยกร่อง หรือปลูกในแปลงนาหรือในแปลงที่เคยปลูกพืชไร่มาก่อน  ประเด็นเหล่านี้ เกษตรกรที่ตัดสินใจจะปลูกปาล์มฯจะต้องศึกษามาแล้วตั้งแต่เริ่มต้นจะตัดสินใจในการปลูกปาล์มฯ มิใช่ว่า ทำการปลูกปาล์มไปแล้ว ไปสักระยะหนึ่ง เมื่อเห็นเพื่อนบ้านปลูกแบบยกร่อง ตนเองจึงต้องการปรับเปลี่ยนระบบจากที่ปลูกเดิมโดยหันไปปรับเปลี่ยนพื้นที่ในการย่องร่องภายหลังไปแล้ว ทั้งๆที่ระบบการวางผังปลูกเดิมมันดีอยู่แล้ว

                              


                  นอกจากนี้ ยังมีเกษตรกรปลูกรายที่ปลูกปาล์มฯในระบบร่องส้มเดิม โดยไม่มีการปรับปรุงระบบร่องหรือแปลงปลูกใหม่ ซึ่งมีความกว้างของสันแปลงคือกว้างประมาณ ๒ เมตร เมื่อตัดสินใจทำการปลูกปาล์มฯไปแล้ว เมื่อต้นปาล์มมีอายุหลายปีขึ้น ระบบของรากก็จะขยายไปได้เท่าความกว้างของสันแปลงที่มีอยู่เท่านั้น จึงยากต่อการที่จะต้องเติมหรือทำการใส่ปุ๋ยและธาตุอาหาร ในระยะปลายราก

                                   


                 ยังมีบางแปลง ได้ทำการปลูกปาล์มไปแล้ว อายุต้นปาล์มประมาณ ๖-๗ ปี ปล่อยให้สวนปาล์มมีวัชพืชขึ้นรกมาก ซึ่งจะเป็นที่อยู่ของหนู ซึ่งเป็นสัตว์ศัตรูที่สำคัญตัวหนึ่งของปาล์ม

                 ผลจะเป็นอย่างไรหรือไม่ จะยากต่อการจัดการแปลงโดยเฉพาะการให้ปุ๋ยและธาตุอาหารแก่ต้นปาล์มหรือไม่ จำเป็นที่จะต้องรอดูไปสักระยะหนึ่งก่อนนะครับว่าผลของการเจริญเติบโตของต้น การติดผล จะเป็นอย่างไร ซึ่งยังมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาเก็บข้อมูลในประเด็นนี้ต่อไป



               สำหรับประเด็นปัญหาอื่นๆที่พบเช่น พันธุ์ปาล์มที่ปลูก การให้น้ำ การขาดธาตุอาหาร โรคและแมลง รวมถึงสัตว์ศัตรูของปาล์ม การติดผลของปาล์ม ความสมดุลของปริมาณเกสรตัวผู้และปริมาณเกสรตัวเมีย การร่วงหล่นของผลปาล์ม การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการขนส่ง ผู้เขียนจะนำเสนอในตอนต่อๆไป หากท่านใด มีประสบการณ์ ความรู้ในการปลูกปาล์มน้ำมันรวมถึงการแก้ไขปัญหาของการผลิตปาล์มน้ำมันก็ขอเชิญแลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำด้วย จะขอขอบคุณมา ณ. โอกาสนี้นะครับ

เขียวมรกต
๑๔ ธค.๕๕



หมายเลขบันทึก: 511984เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2012 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

  • โอ้..อาจารย์เขียวมรกต ดีมากเลย
  • น่าจะลองใช้Cause and effect Diagram หรือที่พวกเราถนัดใช้กันคือ ผังก้างปลา(Fish Bone Diagram) ซึ่งง่ายต่อการปฏิบัติ ที่จะทำให้พวกเราเห็นและแยกแยะความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาและสาเหตุ ได้ชัดเจน และครอบคลุมได้มากขึ้นน๊ะครับอาจารย์

  • ขอบคุณท่านอาจารย์สามสัก
  • ที่ได้ให้คำแนะนำดีๆมีประโยชน์มากครับ
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาจารย์

  • ขอบคุณ  เมืองน่ารัก
  • ที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจกัน

สวัสดีค่ะท่าน Ico48 เขียวมรกต  หวังว่าท่านคงจะสบายดีนะคะ

ได้อ่านบันทึก พบปัญหาในสวนปาล์มน้ำมันแล้วค่ะ  ทำให้ได้ความรู้บ้างค่ะ

แถวๆ  บ้านครูทิพย์   ทำนาค่ะ ถ้าเรื่องการทำนาพอรู้บ้างค่ะแต่ก็เลิกมาหลายปีแล้วค่ะ

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันให้อ่านค่ะ   

-สวัสดีครับ..

-ตามมาศึกษาเรื่องปาล์ม..

-ขอบคุุณครับ

   มาศึกษาเรื่องปาล์มค่ะ   

  • ขอบคุณ ครูทิพย์
  • ที่แวะมาเยี่ยมและทักทายกัน
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณ อ.เพชรน้ำหนึ่ง
  • ที่แวะมาทักทายกันเสมอมา
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณ KRUDALA
  • ที่แวะมาเยี่ยมและทักทายกัน
  • ยินดีครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท