กล่าวนำ ถึง ขีดเขียนห้วยขาแข้ง



คราวที่ผมมีโอกาสทำงานโครงการพัฒนาชนบทกับท่านเลขาธิการ ส.ป.ก. ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ที่ “โครงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ด้วยการพัฒนาการเกษตรแบบผสมผสาน” หรือ โครงการ คฟป. ซึ่งพื้นที่โครงการมีที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม สกลนครและมุกดาหาร ผมสังกัดบริษัทที่ปรึกษาชื่อ บริษัททีม คอลซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์แมเนจเมนท์จำกัด โดยรับผิดชอบโครงการนี้ที่จังหวัดมุกดาหาร มีพื้นที่ดำเนินการที่ อ.ดงหลวง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2553 เกือบสิบปี ที่วนเวียนอยู่ที่นั่น


 

ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ผมพบเห็นเรื่องราวต่างๆในชุมชน ส่วนหนึ่งนำมาเขียนในรายงานการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปี แต่รูปแบบรายงานนั้นมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถบรรจุรายละเอียดอีกมากมายลงไปได้ ผมจึงเขียนบันทึกลงใน Blog gotoknow.org ชื่อ “เรื่องเล่าจากดงหลวง” และอีกทางหนึ่งคือผมเขียนเป็น KM message ซึ่งเป็นเอกสารหมุนเวียนในโครงการ โดยเขียนตามสะดวกสัปดาห์ละ 1-3 เรื่องตามโอกาส ตามเงื่อนไขการงาน

ทั้ง KM Message และบันทึกใน Gotoknow นั้นอยู่ในสายตาของท่านเลขาธิการ ส.ป.ก. (ลธก.ส.ป.ก.) เมื่อโครงการใกล้สิ้นสุด ท่านได้กล่าวกับผมว่า บันทึกของผมมีประโยชน์อยากจะรวบรวม พิมพ์ออกมาเผยแพร่ในวงการ ส.ป.ก. และบัดนี้ก็พิมพ์ออกมาแล้ว


ท่าน ลธก.ส.ป.ก. ยังกล่าวว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2542 ท่านทำ “โครงการประสานความร่วมมือเพื่ออนุรักษ์และพัฒนากลุ่มป่าห้วยขาแข้ง”  ซึ่งผมก็มีโอกาสร่วมงานกับท่าน สมัยนั้นผมสังกัดองค์การเซฟ เดอะ ชิลเดร็น (อเมริกา) ท่านกล่าวว่าเสียดายประสบการณ์ดีดีมีมากมายไม่มีใครบันทึกไว้เหมือนเรื่องเล่าจากดงหลวงที่เพิ่งพิมพ์ไปนี้

ผมมีโอกาสเสนองานบันทึกย้อนหลังที่ห้วยขาแข้งให้ท่านโดยเสนอว่า ผมจะลงไปพักในห้วยขาแข้งบริเวณพื้นที่โครงการเก่านี้ สักพักใหญ่ๆ แล้วทยอยเขียนบันทึกออกมาในลักษณะคล้ายๆ เรื่องเล่าจากดงหลวง  ท่านฟังแล้วก็..ถ้าทายผมทันทีว่า “...เอาจริงๆหรือเปล่า..” ท่านก็แสดงความเห็นด้วยแล้วจะหาทางสนับสนุนงานเขียนชิ้นต่อไปนี้...

นี่คือที่มาของ “ขีดเขียนถึงห้วยขาแข้ง” หัวข้อนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีกก็ได้ แต่จั่วไว้เช่นนี้ก่อน

เนื่องจากผมยังสังกัดบริษัทที่ปรึกษา แม้จะเป็น Freelance แต่ก็มีงานที่ต้องรับผิดชอบเป็นช่วงๆ จึงพยายามใช้ช่วงที่เว้นว่างจากงานที่ปรึกษามาทำงาน “ขีดเขียนถึงห้วยขาแข้ง”  โดยเริ่มนำทุกท่านเข้าสู่เรื่องราวก่อนที่จะไปลงรายละเอียดของงานที่ผมจะต้องวางแผนลงพื้นที่ต่อไป

ในอดีตผมเคยเขียนเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ห้วยขาแข้งมาบ้างแล้ว ก็อาจจะนำกลับมาปรับปรุง และเอามาบันทึกใหม่อีกครั้ง

ด้วยเงื่อนไขต่างๆดังกล่าว งานชิ้นนี้จะไม่สามารถบันทึกได้ทุกวัน แต่พยายามจะทำให้ได้ต่อเนื่อง..

 

หมายเลขบันทึก: 507525เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2012 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ป่าห้วยขาแข้ง ..... ในความทรงจำ ..... มีความงดงาม ในประวัติศาสตร์ .... จนปัจจุบันนะคะ

ขอบคุณ ท่าน อจ . ที่นำเรื่องราวดีดี มาเล่าสู่กันฟัง นะคะ

เชียร์..เต็มกำลัง..เจ้าค่ะ..เขียนๆๆๆ...จะตาม..อ่าน ทุก..ย่างก้าว..เพราะมีเรื่องราวมากมายที่น่าจะประกาศให้..คนไทยทราบเรื่อง..ป่าห้วยขาแข้ง...กัน..จริงๆเสียที..(ฝรั่งชื่นชม)ได้รับทราบ..ตั้งแตได้รับเป็นมรดกโลก...ว่าอย่างน้อยในเอเซียก็ยังมีหลงเหลือให้เห็นกันบ้าง...(มีใครเข้าไปไชชอน..ป่ามรดกโลกใบนี้หรือยัง..เนอะ.มีข่าว..ไฟไหม้..บ่อยเหลือกิน)..ยายธี

เรียนท่านบางทราย..

หากวันก็หลายวัน ที่เฮฮาศาสตร์ได้รวมตัวกัน

ผมได้เคยไปร่วมเฮฮาหนึ่งครั้งที่กระบี่ บ้านหมอเจ๊

ครั้งนั้นเป็นความประทับใจยากจะลืมเลือน เพราะได้พักคู่กับพ่อครูบา ได้เรียนรู้นอกระบบกับพ่อครู

หากโอกาสดีคาดหวังว่าจะไปร่วมเฮฮษที่ห้วยขาแข้งด้วย ตามที่ท่านบอกกล่าวมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท