บริการฟรี...กิจกรรมบำบัดสากล


ขอบคุณวันกิจกรรมบำบัดสากลเมื่อ 27 ต.ค. ที่จุดประกายให้ดร.ป๊อป ประเมินและแนะนำกิจกรรมบำบัดฟรีแก่ผู้รับบริการ 2 ราย

ผู้รับบริการรายที่ 1 เดินทางมาจาก จ.เพชรบุรี เป็นพระวัย 27 ปี ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์เป็น "จิตเภท" มาพร้อมกับมารดา

ดร.ป๊อป ประเมินพบว่า 1. ขาดความมั่นใจในตนเอง 2. มีหูแว่วและประสาทหลอนว่า "หน้าบื้อและเสียงคนรอบข้าง" 3. อยากมีทักษะการรู้คิดปัญญาในการทำกิจของสงฆ์

จากนั้นจึงแนะนำ 1. การทำสมาธิและสั่งจิตสำนึกให้ตนเองมั่นใจโดยรับรู้เสียงการนับจำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน (หลับตา นับ 1-10 ต่อ 1 รอบ ฝึก 5 รอบ) ในท่านอนหงาย พร้อมใช้น้ำล้างหน้าและสัมผัสหน้าด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้รับรู้ว่า มีสติ หน้าตาสดใส และพร้อมทำกิจกรรม ข้อนี้ให้ทำเมื่อรู้สึกว่า มีอาการหูแว่วและประสาทหลอน

                       2. ขณะเดินที่ไร้จุดหมายในแต่ละวัน ให้เดินเรียกสติโดยก้าวเท้าซ้ายนำเท้าขวา 1-10 ก้าวเท้าขวานำเท้าซ้าย 1-10 และก้าวสลับเท้าซ้ายขวา 1-10 แล้วเดินทำกิจกรรมที่มีความหมาย เช่น กวาดลานวัด เดินบิณฑบาต ฯลฯ

                       3. เขียนวางแผนความคิดว่า อยากทำกิจของสงฆ์แบบใด แล้วนำไปปรึกษาพระพี่เลี้ยง เพื่อฝึกเรียนรู้ขั้นตอนต่างๆ เช่น สวดมนต์พิธี รับนิมนต์ ฯลฯ แล้วมีการประเมินความมั่นใจจาก 0-10 หลังทำกิจกรรมเท่าที่จะทำได้ โดยสื่อสารดังๆ กับตนเองว่าให้ได้อย่างน้อย 6-7/10

ติดตามผลใน 3 เดือน

ผู้รับบริการรายที่ 2 เด็กชายวัย 4 ขวบ มาพร้อมผู้ปกครอง จากเขตอ่อนนุช สู่ ต.ศาลายา

ดร.ป๊อป ประเมินพบว่า 1. มีสมาธิจดจ่อในการเล่นกับกิจกรรมที่สนใจได้นาน 2. มีภาวะไม่อยู่นิ่งเมื่อมีการบังคับเล่น 3. มีการรับรู้ทางการมองเห็นช้ากว่าการรับรู้ทางการได้ยิน และ 4. มีภาวะอารมณ์ร้องไห้มากเกินควร (จากข้อ 2. ที่ไม่ให้เล่น จะไม่ยอมกลับบ้าน และร้องเสียงดังมากจนไม่น่ารัก)

จากนั้นจึงแนะนำ 1. จัดกิจกรรมที่เน้นการใช้ตา-มือ บนโต๊ะ โดยไม่มีการจับทำ ไม่มีการบังคับ และไม่มีการซักถามมากเกินไป ทั้งนี้เน้นการสาธิตและถามปลายเปิด หากไม่ตอบสนอง ก็แนะนำด้วยภาษาท่าทาง และ/หรือวาจา

                       2. ต้องได้รับการปรับพฤติกรรมแบบใช้เวลานอกและเพิกเฉยไม่เกิน 5 นาที โดยการกอดและไม่พูดอะไรเมื่อเด็กร้องไห้เสียงดัง จากนั้นก็พาเด็กไปทำนอกบริเวณที่เด็กยึดติดกับกิจกรรม และควรใช้การสื่อสารเงื่อนไขเวลาในการเล่น การกิน (ไม่ต้องช่วยป้อน) และการจัดกิจกรรมที่ระบายแรงขับจำพวกกีฬาอย่างสม่ำเสมอ

                       3. แนะนำให้ไปตรวจเพิ่มเติมกับจิตแพทย์ เพื่อยืนยันว่ามีภาวะ ADHD หรือไม่

ทั้งสองรายผู้รับบริการนี้ ดร.ป๊อป ไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อเฉลิมฉลองในวันกิจกรรมบำบัดสากล ทุกวันที่ 27 ต.ค. ของทุกปี

หมายเลขบันทึก: 507086เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2012 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ขอบคุณ Dr. Pop .... มากๆๆ นะคะ ... ดูแล...คนเพชรบุรี .... ให้พี่เปิ้น นะคะ

  • เยี่ยมมากเลยน้อง Dr.Pop
  • ขอสาธุๆครับ

ขอบคุณมากครับพี่ดร.เปิ้ล พี่ดร.ขจิต และพี่จำลอง

ขอบคุณมากค่ะ น้องดร.POP

แบ่งปันจิตมิตรไมตรีเกื้อหนุนนำ

หาน้ำคำมาขอบคุณยังน้อยเฝือ

คุณค่าแห่งความดีและจุนเจือ

สุดจะเหลือแบ่งปันน้ำใจงาม

ขอบคุณมากครับสำหรับบทกลอนดีๆ จากคุณครูต้อย

ขอบคุณมากครับพี่โอ๋และพี่เหมียว

เนื่องในวันกิจกรรมบำบัดสากลวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมา ดร.ป๊อป ได้มีโอกาสทำความดีตามบันทึกนี้และเพิ่งออกรายการสุขภาพดี 4 วัย เมื่อวันที่ 1 พ.ย. 55

เพิ่มอีกภาพ ด้วยความขอบคุณแด่น้อง อ.อร ที่ช่วยส่งภาพมาให้ครับ

ขอรับการแก้ปัญหาสุขภาพทางSMS 4642121 นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ 

Dr. Pop จากบันทึกของอาจารย์ป๊อปทำให้หนูได้เห็นถึง การรักษาของอ.ป๊อปว่า ไม่จำเป็นที่ผู้รับบริการจะต้องมาหานักกิจกรรมบำบัดทุกวัน แต่เราสามารถใช้เวลาในไม่กี่ชั่วโมงช่วยรักษาเขาได้ เช่นการแนะนำกิจกรรมเพื่อให้
ผู้รับบริการกลับไปทำกิจกรรมด้วยตนเองและรอติดตามผลว่ากิจกรรมที่ให้ ช่วยรักษาให้ผู้รับบริการดีขึ้นได้จริงหรือไม่ เป็นแนวทางการรักษาที่ทำได้จริง

ซึ่งหนูคิดว่าถ้าหากหนูได้เป็นนักกิจกรรมบำบัดแล้ว เมื่อมีผู้รับบริการที่มาเข้ารับการรักษาทางกิจกรรมบำบัด การรักษาควรเน้นให้ผู้รับบริการเป็นผู้ริเริ่มทำกิจกรรมเอง หรือทำกิจกรรมด้วยตนเองจะได้ผลมากกว่าการที่ให้นักกิจกรรมบำบัดคอยบอกให้ทำ คอยช่วยเหลือ อาจจะใช้ได้ในผู้รับบริการที่มีแรงจูงใจแต่ถ้าหากผู้ที่ไม่มีแรงจูงใจอาจต้องกระตุ้นและประเมินหาแรงจูงใจหรือความสนใจของผู้รับบริการเพื่อหากิจกรรมการรักษาที่เหมาะสมและผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการรับการรักษา

ดิฉันคิดว่าการเป็นนักกิจกรรมบำบัดไม่ได้มีความสุขเพราะได้เงินจากการรักษาผู้รับบริการ แต่เป็นความสุขต่างหากที่เราได้รับจากการรักษาผู้รับบริการ การที่ได้เห็นผู้รับบริการที่เรารักษามีอาการดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าเงิน ยิ่งอาการของเขาดีขึ้นมากเท่าไหร่เรายิ่งมีความสุขมากเท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท