หัตถกรรม62 ที่ชัยภูมิ


 เมื่อเป็นตัวแทนเขต26 ในการประกวดโครงงานคุณธรรมที่ชัยภูมิ

ไม่คิดว่าจะได้รางวัลอะไร  แต่ที่ได้เกินเป้าคือเด็กได้สร้างองค์ความรู้เอง วางแผนเดินทางเอง


แต่ มีจิตอาสาเกิดขึ้นในตัวเขา

เมื่อครูโยนคำถามว่า ถ้าปี58 อาเซียนเข้ามาเราจะทำอย่างไร

ภาพที่ได้เกินเป้าที่ครูตั้งไว้

เขาคือผู้ที่อยู่ในโลกของอาเซียน ตัวเล็กๆ สามารถเขียนอักษรธรรมอีสานได้

เอกลักษณ์ที่เราจะชูในโลกอาเซียน

ผิดหวังนิดหนึ่งที่ผู้ประเมินถามหาหลักฐานที่เป็นตัวยืนยันว่าแต่ละวันมีเพื่อนมาเรียนด้วยเท่าไร

ขอบคุณศูนย์อนุรักษ์ใบลานมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่สืบทอดความรู้

ที่มาและความสำคัญ

ภายในปี พ.ศ. 2558  เป็นปีที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายใต้กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยสามเสาหลักคือหลักความมั่นคง หลักด้านเศรษฐกิจ และหลักด้านวัฒนธรรม อาจเป็นผลส่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิถีชีวิตของคน ทรัพยากรธรรมชาติ  สังคมและวัฒนธรรม ของคนไทยอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้  มหาสารคามเป็นจังหวัดที่ไม่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน  การเตรียมความพร้อมรับอาเซียนที่ดีที่สุดคือการดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ ที่เป็นภูมิรู้ของเรา  ที่สำคัญคืออักษรธรรมอีสานโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมเป็นหนึ่งโรงเรียนที่ได้เข้ารับการพัฒนาการเรียนรู้อักษรธรรมอีสานจากศูนย์อนุรักษ์ใบลานของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของเรา

ภายใต้โลกไร้พรมแดนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่แทรกซึมวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจ  ทำให้ผู้ปกครอง มีเวลากับบุตรน้อยลงทำให้บุตรขาดความอบอุ่น อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ได้แก่พฤติกรรมหนีเรียน โดดเรียน ติดเกม  บุคคลที่เข้ามามีบทบาทใกล้ชิดกับเด็กมากคือเพื่อน

โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคมมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้เพราะเป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น อยากลอง ความคึกคะนอง ต้องการให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน  ดังนั้นทางกลุ่มฮักนะเชียงยืนจึงร่วมมือกันทำโครงงานนี้ขึ้นมาเพื่อลดเลิกพฤติกรรมหนีเรียน โดดเรียน ติดเกม สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว รวมทั้งทำประโยชน์ให้กับชุมชนด้วยจิตอาสา ส่งผลให้ชุมชนเข้มแข็ง บนพื้นฐานของการดำเนินชีวิตตามหลักพุทธธรรมและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ 

๑. เพื่อลดพฤติกรรมการหนีเรียน การหนีแถว และการติดเกม ของเยาวชน

๒. เพื่อการมีส่วนร่วมจิตอาสาครอบครัวอบอุ่น

๓. เพื่ออนุรักษ์อักษรธรรมอีสานสร้างความตระหนักในภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔. ประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน

ขอบเขตการศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมายเชิงปริมาณ 

๑.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม  อำเภอเชียงยืน

  จังหวัดมหาสารคาม  จำนวน ๓๐ คน

๒ เยาวชนบ้านแบก  อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๑๕ คน

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

๑. นักเรียนโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ลดพฤติกรรมการหนีเรียน การหนีแถว และการติดเกมและมีค่านิยมที่ถูกต้อง

๒. เยาวชนกลุ่มเป้าหมายลดพฤติกรรมการติดเกม และมีค่านิยมที่ถูกต้อง

สถานที่ในการทำโครงงานและระยะการทำงาน

ระยะการทำงาน

ระยะที่ ๑  ในห้วงเดือนมิถุนายน ถึง เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

ระยะที่ ๒ ในห้วงเดือนกันยายน ถึง เดือน ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๕๕

สถานที่ทำโครงงาน  - โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม 

    - ชุมชนบ้านแบก  อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม


https://skydrive.live.com/?cid=424589c700a18b0f#!/?qt=mru!cid=424589C700A18B0F&id=424589C700A18B0F!175






หมายเลขบันทึก: 511445เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2012 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

น่าสนใจมากเลยครับ เด็กๆๆจะได้รักษาอักษรธรรมของตนเองไว้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท