ความพอดีเรื่องผลงาน : ทักษะชีวิต


 
          บทความโดย David Carr เรื่อง Web’s thirst for content is corrupting ใน International Herald Tribune ฉบับวันที่ ๒๐ ส.ค. ๕๕ เอ่ยถึงคนเก่งอย่างน่าพิศวง หรือระดับอัจฉริยะ ๒ คน   คือ Fareed Zakariaกับ Jonah Lehrer  ที่สะดุดความเก่งของตนเอง ล้มไม่เป็นท่า    คนแรกโดนข้อหาขโมยผลงาน ทั้งขโมยผลงานของคนอื่น และของตนเอง    คนหลังโดนข้อหากุ (fabricate) คำพูดของคนดังในอดีต คือ Bob Dylan ในหนังสือ Proust
 
          ข้อความในบทความชื่อ Web’s thirst for content is corrupting ที่ผมอ่านใน International Herald Tribune ฉบับพิมพ์ ลงวันที่ ๒๐ ส.ค. ๕๕   ตรงกับเรื่อง Journalists Dancing on the Edge of Truth ในเว็บไซต์ของ The New York Times / International Herald Tribune ที่นี่ อย่างไม่มีตัวหนังสือตัวใดผิดเพี้ยน   ทำให้ผมยิ่งงงหนักขึ้นไปอีกว่า บทความกำลังพิจารณาจริยธรรมของนักเขียน   แล้ว นสพ. ก็ทำสิ่งนั้นเสียเอง    โดยแปลงชื่อบทความ เอาไปลง ๒ ที่   น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า ขโมยผลงานของตนเอง ที่เรียกว่า self-plagiarism
 
           เนื่องจากทั้งสองคนเป็น journalist จึงมีคนเข้ามาร่วมพิจารณาโทษทาง อินเทอร์เน็ต กันเกรียวกราว    มองมุมหนึ่งเป็นการทำความเข้าใจต่อสาธารณะ เรื่องสินทรัพย์ทางปัญญา ในส่วนที่เกี่ยวกับข้อเขียน คือลิขสิทธิ์
 
          มองอีกมุมหนึ่ง นี่คือบทเรียนว่าด้วยทักษะชีวิต สำหรับคนระดับบัณฑิต   ที่นักศึกษาระดับปริญญาหรือบัณฑิตศึกษา (รวมทั้งตัวอาจารย์เองด้วย) ควรเอามาเป็นกรณีศึกษา (case studies) สำหรับเตือนตนเองให้ระมัดระวัง  
 
           ผมเดาหรือตีความเอาเองว่าทั้งสองคนนี้ทำงานมากเกินไป   คล้ายๆ มือกำลังขึ้น หรือน้ำขึ้นต้องรีบตัก   ต้องผลิตผลงานเขียนเกินกำลังของตนเองจึงเอาผลงานของคนอื่นมาใช้แบบไม่ระมัดระวัง   หรือเอาผลงานของตัวเองมาใช้ซ้ำโดยไม่ จึงโดนการตรวจสอบของ crowd-sourced ใน อินเทอร์เน็ต
 
          นี่คือตัวอย่างของความหย่อนทักษะชีวิตว่าด้วยการควบคุมความโลภของตนเอง
 
          แต่ผมก็ยังนับถือความสามารถพิเศษของนักเขียนทั้งสองคนนี้ และหวังว่าต่อไปเขาจะระมัดระวังขึ้น  
 
          ที่ผมไม่เข้าใจคือพฤติกรรมของ นสพ. The New York Times / International Herald Tribuneที่มีพฤติกรรม self-plagiarism บทความของตนเอง    เอาไปลงต่างที่ในต่างชื่อดังที่กล่าวแล้ว    อยากให้ผู้รู้เกี่ยวกับเรื่อง plagiarism ช่วยให้ความเห็นด้วย ว่าเข้าข่าย self-plagiarism หรือไม่
 
 
 
วิจารณ์ พานิช
๒๐ ส.ค. ๕๕
หมายเลขบันทึก: 503295เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 12:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะท่านศาสตราจารย์

       จากเรื่องที่ท่านเขียนมา น่าจะทำงานมากเกินกำลัง เรียกว่า เกิดการสับสนทั้งผลงานตนเอง-คนอื่น สำนวนอาจจะเหมือน หรือคล้ายโดยไม่ตั้งใจก็อาจเป็นได้ การตรวจสอบของ crowd-sourced ใน อินเทอร์เน็ต บางทีก็อาจมีและ/และ/หรือ.... ประเภทผิดบ้างแต่ก็พอจะอภัยให้ได้ การยืดหยุ่น บางทีก็มีประโยชน์มากกว่าโทษนะคะท่านอาจารย์

     แต่ในแง่จริยธรรม ค่อนข้างอธิบายยาก ในโลกนี้ต่อไป คำว่าผลประโยชน์ มีความสำคัญเกินกว่าจริยธรรมจะเอื้อมถึง เพราะมนุษย์ส่วนใหญ่มองว่า การซิกแซก...ควรมีบ้างเพื่อความสำเร็จ ถือว่าไม่ผิด  ผลพิสูจน์ดูสังคมไทยวันนี้ ท่าจะจริงนะคะท่าน  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท