องค์กรวิชาชีพทางการศึกษา
หากกล่าวถึงองค์กรวิชาชีพทางการศึกษาที่มีบทบาท
อำนาจ หน้าที่ตามกฎหมายในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ
การออกใบอนุญาตการต่อใบอนุญาต และการเพิกถอน
ใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา นั่นคือ
"สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา" หรือที่เรียกชื่อสั้นๆว่า
"คุรุสภา" ได้ดำเนินการออกใบอนุญาตให้กับครู
และผู้บริหารการศึกษา รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา
เรียบร้อยแล้ว โดยมีหนังสือรับรองสิทธิ์ออกให้
และขณะนี้กำลังดำเนินการจัดพิมพ์ใบอนุญาต (ฉบับจริง)
พร้อมบัตรพกพาขนาดเท่าบัตรATM จะส่งไปให้
ที่หน่วยงานของท่าน
บทบาทการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม
เมื่อคุรุสภาได้ออกใบอนุญาตให้แล้ว ขั้นต่อไปนับจากนี้
จะมีการสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต
มีการพัฒนาตนเองให้เป็น "มืออาชีพ" ให้ได้มาตรฐาน
ตามที่คุรุสภากำหนด กล่าวคือ
- มาตรฐานด้านความรู้ (ต้องจบ ป.ตรีทางการศึกษา)
- มาตรฐานการปฏิบัติงาน (ต้องผ่านการประเมินผลงาน
ด้านการจัดการเรียนการสอน หรือการบริหารงาน)
และมีฝีมือสูงขึ้น (ระดับชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ
เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ)
- มาตรฐานการปฏิบัติตน ต้องผ่านการประเมินด้าน
คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทั้ง 9 ข้อ
มีคำถามว่าจะให้ใครประเมินและพัฒนา
- ตอบได้ว่า คุรุสภากำลังดำเนินการสร้าง "เครือข่าย"
ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา (มหาวิทยาลัยของรัฐ/เอกชน
ที่เปิดสอนหลักสูตรด้านการศึกษา และมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ทั้ง 41 แห่งทั่วประเทศ
กลุ่มเป้าหมายการพัฒนา
ผู้ที่จะได้รับการประเมินและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1) ครูผู้สอน
2) ผู้บริหารสถานศึกษา
3) ผู้บริหารการศึกษา
4) บุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
คุณภาพการศึกษาของเด็กและเยาวชนคือคำตอบสุดท้าย
สิ่งที่สังคมตั้งความหวังและองค์กรวิชาชีพทางการศึกษา
พยายามจะไปให้ถึงคือ "การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน"
โดยตั้งสมมติฐานว่า
ถ้าได้"ครูมืออาชีพ" มาทำหน้าที่ฝึก อบรม สั่งสอน
และจัดการเรียนรู้ที่ดี ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน
เชื่อมั่นว่าผู้เรียนต้องมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง
และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อย่างแน่นอน