ถอดบทเรียน : อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน


การบาดเจ็บจากตัวพยาธิ การอักเสบซ้ำซ้อน เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย นำไปสู่การกลายพันธุ์เป็นมะเร็ง ทั้งๆที่รู้ แต่หลายคนก็ยังกินปลาดิบ วาทะแห่งชาติ จะช่วยกันอย่างไร ในการลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอสาระจากการถอดบทเรียน การเข้าร่วมประชุมวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ ครั้งที่ 28 หัวข้อ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ของการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี วาระคนอีสาน

 

เริ่มต้นโดย ศ.พญ.เอมอร ไม้เรียง อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล่าถึงประสบการณ์ทำงานการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วย

 

จากการรายงานพบว่า...

ชาวอีสานชอบกินปลาดิบ ปลาส้ม แล้วติดพยาธิใบไม้ตับ

จากแผนที่ประเทศไทย ภาพซ้ายมือ สีฟ้าเข้ม แทนผู้ป่วยที่ติดพยาธิใบไม้ ส่วนภาพขวามือ สีแดง แทนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งท่อน้ำดี  

 

อาจารย์ได้รับทุนสนับสนุน ให้ออกบริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ด แก่ประชาชนหลายจังหวัด หลายอำเภอในภาคอีสาน

 

จนสามารถสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพของตับและท่อน้ำดีที่มีการเปลี่ยนแปลง จากการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวน์ด

พบว่า ผนังของท่อน้ำดีของผู้ป่วยที่ติดพยาธิใบไม้ตับ จะมีความหนาเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับคนปกติ (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการบาดเจ็บ หรืออาการอักเสบ) และในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี สามารถพบก้อนมะเร็งกระจายในตับ  

 

 

รศ.ดร.บรรจบ ศรีภา อาจารย์ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ได้นำเสนอภาพที่ชาวบ้าน เมื่อหาปลามาได้ หลายคนนำปลาที่จับได้มาปรุงเป็น ก้อยปลา พร่าปลา ซึ่งในเนื้อปลา เกล็ดปลา มีพยาธิใบไม้ติดอยู่ เมื่อเรากินปลาดิบ เหล่านี้เข้าไป ทำให้เพิ่มโอกาสติดพยาธิเข้าสู่ร่างกายง่ายขึ้น

 

 

คนใกล้แหล่งน้ำ มีความเสี่ยงสูง

ที่จังหวัดขอนแก่น ชาวบ้านที่อาศัยใกล้ๆ แหล่งน้ำ ที่กินปลาดิบ มักจะติดพยาธิ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่

 

ผลจาก พยาธิที่ดูดกัดบริเวณผนังท่อน้ำดี ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ ร่างกายได้หลั่งสารเคมีออกมารักษา ซ่อมแซมอาการบาดเจ็บดังกล่าว บางครั้งรักษาหายบ้าง บางครั้งไม่หายบ้าง จนเกิดเป็นการอักเสบซ้ำซ้อน (เกิดขึ้น เนื่องจากบางคนกินยาฆ่าพยาธิแล้ว กลับมากินปลาดิบอีก ทำให้ติดพยาธิซ้ำซ้อน) กินอยู่หลายปี ติดพยาธิอยู่หลายปี ได้รับสารเคมีจากพยาธิบ่อยๆ จนเซลล์ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเซลล์มะเร็ง

บางครั้งมีการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น สารเคมี สารก่อมะเร็ง เหล้า พันธุ์กรรม ทำให้เป็นมะเร็งได้ง่ายขึ้น  

 

ทำอย่างไร? จะสามารถ ตรวจหา ตรวจพบมะเร็งท่อน้ำดีได้ ในระยะแรกๆ เป็นสิ่งที่หลายงานวิจัยกำลังให้ความสนใจ

 

 

เมื่อเป็นมะเร็งท่อน้ำดี แล้วทำอย่างไร?

 

ศ.นพ.ทองอวบ อุตรวิเชียร อาจารย์อาวุโสภาควิชาศัลยศาสตร์ ได้เล่าถึง การรักษาด้วยการผ่าตัด และลักษณะของก้อนมะเร็งที่พบ

 

ย้ำอีกครั้ง ภาพของคนอยู่ใกล้แหล่งน้ำ กินปลาดิบ มีความเสี่ยงจากการติดพยาธิใบไม้  

 

 

 

วงจรการติดพยาธิใบไม้ตับ

จากไข่พยาธิ เข้าสู่หอย จากหอย สู่น้ำสู่ปลา

จากปลา สู่คน

 

พบว่า... ผู้ชาย เป็นมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าผู้หญิง (น่าจะมาจากพฤติกรรม ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของผู้ชาย ที่มีมากกว่าผู้หญิง)

 

หากมีผู้ป่วยมากขึ้น ศัลยแพทย์ แพทย์ผ่าตัด จะเพียงพอหรือไม่?  

 

ก้อนมะเร็ง เกิดได้หลายตำแหน่ง เป็นก้อนเดียว เป็นหลายๆก้อน

 

เปรียบเทียบภาพมะเร็งในตับและภาพจากภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

 

 

ทำไม?

มีป้ายรณรงค์ ห้ามสูบบุหรี่

แต่... ไม่มีป้าย ห้ามกินปลา(ร้า)ดิบ

 

 

ผศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ ได้นำเสนอ วาระคนอีสาน ไม่กินปลาดิบ

 

ได้มีความร่วมมือในการผลิตศัลยแพทย์ เพื่อเข้ามารักษา มาผ่าตัด เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ 

 

 

ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องช่วยกัน

เพราะไม่น่ายินดีเลย ที่บอกว่า... ประเทศไทย ภาคอีสาน มีอัตราการเป็นมะเร็งท่อน้ำดี อันดับหนึ่งของโลก

 

 

ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องร่วมมือ ช่วยเหลือ รณรงค์ การงดและไม่กินปลาดิบ (ในทุกรูปแบบ) ในโรงเรียน ในหมู่บ้าน 

 

 

 

ฝากบอกต่อ... งดกินปลาดิบ ช่วยกำจัดพยาธิใบไม้ตับ ห่างไกลมะเร็ง ด้วยครั

 

หมายเลขบันทึก: 505337เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ตุลาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาหา ความรู้ ... เรื่อง ... มะเร็งตับ ค่ะ


ขอบคุณมากนะคะ

early detection จากงานวิจัยของพี่ต้อมจะเป็นงานที่ breakthrough ทาง science & tech and medical และจะช่วยชีวิตคนอีสานได้มากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท