ซิกมุนด์ ฟรอยด์กับโคคาโคลา


.
อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'Sigmund Freud and Coca Cola'
= "ซุกมุนด์(ซิกมันด์) ฟรอยด์ กับโคคาโคลา", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ซิก มุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) เป็นบิดาแห่งจิตวิเคราะห์สมัยใหม่ ทว่า... น้อยคนที่จะรู้ว่า ไิอเดียเด็ดๆ ของท่านได้จุดประกายเครื่องดื่มที่ชื่อ "โคคาโคลา" หรือ "โค้ก" ในไทย (คนไทยไม่ชอบชื่อยาวเกิน 3 พยางค์   ทำให้บริษัทต้องใช้ชื้อสั้นๆ แทน)
.
การทำจิตวิเคราะห์มีชื่อเสียงมาก ทว่า... ไม่มีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบที่รับรองว่า รักษาโรคจิต หรือโรคซึมเศร้าได้ผล
.
ท่านจะรู้จักฟรอยด์ดีขึ้น... ถ้าเรารู้ว่า ฟรอยด์ใช้อะไรรักษาโรคซึมเศร้าของตัวท่านเอง
.
จิตแพทย์ท่านหนึ่ง(ขอสงวนนาม)บอกว่า จิตบำบัดนั้น "ไม่ค่อยได้ผล"
.
จิตแพทย์สมัยใหม่ใช้ยาเพื่อเข้าไปปรับเปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitters) เป็นหลัก และอาจใช้จิตบำบัดช่วยบ้าง(บางครั้ง)
.
ปี 1881/2424 กองทัพเยอรมันสมัยนั้นใช้ช่วยให้ทหารตื่นตัว (alert), รบอึด อดนอนได้นาน ทำให้ฟรอยด์ได้ไอเดียว่า น่าจะทดลองใช้ยานี้รักษาโรคหมดเรี่ยวหมดแรง (nervous exhaustion) ดู
.
ฟรอยด์ส่งตัวอย่างโคเคนไปให้คุณมาร์ตา เบอร์เนส์ คู่หมั้น พร้อมข้อความว่า "ตอนมีอาการซึมเศร้าหนัก, ฉันใช้โคเคนอีก และมันช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างอัศจรรย์... ตอนนี้ฉันกำลังรวบรวมผลงานวิจัยเกี่ยวกับโคเคน"
.
ความรักของฟรอยด์คล้ายเพลงลูกทุ่ง-หนังไทยหลายเรื่อง คือ ว่าที่พ่อตาแม่ยายรวย รังเกียจ กีดดันฟรอยด์ที่เกิดมาจน ทำให้ฟรอยด์เกิดอาการ "ซึม-เศร้า-เหงา-เซง"
.
ฟรอยด์จึงหันไปเสพโคเคน ซึ่งท่านพบว่า ช่วยลดอาการหิวข้าว กระหายน้ำ อาการซึมเศร้า แถมยังทำให้เกิดความรู้สึกฮึกเหิม (feel great) อีกต่างหาก
.
พอเสพจนรู้รส 3 ปีก็ตีพิมพ์รายงาน 'On Coca' ในปี 1884/2427
.
ช่วงนั้นฟรอยด์พบจักษุแพทย์(หมอตา)ฝึกหัด คือ ท่านคาร์ว คอลเลอร์ และได้ชวนคอลเลอร์เสพโคเคน
.
ฟรอยด์บอกคอลเลอร์ว่า เวลาดื่มโคเคนจะมีอาการชาที่ริมฝีปาก และอยากจะรู้ว่า ถ้านำโคเคนไปหยอดตา จะใช้เป็นยาชาก่อนผ่าตัดตาได้หรือไม่
.
คอลเลอร์ทดลองแล้วได้ผล และรีบตีพิมพ์ผลการวิจัยโดยไม่ใส่ชื่อฟรอยด์ ทำให้ฟรอยด์หงุดหงิด
.
ฟรอยด์เองก็รีบตีพิมพ์เรื่องโคเคนว่า ยานี้ดี ปลอดภัย ใช้รักษาโรคซึมเศร้า และเซ็กส์ป่วน (ปัญหาทางเพศ) ได้หลายอย่าง
.
ไอเดียจากเรื่องนี้ทำให้คุณจอห์น สติต เพมเบอร์ทัน ทดลองทำเหล้าเคล้าโคเคน (ผสมกันเป็น tonic แบบยาดองเหล้า) ชื่อ "โคคาโคลา" ออกมาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
.
ปี 1885/2428 เมืองแอตแลนตา สหรัฐฯ ห้ามขายเหล้า, เพมเบอร์ทันเปลี่ยนสูตร เอาแอลกอฮอล์ออก ทำให้ขายไม่ดี และขายกิจการให้ท่านอะซา กริกซ์ แคนด์เลอร์
.
แคนด์เลอร์สังเกตว่า ถ้าอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไป แล้วทำขายเป็นน้ำอัดลม จะมีรสดีขึ้น
.
เรื่องนี้คล้ายกับกระทิงแดงที่ฝรั่งชาวออสเตรียมาเที่ยวไทย นั่งสามล้อ เห็นสามล้อกินกระทิงแดงแล้วดูกระปรี้กระเปร่า ลองดื่มบ้าง และนำไปอัดแก๊สขายในชื่อ "เรด บูล (Red Bull = กระทิงแดง)" ขายดีไปทั่วโลก
.
ปี 1929/2472 บริษัทโคคาโคลาเลิกผสมโคเคนในน้ำอัดลม ทว่า... น้ำอัดลมยี่ห้อก็ยังขายดีมาจนทุกวันนี้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ [ คำเตือน: การดื่มน้ำอัดลม เพิ่มเสี่ยงฟันสึก-เสียวฟัน, อ้วน-อ้วนลงพุง, สูญเสียแคลเซียม ทำให้กระดูกโปร่งบาง-พรุน ]
.

> [ Twitter ]

  • Thank Dr.Gabe Mirkin's Fitness & Health E-Zine > http://www.drmirkin.com/public/ezine100712.html
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
 
หมายเลขบันทึก: 505040เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท