สุนทรียสนทนา กับลูก : ปิดเทอม ทำอะไรดี


เขาเป็นวัยรุ่นแล้ว เราคงสั่งไม่ได้ ได้แต่พูดคุยชี้แนะ แนวทาง ที่ดี

                เมื่อคืนวันอาทิตย์ หลังนมัสการร่วมกัน ในบรรยากาศสบาย ๆ บนเตียงนอน ที่มีแอร์เย็นฉ่ำ  กอดหมอนกันคนละใบ ป๊าได้เปิดฉาก คุยกับอิมว่า ขอ share ความรู้ที่ได้มาจากการอบรมในอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า มีคำอธิบายแล้วว่าทำไม ถึงไม่อนุญาตให้อิมซื้อ ipad เพราะขนาดคุณตัน อิชิตัน ที่เขารวยกว่าเรา เขายังสอนลูกให้รู้จักความลำบาก เพราะถ้าให้ลูกสบายตั้งแต่แรก เมื่อลูกอยู่ในภาวะแย่ลง เขาก็จะต้องหาเงินมาซื้อให้ได้เท่าเดิม ซึ่งอาจใช้วิธีการที่ผิด ๆ ได้ คุณตันเขายังให้ลูกนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดเลย เพราะฉะนั้นในเวลานี้ยังไม่จำเป็นต้องมีของแบบนี้ ซึ่งอิมก็บอกว่าไม่เป็นไร เขาก็ยืมเพื่อนเล่นได้ ที่ห้องมีเพื่อนหลายคนที่มี เพราะฉะนั้นเรื่องนี้น่าจะปิดประเด็นของบ้านเราได้

                หลังจากนั้นเราก็คุยกันต่อถึงว่า ปิดเทอมนี้จะทำอะไร จะใช้ชีวิตอย่างไร เพราะกว่าจะเปิดก็วันที่ 25 ตุลาคมโน่น เริ่มจาก เราเป็นฝ่ายกำหนดหัวข้อ รายละเอียด แล้วก็ร่วมกันพิจารณา 

  1. เรื่องการใช้ชีวิตทั่วไป

    1. อาหาร เราบอกว่า อยากให้เขาดื่มนมให้มากขึ้นหน่อย แล้วข้าวเช้า ให้ได้ครบ 5 หมู่ และพยายามเริ่มกินผักบ้างได้แล้ว อิม ok ( เพราะเขาต้องทำกับข้าว เช้า กลางวันเอง )

    2. ออกกำลังกาย เราแนะนำว่าเขาต้องออกกำลังกายเพิ่ม เขาก็ OK บอกว่า ไม่วิ่งก็ขี่จักรยาน

    3. การบันเทิง เรื่องดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์ ต้องคุมเวลาเหมือนเดิม เอาเท่าไหร่ดี เขาเสนอว่า ขอเป็น 40 นาที ต่อช่วงเช้า และบ่าย แต่ถ้าวันไหน เขาดูรายการตอนกลางคืนด้วยจะลดเหลือแค่ช่วงละ 30 นาที เราก็ OK

    4. การช่วยงานบ้าน  ให้รับผิดชอบงานบ้านเหมือนเดิม คือการล้างจาน กรอกน้ำ และช่วยม๊า เรื่องที่ขอ เขา OK

  2. เรื่องการเรียน

    1. อ่านหนังสือ เขาบอกว่าจะให้เวลาอ่านหนังสือ ล่วงหน้าบ้าง เราก็ OK

    2. เรียนพิเศษ อิมขอไม่เรียนอะไรเลย เราก็ OK

    3. เรียนเปียโน เหมือนเดิม

 3. เรื่องจิตวิญญาณ

 

    1. การไปโบสถ์ทุกอาทิตย์เหมือนเดิม

    2. การไปค่ายศึกษาพระคัมภีร์ ครั้งนี้เขาขอไปค่าย นคท.ที่ชัยนาท และต่อด้วยค่ายอนุชนภาค 8 ที่ ทับสะแก ( วันที่ 15 – 21 ต.ค. ) เรา OK

หมดแล้ว ครบถ้วน เรื่องราวก็จบลงด้วยดี ในบรรยากาศที่ดีเช่นเดิม เราก็สบายใจ รู้ว่าเขาจะทำอะไรบ้าง เขาก็สบายใจว่า เขาต้องทำอะไร เหลือแต่เราจะมีการประเมินผล เมื่อเวลาผ่านไปแต่ละอาทิตย์ ว่าเขาทำตามแผนที่วางไว้ได้หรือเปล่า มีปัญหาอะไรมั้ย อยากให้เราช่วยหรือเปล่า

            เขาเป็นวัยรุ่นแล้ว เราคงสั่งไม่ได้ ได้แต่พูดคุยชี้แนะ แนวทาง ที่ดี ที่ควร และป๊า ก็ย้ำเสมอ เหมือนที่พ่อจุ้ยสอนว่า ถ้าเรื่องไหนเป็นเรื่องดีที่ควรทำ ไม่ต้องถามว่าอยากหรือไม่อยาก ให้ทำเลย เช่นการเรียนเปียโน เรารู้ว่าเขาไม่ชอบเท่าไหร่ แต่เขาทำได้ดี แล้วมันก็ช่วยเรื่องสมาธิด้วย เพราะฉะนั้นเขาไม่ต้องคิดว่า อาทิตย์นี้อยากไปหรือไม่อยาก เขาก็ OK นะ ไม่ค่อยต้านเท่าไหร่ แต่เรื่องเรียนพิเศษ เขาไม่อยากเรียนตอนปิดเทอม ก็ OK ตามใจเขา

                เลี้ยงลูกวัยรุ่น ไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้าอยากมีความสุขทุกฝ่าย ก็ต้องคุยกันอย่างเปิดอก รับฟังเหตุผล ซึ่งกันและกันให้มาก ไม่ใช่การใช้อำนาจอีกต่อไปแล้ว

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 504063เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2012 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2012 16:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สุดยอดประชาธิปไตยครัวเรือน การพูดคุย สุนทรียสนทนา ย่อมเกิดความเข้าใจ เกิดปัญญา

พบกันครึ่งทาง ต่างคนต่างได้ ไม่ใช่เป็นชัยชนะของผู้แพ้ที่หลายๆคน แข็งแต่ต้องแพ้เพราะลูกไม่ฟังไม่ทำตาม

ผมพ้นภาวะลูกวัยรุ่นมาแล้ว ก็ต้องใช้วิชานี้กับหลานต่อไป

ขอบคุณ คุณวอญ่า ที่เข้ามาให้กำลังใจกันตลอดเลยนะคะ

ต้องขอชื่นชมการเลี้ยงลูกของครอบครัวนี้นะ แถมยังนำหลัก "สุนทรียสนทนา"มาประยุกต์ใช้อย่างงดงาม ขอกลับนำไปใช้บ้างนะ เรียนมาแล้ว ใช้กับคนใกล้ตัวนี่และ work สุด จ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท