ธรรมาภิบาลกับการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน


ที่สำคัญ ผู้บริหารต้องไม่ตัดสินใจเพียงคนเดียว

ธรรมาภิบาลกับการประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน

การประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนเป็นเทศกาลที่ใครต่อใครหลายคนรู้สึกสุข ใครหลายคนรู้สึกทุกข์

เพราะจะให้อย่างยุติธรรมจริงๆคงวัดกันได้ยาก เพราะวัดเชิงเอกสารให้มากที่สุดเหมือนการประกันคุณภาพ หลายครั้งโชคดีได้เชิงคุณภาพด้วย แต่หลายครั้งเห็นเพียงปริมาณ

คำถามจึงว่า ทำอย่างไร

แม้ไม่ถูกใจทุกคน แต่ต้องทำให้ดีที่สุด

หลักการ ใช้ธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน

http://www.ocn.ubu.ac.th/service/luktam.pdf

ขั้นตอนที่จะเล่าต่อไปนี้ เพียงเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เจากประสบการณ์เท่านั้น ย่อมไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด ดังนี้

1.มีสัญญาภาระงานที่มาจากบทบาทหน้าที่ และมีการประชาพิจารณ์โดยประชาคมอย่างมีส่วนร่วม

หลักนิติธรรม คือ การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

หลักความมีส่วนร่วม คือ การทาให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสาคัญ ๆ ของสังคม

2. แต่งตั้งคณะกรรมการเลื่อนขั้นเงินเดือนที่มาจากหลายฝ่ายตามพันธกิจ และตัวแทนจากอาจารย์ที่เป็นที่ยอมรับ

หลักคุณธรรม การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยการรณรงค์เพื่อสร้างค่านิยมที่ดีงามให้ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสมาชิกของสังคมถือปฏิบัติ ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริตความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น

3.มอบหมายคณะกรรมการจัดทำข้อมูลคะแนนในส่วนที่รับผิดชอบ

หลักความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานที่ตนรับผิดชอบอยู่

4.นำคะแนนที่ได้รับมาลงคะแนนแบบโปร่งใส

หลักความโปร่งใส มีระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

5. กำหนดช่วงคะแนนเหมือนการตัดเกรดนักศึกษา

หลักนิติธรรม คือ ถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

6.การเลื่อนขั้นเงินเดือนในปัจจุบันในการประเมินแบบร้อยละ ดังนั้นคณะกรรมการต้องมีประเด็นคุณภาพ ประสิทธิภาพเข้ามพิจารณาเพื่อเรียงลำดับคะแนนที่เท่ากันในกลุ่มอีกครั้ง

หลักความคุ้มค่า ผู้บริหาร ต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจากัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจาเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า ซึ่งจาเป็นจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายไปที่ผู้รับบริการหรือประชาชนโดยส่วนรวม

ที่สำคัญ ผู้บริหารต้องไม่ตัดสินใจเพียงคนเดียว

หมายเลขบันทึก: 501574เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2012 04:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2012 04:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท