ล้าง ในวงการพระเครื่อง น่าจะแปลว่าอะไร


พระเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่ใช่สมบัติส่วนบุคคล อย่าล้างพระครับ ใช้ไปอย่างนั้น

ตั้งแต่ผมเข้ามาในวงการพระเครื่องโดยไม่ได้ตั้งใจ

ก็ได้ยินคำว่า “พระล้าง” แบบรับรู้ แต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ

และค่อนข้างจะสับสน

ด้วยความเป็นมือใหม่ ก็ “ฟังหูไว้หู”

ลองทำบ้างในบางครั้ง เพราะอยากรู้ ว่า ล้างพระมีข้อดีอย่างไร

สิ่งที่ผมพบในระยะแรกๆ ก็คือ

การล้างช่วยเอาคราบเก๊ออกจากพระเก๊ ให้เห็นเนื้อเก๊ชัดๆ ว่าเก๊แน่นอน ไม่มีอะไรปิดบังให้สงสัยอีกต่อไป

แต่พอส่องๆไปก็พบพระที่ผ่านการใช้มาจนสกปรก คราบฝุ่น คราบเหงื่อเลอะไปหมด มีคนเสนอว่า “ควรล้าง” ผมก็ลองดู และสวยงามขึ้นจริงๆ ที่ถือว่า

“ล้างเพื่อความสวยงาม”

และพระบางองค์มีคราบกรุบังมาก ถ้าไม่ล้างก็จะดูตำหนิไม่ชัด จึงควร

“ล้าง เพื่อการศึกษา”

อยู่มาวันหนึ่ง ผมได้พระมาแบบประหลาดๆ หน้าหลังไม่เหมือนกัน พรรคพวกบอกว่า ด้านหลังถูกขัดถูมาจนสภาพเปลี่ยน ถ้าล้างจะทำให้หน้าหลังใกล้เคียงกัน มิเช่นนั้น เซียนใหญ่ (ตาไม่ถึง???) เขาอาจจะตีเก๊ได้

ข้อนี้ ก็กลายเป็น

 “ล้างเพื่อการค้า แบบพุทธพานิช”

นั่นคือคำที่ฟังแล้วมีประโยชน์

แต่ที่ฟังแล้วรู้สึกไม่ดีเลยคือ

คำว่า "ล้าง" จริงๆ น่าจะแปลว่า ล้างสิ่งสกปรกออก

แต่

คนที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ บางคน คิดไกลมาก

  • ไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรเก็บรักษา
  • อะไรคือสิ่งที่ควรล้าง

เชิงอุปมา ก็คือ

คิดว่าเนื้อหนัง และอะไรที่ขูดออกได้คือสิ่งสกปรก

ต้องล้างให้เหลือแต่สิ่งที่ขูดไม่ออก มีดเฉือนไม่เข้าแล้วเท่านั้น

สุดท้ายก็เหลือแต่กระดูก

เหมือนโครงกระดูก “นางงาม” ที่แขวนโชว์ไว้ในวัดสวนโมกข์ ไชยา

ไม่เห็นมีใครชมว่า สวย มีแต่ “ปลง”

แล้วเขาก็ล้างพระแบบนั้น

คราบเสีย ผิวเสีย เนื้อเสีย เหลือแต่แก่นในเนื้อ แบบโครงกระดูก

น่าเสียดายครับ

ฉะนั้น ถ้าไม่รู้ อยู่เฉยๆไว้ก่อน

พระเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่ใช่สมบัติส่วนบุคคล

แบบเดียวกับที่ดิน ป่าไม้ แม่น้ำ

เราได้ใช้วันนี้ ก็จงรักษาไว้ อย่าทำลาย วันหน้าเราตายไป คนอื่นก็จะได้ใช้ต่อ

ทางที่ดี อย่าล้างพระครับ ใช้ไปอย่างนั้น

สวยแบบที่พระท่านเป็น

ไม่ต้องสวยอย่างที่เราคิด หรือใครอยากเห็น

จะดีกว่าไหมครับ

ไม่ใช่อะไร ผมเสียดายทรัพยากรทางศิลปวัฒนธรรมของชาติครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #การล้างพระ
หมายเลขบันทึก: 501653เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2012 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

ล้าง ในวงการพระเครื่อง น่าจะแปลว่าอะไร.... หมอเปิ้น...แปลไม่ออกค่ะ.... ท่าน อจ. ค่ะ

 

อิอิ ที่เขาทำส่วนใหญ่

คือการทำลายผิวพระให้เสียหาย แบบลอกเนื้อลอกหนัง ให้เหลือแต่กระดูกนะครับ

นี่ผมพูดภาษาหมอแล้วนะครับ

 

อิอิอิอิอิ 

ปัดฝุ่นพระ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการล้างมั้ยครับ อาจารย์

ถ้าไม่กระทบถึง "องค์ประกอบปกติ" ของพระ ถือว่า ทำได้ครับ

ฝุ่นที่เกาะไม่เป็นไร แต่คราบกรุ ควรเก็บไว้ครับ ไม่ควรแตะต้องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท