สัญญาณเตือนภัยของคนในอดีต


อีกหนึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่น่าภูมิใจ

เพื่อนๆ เคยได้ยินคำพูดที่ว่า  ตีเกราะเคาะไม้  บ้างไหมค่ะ  คำว่าตีเกราะเคาะไม้นี้มีที่มาจากการตีเกราะซึ่งทำด้วยไม้  เพื่อเรียกประชุม  หรือบอกเหตุร้ายต่างๆค่ะ  

        เกราะ  หรือ เหลาะ หรือ เขลาะ  เป็นเครื่องสัญญาณที่นิยมในสมัยก่อน เพื่อบอกความเคลื่อนไหวให้เป็นที่สังเกต  นัดแนะ  หรือบอกเหตุร้าย  เกราะ  แบ่งตามการใช้สอยได้  2  ประเภท  คือ  เกราะสำหรับแขวนคอสัตว์  และเกราะสำหรับตีให้สัญญาณ  (ในรูปที่เรานำมาให้เพื่อนๆ ดูนี้  คือ เกราะสำหรับตีให้สัญญาณค่ะ)
เกราะสำหรับตีให้สัญญาณ  แบ่งได้เป็น  2  ชนิด  คือ
        1. เกราะไม้เดี่ยว  เป็นเกราะไม้แก่น  มีขนาดและรูปทรงคล้ายกลองแขกหรือกลองสองหน้า  ด้านข้างผ่ากว้างราว  2  นิ้ว  ขุดให้กลวง  หัวท้ายตัน  ตีด้วยไม้กลมขนาดเท่าข้อมือ  ยาวประมาณ  2  ฟุต เกราะไม้เดี่ยวใช้ตีนัดแนะในการประชุม  เช่น  ผู้ใหญ้บ้านประชุมลูกบ้าน  โดยจะตีจังหวะช้าและหนักแล้วค่อยเร่งเร็วตอนปลาย  และเริ่มจังหวะช้าใหม่
        2. เกราะ  2  ไม้  ทำด้วยไม้ไผ่ขนาดโตเนื้อหนา  1  ปล้อง ตัดหัวท้ายให้ติดข้อ  แล้วเจาะด้านข้างอย่างเกราะไม้เดี่ยว  ตีด้วยไม้กลมขนาดเหมาะมือ  เกราะ  2  ไม้  ใช้ตีบอกเหตุร้าย  เช่น  เกิดการปล้น  เกิดฆาตกรรม โดยจะตีจังหวะเรงเร็วติดต่อกันไปเป็นเวลานาน (บางครั้งอาจใช้เกาะไม้เดี่ยวตีเป็นเกราะ 2 ไม้ก็ได้ค่ะ)
        ในปัจจุบันยังคงมีเกราะให้เห็นและใช้งานอยู่บ้างนะคะ  แต่ลดน้อยลงแล้วค่ะ  เพราะแต่ละหมู่บ้านมีเคื่องขยาย  หรือวิทยุชุมชนเพิ่มมากขึ้นค่ะ

                                                       เอกสารอ้างอิง
- สถาบันทักษิณคดีศึกษา. สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้  พ.ศ.2529  เล่ม  10. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพิ์, 2529.

หมายเลขบันทึก: 5045เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2005 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

แต่ก่อนนี้ เมื่อเกิดวิกฤติหรือปัญหาขึ้นในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งมีเขตหรือพื้นที่ชัดเจน  ก็จะมีพิธีกรรม/กิจกรรม/วิธีการต่างๆ เป็นเครื่องมือระดมคนในชุมชนมาร่วมกันแก้ปัญหา อย่างการแห่นางแมวขอฝนของอีสานแม้จะดูงมงายในสายตาของคนยุคใหม่      แต่นี่แหละเป็นอุบายสำคัญในการดึงคนในชุมชนเข้ามาแก้ปัญหาร่วมกัน  ไม่โยนให้เป็นหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง การตีเกราะเคาะไม้ก็เหมือนกัน

ทุกวันนี้ ชุมชนเปลี่ยนแปลงไป เขตแดนหรือพื้นที่ไม่สำคัญ เกิดชุมชนในลักษณะใหม่ๆ ที่ไร้พรมแดน ไร้พื้นที่ อย่างเช่น ชุมชนอินเตอร์เน็ต เป็นต้น  สมกับเป็นยุคฟ้าบ่กันจริงๆ  เครื่องมือที่ใช้จึงเปลี่ยนไป

 

 

  • คำตอบข้างบนตั้งแต่ปีที่แล้วแน่ะ
  • คิดเหมือนกันมันคือการตีเราะเคาะไม้  ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนภัยในสมัยก่อน 
  • ครูอ้อยเคยเห็นแต่ในหนัง 
  • ของจริงเหตุการณ์จริงๆยังไม่เคยเห็นค่ะ 
  • แต่ก็ได้รับความรู้นะคะ  ขอบคุณค่ะ

น่าจะมีรูปเกราะให้ดูด้วยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท