ต้นทุนลดงดใช้ยาฆ่าแมลง


มีรายงานเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของชาวไร่ชาวนาหรือพี่น้องเกษตรกรมากมาย ทั้งตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหรือรายงานการวิจัยการใช้สารเคมีการเกษตรจากห้องสมุดภาควิชาส่งเสริมการเกษตรหรือห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขนที่ส่วนใหญ่สิ้นเปลืองต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตไปกับสารพิษเหล่านี้ค่อนข้างมาก อีกทั้งหาซื้อง่ายใช้สะดวก รวดเร็วง่ายต่อการป้องกันกำจัด อีกทั้งภาครัฐยังนิยมส่งเสริมให้มีการนำเข้าอย่างไม่บันยะบันยังปีละหลายแสนล้านบาท แต่ในเชิงการส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพและสมุนไพรหาง่ายในท้องถิ่นของกลุ่มเกษตรกรและปราชญ์ชาวบ้าน บรรดาท่านๆก็ออกมาสร้างกฎสร้างเกณฑ์ให้ทำให้มีขั้นตอนการปฏิบัติที่ยุ่งยากและต้นทุนสูง ต้องระดมกะเกณฑ์ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดฯลฯ ออกมาอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุอันตราย จะทำจะใช้จะผลิตต้องขออนุญาติ เกษตรกรจะลองผิดลองถูกเพื่อให้เหมาะสมกับแปลงปลูกในท้องถิ่นของตนเองก็รู้สึกว่าไม่สะดวกสบาย เมื่อได้ผลดีจะผลิตแบ่งปัน จำหน่าย จ่ายแจกสมาชิกในกลุ่มก็ไม่ได้ นีกแล้วก็นึกถึงการพลาดโอกาสครั้งสำคัญของภูมิปัญญาชาวบ้านในอดีตไม่ได้ ที่รัฐบาลกะเกณฑ์ให้ น้ำกระแช่ สาโท น้ำตาลเมาของไทยเราผิดกฎหมาย ชาวบ้านไม่สามารถแข่งขันประชันฝีมือได้ มิฉะนั้นไม่แน่ไวน์ฝรั่งเศสและเบียร์เยอรมันอาจจะสู้พี่ไทยอย่างเราก็ไม่ได้

ออกทะเลไปเสียไกลขอย้อนกลับมาเรื่องการใช้ยาฆ่าแมลงอีกที เนื่องด้วยความคุ้นชินของเกษตรกรที่มักนิยมชมชอบความสะดวกสบายรวดเร็วจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นได้ค่อนข้าง เนื่องด้วยยังขาดความรู้ความเข้าใจในการทำเกษตร ว่าต้องอาศัยปัจจัยหลายๆด้านทั้ง ดิน น้ำ อากาศ แสงแดดและอาหารที่ประกอบด้วยธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริมและเสริมประโยชน์ เพื่อให้พืชเจริญเติบอย่างสมบูรณ์แข็งแรงแบบธรรมชาติ ลดความอ่อนแอเจ็บป่วยช่วยให้การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุลดน้อยถอยลง (ไม้ต้องใช้ยาฆ่าหนอน แมลง เพลี้ย หนอน รา ไร ให้มากเกินควร)

จึงทำให้องค์ความรู้ในการผลิตพืชผักแบบปลอดสารพิษมีน้อย และเมื่อทำเป็นอาชีพประกอบธุรกิจผลิตเพื่อจำหน่ายส่งขายไปยังพ่อค้า ไม่ว่าจะเป็นตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง เกษตรกรไม่กล้าที่จะทำแบบปลอดสารพิษหรืออินทรีย์เพราะเกรงกลัวว่าผลผลิตจะเสีย ไม่มั่นใจว่าสารชีวภัณฑ์สารชีวภาพต่างๆจะมีความสามารถที่จะช่วยเหลือปกป้องพืชไร่ไม้ผลของตนเองได้ ยิ่งกลัว ยิ่งไม่มั่นใจ ยิ่งไม่ใช้ก็ยิ่งห่างไกลองค์ความรู้ ห่างไกลความเป็นของธรรมชาติที่อาศัยหลักพึ่งพิงอิงอาศัยซึ่งกันและกันโดยไม่ทำลายหรือใส่สิ่งแปลกปลอม จึงจะสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนและยาวนาน ผู้อ่านท่านใดสนใจอยากจะทำเกษตรแบบปลอดสารพิษติดต่อสอบถามมายังเจ้าหน้าที่ชมรมฯได้ที่ 0-2986-1680-2

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 511833เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท