จากการติดตามข่าวสถานการณ์การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ ที่ข้าพเจ้ามีำหน้าที่รับผิดชอบ ในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อทั้งในโรงพยาบาลและภัยสุขภาพ ในระยะ 1-2 เดือนนี้ ได้ติดตามข่าวสถานการณ์โรคคอตีบ ที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด และก็เริ่มจะถึงคิวโรคคอตีบจะใกล้เข้ามาในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะต้องรีบดำเนินการและเตรียมความพร้อมตลอดเวลาที่จะรับมือกับโรคนี้
เมื่อ “โรคคอตีบ” หรือ Diphtheria โรคที่หายไปจากประเทศไทยนาน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์โรคคอตีบว่าจากข้อมูลสำนักระบาดวิทยาตั้งแต่ 1 ม.ค. - 14 ต.ค. 2555 พบ ผู้ป่วยแล้ว 79 รายใน 15 จังหวัด เป็นเด็กอายุ 10-14 ปี ร้อยละ 24 และมีผู้เสียชีวิต 4 ราย ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งวอร์รูมที่ส่วนกลางเพื่อติดตามประเมินความคืบหน้าสถานการณ์และมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยจัดประชุมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
โรคคอตีบ หรือ ดิพทีเรีย เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
Corynebacterium diphtheriae (C. diphtheriae)
ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ เกิดการอักเสบ
มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอ ในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ
จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ แบคทีเรีย C. diphtheriae
มีสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ(toxogenic) และไม่ทำให้เกิดพิษ (nontoxogenic)
ถ้าเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดพิษ
พิษที่ถูกขับออกมาอาจจะเข้าไปที่กล้ามเนื้อหัวใจและปลายประสาท ทำให้เกิดการอักเสบ
ซึ่งถ้ารุนแรงอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
เชื้้อโรคคอตีบ
จะพบในคนเท่านั้น โดยมักจะอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ
ซึ่งอาจจะไม่มีอาการของโรคแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ ที่เรียกว่าเป็นพาหะ
หรือ carrier ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่สำคัญ
ส่วนใหญ่มักพบผู้ป่วยโรคคอตีบในชุมชนแออัด หรือแรงงานต่างด้าว
การป้องกันโรคคอตีบ
1) ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา 2-3
สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย 3
สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว 2
ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้ว
อาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้
ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT)
แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน
2) ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย
เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย
ดังนั้นผู้สัมผัสโรคที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย
จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ
และติดตามดูอาการ 7 วัน
ในผู้ที่สัมผัสโรคอย่างใกล้ชิดที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน หรือได้ไม่ครบ
ควรให้ยาปฏิชีวนะ benzathine penicillin 1.2 ล้านหน่วย
ฉีดเข้ากล้าม หรือให้กินยา erythromycin 50 มก./กก/วัน
เป็นเวลา 7 วัน พร้อมทั้งเริ่มให้วัคซีน
เมื่อติดตามดูพบว่ามีอาการ และ/หรือตรวจพบเชื้อ ให้ยาปฏิชีวนะดังกล่าว พร้อมกับให้
diphtheria antitoxin เช่นเดียวกับผู้ป่วย
3) ในเด็กทั่วไป
การป้องกันนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ 4-6 ปี และฉีดวัคซีน dT เมื่ออายุ 10- 12 ปี
การดำเนินการกับผู้สัมผัสใกล้ชิด
พื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสสูงจะพบผู้ป่วย (พื้นที่ระดับอำเภอที่อยู่ติดกับพื้นที่ 1)
1. ให้วัคซีนเก็บตก(catch up) ตามระบบปกติ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี กรณีเด็กอายุ ๗ - ๑๕ ปีที่ไม่ทราบประวัติให้ dTสองครั้งห่างกันหนึ่งเดือน และให้ดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้ว เสร็จภายใน สองสัปดาห์
2. ทบทวนความรู้ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องโรคคอตีบ การวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยภายในหนึ่งสัปดาห์
3. Risk communication การสื่อสารความเสี่ยง เรื่องการป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไป อสม ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน
war room จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฯ โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้สั่งการ ประชุมติดตามสถานการณ์ประเมินความเสี่ยง ติดตามผลการดำเนินงานตามข้อ 2.1 และ 2.2 อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และให้รายงานให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบผลปฏิบัติงานเป็นระยะอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
พื้นที่อื่นๆ นอกจาก 1 และ 2 ให้วัคซีนเก็บตก
3.1 (catch up) ตามระบบปกติ
3.2 ทบทวนความรู้แก่แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในเรื่องโรคคอตีบ การวินิจฉัย การรักษา ตลอดจนแนวทางการส่งต่อผู้ป่วย Risk communication การสื่อสารความเสี่ยง เรื่องการป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไป อสม ชุมชน บุคลากรสาธารณสุข และในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ เช่น ศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ติดตามสถานการณ์การเกิดโรคร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคในเขตรับผิดชอบ และให้รายงานผลการดำเนินงานตามข้อ 3.1 และ 3.2 ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทราบภายใน 2 สัปดาห์และเมื่อมีเหตุการณ์อื่นๆเพิ่มเติม
ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ข้อมูลจากการประชุม สามารถติดตามเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์ กันหรือบทความข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้จาก
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=50943
http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=51082
http://arjong.blogspot.com/2012/11/79-4-re-emerging-outbreaking.html
ตอนนี้...ผมมาอยู่เชียงคาน จังหวัดเลยครับ...มากับเพื่อนๆ หน่วยงาน...พวกเราฉีดวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก (dT) มาก่อนล่วงหน้า 14 วัน....ปวดมากครับ....ภาวนาอย่างเดียวว่า...ผมจะไม่เอาพาหนะกลับมาด้วย...เพราะพื้นที่ของผมขนาบด้วยผู้ป่วยแล้วครับ....และเพิ่งรู้ด้วยครับ ว่าฉีด dT ป้องกันโรคไม่ได้....ผมสามารถป่วยและเป็นพาหนะได้...เพียงแค่ไม่ตายครับ.....แต่ที่เชียงคาน...คนเยอะ...และห้องพักหายากมา...วันเสาร์ด้วย.....เจอกันนะครับ
สวัสดีครับคุณนาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์
แวะมาดูวิธีป้องกันโรคคอตีบ ที่กำลังระบาดกันอยู่นี้ครับ
ขอบคุณครับ
สุดยอดทันสมัย ทันเหตุการณ์.....สมกับนักระบาดตัวจริงมากค่ะ พี่ไก่
![]() |
ทิมดาบ |
ฉีดวัคซีนแล้วแต่ก็ป่วยได้นะคะถ้ารับเชื้อมาแต่ความรุนแรงจะลดลงคะ ขอให้ปลอดภัยนะคะ
โรงพยาบาลศรีนครินทร์จะจัดการอบรมให้บุคลากรในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องบรรยาย 1อาคารปรีคลีนิก คณะแพทยศาสตร์
![]() |
ทพญ.ธิรัมภา |
สวัสดีคะคุณหมอ ทันสมัยภาคบังคับคะ งานเข้าเลยคะ