การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน


การจัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยผู้สอนตั้งคำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการทางความคิดหาเหตุผลจนค้นพบความรู้หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องด้วยตนเอง สรุปเป็นหลักการ กฎเกณฑ์หรือวิธีการในการแก้ปัญหาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการควบคุม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมในสภาพการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

ประเภทของการสอนแบบสืบสวนสอบสวน

  1. Passive Inquiry : ผู้สอนจะเป็นผู้ตั้งคำถามนำ 90% ผู้เรียนถาม 10% การสอนประเภทนี้ เหมาะสำหรับการเริ่มสอนแบบสืบสวนเป็นครั้งแรก
  1. Combined Inquiry : ทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นผู้ถาม  คือ ผู้สอนถาม 50% และผู้เรียน 50%
  1. Active Inquiry :  ผู้เรียนจะเป็นผู้ถามและตอบเป็นส่วนใหญ่  ผู้สอนมีหน้าที่แนะแนวหรือเน้นจุดสำคัญที่ผู้เรียนมองข้ามโดยไม่ได้อธิบายอย่างเพียงพอ  ผู้สอนตั้งคำถามเพียง 10%  ผู้เรียนจะตั้งคำถาม 90%

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้

1.  ขั้น “สน”  คือ ขั้นของการให้ สังกัปแนวหน้า  (Concept)  ซึ่งได้แก่  การเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้กับผู้เรียน  โดยการดึงเอาความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะสอนให้มาสัมพันธ์กัน  รวมทั้งการปูพื้นฐานความรู้ใหม่ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้  เนื้อหาสาระใหม่ให้กับผู้เรียน  และเป็นการจูงใจให้พร้อมที่จะเรียน

คำถามประเภทสังกัปแนวหน้า

  • เกี่ยวข้องกันอย่างไร
  • สิ่งนี้หรือความรู้ข้อนี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร

2.  ขั้น “ส”  คือ  ขั้นตอนของการสังเกตสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในขั้นนี้จะสร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหา  เพื่อให้ผู้เรียนได้สังเกตและวิเคราะห์องค์ประกอบและธรรมชาติของปัญหาอย่างละเอียด  การเรียนรู้ที่สำคัญในขั้นนี้ก็คือการเรียนรู้สังกัป  ลักษณะร่วมของสถานการณ์ (ความหมายสรุปรวม)  ขององค์ประกอบต่างๆ ในสถานการณ์ที่เป็นปัญหา 

คำถามประเภทสังเกตมักจะขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำว่า “อะไร” “ใคร” “ที่ไหน” “อย่างไร” “เมื่อไร”  เป็นคำถามที่ผู้เรียนใช้สำรวจสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของปรากฏการณ์ต่างๆ  มักจะเป็นคำถามเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ลักษณะ  คุณสมบัติ  ธรรมชาติ  โครงสร้าง  กระบวนการของสิ่งต่างๆ  และเหตุการณ์ต่างๆ  คำถามที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายประโยคด้วยคำว่า “อะไร” นี้เรามักจะใช้มากในกรณีที่เรากำลังเผชิญกับสถานการณ์  หรือพบกับสิ่งแปลกใหม่ๆ

3.  ขั้น “อ”  คือ  ขั้นตอนของการอธิบายปัญหาข้องใจ  โดยอาศัยความสามารถในการหาเหตุผลมาอธิบายถึงสาเหตุของปัญหา  ส่วนมากการอธิบายมักจะอยู่ในรูปของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลแบบฟังก์ชัน  ขั้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความสามารถในการสร้างทฤษฎีขึ้นมาสำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ  การเรียนที่สำคัญในขั้นนี้คือ  การเรียนรู้หลักว่า  เมื่อผลปรากฏออกมา   ในรูปของปัญหาอย่างนี้  อะไรควรจะเป็นเหตุหรือสาเหตุของการเกิดผลอันนั้น

4.  ขั้น “ท”  คือ  ขั้นของการทำนายผล  เมื่อเราแปรเหตุ  เป็นขั้นของการตั้งสมมุติฐาน    เพื่อจะทดสอบดูว่า  คำอธิบายในขั้นที่ 3 นั้น  ถูกต้องมากน้อยเพียงไร  นอกจากนี้ยังเป็นการคาดคะเนผลของสาเหตุต่างๆ  ทั้งที่เพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างรอบคอบ  แบบ “คิดหน้าคิดหลัง” เสียก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ  การเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาโดยนำหลักการที่เรียนรู้ก่อนขั้นที่ 3 มาใช้

5.  ขั้น “ค”  คือ ขั้นของการควบคุมและสร้างสรรค์ทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกและสิ่งแวดล้อมภายใน  เป็นขั้นที่นำผลของการแก้ปัญหามาปฏิบัติใช้ในชีวิตจริง  เพื่อให้เกิดการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายใน (ทางจิตใจ) ขั้นนี้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ฉะนั้นการเรียนที่สำคัญ       ในขั้นนี้คือ  การเรียนรู้วิธีสร้างสรรค์

(ยุพดี  นาคพีระยุทธ, 2522  อ้างอิงใน  สุวิทย์  มูลคำและ    อรทัย  มูลคำ, 2546, หน้า 136-140)

หมายเลขบันทึก: 506106เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท