เต๋า แห่ง การบริหารจัดการ : ไม่ยกย่องคนเก่ง ทรัพย์สินสูงค่า และขจัดความหลงมัวเมา


 

เต๋า แห่ง การบริหารจัดการ : ไม่ยกย่องคนเก่ง  ทรัพย์สินสูงค่า  และขจัดความหลงมัวเมา

เต๋า เต็ก เก็ง บทที่ สาม ได้กล่าวถึงการบริหารจัดการตามแนวคุณธรรม ตรง ๆ ไว้ว่า

“ถ้าไม่ยกย่องคนเก่ง คนก็จักไม่แย่งตำแหน่งกัน ถ้าไม่ให้คุณค่าแก่ทรัพย์สินสูงค่า คนก็จักไม่โลภจนตกไปเป็นโจร ถ้าไม่เห็นสิ่งเย้ายวนใจ คนก็จักไม่หลงมัวเมาการบริหารจัดการของปราชญ์ ขั้นแรกคือ สอนคนให้ขจัดความคิดในทางที่ผิด เพราะเมื่อขจัดความคิดในทางที่ผิดได้ กายและใจก็จักสงบสบายจากนั้น ก็สอนคนให้เลิกนิสัยหยิ่งยโสและการชิงดีชิงเด่น หากทำฉะนี้ได้ ก็จักเกิดความสงบสุขการอบรมบ่มสอนประชาชนดังนี้ แม้นมีพวกเจ้าเล่ห์อยู่บ้าง ก็มิหาญกล้าทำความผิดร้ายแรง การบริหารใต้หล้าเยี่ยงนี้ ไฉนเลยจักบริหารใต้หล้าไม่ดี”

นับว่าท่านเหลาจื้อ ได้นำประสบการณ์ในยุคของท่านที่ท่านได้รับตำแหน่งราชการนำเอามาสรุป
เป็นความคิดรวบยอดด้านบริหารจัดการ  ซึ่งตามหลักของท่าน เข้ากับหลักพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง คือ
การเห็นความเป็นปกติของโลกธรรม คือ  ได้ลาภ เสื่อมลาภ  ได้ยศ เสื่อมยศ ได้สรรเสริญ เจอนินทา
ได้สุข กลับทุกข์  การยกย่องคนเก่ง ก็คือสรรเสริญนั่นเอง  ซึ่งก็มีเหรียญอีกด้านคือนินทา  การยกย่องคนเก่ง
เป็นการให้ค่ากับตำแหน่ง คนก็จะแย่งตำแหน่งนั้นกัน  การได้ลาภ ก็เสื่อมลาภ การให้คุณค่าด้านเดียวของทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความอยาก และการแย่งชิงทรัพยากร 

ปัญหาของสังคมตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เกิดจากความเห็นผิด หยิ่งยะโส และ การชิงดี ชิงเด่น ไม่น้อย  ซึ่งเกิดจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน  อย่างน้อย ๆ ที่สุดคือความโลภ ที่ต้องการทรัพยากรเอาไว้กับตัว
จำนวนมาก ๆ เพื่อแสดงความมั่งคั่ง มั่นคง  ไม่ว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หรือครั้งที่สอง เกิดจากความเห็นผิด หยิ่งยะโส และการชิงดี ชิงเด่น  อาณาจักรโบราณที่ยิ่งใหญ่ก็ล่มสลายด้วย ความเห็นผิด ความโลภ ความหยิ่งยะโส  ไปอ่านดูได้ในประวัติศาสตร์  หรือประวัติศาสตร์ในปัจจุบันก็ไปหาอ่านตามหน้าหนังสือพิมพ์ และจับเอาปัญหาจริง ๆ ก็ไม่พ้น ความโลภ ความโกรธ ความหลง

นี่คือ ความเป็นจริงที่ไร้กาล  เหลาจื้อเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า วิธีคิดและวิเคราะห์ของเขา
เมื่อนำเอาไปวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันหรือทุกยุค ทุกสมัย  เป็นอกาลิโก  เหนือกาลเวลา
เช่นเดียวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เป็นสัจธรรมและสามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาปัจจุบัน
ได้เป็นอย่างดี  นักปราชญ์ทางด้านบริหารจัดการยุคใหม่ มีรากฐานอยู่ที่ โลภะคติ ภยาคติ โทสาคติ
ซึ่งเป็นตัวปัญหาสำคัญ โปรดอย่าเชื่อ ลองอ่านประวัติและเบื้องหลังของเขาทั้งหลาย
เข้าไปกับบริบท
สังคมและประวัติศาสตร์ และนำเอาหลักของเหลาจื้อ หรือพระพุทธเจ้าไปจับหลักการนั้นดู
ท่านจะได้คำตอบเอง  หนึ่งในคำตอบนั้นมีปัจจัยเร่งอย่างเดียวคือ โลกหมุนไปสู่ความเสื่อมเป็นธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 507537เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท