เมล็ดสะเดาไทยใช้ทำลายหนอน


แต่การใช้สมุนไพรที่ไม่ทำลายชีวิตไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมกลับถูกหมางเมินเหินห่างจากอาชีพเกษตรกรรมของไทยมากขึ้นเรื่อย

 

ปัญหาเรื่องหนอนที่เป็นศัตรูอยู่คู่กับเกษตรกรไทยมาช้านาน ยิ่งใช้วิธีการปราบด้วยสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงมากเท่าใดก็ยิ่งมีการผันแปรดื้อยากลายพันธุ์มากขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้น การใช้วิธีการดั้งเดิมแบบเก่าเท่าที่ผ่านมายาวนานหลายสิบปีก็มีผลบ่งชี้ให้เห็นหลากหลายกรณีว่าไม่มีทางที่จะเอาชนะเจ้าหนอนร้ายให้หมดสิ้นไปอย่างยั่งยืนได้ ยังคงมีการระบาดของหนอนอยู่เช่นเดิมมิหนำซ้ำกลับดูจะมีการระบาดมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่หายไปกลับเป็นยาหลากหลายยี่ห้อที่ผัดเปลี่ยนเวียนวนจนไม่รู้ว่ายี่ห้อเดิมหายไปเมื่อได ยี่ห้อห้อใหม่ก็ผัดเปลี่ยนมาให้ใช้ไม่ซ้ำยี่ห้อเป็นเช่นอยู่ร่ำไป
 
แต่การใช้สมุนไพรที่ไม่ทำลายชีวิตไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมกลับถูกหมางเมินเหินห่างจากอาชีพเกษตรกรรมของไทยมากขึ้นเรื่อย เนื่องด้วยเพราะใช้แล้วเห็นผลช้าไม่ทันใจ ทำลายหนอนไม่ตายในทันที จึงมีผู้ที่ใช้ในแนวทางนี้น้อยลงเรื่อยๆ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในงานผลิตเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่จะต้องอาศัยทั้งไอดิน กลิ่นสมุนไพร ปัจจัยต่างๆทางธรรมชาติมาเกื้อหนุนกัน มิใช่สุดโต่งในทางใดทางหนึ่งมากเกินไป จนทำลายอีกสิ่งจนสูญสิ้นมลายหายไป
 
การใช้เมล็ดสะเดาไทยท่ีปัจจุบันกำลังจะหายไปจากหัวไร่ปลายนาของพี่น้องเกษตรกรลงไปเรื่อยๆในปัจจุบันนั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ในช่วงที่ต้นสะเดาอยู่ในช่วงติดดอกออกผลจนเมล็ดสมบูรณ์เต็มที่แล้ว เกษตรกรควรเก็บเกี่ยวผลผลิตนำมาบ่มเก็บผึ่งลมให้แห้งสนิทเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นเมื่อพบเห็นหนอนแมลง เมล็ดสะเดาที่ร่วงหล่นจนเหี่ยวเฉาเน่าเหี่ยวก็อาจจะไม่เหมาะสมเพราะคุณภาพในการปราบปรามโรคแมลงก็จะน้อยลง การได้เมล็ดสะเดาที่เหมาะสมนำมาโขลกบดตำให้ได้หนึ่งกิโลกรัมแช่กับน้ำใส่กะละมังหรือปิ๊ป 20 ลิตรทิ้งไว้หนึ่งคืน รุ่งเช้าคั้นกรองเอากากออกเหลือไว้แต่น้ำนำไปผสมกับเปล่าได้อีก 80 ลิตรก็จะได้สารสะเดานำไปใช้ฉีดพ่นป้องกันแมลงเข้าทำลาย จำกัดไข่ให้ฝ่อ  ถ้าเข้าสู่อวัยวะภายในก็จะทำให้แมลหรือหนอนท้องอืดอึดอัดหายใจไม่ออก สัมผัสผิวภายนอกลอกคราบไม่ได้ เกษตรกรรุ่นใหม่สนใจก็ลองไปทำใช้กันดูนะครับ
 
มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com
 
หมายเลขบันทึก: 501194เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2012 23:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 01:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท