ความสุขบนวิถีของความพอประมาณในสังคมเศรษฐกิจ


ความพอประมาณ คือ เป็นความพอดีที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป หรือ ไม่สุดโต่งทั้งสองด้าน (ฟุ่มเฟือยเกินไปและตระหนี่เกินไป) และที่สำคัญในความพอดีที่มีอยู่หรือได้มานั้นต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น เป็นความพอดีที่ตั้งอยู่บนหลักของศีลธรรมและคุณธรรมเป็นสำคัญ หรือถ้ามองอีกมิติหนึ่งในสังคมทางเศรษฐกิจอาจกล่าวได้ว่า ความพอประมาณ เป็นการดำเนินชีวิติเพื่อให้บรรลุสู่ความสุขโดยการบริหารจัดการรายได้กับรายจ่าย แต่ในความเป็นจริงการดำเนินชีวิตต้องเผชิญกับทั้งความสุขและความทุกข์ เราจะได้ว่า

   

                    การดำเนินชีวิต          =             ความสุข    +     ความทุกข์                 …..(๑)

 

         การดำเนินชีวิต คือ การดำรงชีพอยู่ในสังคม โดยที่มนุษย์ต้องเข้าไปมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมทั้งในทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วการดำรงชีพของคนทั่วไปต้องประกอบไปด้วยปัจจัย ๔ เป็นอย่างน้อย คือ อาหาร  ที่อยู่อาศัย  เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค และสิ่งเหล่านี้ในความเป็นจริงของปัจจุบันต้องใช้เงิน (รายได้) เป็นสื่อกลางในการจัดหามา ดังนั้นเมื่อมองเกี่ยวเนื่องกับสังคมเศรษฐกิจในปัจจุบันจะได้ว่า

 

             รายได้สุทธิ                      =               ความสุข    +       ความทุกข์             …..(๒)

        

       ถ้าให้ การดำเนินชีวิต ในสังคมเศรษฐกิจมีตัวแทนคือ รายได้  โดยที่รายได้มีทั้งรายได้ที่ได้มาโดยถูกกฎหมาย และ ไม่ถูกกฎหมาย และ ได้มาโดยชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ในเบื้องต้นเราถือว่ารายได้ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจโดยผ่านทางกิจกรรมของเศรษฐกิจและเสียภาษีเป็นรายได้ที่ถูกกฎหมายและชอบธรรม

          

            ความสุขในมิติของสังคมเศรษฐกิจ คือ ความสงบ เป็นสิ่งที่อุดมไปด้วยความดีงามทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

          ความทุกข์ในมิติของสังคมเศรษฐกิจ คือ ความเร่าร้อน กระวนกระวาย เป็นสิ่งที่อุดมไปด้วยความเสื่อมโทรมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

              สมมติว่าเราหารายได้โดยถูกกฎหมายได้มา ๑๐๐ บาท  เราใช้จ่ายเป็นค่าอาหาร ๒๐ บาท ไปเที่ยวสถานบันเทิง ๓๐ บาท และเหลือเก็บอีก ๕๐ บาท จะได้ว่า

 

               รายได้สุทธิ        =          ความสุข                        +           ความทุกข์          ..... (๓)            

                   ๑๐๐                         ( ๒๐ + ๓๐ + ๕๐)                                ๐

              

              สมมติต่อไปอีกหากว่าเราไปเที่ยวสถานบันเทิงแล้วกลับมาพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้ไม่สบายและต้องใช้เงินรักษาพยาบาล ๔๐ บาท โดยที่เราต้องนำเงินเก็บมาใช้ (เงินเก็บจะเหลือ ๑๐ บาท) จะได้ว่า

 

             รายได้สุทธิ      =            ความสุข                     +         ความทุกข์                 ..... (๔)

                   ๑๐๐                       ( ๒๐ + ๓๐ + ๑๐)                           ๔๐                         

 

          จะเห็นได้ว่าเมื่อร่างกายเราเจ็บป่วยก็จะทำให้เกิดความทุกข์ ในกรณีนี้เกิดความทุกข์ที่ ๔๐ บาท แต่ทุกข์ครั้งนี้ก็ไม่ทำให้ถึงกลับเดือดร้อนมากนัก เนื่องจากว่าเรายังมีเงินพอใช้จ่ายได้และเหลือเงินเก็บอีก ๑๐ บาท

         สมมติต่อไปอีกเราต้องการซื้อหวยและหวังให้โชคดีถูกรางวัล (โดยที่เรา โลภมาก) ต้องการซื้อ ๑๐ บาท โดยที่เรามีเงินเหลืออยู่ ๑๐ บาท  (เงินออมก็หมดไป) จะได้ว่า

 

         รายได้สุทธิ      =           ความสุข                       +       ความทุกข์                        ..... (๕)

             ๑๐๐                          (๒๐ + ๓๐+๑๐)                             ๔๐                                 

       

          เงิน ๑๐ บาทด้านความสุขจะไม่ใช่เงินออมอีกต่อไปเป็นเงินใช้จ่ายเพื่อซื้อหวย แต่ที่อยู่ด้านความสุข เนื่องจากว่า คนที่ซื้อหวยก็หวังจะถูกรางวัลทำให้ขณะที่ซื้อนั้นมีความสุขโดยมีความหวังที่จะได้รางวัลเงินก้อนโต สมมติต่อไปว่าพอวันหวยออกและไม่ถูกรางวัล เงิน ๑๐ บาทที่ซื้อหวยจะกลายเป็นความทุกข์ทันที (เงินออมหมดไป) จะได้ว่า

 

        รายได้สุทธิ          =           ความสุข                 +               ความทุกข์                       …..(๖)

             ๑๐๐                             (๒๐  + ๓๐)                              (๔๐ +  ๑๐)

 

      สมมติต่อไปว่าเรามีรายจ่ายค่าเช่าบ้านอยู่ที่ ๒๐ บาท และเราไม่เงินออมเหลืออยู่เลย (เนื่องจากจ่ายค่ารักษาพยาบาล ๔๐ และซื้อหวยบนดิน ๑๐ บาท) เราต้องไปกู้ยืมเงินมาเพื่อชำระค่าเช่าบ้าน จะได้ว่า

 

     รายได้สุทธิ          =            ความสุข                       +                    ความทุกข์               ..... (๗)

       ๑๐๐ + ๒๐                         (๒๐ + ๓๐)                                        (๔๐ + ๑๐ + ๒๐)

 

       เงินที่กู้ยืมมาแม้จะทำให้รายได้เราเพิ่มขึ้น แต่ถือว่าเป็นหนี้สินที่ต้องชำระคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ทำให้เกิดทุกข์ซึ่งตรงนี้จะเห็นได้ว่า มีความทุกข์เกินความสุขอยู่ ๒๐ บาท แต่การเกิดทุกข์จะไม่มากตราบใดที่หนี้สินที่เราก่อขึ้นมานั้นเราสามารถหารายได้มาชำระคืนได้หมด (เบื้องแรกเราเป็นหนี้ทำให้เราเกิดทุกข์แต่เมื่อเราชำระหนี้ได้หมดก็ทำให้เราหมดทุกข์ในตรงนั้นไป) จะถือได้ว่าเป็นความทุกข์ระยะสั้นเท่านั้น แต่เมื่อใดก็ตามหนี้สินที่เราก่อขึ้นมานั้นเราไม่สามารถชำระได้คืนจนเกิดเป็นหนี้เสีย (NPL) หรือถึงขั้นฟ้องล้มละลาย สิ่งนั้นถือว่าทำให้เกิดทุกข์มาก ซึ่งในที่นี้เราจะได้ว่า ความทุกข์ คือ หนี้สินที่ไม่มีความสามารถที่จะชำระได้ หรือ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ดังนั้นหากว่าเราบริหารจัดการความต้องการโดยใช้หลัก การบริโภคด้วยปัญญา เพื่อพัฒนาไปสู่ความพอประมาณ (บริหารรายได้และรายจ่าย) ก็จะทำให้การดำเนินชีวิตมีความสุขได้ในระดับหนึ่ง...


หมายเลขบันทึก: 501861เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2012 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 11:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ท่านอาจาย์คะ

ตอนซื้อหวยนี่น่าจะเป็นความสุขนะคะ เพราะยังมีหวังค่ะ แต่พอหลังจากวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือนมันค่อยกลายเป็นความทุกข์ค่ะ อิอิอิ

มาทวนดูสมการของตัวเองเช่นกันค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

...ทุกอย่าง...คือ..๐...หรือ..๐+๐เท่ากับ๐..ถือว่า..พอดี..ได้ไหมเจ้าคะ...เมื่อทุกอย่างเป็นศูนย์หมด..ทำไมคนจึงมาตั้งค่าให้เหนื่อยอยู่ทุกวันนี้..อิอิ..เครียด..จน..ถึงจะต้องเรียน..หาความว่าง วางกันใหม่..อ้ะะๆๆ...(ยายธี)

ขอบคุณครับ ที่ทำให้เรื่อง "ทุกข์" นั่นมองเห็นกันง่ายๆเลย......

ขอบคุณมากครับ คุณปริม ที่แวะมาให้กำลังใจอยู่เสมอ...

ใช่เลยครับ...ก่อนวันที่ ๑ และ ๑๖...วิ่งผลัดกันน่าดู (อิ...อิ...) แต่หลังจากนั้นส่วนใหญ่จะหมดแรงเพราะวิ่ง (ไว้) เยอะ...อิ...อิ...

ขอบพระคุณ อาจารย์ภูสุภา มากครับที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบพระคุณ คุณยายธี มากครับที่แวะมาให้กำลังใจ

     นั่นซิครับคุณยายธี...แต่ผมเกรงว่าก่อนที่จะเป็นศูนย์...ทุกอย่างจะ (เป็น) สูญ...ก่อนไหมหนอ...(อิ...อิ...)

      แต่หากดูจากพจนานุกรม ศูนย์...มาก่อนสูญ...โล่งใจไปเปราะหนึ่งครับ...

หมอเปิ้น...ขอแจมด้วยคนนะคะ.... เป็นศูนย์...จริงๆๆ...."ศูนย์สัมบูรณ์ (Absolute zero) หรือ  เป็น...ศูนย์...สัมพัทธ์ (Zero relative)... ก็ไม่ เข้าใจ.... สมัยเรียน .... ตกวิชา...เรขา + ตรีโกน +พีชคณิต เป็นประจำๆๆ ...นะคะ ... น้องชาย จตุรเศรษฐธรรม ....ครับผม

ขอบพระคุณ อาจารย์วิชญธรรม มากครับ ที่แวะมาให้กำลังใจ

ขอบพระคุณ อาจารย์prathan มากครับสำหรับกำลังใจที่มอบให้

ขอบพระคุณมากครับ อาจารย์P'Ple...ผมก็ตกวิชาพวกนั้น (ประจำ) ครับ...อิ...อิ...

    แต่ที่สำคัญ...ถึงแม้จะสูญเสีย...แต่ก็ขอให้อย่าเสียศูนย์...ก็เป็นพอ...ไหมหนอ...                    

ขอบคุณค่ะ..อ่านไปคิดตามไป..ได้มุมมองดีๆหลายมิติค่ะ..

Large_photo280

http://www.scbfoundation.com/projects/publishing_all.php?proj=1&sub=&unit=

ขอบคุณ คุณแสงแห่งความดี มากครับสำหรับกำลังใจที่มอบให้เสมอมา

      ขอบพระคุณ อาจารย์พี่ใหญ่ มากครับสำหรับกำลังใจที่มอบให้เสมอมา...

       ขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับ ลิงค์ นะครับ...มีประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท