เสียงเตือนภัยคนกรีดยางฯ


คุณรู้ไม่ถ้าวันไหนกรีดไปได้สักครึ่งหรือเกือบเสร็จ ฝนตกละก็ หายไปหลายเงินเชียวละ

                   วันที่ราคายางพาราพุ่งถึงกิโลกัมละร้อยกว่าบาททำความตื่นเต้นให้กับเจ้าของสวนยางพาราและคนกรีดยางพาราเป็นอย่างมาก  ผมเองในฐานะนักส่งเสริมการเกษตรก็ตื่นเต้นไปด้วยเช่นกัน  คิดดูซิครับจากราคา 18 บาท รัฐเข้าช่วยเป็น24 บาท รัฐออกแรงอีกทีขึ้นเป็น40บาทกลาง ๆ แล้วจู่ ๆ ขึ้นเป็น100บาทกว่า ๆ ต่างกัน 80 กว่าบาท

                   "ราคาดีแต่กรีดไม่ได้เลย"  หนุ่มกรีดยางปรารพ แต่หน้าตาดูจะเปิดบาน "ถ้าฟ้าเปิดเมื่อไหรผมต้องลงกรีดเลย  มีดก็ลับไว้อย่างดี  เตรียมพร้อมตลอดเวลา " ดูมุ่งมั่นจัง "แต่คุณรู้ไม่ถ้าวันไหนกรีดไปได้สักครึ่งหรือเกือบเสร็จ ฝนตกละก็  หายไปหลายเงินเชียวละ"

                    ในทางวิชาการมีตัวเลขบอกว่า ในพื้นที่ 1 ไร่ให้ผลิตยางพารา(แห้ง)   3 กิโลกรัม ต่อหนึ่งมื้อกรีด ถ้าพื้นที่ 10ไร่  ก็ได้ 30 กิโลกรัม  ถ้ากิโลกรัมละ100 บาทเป็นเงิน 3,000บาท(อำเภอละแม/ชุมพรมีพื้นที่ปลูกยางพารา 70,000 บาท เป็นเงิน.................บาท?    ทั้งชุมพร...............บาท? )

                    "เสียดายหน้ายางด้วยนะ น่าจะต้องมีวิธีการเตือนภัยฝนสำหรับชาวสวนยางแบบเจาะจงพื้นที่และเวลา" ผมแสดงความเห็นบ้าง หนุ่มกรีดยางเห็นผมสนใจเรื่องการเตื่อนภัยคุยให้ฟังทันที่ว่า

                     "รัฐบาทต้องรอเครื่องไม้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์  แต่คนกรีดยางใช้มีดกรีดยางนี้แหละเตือนภัยฝนและบอกเล่าเรื่องฝนตกให้คนกรีดยางด้วยกันทราบ"

                    หนุ่มกรีดยางเล่าว่า เป็นที่รู้กันว่าการกรีดยางพาราเกษตรกรกรีดตอนกลางคืน การดูเมฆฝนไม่เห็นต้องใช้การดูดาวแทน แต่ความไน่แน่นอนคือความแน่นอน คิดว่าฝนไม่ตกแตกลับตก คนที่ลงในพื้นที่ฝนตกก็จะส่งสัญญาณด้วยการเป่าดามมีดกรีดยางในเกิดเสียง(นึกไม่ออกลองเอาฝาปากกาตั้งริมฝีปากล้างแล้วเป่าลมใส่ดู)ข้อตกลงมีอยู่ว่า

  •  เป่าเสียงยาวหนึ่งครั้ง  หมายความว่าได้ยินเสียงฝนตกดังมา     ไกล ๆ   ตัดสินใจเองว่าจะกรีดหรือไม่กรีด
  •  เป่าเสียงสั้นสองครั้งติดกัน  หมายความว่า ตัวใครตัวมันวิ่งกลับบ้าน (ตกแล้ว)            

              ผมนั้งฟังและคิดตามคำบอกเล่า  มองเห็นภาพครับว่าสังคมเกษตรกร เป็นสังคมที่มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันเสมอ       ที่สำคัญภูมิใจมาก ๆ ภูมิปัญญาครับ     "ภูมิปัญญาชาวบ้าน"

                    

 

คำสำคัญ (Tags): #km#เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 50746เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2006 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
     ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
ได้มีโอกาศไปเยียมการจัดการความรู้ขอจังหวัดชุมพรมาและได้มาอ่านบันทึกของพี่ในวันนี้ ก็ดีใจกับชาวสวนยางนะครับแล้ววันนี้เท่าที่ติดตามข่าวมารู้สึกว่าราคาลดลงแล้ว ไม่รู้ว่าลงไปเท่าไรนะแหละจะหยุดอยู่ที่เกษตรกรพอใจหรือป่าวครับ ใครพอจะบอกได้ไม๊ครับ

               สวัสดีครับพี่ผู้เต็มไปด้วยความสามารถ วันนี้ถือโอกาสแวะมาเยี่ยม........ผมว่าตอนนี้คงจะไม่ใช่ยางพาราอย่างเดียวนะ มันจะตามมาอีกมากกับปัญหาผลผลิตเกษตรล้นตลาดและราคาตกต่ำ.....แนวคิดผมถ้าจะลดความเสี่ยงก็ควรยึกหลักเศรษฐกิจพอเพียง ผลิตในรูปการเกษตรผสมผสาน อย่าหวังเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น  และพยายามรวมกลุ่มกันให้ได้เพื่อให้เป็นไปในรูปรวมกันผลิตรวมกันขาย.......ขอยกตัวอย่างการผลิตผักบุ้งปลอดสารที่ตำบลกรับใหญ่  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรีครับ

             เขาปลูกแค่ผักบุ้งส่ง MK ก็อยู่ได้แล้วเพราะมีการวางแผนการปลูกของสมาชิกให้สามารถส่งได้ทุกวัน หมุนเวียนกันไปในกลุ่มสมาชิก ทุกวันนี้เขาส่ง 80-200 ก.ก./วัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท