การเรียนร่วมกับนศ.ปริญญาโท ม.รามคำแหง เกี่ยวข้องอย่างไรกับทฤษฎี 3Vs


3Vs & Human Capital กับนศ.ปริญญาโท ม.รามคำแหง

กราบเรียน อาจารย์จีระ ที่เคารพ

จากการได้ไปร่วมเรียนกับนศ.ปริญญาโท ม.รามคำแหง เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555 ที่ผ่านมานั้น ก่อนอื่นดิฉันขอกราบขอบพระคุณอาจารย์จีระ และคณะ ที่ได้ให้โอกาสนศ.ปริญญาเอก ม.ราชภัฎสวนสุนันทา ได้ร่วมเข้าฟังการเรียนการสอนในครั้งนี้ ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ความรู้ ประสบการณ์ ได้รู้จักพบปะบุคคลที่หลากหลาย ได้มิตรที่น่ารักเพิ่มขึ้น

หากจะถามว่าจากประสบการณ์การเรียนร่วมกับนศ.ปริญญาโท ม.รามคำแหงในครั้งนี้จะนำไปสร้าง 3Vs (Value Added / Value Creation / Value Diversity) ได้อย่างไร ในทัศนคติของดิฉัน ขอเรียงลำดับดังต่อไปนี้

V ตัวแรกที่ได้ในวันนี้ : Value Added

อาจารย์จีระได้ให้โอกาสกลุ่มนศ.ปริญญาเอก ของพวกเรา แนะนำตัวเป็นรายบุคคล เพื่อก่อให้เกิดพื้นฐานการรับรู้ร่วมกันทางด้านอาชีพ ทัศนคติ ความสนใจ พื้นฐานการศึกษา แก่ นศ.ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเงิน การธนาคาร , เจ้าของธุรกิจ SMEs , มีบางคนเพิ่งจบจากปริญญาตรี ประสบการณ์งานก็ยังไม่มากนัก , บางคนเป็นแม่บ้าน แต่ก็อยากเพิ่มเติมความรู้ เป็นต้น

ที่เป็นสายอาชีพที่แตกต่างจากกลุ่มนศ.ปริญญาเอก เนื่องเพราะส่วนใหญ่จะเป็นรัฐวิสาหกิจ กัปตันการบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน รับราชการเป็นครู ทหาร ตำรวจ

เมื่อเกิดการรับรู้ถึงตำแหน่งหน้าที่การงาน นศ.ปริญญาโทได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ก็ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน พูดคุยถึงที่มา ที่ไป ความสนใจในเนื้องาน ความต่อเนื่องของการดำเนินธุรกิจที่อาจจะสามารถมาเกี่ยวข้องกันได้ในอนาคต ต่างๆ เหล่านี้  

หลายคนเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับดิฉันเมื่อทราบว่าเปิดธุรกิจโรงเรียน และขอความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทัศนคติ การแก้ไขปัญหาในเด็กเล็ก เนื่องจากลูกหลานบางท่าน บางทีก็มีอาการดื้อ ไม่ยอมเชื่อฟัง บางท่านก็ถามถึงสถานที่ จะนำลูกไปสมัครเรียน เพราะกำลังต้องการโรงเรียนแนวนี้อยู่พอดี บางคนก็พูดขำๆ ว่าหาที่เรียนให้ลูกได้แล้ว แต่ต้องหาคู่ก่อน เพราะยังไม่แต่งงาน

ซึ่งเมื่อมองภาพรวมแล้วจะเห็นได้ว่า นศ.ปริญญาโท กลุ่มนี้มีความกระตือรือร้น และสนใจ เปิดใจพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีของการศึกษาในบ้านเรา

 

V ที่ 2  : Value Diversity

จากความหลากหลายทางสายอาชีพ ประสบการณ์การทำงาน อายุ สถาบันการศึกษา ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เรื่องราวต่างๆ ในชั้นเรียนมีความเข้มข้นมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งทีรู้สึกได้คือ การต้อนรับอย่างอบอุ่น เป็นมิตร ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่า ในห้องเรียนมีทุนอย่างหนึ่งที่โดดเด่นมาก นั่นก็คือ ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) ทั้งจากเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม ความเป็นมิตร การพูดคุยอย่างเป็นกันเอง

จากการปะทะทางปัญญา การแลกเปลี่ยนทัศนคติในหัวข้อเรื่องที่อาจารย์กำหนด ทั้ง 6 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ภาคราชการ / ภาคเอกชน / ธุรกิจ SMEs / ภาคการศึกษา / ภาครัฐวิสาหกิจ / กลุ่มอาชีพอิสระ ทุกกลุ่มได้แสดงทัศนะที่หลากหลาย ที่ก่อให้เกิดทุนแห่งปัญญา (Intellectual Capital) ซึ่งในส่วนตัวดิฉันเห็นว่ายังไม่หลากหลายนัก กรอบของเนื้อหาในแต่ละหัวข้อยังไม่ค่อยกระจ่างเท่าที่ควร คงยังงงๆ อยู่กับทฤษฎีแต่ละข้อกันอยู่ว่าจะนำมาเกี่ยวเนื่องกันได้อย่างไร ซึ่งอาจเพราะเนื่องจากนศ.ปริญญาโทกลุ่มนี้มีเวลาค่อนข้างจำกัดในการเรียนกับอาจารย์จีระ

 

V ที่ 3  : Value Creation

เป็นการต่อเนื่องมาจาก V ที่ 2 ที่นศ.ปริญญาโท ม.รามคำแหง มีเวลาน้อยในการเรียนกับอาจารย์จีระ แต่อาจารย์ก็พยายามเต็มที่ ที่จะให้ทุกเนื้อหาให้ครบถ้วนที่สุด ในเวลาอันสั้น ทั้งในเรื่องของ

  • ทฤษฎี 8K’s + 5K’s (New)
  • ทฤษฎี 3 วงกลม ฯลฯ
  • แนะแนวหนังสือที่น่าอ่าน (The 4 Discipline of Executions)
  • การทำให้ชีวิตเกิดการสมดุลย์ ดังทฤษฎีจักรยาน (Work life Balance)
  • การได้รับฟังทัศนคติจาก W.Chan Kim เจ้าของทฤษฎีBlueOcean
  • ความสำคัญของ Cultivating & Harvesting
  • การเรียงลำดับขั้นของทุนต้องเป็นไปตาม Sequence นั่นคือ ทุนมนุษย์ (Human Capital) ต้องเป็นทุนแรกเสมอ

และอื่นๆ อีกหลากหลายประเด็นที่อาจารย์ตั้งใจถ่ายทอดความรู้เพื่อจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ถึงแม้เวลาจะน้อยนิดก็ตาม

ซึ่งหากจะวิเคราะห์ถึง Value Creation จากการแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดแล้วนั้น จะเห็นได้ว่า นศ.ปริญญาโท นั้นมีความเข้าใจในระดับต้นๆ เท่านั้น ยังไม่สามารถลงลึกในรายละเอียด และไม่สามารถก่อให้เกิด Creativity เพื่อทำให้เกิด Innovation ได้มากนัก ซึ่งหาก นศ.ปริญญาโท กลุ่มนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้จากอาจารย์จีระอย่างต่อเนื่อง ดิฉันเชื่อว่า พวกเค้ากลุ่มนี้จะต้องเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่เรียกว่าเป็น ทุนมนุษย์ (Human Capital) ได้อย่างภาคภูมิแน่นอน

ซึ่งดิฉันมองว่าการเรียนรู้ในครั้งนี้ เป็นภาพรวมของทฤษฎี 4L’s อย่างแท้จริง เพราะทั้ง 4 หัวข้อนั้น

  • Learning Methodology
  • Learning Environment
  • Learning Opportunities
  • Learning Communities

ได้ถูกนำมาใช้อย่างครบถ้วนกระบวนความ และก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมหาศาล ถึงแม้ว่าจะเป็นแค่กลุ่มเล็กๆ แต่ก็มั่นใจได้ถึงประสิทธิภาพ เพราะ Attitude ของนศ.ปริญญาโทกลุ่มนี้ จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งหากนำไปใช้อย่างต่อเนื่อง-ต่อเนื่อง-ต่อเนื่อง แล้วนั้นประสิทธิผลก็จะตามมาได้อย่างยั่งยืน (Sustainable)

ดิฉันขอส่งท้ายด้วยคำกล่าวของ Albert Einstein ที่ได้กล่าวถึงการปั่นจักรยานในมุมมองที่น่าสนใจไว้ว่า

“ชีวิตก็เหมือนการปั่นจักรยาน ถ้าเราอยากจะทรงตัวได้ เราก็ต้องปั่นมันอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ”

“Life is like riding a bicycle. To keep your balance, you must keep moving.”

คำสำคัญ (Tags): #3Vs
หมายเลขบันทึก: 501193เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2012 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท