ฟังพระพูดถึงธรรมมะกับ KM กันดูบ้าง (2)


ต่อจากตอนที่ (1)

 ถาม เมื่อฟังท่านพูดถึง หัวปลาแล้ว หางปลา (การบันทึกเป็นคลังความรู้) แล้ว อยากให้ท่านพูดถึง กลางปลาซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในทางธรรมบ้างค่ะ
  ในทางธรรมเรียกว่า สนทนาธรรม หรือ (ธรรมมะฉา กัฉฉา) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน บางทีพระเอามาเทศก์ หลักจริงๆ ของพุทธศาสนาก็คือทำสังคยานา พุทธเจ้านิพพานในประมาณ 3 เดือน  เกิดคนจ้วงจาบพุทธศนานาขึ้นมาว่า ทำอย่างไรศาสนาเราจะหนักแน่นมั่นคงและถูกต้อง เอาพระอรหันต์ 5000 มาเสวนากัน ใครเก่งด้านไหนก็ทำด้านนั้น พระอานนท์เก่ง  พระสูตร พระอภิธรรม ก็มีองค์หนึ่งถาม แล้วพระอรหันต์500 รูปจำแล้วก็ไปถ่ายทอดปากต่อปาก นี่คือลักษณะตรงกลางปลาที่เราทำกันอยู่ มีการทำมา 9-10 ครั้ง ในพุทธศาสนา หาจุดที่ผิดออกไป ให้ส่วนที่ดีมันคงอยู่
  พระพุทธเจ้าไม่ให้ยึดติดอยู่กับหลักที่ท่านบัญญัติ มี อนุบัญญัติขึ้นมาแล้วก็มีการเทียบเคียงว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไร ถ้ายึดติดเกินไปเราจะทำอะไรไม่ได้  ถ้าท่านผอ.ยึดหลักเดิมๆ มาเปลี่ยนแปลงอะไรท่านก็ไม่เอา อันนี้ก็จะไม่ทำให้องค์กรพัฒนาไปได้
  พระสงฆ์ตอนนี้จะทำแตกต่างจากสมัยก่อนเช่นเรื่องเงินเรื่องทอง เรื่องจีวร เพราะท่านบัญญัติว่าให้หาผ้าขี้ริ้วมาซักมาย้อมต้องไปตามถังขยะ เอามาซักมาเย็บมาย้อม กว่าจะได้เป็นผืนบางทีไม่ได้บวช บางคนไม่ได้บวชก็มี  คือพุทธเจ้าอุปสงค์บวชให้แล้วแต่ไม่มีผ้าให้ไปแสวงหาผ้าถูกโคชนตายเลยไม่ได้บวช เป็นอย่างนี้ก็มีจึงอย่าไปยึดติดกับสิ่งที่บัญญัตไว้ ฉะนั้นการแลกเปลี่ยนเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นมีมาแล้วในพุทธศาสนา


   ธรรมมฉา กัฉฉา เป็นสิ่งที่ดี เป็นมงคลในพุทธศาสนา เป็ฯสิ่งที่ดีส่วนไหนได้มาไม่รู้ก็จะได้รู้ส่วนไหนท่านไม่รู้ก็จะได้แลกเปลี่ยนกัน อันนี้เป็นวิทยาทาน แล้วก็ไม่มีการตระหนี่ มีแต่เพิ่มมากขึ้น คนเรียนรู้มามาก แล้วไม่ให้ทาน วิชาความรู้ที่ตนเองได้มาเก็บไว้กับตนเองตายไปพร้อมกับตนเองไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร

 ถาม  แล้วในปัจจับันพระจารย์คิดว่ามีประเด็นไหนหรือไม่ที่KM~จะสามารถเป็นเคลื่องมือในการแลกเปลี่ยนในทางธรรมให้เหมาะสมกับสถานการปัจจุบัน

  มันใช้ได้หมดทุกอย่างนั่นแหละ มันติดอยู่ที่ว่าพระผู้ใหญ่ท่านไม่ให้ความสนใจสิ่งเหล่านี้ท่านคิดว่าอยู่ให้ผ่านๆ ไป เราคิดน่ะ ไม่ได้ว่าท่าน เพราะว่าเราเสนออะไรไปท่านก็ไม่รับ ไม่รู้ว่าเหตุผลอะไร หนึ่งกลัวว่าจะได้ทำหรือเปล่า แต่อย่างอื่นท่านก็ดิ้นรนเอาอยู่ แต่ว่าการบริหารให้มันดีงามท่านยังไม่สนใจ  แต่ถ้าเอามาใช้มันก็ใช้ได้ เหมือนกับการประชุมเจ้าอาวาส ประชุมเจ้าคณะตำบล อำเภอ ก็มีการประชุมอยู่ทุกปีอยู่ ถ้าเราใช้ก็ใช้ได้  แต่ผู้จะรับจะรับไหม จะเริ่มปฎิบัติ จะเปลี่ยนแปลงใช้ไหม อย่าลืมว่าพระทิฐิเยอะน่ะ  “ทิฐิพระ มานะเจ้า”  แก้ยากมาก ฉะนั้น มีจุดหนึ่งที่แก้ได้ ก็คือ ทำตัวเราให้เป็นตัวอย่าง ให้กระจาย คือถ้ามันมีอยู่แล้วก็ทำคนเดียวก่อน ตอนี้อาตมาจะทำคนเดียวก่อน เมื่อขยายไปเรื่อยๆ คนอื่นก็จะมองเห็นคนอื่นเขาก็จะเปรียบเทียบ เมื่อเปรียบเทียบแล้วผู้ที่ศรัทธาเขาก็จะตัดสินเอง เมื่อโยมเข้าเห็นเหมาะสมเขาก็จะไป พระก็จะเริ่มคิดแล้วว่าทำไมชุมชนที่เราอยู่ทำไมไม่มีคนมาวัด บางทีก็ปรับปรุง บางทีโจมตีวันนั้น อันนี้เป็นทิฐิของพระ


  ทีนี้ถ้าเราเอาตรงนี้มาคุย มันจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้หมด ทุกวันนี้มีปาฐิโมกทุก 15 ค่ำ พระทุกรูปต้องฟังปาฐิโมก เราก็อบรมได้วัดไหนมีปัญหาอะไรก็หาทางแก้กันได้ ตำบลไหนมีปัญหาอะไรก็ช่วยกันหาทางแก้ 
   
  
  

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5030เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2005 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท