รายงานผลการปฏิบัติงานศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ปีงบประมาณ 2549


รายงานผลการปฏิบัติงานศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ปีงบประมาณ 2549

                                                            รายงานผลการปฏิบัติงาน
                                                      ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
                                               สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2
                                                              ปีงบประมาณ 2549
                                                      ---------------------------------
                                               นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์ นักวิชาการศึกษา 8 ว.
                                                      ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
                                              สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2
                                          สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

คำนำ
     รายงานผลการปฏิบัติงาน ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ปีงบประมาณ2549 ประกอบด้วยรายงานโครงการ / กิจกรรมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 
     1. รายงานผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา   
     2. รายงานผลการปฏิบัติงาน การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2549 
     3. รายงานผลการจัดการความรู้ การจัดงานมหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ พ.ศ.2549 
     4. รายงานผลการจัดการความรู้ การศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ในชุมชน 
     5. รายงานผลการจัดการความรู้ การศึกษานอกโรงเรียนเพื่อพัฒนาอาชีพ 
     6. รายงานผลการจัดการความรู้ การประเมินโครงการ (Project Evaluation) 
     7. รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนตากพิทยาคม ปีการศึกษา 2549 
     8. รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนผดุงปัญญา ปีการศึกษา 2549 
     9. รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 ปีการศึกษา 2549
     10. สารองค์ความรู้ทางการศึกษา การจัดการความรู้ (Knowledge Management) 
     ผู้รายงานหวังว่า รายงานผลการปฏิบัติงาน ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ปีงบประมาณ 2549 เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน สถานศึกษา กลุ่ม / ฝ่ายงานต่าง ๆ ตามสมควร 
          
                                                                  นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์ 
                                                     ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สตร.ข.2

หลักการและเหตุผล 
     พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546ในมาตรา 11 ระบุไว้ว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมการพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด เพื่อให้บุคลากรที่มีประสิทธิภาพ.......” สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 เป็นในฐานะองค์กรในการส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 2 และเขตตรวจราชการที่ 3 ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาขึ้น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการความรู้ การวิจัยและพัฒนาการประชาสัมพันธ์และให้บริการทางการศึกษา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์ 
     เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา โดยการจัดการความรู้ วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการศึกษา การประชาสัมพันธ์และให้บริการองค์ความรู้ทางการศึกษาให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงาน สถานศึกษาและชุมชนที่เกี่ยวข้อง เป้าหมาย เป้าหมายการดำเนินงาน มีดังต่อไป 
     1. ดำเนินการจัดการความรู้บุคลากรในสำนักงาน ฯ เดือนละ 1 ครั้ง ปีละ 12 ครั้ง
     2. วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการศึกษา จำนวน 1 เรื่อง
     3. จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ “สารองค์ความรู้ทางการศึกษา” เดือนละ 1 ครั้ง
     4 จัดป้ายนิเทศและนิทรรศการองค์ความรู้ทางการศึกษา ตลอดปีงบประมาณ
     5. นำเสนอผลงานทางวิชาการของบุคลากร ตลอดปีงบประมาณ 
     6. พัฒนาจัดทำ Website และ Weblog ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
     7. ส่งเสริมและสนับสนุน การปฏิบัติงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานสถาน ศึกษา กลุ่มและฝ่ายงานของ สตร.ข.2 ตลอดปีงบประมาณ

วิธีการดำเนินงาน 
     1. ดำเนินการจัดการความรู้ โดยค้นหาความรู้ฝังลึกในตัวคน และแหล่งความรู้ต่าง ๆ 
     2. วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการศึกษา เขตตรวจราชการที่ 2 และ 3 
     3. ประชาสัมพันธ์และให้บริการองค์ความรู้ทางการศึกษาแก่บุคลากรและสถานศึกษา 
     4.จัดป้ายนิเทศและนิทรรศการองค์ความรู้ทางการศึกษาในการเสริมสร้างการเรียนรู้ 
     5. นำเสนอผลงานทางวิชาการของบุคลากรในฝ่าย/กลุ่มงาน หรือหน่วยงานอื่น ๆ 
     6. พัฒนาจัดทำ Website และ Weblog ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา 
     7. ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ของหน่วยงานสถาน ศึกษา กลุ่มและฝ่ายงานของ สตร.ข.2 ตลอดปีงบประมาณ

ผลการดำเนินงาน
      1. จัดการความรู้บุคลากรในสำนักงาน ฯ เดือนละ 1 ครั้ง ปีละ 12 ครั้ง 
      2. วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการศึกษา จำนวน 1 เรื่อง 
      3. จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ “สารองค์ความรู้ทางการศึกษา” เดือนละ 1 ครั้ง 
      4. จัดป้ายนิเทศและนิทรรศการองค์ความรู้ทางการศึกษา ตลอดปีงบประมาณ 
      5. นำเสนอผลงานทางวิชาการของบุคลากร ตลอดปีงบประมาณ 
      6. พัฒนาจัดทำ Website และ Weblog ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
      7. ส่งเสริมและสนับสนุน การปฏิบัติงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ของหน่วยงาน สถานศึกษา กลุ่มและฝ่ายงานของ สตร.ข.2 ตลอดปีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน 
      ตุลาคม 2548 - กันยายน 2549

งบประมาณ
       สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 25,000 บาท

ปัญหาและอุปสรรค
       1. กิจกรรมมากและระยะเวลาจำกัดไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด
        2. บุคลากรที่ร่วมปฏิบัติงานส่วนมากมีภารกิจไม่สามารถมาร่วมปฏิบัติงานได้เต็มที่
        3. การพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาเป็นเรื่องใหม่ที่บุคลากรส่วนมากยังไม่เข้าใจ
        4. วัสดุครุภัณฑ์ค่อนข้างจำกัด ทำให้ศักยภาพในการดำเนินงานล่าช้า
        5. งบประมาณของโครงการ ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามเป้าหมาย

ข้อเสนอแนะ
        1. ปรับแผนการดำเนินกิจกรรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระยะเวลา
        2. แต่งตั้งคณะทำงานแต่ละกิจกรรมไป โดยขอความร่วมมือจาดกลุ่มฝ่ายต่าง ๆ
        3. สร้างความรู้ความเข้าใจการพัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษาแก่บุคลากร
        4. สำนักงานจัดวัสดุครุภัณฑ์สนับสนุน ทำให้ศักยภาพมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประโยชน์ที่สาธารณชนได้รับ ข้อมูลและสารสนเทศองค์ความรู้ทางการศึกษาที่จัดทำขึ้น เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา ของหน่วยงาน สถานศึกษาและชุมชนที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ดำเนินการต่อไปในอนาคต
       1. ดำเนินการจัดการความรู้ โดยค้นหาความรู้ฝังลึกในตัวคน และแหล่งความรู้ต่าง ๆ
       2. วิจัยและพัฒนาระบบการจัดการความรู้ทางการศึกษา เขตตรวจราชการที่ 2 และ 3
       3. ประชาสัมพันธ์และให้บริการองค์ความรู้ทางการศึกษาแก่บุคลากร และสถานศึกษา
       4. จัดป้ายนิเทศและนิทรรศการองค์ความรู้ทางการศึกษาในการเสริมสร้างการเรียนรู้
       5. นำเสนอผลงานทางวิชาการของบุคลากร ในฝ่าย/กลุ่มงาน หรือหน่วยงานอื่น ๆ
       6. พัฒนาจัดทำ Website และ Weblog ของศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา
       7. ส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

--------------------------------

                                          รายงานผลการปฏิบัติงาน การรายงานผลการดำเนินงาน     
                                                ตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2549 
                                                       นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์
                                          ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สตร.ข.2
                                              ---------------------------------------
หลักการและเหตุผล
        ตามที่สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 โดยให้ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กลุ่มแผนงานและประสานการตรวจราชการ กลุ่มติดตามและประเมินผล และกลุ่มเครือข่ายปฏิบัติการทางการศึกษา ได้เสนอโครงการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 นั้น เพื่อทราบผลการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 ของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 2. เพื่อรวบรวมรายงานผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในกลุ่ม / ฝ่ายงานต่าง ๆ ของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ต่อกระทรวงศึกษาธิการทุกไตรมาส เป้าหมาย 1. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 ของสำนัก ผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ปลายปีงบประมาณ 2. รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติราชการของบุคลากรในกลุ่ม/ฝ่ายงานต่าง ๆ ของสำนัก ผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ต่อกระทรวงศึกษาธิการทุกไตรมาส วิธีการดำเนินงาน 1. เสนอโครงการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 เพื่อพิจารณาอนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะอำนวยการและคณะทำงานรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ 3. ประชุมคณะอำนวยการและคณะทำงานรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ 4. รวบรวมผลการดำเนินงานโครงการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 5. รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 9. ระยะเวลาดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 รายงานภายในวันที่ 30 มกราคม 2549 ไตรมาสที่ 2 รายงานภายในวันที่ 10 เมษายน 2549 ไตรมาสที่ 3 รายงานภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ไตรมาศที่ 4 รายงานภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2549 งบประมาณ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 10,000 บาท ปัญหาและอุปสรรค 12.1 การแจ้งจากส่วนกลางไตรมาสที่ 1 ล่าช้ากว่ากำหนด ทำให้ต้องเร่งจัดทำรายงาน 12.2 ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจระบบการรายงานผลการดำเนินงานโดยเฉพาะรายงาน แบบ สงป.ต่าง ๆ ข้อเสนอแนะ 1. ส่วนกลางควรแจ้งรายงานไตรมาสที่ 1 ภายในวันที่ 10 มกราคม 2549 2. ประชุมอบรมเกี่ยวกับการรายงานผลการดำเนินงานให้บุคลากรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่สาธารณชนได้รับ หน่วยงาน สถานศึกษาและชุมชน ได้รับการรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2549 ของสำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2 เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษาต่อไป สิ่งที่ต้องดำเนินต่อไปในอนาคต รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2549 ---------------------------------- รายงานผลการจัดการความรู้ การจัดงานมหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ พ.ศ.2549 นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สตร.ข.2 --------------------------------------------------------------------------------------------------------- บทนำ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกิจกรรมรักการอ่าน 4 ภูมิภาค เป็นส่วนในกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน สำหรับเยาวชนที่สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ โครงการส่งเสริมรักการอ่านสำหรับภาคเหนือ ได้กำหนดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ในวันที่ 31 สิงหาคม ถึงวันที่ 1 กันยายน 2549 ณ โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูพิษณุโลก ในการนี้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ดำเนินการติดตามและประเมินผลการจัดงานดังกล่าว จึงได้มีคำสั่งคณะกรรมการติดตามประเมินผลการจัดงานมหกรรมรักการอ่านภาคเหนือขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และรายงานผลให้กระทรวงศึกษาธิการทราบต่อไป ในฐานะศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 มีหน้าที่ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารการศึกษา รวมทั้งการรายผลการดำเนินงานโครงการ จึงได้ไปศึกษา สังเกต สัมภาษณ์และสนทนากับผู้บริหาร 5 คน ครูอาจารย์ 12 คน บุคลากรทางการศึกษา 7 คน นักเรียน 21 คน ผู้ปกครอง 11 คนและประชาชนผู้สนใจ 4 คน รวมทั้งหมด 46คน และนำเสนอผลการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ มหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ มหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ จัดขึ้นตามโครงการ “มหกรรมรักการอ่าน 4 ภูมิภาค” ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในการส่งเสริมให้ “ปี 2549 เป็นปีแห่งการปฏิรูป การเรียนการสอน” ซึ่งเน้นให้เกิดการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน และการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ใฝ่เรียนให้เกิดขึ้นแก่เยาวชนไทย การจัดมหกรรมรักการอ่าน 4 ภูมิภาค จึงถือเป็นโอกาสในการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน สร้างขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน ของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา 17 จังหวัดภาคเหนือ กิจกรรมในงานประกอบด้วยการแข่งขันรักการอ่าน ถนนคนเรียน ศาลานิทรรศการ การประชุม อบรมและเสวนาวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศกับการอ่าน ท่องเที่ยวกับเยาวชนมัคคุเทศก์ แรลลี่รักการอ่าน การประกวดแข่งขันความสามารถของนักเรียนทุกช่วงชั้น กิจกรรม การจำหน่ายสินค้า เป็นต้น การแข่งขันรักการอ่าน การแข่งขัน คัดลายมือ อ่านร้อยแก้ว อ่านร้อยกรอง (ทำนองเสนาะ) เขียนเรียงความ แต่งคำประพันธ์ ร้องเพลงลูกทุ่ง ขับเสภาเทิดพระคุณแม่ ตอบคำถามสารานุกรมไทย กล่าวสุนทรพจน์ เล่านิทาน อ่านจับใจความ สวดมนต์สรภัญญะ วาดภาพประกอบแลเงาด้วยดินสอดำ วาดภาพระบายสี (สีโปสเตอร์) วาดภาพระบายสี (สีน้ำ) ประติมากรรมนูนต่ำ ประติมากรรมลอยตัว เป็นต้น ถนนคนเรียน แสดงกิจกรรม / ผลงาน นักเรียนดีเด่น เช่น การวาดภาพ การประดิษฐ์ภาพด้วย เศษวัสดุ การสร้างภาพด้วยเทคนิคการพิมพ์ภาพ การปั้นดินน้ำมัน ประติมากรรมนูนต่ำ / ลอยตัว การประดิษฐ์ด้วยดอกไม้แห้ง การประดิษฐ์เศษวัสดุเป็นของใช้ การประดิษฐ์ของที่ระลึกจากธรรมชาติ บายศรี เย็บถาดสารพัดประโยชน์ กระทงใบตอง มาลัยร้อยข้อมือ การจัดแจกัน การแกะสลัก ผัก / ผลไม้ การทำอาหาร / ขนม การจัดสวนถาด เป็นต้น ศาลานิทรรศการ ศาลานิทรรศการผลงานการส่งเสริมการอ่าน / การเรียนรู้ ห้องสมุดมีชีวิตชีวา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 42 เขตพื้นที่การศึกษา 17 จังหวัดภาคเหนือ STATION UNIT 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ศูนย์เด็กปฐมวัย คลินิกครู เพื่อนร่วมทางพัฒนาการเรียนรู้ การศึกษาพิเศษและเรียนร่วม ห้องสมุดชีวิต โรงเรียนวิถีพุทธ มัคคุเทศก์เพื่อการท่องเที่ยว การศึกษาเอกชน ชมรมครูภาษาอังกฤษ เป็นต้น รายการภาควิชาการ วันที่ 31 สิงหาคม 2549 - การสาธิตการอ่าน เรื่อง การจัดกิจกรรมสร้างนิสัยรักการอ่านวิทยากร ครูอุไรวรรณ พรน้อย และคณะ โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ ณ ห้องประชุม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ - การบรรยาย “เหลียวหลัง แลหน้า พิษณุโลก เมืองสี่แยกอินโดจีน” วิทยากร พ.ต.ท.พิษณุ รักการศิลป์ กองกำกับการ ตชด.31 ณ ห้องโสตทัศนศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ - การบรรยาย “รักการอ่าน รักการเขียนกับกวีซีไรท์” วิทยากร นายศักดิ์ศิริ มีสมสืบ กวี ซีไรท์ ณ ห้องโสตทัศนศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ วันที่ 1 กันยายน 2549 - กิจกรรม “มหัศจรรย์การคิด พิชิตข้อสอบ” ณ ห้องโสตทัศนศึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ การประชุมอบรมครู วันที่ 31 สิงหาคม 2549 - การอบรมเรื่อง ศิลปะการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของโรงเรียน วิทยากร ได้แก่ รองศาสตราจารย์กุสวรา ชูพงศ์ไพโรจน์ และคณะ ณ ห้องประชุม สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพิษณุโลก วันที่ 1 กันยายน 2549 - การอบรมเรื่อง นิทานพัฒนาภาษาสำหรับเด็กได้อย่างไร สนุกอ่าน สนุกเขียน วิทยากร ได้แก่ อาจารย์ปรีดา ปัญญาจันทร์ ห้องประชุม สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดพิษณุโลก เทคโนโลยีสารสนเทศกับการอ่าน การแสดงผลงานนักเรียนเทคโนโลยีสารสนเทศ กับการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ ณ ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ ท่องเที่ยวกับเยาวชนมัคคุเทศก์ นั่งรถรางพิษณุโลกท่องเที่ยวชมแหล่งการเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดพิษณุโลก กับไกด์อาชีพนำเที่ยวร่วมกับเยาวชนมัคคุเทศก์ เพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก ตลอดระยะเวลาการจัดงาน สถานีรถรางพิษณุโลกมีต้นทางแลปลายทางงานนี้ อยู่ที่บริเวณหน้าอาคาร หอประชุม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ แรลลี่รักการอ่าน นักเรียน ครู และประชาชน ที่เข้าชม / ฟัง / รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการอ่าน กิจกรรมการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ห้องสมุดชีวิต นวัตกรรมทางการศึกษาต่าง ๆ ในงานมหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ ได้รับเกียรติบัตรรับรองเป็นนักแรลลี่รักการอ่านทุกคน สรุปผลการดำเนินงาน การจัดงานมหกรรมรักการอ่าน ภาคเหนือ มีรูปแบบในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง สาระความรู้ที่นำเสนอ สร้างความตระหนัก ในการใฝ่รู้จากการอ่านมากขึ้น กิจกรรมที่นำเสนอเสริมสร้างค่านิยมการอ่านอย่างชัดเจนและประโยชน์ที่ได้รับสามารถนำไปพัฒนาเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านได้อย่างเป็นรูปธรรม สภาพปัญหาที่พบ คือ อุปสรรคจากธรรมชาติจากฝนตก และบริเวณจัดกิจกรรมอยู่ห่างกัน การเจ้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ไม่สะดวก ในโอกาสต่อไปน่าจัดในรูปของกระทรวงศึกษาธิการ รายงานผลการจัดการความรู้ การศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน นายอนุชา เทวราชสมบูรณ์ ศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ทางการศึกษา สตร.ข.2 --------------------------------------------------------------------------------------------------------- ปัญหาในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ปัญหาในการพัฒนาที่พบเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน แบ่งเป็น 4 ปัญหาหลัก ดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาด้านการสร้างและการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน 1.1 ไม่มีการสร้างหรือพัฒนาเพิ่มเติม แหล่งการเรียนรู้ประเภทนี้ ส่วนใหญ่มีการสร้างเพิ่มเติมมาเป็นเวลานานแล้ว 1.2 แหล่งการเรียนรู้ไม่มีความหลากหลาย ในอดีต เมื่อมีการสร้างหรือพัฒนาแหล่ง การเรียนรู้ขึ้นมาในชุมชน เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทเดียวกันทุกชุมชน ทำให้ไม่มีจุดเด่น หรือมีความหลากหลายเท่าที่ควร 1.3 เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร แนวความคิด ผู้กำหนดและผู้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ส่วนใหญ่มาจากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติไม่มีโอกาสได้นำเสนอแนวความคิดเท่าที่ควร 1.4 ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยในการสร้างแหล่งความรู้ประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านมาหน่วยงานเป็นผู้คิดวางแผนและดำเนินการสร้างเอง โดยประชาชนไม่มีส่วนร่วมคิด ร่วมเสนอความคิดเห็นมากนัก 1.5 ไม่มีนโยบายหรือแผนงานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างหรือการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ไม่มีการให้แนวทางว่าจะมีการสนับสนุนให้สร้างแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนอย่างไรดังนั้นเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติจึงไม่รู้ว่าควรจะเสนอความคิดเห็นอย่างไร 1.6 เจ้าหน้าที่ผู้จัดการศึกษายังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อการสร้างและการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน แนวทางแก้ไขปัญหา · สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน ให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทุกระดับรู้ว่าคืออะไร มีลักษณะอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร เป็นต้น · มีกำหนดนโยบายที่ชัดเจน หน่วยงานส่วนกลางควรกำหนดนโยบายให้ชัดจนว่าจะมีการรณรงค์เพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลายขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต และนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในทุกพื้นที่ · มีการจัดทำแผนในระดับพื้นที่ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่สำรวจ และจัดทำแผนว่าในชุมชนที่รับผิดชอบควรมีการสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนใดขึ้นบ้าง · ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดแผนในการสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละชุมชน ควรส่งเสริมให้ประชาชน ซึ่งรู้สภาพปัญหาในชุมชนของตนเป็นอย่างดีได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของชุมชน · หน่วยงานส่วนกลางสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการจัดสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนบางชนิด อาจต้องมีการใช้งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการขอความร่วมมือจากหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานทางส่วนกลางควรให้ การสนับสนุน 2. ปัญหาด้านการบริหารและการดูแลรักษาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน เจ้าหน้าที่ประจำแหล่งการเรียนรู้ไม่จัดบริการที่เอื้อต่อการเรียน รู้เท่าที่ควรทำกิจกรรมไปตามบทบาทที่มีอยู่โดยที่ไม่ทราบว่างานที่ทำเป็นกิจกรรม ที่ประชาชนสามารถมาหาความรู้ได้ การบริหารยังไม่เป็นไปเพื่อการบริหารเพื่อมุ่งการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นอาจจะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ ปรับบริการ ปรับกิจกรรมให้มาสู่การให้การศึกษาเรียนรู้มากขึ้น แนวทางการแก้ปัญหา · ชี้แจงให้กรรมการและผู้เกี่ยวข้องในการบริหารและการดูแลแหล่งการเรียนรู้ให้เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าว · พิจารณาหาวิธีการที่จะจัดกิจกรรมที่หลากหลายในแหล่งการเรียนรู้ให้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจและจูงใจให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม ให้มีการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง · หาวิธีให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมรับผิดชอบการบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ เช่น ให้ประชาชนหมุนเวียนเข้ามาเป็นกรรมการ · มีการติดตามประเมินผลการจัดกิจกรรมของแหล่งการเรียนรู้เป็นระยะเพื่อนำผลมาเป็นแนวทางในการพัฒนา · หน่วยงานควรประกาศเกียรติคุณแก่คณะกรรมการที่บริหารและดูแลแหล่ง การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนอื่นๆ · สร้างเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ โดยให้แต่ละแหล่งการเรียนรู้ช่วยเหลือสนับสนุนกัน ในการจัดกิจกรรม · หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาทุนช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรม ของแหล่งการเรียนรู้ เหล่านี้ เพราะถือได้ว่าเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนได้ · มีการประสานงานระหว่างกรรมการผู้รับผิดชอบของแหล่งการเรียนรู้ ให้มีความเข้าใจว่า สถานที่ดังกล่าวสามารถเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนได้และแนะแนวทางว่าควรจะเตรียมตัวในส่วนใด จัดอย่างไร จัดกิจกรรมอะไร เพื่อเผยแพร่กิจกรรมให้เป็นความรู้แก่ประชาชนต่อไป 3. ปัญหาจากการใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน 3.1 ใช้ประโยชน์จากแหล่งชุมชนน้อย เมื่อเทียบสัดส่วนกับกิจกรรมที่จัด 3.2 บุคลากรของหน่วยงาน ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งความรู้ในชุมชน เช่น ความสำคัญ ประโยชน์ ลักษณะการใช้ เป็นต้น 3.3 ไม่เห็นความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ ไม่มีตัวอย่างให้เห็นว่า สามารถนำแหล่ง การเรียนรู้ในชุมชนมาช่วยในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบได้อย่างไร 3.4 ไม่มีแหล่งข้อมูลว่ามีแหล่งการเรียนรู้ใดบ้างในชุมชน 3.5 ไม่มีนโยบายชัดเจนจากหน่วยงานกลางว่า ควรใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ใน ชุมชนหรือไม่อย่างไร 3.6 ไม่มีการวางแผนการใช้ในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบนั้น บุคลากรผู้จัดกิจกรรมมิได้กำหนดในแผนกิจกรรมว่าจะใช้แหล่งการเรียนรู้ชุมชนในกิจกรรมใด ขั้นตอนใด ดังนั้นจึงแล้วแต่ผู้จัดกิจกรรมที่จะใช้หรือไม่ใช้ 3.7 การใช้แหล่งการเรียนรู้ยังขาดความต่อเนื่อง ใช้เพียงครั้งสองครั้งก็ไม่ใช้อีก 3.8 การติดตามประเมินผลการใช้มีน้อย ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์ถึงผลดี และผลเสียในการนำมาปรับปรุงการจัดกิจกรรมต่อไป แนวทางการแก้ปัญหา · จัดทำบัญชีแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้ทราบว่าในชุมชนมีแหล่งการเรียนรู้ใดบ้าง · ประชาสัมพันธ์แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน เพื่อให้เป็นที่รู้จักของประชาชน · สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรผู้จัดการศึกษา เพื่อให้เป็นประโยชน์ของแหล่ง การเรียนรู้ในชุมชน · นำเสนอผลการใช้ให้เห็นตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานหรือผู้จัดที่ไม่เคยใช้ประโยชน์ · จัดให้มีหน่วยประสานกลางระหว่างแหล่งการเรียนรู้ชุมชนกับหน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบ เพื่อให้เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ สามารถใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้มากขึ้น · มีการประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างหน่วยงานผู้จัดการศึกษานอกระบบเป็นระยะ จะทำให้แต่ละหน่วยงานได้รู้จัดสภาพการจัดกิจกรรมของกันและกัน รู้ถึงผลของการใช้แหล่ง การเรียนรู้ เห็นด้วยกับการใช้ หารือกันเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคเพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน · มีนโยบายสนับสนุน หน่วยงานใส่วนกลางควรกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้หน่วยงานในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนในการจัดกิจกรรม อีกทั้งให้หน่วยงานใน พื้นที่สนับสนุนให้ประชาชนมาใช้บริการจากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนอย่างเต็มที่ 4. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้แหล่งการเรียนในชุมชนของประชาชน เมื่อพิจารณาสภาพของการใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน พบว่า ประชาชนมาใช้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย ทำให้ขาดโอกาสในการ่วมกันพัฒนา ร่วมกันดูแลรักษา ร่วมสนับสนุนและส่งเสริมในด้านต่าง ๆ เพราะไม่เห็นถึงความสำคัญ ดังนั้นในการสร้างให้ชุมชนแต่ละชุมชนเป็นชุมชนแหล่งการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาตลอดชีวิต จึงควรมีแนวทางในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ แนวทางการแก้ไขปัญหา · กำหนดเป็นนโยบาย รัฐบาลควรกำหนดเป็นนโยบายเพื่อสนองตอบพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ในการรณรงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน · กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรมีการกำหนดหน่วยงานหลักที่จะรับผิดชอบใน การรณรงค์เรื่องนี้ และอาจจะขอความร่วมมือจากความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ ได้ · รณรงค์ทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น โดยดำเนินการทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับตำบลและหมู่บ้าน · ใช้สื่อหลากหลายประเภทในการสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และต้องมั่นใจว่าสื่อที่ใช้เข้าถึงประชาชนได้ รวมทั้งการใช้สื่อพื้นบ้านมาเผยแพร่ความรู้ สื่อพื้นบ้านสามารถสร้างความรู้ ความเข้าใจได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับสภาพสังคม วัฒนธรรมของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย · ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนด้วยกันด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อบรมให้แก่ผู้แทนชุมชน แล้วให้ผู้แทนชุมชนไปให้ความรู้ต่อชาวบ้าน เป็นต้น · มีการติดตามผลการให้ความรู้ หรือการสร้างความเข้าใจว่าวิธีการต่าง ๆ ใช้ได้ผลดีอย่

หมายเลขบันทึก: 51099เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท