การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) คือ อะไร? และ ทำอย่างไร?


กระบวนการสร้าง “ความหมายใหม่” ให้แก่ประสบการณ์เดิม เพื่อชี้นำการกระทำของตนในอนาคต

การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ตามทัศนะของเมซิโรว์ (Mezirow) ผู้บุกเบิกการศึกษาแนวนี้ หมายถึง กระบวนการสร้าง “ความหมายใหม่” ให้แก่ประสบการณ์เดิม เพื่อชี้นำการกระทำของตนในอนาคต โดยมีองค์ประกอบหลัก ๔ ประการ ได้แก่

  1. ประสบการณ์ (experience)
  2. การใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณ (critical reflection)
  3. วาทกรรมที่เกิดจากการใคร่ครวญ (reflective discourse)
  4. การกระทำ (action)  

ส่วนกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เมซิโรว์เสนอประกอบด้วย ๑๐ ขั้น ได้แก่

  1. การให้ผู้เรียนได้เผชิญกับวิกฤติการณ์ที่ไม่เป็นไปตามมุมมองเดิมของตน
  2. การตรวจสอบตนเอง  
  3. การประเมินสมมุติฐานเดิมของตนอย่างจริงจัง  
  4. การเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลง  
  5. การค้นหาทางเลือกใหม่  
  6. การวางแผนการกระทำใหม่  
  7. การหาความรู้และทักษะสำหรับการปฏิบัติตามแผน  
  8. การเริ่มทดลองทำตามบทบาทใหม่  
  9. การสร้างความสามารถและความมั่นใจในบทบาทและความสัมพันธ์ใหม่
  10. การบูรณาการจนเป็นวิถีชีวิตใหม่ของตน

เก็บความจาก Mezirow, Jack., Taylor, Edward W., and Associates.  Transformative Learning in Practice : Insights from Community, Workplace, and Higher Education.  San Francisco, CA. : Jossey-Bass, 2009.

หมายเลขบันทึก: 503289เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2012 07:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบทความดีๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท