คนไทยน่าจะนับถือพระพุทธรูปมาก จึงไม่ค่อยนิยมเผาพระ หรือทำพระดินเผา


พระเนื้อดินเผามีน้อยมาก พบมีเพียงไม่กี่กรุ

จากการศึกษาวิเคราะห์พระเนื้อดินทั้งหลายทั้งหมด ทั่วประเทศไทย

ทั้งสายเหนือ สายใต้ และภาคกลาง ตะวันออก และตะวันตก

ทั้งพระยุคทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี อู่ทอง สุโขทัย จนกระทั่งพระสมัยอยุธยา

ผมได้พบว่า พระเนื้อดินเผามีน้อยมาก พบมีเพียงไม่กี่กรุ เช่นที่

  • ลำพูนบางส่วน เช่น พระรอด พระคง
  • สุโขทัยบางส่วน โดยเฉพาะกรุเตาต่างๆ และ
  • พระกรุพระธาตุนาดูน

สำหรับกรุกันทรวิชัย พบพระดินเผาองค์หนึ่ง สภาพกรอบ เปราะมาก แต่ที่เหลือก็เป็นดินดิบ

ผมจึงสรุปว่า พระเนื้อดินส่วนใหญ่ นอกจากที่กล่าวข้อยกเว้นมา เป็นดินดิบทั้งสิ้น

และการเป็นดินดิบ ที่จะทำให้ทนทาน ก็ต้องผสมน้ำว่าน ที่ดูเหมือนจะเป็นสารน้ำมันข้นๆ ไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในเนื้อพระเนื้อดินดิบได้ พระเหล่านั้นจึงมีเนื้อแกร่ง แน่น มันฉ่ำ ทนทาน แทบไม่มีการผุกร่อน

ที่เป็นภูมิปัญญาที่น่าทึ่งจริงๆ

และความคิดนี้น่าจะมาจากความคิดที่จะสร้างพระโดยไม่ต้องนำพระพุทธรูปไปเผา

ที่เป็นความเชื่อในสังคมไทยจนถึงปัจจุบัน และมีการประณามคนที่นำพระพุทธรูปไปเผา เพื่อลอกเอาทองคำออก เมื่อครั้งสมัยเหตุการณ์เสียกรุงครั้งที่สอง

และ มีครั้งหนึ่งผมนำพระทองคำไปให้ร้านทองดูว่าเนื้อเป็นทองคำทั้งหมดองค์หรือไม่ เพราะขูดดูก็เป็นทอง

ร้านทองต้องถามให้ผมมั่นใจว่า เป็นพระแท้หรือพระเก๊

พอผมยืนยันว่าน่าจะเก๊ เขาจึงกล้าเอาไฟเผาดูเนื้อพระ ไม่งั้นเขาไม่กล้าทำกับพระแท้

ที่สะท้อนความเคารพนับถือของคนไทยที่มีต่อพระพุทธรูปทุกรูปแบบ

แต่ถ้ามวลสารนั้นยังไม่ขึ้นรูปทรงเป็นพระพุทธรูป ก็จะยังมีการเผา เช่น พระเนื้อโลหะ เพราะคงเชื่อว่า โลหะยังไม่เป็นพระ

สามารถนำมาหลอม ละลาย จนเป็นรูปพระได้ อย่างไม่รู้สึกอะไรมากนัก

แต่ในกระบวนการทำพระดินดิบ หรือพระเนื้อที่ไม่ต้องเผา เช่นพระเนื้อว่าน ก็ยังมีการทำพิธีอย่างเป็นขั้นตอน ตั้งแต่ การทำพิมพ์พระต้นแบบ ที่เรียกว่า “พ่อพิมพ์” ก็มีการทำพิธีใหญ่โต

แล้วก็นำพ่อพิมพ์มากดเป็นแม่พิมพ์ ที่เป็นข้อสันนิษฐาน ว่า เป็นเหตุให้ตำหนิต่างๆ และรายละเอียดของศิลปะในพระแต่ละแม่พิมพ์มีความคล้ายคลึงกัน กลายเป็นตำหนิประจำพิมพ์ของพระแต่ละรุ่น

เพราะถ้าทำแม่พิมพ์แยกกันไปเลย นั้น ตำหนิรายละเอียดไม่น่าจะเหมือนกันได้

ลักษณะการสร้างพ่อพิมพ์ก่อน จึงเป็นขั้นตอนแรกของการสร้างพระ ทั้งดินดิบ ดินเผา ว่าน เนื้อผง และพระเนื้อโลหะ

พ่อพิมพ์ที่ปั้น แต่ง หรือแกะขึ้น อาจจะเป็นวัสดุที่ตกแต่งผิวง่ายๆ ไม่เผา เช่น ปูนปลาสเตอร์ หินชนวน รัก ครั่ง หรือยางไม้ ฯลฯ ที่สะดวกในการใช้งาน

และแม่พิมพ์ที่กดออกมา อาจจะเผา หรือไม่ ก็แล้วแต่วัสดุที่ใช้ ถ้าเป็นดิน ก็อาจจะเผา

สำหรับพระที่ทำแบบดินเผานั้น เพื่อไม่ให้ขัดต่อความรู้สึก ก็อาจจะทำพิธีปลุกเสกสุดท้ายหลังการเผาเป็นรูปพระเสร็จแล้ว

จากการวิเคราะห์ระบบคิดนี้ ก็พอจะเข้าใจระบบคิดของคนโบราณในการสร้างพระพุทธรูป

แต่ไม่ทราบว่าช่างสมัยนี้ เขาคิดกันแบบนี้หรือเปล่า

คงจะไม่ต่างกันมากครับ เพราะเมื่อหล่อพระพุทธรูปเสร็จก่อนนำไปประดิษฐาน หรือก่อนการกราบเคารพบูชาจริงๆ มักจะมีพิธี “เบิกเนตร” ที่น่าจะเป็นพิธีกรรมที่ใช้ในการ “เริ่ม” นับถือว่า รูปหล่อที่ตั้งอยู่นี้ ต่อไปจะนับถือเสมือนหนึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า

ก่อนหน้านั้น ก็อาจเป็นแค่ รูปปั้น รูปหล่อ รูปแกะสลัก ที่ในวงการเราเรียกกันว่า “พระโรงงาน” พระฝีมือ หรือ พระเก๊ ไปโน่น

นี่ก็เป็นข้อสันนิษฐาน ว่าทำไมพระเครื่องในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นพระดินดิบผสมว่าน หรือจะเรียกว่าเนื้อว่านผสมดินดิบก็ได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 501573เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2012 01:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อา... เลยทำให้คนไทยพัฒนาภูมิปัญญาทำให้ดินดิบแข็งแรงคงทนขึ้นมา เพราะจริงๆ ทำดินเผานั้นง่ายกว่ามาก ประเด็นนี้นึกไม่ถึงเลยครับ

เราหลงเชื่อคนไม่รู้จริง ชักนำเราไปทางที่เขาคิดไปเอง โดยปราศจากการพินิจพิเคราะห์ว่า

ในโลกแห่งความเป็นจริงคิออะไร

ผมมานั่งดูตอนแรกก็งงๆ คิดๆไปเริ่มสงสัย แล้วก็มาถึงสมมติฐานนี้แหละครับ

ขอบคุณมากครับ ที่มาให้กำลังใจ

สวัสดีค่ะ

   ได้ทราบเข้าใจเกี่ยวพระดินเผากรุมากขึ้น รบกวนสอบถามนะคะ พระกรุ เช่น พระป๋วย อายุเก่าแก่ที่แน่ๆประมาณ กีปีค่ะ จริงๆแล้วมาจากกรุไหน ที่ลำพูนหรือลพบุรี  ขอบคุณมากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท